สธ. ชี้ตั้งด่านชุมชนช่วยลดอุบัติเหตุมาก เล็งวิเคราะห์ร่วมกระทรวงอื่นหาช่องโหว่ทำอุบัติเหตุเจ็บตายสงกรานต์เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ยันบังคับใช้ กม. เหล้าเข้มข้นแล้ว “รัชตะ” เลี่ยงตอบมาตรการห้ามขายเหล้าสงกรานต์ - ปีใหม่ ผอ.สธฉ. เผย “สุรินทร์” แชมป์เจ็บตาย เพราะอุบัติเหตุหมู่ ไม่เกี่ยวดำเนินการบกพร่อง
วันนี้ (16 เม.ย.) ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมด้วย นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รมช.สาธารณสุข และ นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รักษาการแทนปลัด สธ. เป็นประธานในงาน “รดน้ำขอพร” โดยนำสรงน้ำพระและรดน้ำขอพรแพทย์อาวุโส อาทิ นพ.มรกต กรเกษม อดีต รมช.สาธารณสุข นพ.อุทัย สุดสุด อดีตปลัด สธ. นพ.วินัย วิริยกิจจา อดีตปลัด สธ. ศ.นพ.ไพจิตร์ ปวะบุตร อดีตปลัด สธ. นพ.จรัล ตฤณวุฒิพงศ์ อดีตปลัด สธ. และ นพ.ไพจิตร์ วราชิต อดีตปลัด สธ. เป็นต้น
ทั้งนี้ ศ.นพ.รัชตะ ให้สัมภาษณ์กรณีอุบัติเหตุเจ็บตายเทศกาลสงกรานต์ปี 2558 เพิ่มขึ้นจากสงกรานต์ปี 2557 ว่า เรื่องนี้คงต้องมาวิเคราะห์หาสาเหตุร่วมกันทั้งในส่วนของ สธ. และกระทรวงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องว่า สาเหตุที่ยอดอุบัติเหตุเจ็บตายไม่ลดลงนั้นเกิดจากอะไร แต่จากวิเคราะห์ช่วงปีใหม่ที่ผ่านมาพบว่า การตั้งด่านชุมชนสามารถช่วยลดอุบัติเหตุลงได้ ซึ่งสงกรานต์ที่ผ่านมาก็ดำเนินการตั้งด่านชุมชนอย่างเต็มที่ ท้องถิ่นก็เข้ามาร่วมมือเป็นจำนวนมาก ก็คงต้องไปดูว่ามีช่องโหว่มาจากจุดอื่นหรือไม่อย่างไร เพราะจากการติดตามการทำงานใน 10 จังหวัด จำนวน 206 ด่าน พบว่า ได้ผลดี ไม่มีผู้เสียชีวิต มีเพียงบาดเจ็บเล็กน้อย สกัดผู้ดื่มสุราได้หลายราย และยังพบเด็กรุ่นใหม่ เช่น อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ มีเด็กแว้น มีจิตอาสามาช่วยป้องกันอุบัติเหตุ เป็นที่น่าชื่นชม หากขยายผลไปทั่วประเทศได้จะช่วยลดปัญหาได้ดีขึ้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า สาเหตุเมาแล้วขับยังเป็นอันดับ 1 ของการเกิดอุบัติเหตุ เป็นเพราะการควบคุมบังคับใช้กฎหมายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังไม่เข้มข้นพอหรือไม่ ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า สธ. มีการประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจเข้มการขายการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งช่วงก่อนและระหว่างสงกรานต์ มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเต้มที่ สามารถจับกุมผู้กระทำความผิดได้เป็นจำนวนมาก ขณะที่ด่านตรวจต่างๆ ก็สามารถจับกุมผู้กระทำความผิดได้เป็นแสนราย จึงมองว่าการบังคับใช้กฎหมายทำอย่างเต็มที่แล้ว
เมื่อถามว่า แม้จะมีการรณรงค์และคุมเข้มมาตรการต่างๆ เช่นนี้ แต่อุบัติเหตุยังไม่ลดลง มีแนวโน้มจะห้ามการขายเหล้าช่วงปีใหม่ สงกรานต์ เช่นเดียวกับวันพระใหญ่ตามที่สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เสนอหรือไม่ ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า เรื่องนี้ยังต้องพิจารณาจากหลายด้าน และการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เราก็มีหลายกลยุทธ์อยู่แล้ว
