รพ. ขาดทุนจากค่ารักษาต่างด้าวปี 57 ถึง 360 ล้านบาท สธ. เล็งตั้ง “สุขศาลา” นำร่อง 8 จังหวัดชายแดนฝั่งประเทศเพื่อนบ้าน จัดบริการสุขภาพขั้นพื้นฐาน ลดปัญหาข้ามแดนมารักษา
วันนี้ (25 มี.ค.) ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ปัญหาสาธารณสุขชายแดนที่พบบ่อย จากการข้ามมาของแรงงานต่างด้าว ได้แก่ โรคติดต่อ เช่น เอชไอวี เอดส์ วัณโรค มาลาเรีย ปัญหาอนามัยแม่และเด็กเช่นเด็กขาดสารอาหาร น้ำหนักตัวน้อย ซึ่งปัญหาดังกล่าวไม่ใช่ของประเทศใดประเทศหนึ่ง ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ยุทธศาสตร์หนึ่งที่ สธ. วางไว้ คือ พัฒนาศักยภาพการจัดการด้านสุขภาพขั้นพื้นฐานในฝั่งชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน จะช่วยลดผลกระทบการข้ามมาใช้บริการสาธารณสุขในไทย ซึ่งที่ผ่านมาสร้างภาระหนักให้แก่สถานพยาบาลแนวชายแดนไทย เนื่องจากไม่อาจปฏิเสธผู้มาใช้บริการ ทำให้ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถเรียกเก็บได้จำนวนมหาศาล ส่งผลให้บางแห่งประสบปัญหาวิกฤตทางการเงินยาวนาน โดยข้อมูลปี 2557 มีมูลค่าสูงถึง 360 ล้านบาท
ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า การพัฒนาบริการสุขภาพขั้นพื้นฐาน สธ. จะตั้งสุขศาลาในฝั่งประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในช่วงแรกจะเริ่มที่ พม่า ลาว และกัมพูชา เนื่องจากบริการสาธารณสุขยังไม่ทั่วถึง ต้องได้รับการพัฒนาอีกมาก โดยคัดเลือกพื้นที่นำร่องเพื่อสร้างสุขศาลาใน 8 จังหวัด ได้แก่ ตาก แม่ฮ่องสอน เชียงราย กาญจนบุรี อุบลราชธานี น่าน สระแก้ว และ ตราด โดยใช้งบประมาณพัฒนาจากกระทรวงการต่างประเทศ องค์กรระหว่างประเทศ แห่งละประมาณ 500,000 บาท โดยมอบหมายให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ซึ่งมีความร่วมมือระหว่างประเทศในระดับท้องถิ่นอยู่แล้ว เป็นพี่เลี้ยงอบรมด้านวิชาการให้
"รูปแบบดังกล่าวได้ทดลองนำร่องในชายแดนจังหวัดเมียวดี ซึ่งอยู่ติดกับ อ.อุ้มผาง จ.ตาก โดย รพ.อุ้มผาง ได้ใช้เงินงบประมาณสนับสนุนประชาชนในพื้นที่ประเทศเพื่อนบ้านก่อสร้าง “สุขศาลา” ในฝั่งของพม่า ให้บริการสุขภาพขั้นพื้นฐานเช่นรักษาพยาบาลการเจ็บป่วยทั่วๆ ไป ฉีดยา ทำแผล ฉีดวัคซีน เป็นต้น โดยพัฒนาความรู้อาสาสมัครและค่าตอบแทนคนในพื้นถิ่นในประเทศพม่า พบว่า ให้ผลดี เป็นที่พึ่งประชาชนจากประเทศเพื่อนบ้านได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งในระยะยาวมุ่งเน้นให้ประเทศเพื่อนบ้านมีส่วนร่วมในการจัดบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานให้กับประชากรร่วมกัน มั่นใจว่าจะลดภาระเข้ามาใช้บริการสุขภาพในฝั่งไทย” รมว.สธ. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (25 มี.ค.) ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ปัญหาสาธารณสุขชายแดนที่พบบ่อย จากการข้ามมาของแรงงานต่างด้าว ได้แก่ โรคติดต่อ เช่น เอชไอวี เอดส์ วัณโรค มาลาเรีย ปัญหาอนามัยแม่และเด็กเช่นเด็กขาดสารอาหาร น้ำหนักตัวน้อย ซึ่งปัญหาดังกล่าวไม่ใช่ของประเทศใดประเทศหนึ่ง ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ยุทธศาสตร์หนึ่งที่ สธ. วางไว้ คือ พัฒนาศักยภาพการจัดการด้านสุขภาพขั้นพื้นฐานในฝั่งชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน จะช่วยลดผลกระทบการข้ามมาใช้บริการสาธารณสุขในไทย ซึ่งที่ผ่านมาสร้างภาระหนักให้แก่สถานพยาบาลแนวชายแดนไทย เนื่องจากไม่อาจปฏิเสธผู้มาใช้บริการ ทำให้ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถเรียกเก็บได้จำนวนมหาศาล ส่งผลให้บางแห่งประสบปัญหาวิกฤตทางการเงินยาวนาน โดยข้อมูลปี 2557 มีมูลค่าสูงถึง 360 ล้านบาท
ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า การพัฒนาบริการสุขภาพขั้นพื้นฐาน สธ. จะตั้งสุขศาลาในฝั่งประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในช่วงแรกจะเริ่มที่ พม่า ลาว และกัมพูชา เนื่องจากบริการสาธารณสุขยังไม่ทั่วถึง ต้องได้รับการพัฒนาอีกมาก โดยคัดเลือกพื้นที่นำร่องเพื่อสร้างสุขศาลาใน 8 จังหวัด ได้แก่ ตาก แม่ฮ่องสอน เชียงราย กาญจนบุรี อุบลราชธานี น่าน สระแก้ว และ ตราด โดยใช้งบประมาณพัฒนาจากกระทรวงการต่างประเทศ องค์กรระหว่างประเทศ แห่งละประมาณ 500,000 บาท โดยมอบหมายให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ซึ่งมีความร่วมมือระหว่างประเทศในระดับท้องถิ่นอยู่แล้ว เป็นพี่เลี้ยงอบรมด้านวิชาการให้
"รูปแบบดังกล่าวได้ทดลองนำร่องในชายแดนจังหวัดเมียวดี ซึ่งอยู่ติดกับ อ.อุ้มผาง จ.ตาก โดย รพ.อุ้มผาง ได้ใช้เงินงบประมาณสนับสนุนประชาชนในพื้นที่ประเทศเพื่อนบ้านก่อสร้าง “สุขศาลา” ในฝั่งของพม่า ให้บริการสุขภาพขั้นพื้นฐานเช่นรักษาพยาบาลการเจ็บป่วยทั่วๆ ไป ฉีดยา ทำแผล ฉีดวัคซีน เป็นต้น โดยพัฒนาความรู้อาสาสมัครและค่าตอบแทนคนในพื้นถิ่นในประเทศพม่า พบว่า ให้ผลดี เป็นที่พึ่งประชาชนจากประเทศเพื่อนบ้านได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งในระยะยาวมุ่งเน้นให้ประเทศเพื่อนบ้านมีส่วนร่วมในการจัดบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานให้กับประชากรร่วมกัน มั่นใจว่าจะลดภาระเข้ามาใช้บริการสุขภาพในฝั่งไทย” รมว.สธ. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่