กรมควบคุมโรคชี้ “มาลาเรียดื้อยา” พบเพียง 10% ระบุยังควบคุมได้ จี้รับยาอย่างต่อเนื่อง อย่าขาดยา เฝ้าระวังยาปลอมตามแนวชายแดน เผยสถานการณ์การติดเชื้อลดลงจากปีก่อน
วันนี้ (20 เม.ย.) นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) แถลงข่าวเนื่องในวันมาลาเรียโลก ประจำปี 2558 ตรงกับวันที่ 25 เม.ย.ของทุกปีว่า โรคมาลาเรียยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขในประเทศภูมิภาคเขตร้อน โดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งที่ผ่านมากำหนดนโยบายร่วมกันเพื่อกำจัดมาลาเรียให้หมดไปจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ภายในปี 2573 สำหรับประเทศไทยตั้งเป้าให้ปลอดจากไข้มาลาเรียในปี 2567 โดยจัดทำแผนดำเนินการใน 968 อำเภอ เพื่อกำจัดการแพร่เชื้อมาลาเรีย เช่น การพัฒนาบุคลากร การใช้ยาจากการวิจัยที่มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นในการรักษามาลาเรียดื้อยา เพิ่มการเข้าถึงบริการโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง พื้นที่เสี่ยง และคุณภาพการตรวจวินิจฉัย เพิ่มประสิทธิภาพการเฝ้าระวังและการสอบสวนโรค การควบคุมยุงพาหะ เป็นต้น
นพ.โสภณกล่าวว่า สถานการณ์โรคมาลาเรียในไทย พบว่า ปี 2557 พบผู้ป่วย 31,173 ราย เสียชีวิต 38 ราย สำหรับปี 2558 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 8 เม.ย. พบผู้ป่วย 2,898 ราย ลดลงจากปี 2557 ในช่วงเวลาเดียวกัน ร้อยละ 17.65 ส่วนระดับจังหวัด พบว่า อุบลราชธานีมีการป่วยสูงสุด 1,105 ราย อย่างไรก็ตาม แม้สถานการณ์โรคมีแนวโน้มลดลง แต่การระบาดของโรคจะเกิดขึ้นเฉพาะบริเวณพื้นที่ชายแดน การอพยพเคลื่อนย้ายประชากร และการดื้อยา ที่จะส่งผลต่อการควบคุมป้องกันโรคมาลาเรีย จึงจำเป็นต้องเน้นมาตรการควบคุมยุงพาหะหรือลดการสัมผัสยุงพาหะ
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดี คร.กล่าวว่า การกำจัดเชื้อมาลาเรียดื้อยา สิ่งสำคัญคือ ต้องติดตามผู้ป่วยให้รับยาอย่างต่อเนื่อง อย่าขาดยา ประกอบกับต้องเฝ้าระวังเรื่องยาปลอมที่มีการระบาดในพื้นที่ตามแนวชายแดน โดยเฉพาะชายแดนไทย-กัมพูชา ตรงนี้ต้องประสานทั้งสองฝั่งให้ช่วยกันดูแล แต่โดยภาพรวมจากข้อมูลที่ผ่านมาปัญหาเชื้อดื้อยาหากนับเป็นเคสผู้ป่วยพบไม่ถึงร้อยละ 10 ถือว่ายังควบคุมได้ และยาปัจจุบันก็ยังมีประสิทธิภาพอยู่ อย่างไรก็ตาม สำหรับพื้นที่ที่พบการดื้อยาจะกระจายใน 6 จังหวัด มี จ.ตาก กาญจนบุรี ระนอง ตราด สุรินทร์ และศรีสะเกษ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (20 เม.ย.) นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) แถลงข่าวเนื่องในวันมาลาเรียโลก ประจำปี 2558 ตรงกับวันที่ 25 เม.ย.ของทุกปีว่า โรคมาลาเรียยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขในประเทศภูมิภาคเขตร้อน โดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งที่ผ่านมากำหนดนโยบายร่วมกันเพื่อกำจัดมาลาเรียให้หมดไปจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ภายในปี 2573 สำหรับประเทศไทยตั้งเป้าให้ปลอดจากไข้มาลาเรียในปี 2567 โดยจัดทำแผนดำเนินการใน 968 อำเภอ เพื่อกำจัดการแพร่เชื้อมาลาเรีย เช่น การพัฒนาบุคลากร การใช้ยาจากการวิจัยที่มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นในการรักษามาลาเรียดื้อยา เพิ่มการเข้าถึงบริการโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง พื้นที่เสี่ยง และคุณภาพการตรวจวินิจฉัย เพิ่มประสิทธิภาพการเฝ้าระวังและการสอบสวนโรค การควบคุมยุงพาหะ เป็นต้น
นพ.โสภณกล่าวว่า สถานการณ์โรคมาลาเรียในไทย พบว่า ปี 2557 พบผู้ป่วย 31,173 ราย เสียชีวิต 38 ราย สำหรับปี 2558 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 8 เม.ย. พบผู้ป่วย 2,898 ราย ลดลงจากปี 2557 ในช่วงเวลาเดียวกัน ร้อยละ 17.65 ส่วนระดับจังหวัด พบว่า อุบลราชธานีมีการป่วยสูงสุด 1,105 ราย อย่างไรก็ตาม แม้สถานการณ์โรคมีแนวโน้มลดลง แต่การระบาดของโรคจะเกิดขึ้นเฉพาะบริเวณพื้นที่ชายแดน การอพยพเคลื่อนย้ายประชากร และการดื้อยา ที่จะส่งผลต่อการควบคุมป้องกันโรคมาลาเรีย จึงจำเป็นต้องเน้นมาตรการควบคุมยุงพาหะหรือลดการสัมผัสยุงพาหะ
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดี คร.กล่าวว่า การกำจัดเชื้อมาลาเรียดื้อยา สิ่งสำคัญคือ ต้องติดตามผู้ป่วยให้รับยาอย่างต่อเนื่อง อย่าขาดยา ประกอบกับต้องเฝ้าระวังเรื่องยาปลอมที่มีการระบาดในพื้นที่ตามแนวชายแดน โดยเฉพาะชายแดนไทย-กัมพูชา ตรงนี้ต้องประสานทั้งสองฝั่งให้ช่วยกันดูแล แต่โดยภาพรวมจากข้อมูลที่ผ่านมาปัญหาเชื้อดื้อยาหากนับเป็นเคสผู้ป่วยพบไม่ถึงร้อยละ 10 ถือว่ายังควบคุมได้ และยาปัจจุบันก็ยังมีประสิทธิภาพอยู่ อย่างไรก็ตาม สำหรับพื้นที่ที่พบการดื้อยาจะกระจายใน 6 จังหวัด มี จ.ตาก กาญจนบุรี ระนอง ตราด สุรินทร์ และศรีสะเกษ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่