นพ.อนุรักษ์ อมรเพชรสถาพร ผู้อำนวยการสำนักงานสาธารณสุขฉุกเฉิน (สธฉ.) กล่าวว่า การดำเนินงานป้องกันและลดอุบัติเหตุของทุกหน่วยงานที่ร่วมมือกันถือว่าทำได้อย่างน่าพอใจแล้ว แต่ที่จะต้องเพิ่มเติมคือการตั้งด่านชุมชน ซึ่งมองว่าบางจุดอาจจะยังทำได้ไม่เต็มที่ 100% จะต้องดำเนินการเข้มข้นขึ้นเพื่อลดอุบัติเหตุลงให้ได้มากกว่านี้ รวมไปถึงการดูแลร่วมกันขณะขับรถ ไม่ว่าจะเป็นพนักงานขับรถ หรือคนในครอบครัว ต่างก็ต้องช่วยเตือนสติกัน หากไม่พร้อมก็ไม่สมควรขับรถ เพราะอย่าง จ.สุรินทร์ ที่มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นอันดับ 1 ในช่วงสงกรานต์ปีนี้ ก็เพราะมาจากอุบัติเหตุหมู่ ซึ่งจริงๆ แล้วการดำเนินการอาจจะดี แต่พลาดเพียงครั้งเดียวก็ทำให้มีผู้บาดเจ็บเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (16 เม.ย.) ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมด้วย นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รมช.สาธารณสุข และ นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รักษาการแทนปลัด สธ. เป็นประธานในงาน “รดน้ำขอพร” โดยนำสรงน้ำพระและรดน้ำขอพรแพทย์อาวุโส อาทิ นพ.มรกต กรเกษม อดีต รมช.สาธารณสุข นพ.อุทัย สุดสุด อดีตปลัด สธ. นพ.วินัย วิริยกิจจา อดีตปลัด สธ. ศ.นพ.ไพจิตร์ ปวะบุตร อดีตปลัด สธ. นพ.จรัล ตฤณวุฒิพงศ์ อดีตปลัด สธ. และ นพ.ไพจิตร์ วราชิต อดีตปลัด สธ. เป็นต้น
ทั้งนี้ ศ.นพ.รัชตะ ให้สัมภาษณ์กรณีอุบัติเหตุเจ็บตายเทศกาลสงกรานต์ปี 2558 เพิ่มขึ้นจากสงกรานต์ปี 2557 ว่า เรื่องนี้คงต้องมาวิเคราะห์หาสาเหตุร่วมกันทั้งในส่วนของ สธ. และกระทรวงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องว่า สาเหตุที่ยอดอุบัติเหตุเจ็บตายไม่ลดลงนั้นเกิดจากอะไร แต่จากวิเคราะห์ช่วงปีใหม่ที่ผ่านมาพบว่า การตั้งด่านชุมชนสามารถช่วยลดอุบัติเหตุลงได้ ซึ่งสงกรานต์ที่ผ่านมาก็ดำเนินการตั้งด่านชุมชนอย่างเต็มที่ ท้องถิ่นก็เข้ามาร่วมมือเป็นจำนวนมาก ก็คงต้องไปดูว่ามีช่องโหว่มาจากจุดอื่นหรือไม่อย่างไร เพราะจากการติดตามการทำงานใน 10 จังหวัด จำนวน 206 ด่าน พบว่า ได้ผลดี ไม่มีผู้เสียชีวิต มีเพียงบาดเจ็บเล็กน้อย สกัดผู้ดื่มสุราได้หลายราย และยังพบเด็กรุ่นใหม่ เช่น อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ มีเด็กแว้น มีจิตอาสามาช่วยป้องกันอุบัติเหตุ เป็นที่น่าชื่นชม หากขยายผลไปทั่วประเทศได้จะช่วยลดปัญหาได้ดีขึ้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า สาเหตุเมาแล้วขับยังเป็นอันดับ 1 ของการเกิดอุบัติเหตุ เป็นเพราะการควบคุมบังคับใช้กฎหมายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังไม่เข้มข้นพอหรือไม่ ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า สธ. มีการประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจเข้มการขายการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งช่วงก่อนและระหว่างสงกรานต์ มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเต้มที่ สามารถจับกุมผู้กระทำความผิดได้เป็นจำนวนมาก ขณะที่ด่านตรวจต่างๆ ก็สามารถจับกุมผู้กระทำความผิดได้เป็นแสนราย จึงมองว่าการบังคับใช้กฎหมายทำอย่างเต็มที่แล้ว
เมื่อถามว่า แม้จะมีการรณรงค์และคุมเข้มมาตรการต่างๆ เช่นนี้ แต่อุบัติเหตุยังไม่ลดลง มีแนวโน้มจะห้ามการขายเหล้าช่วงปีใหม่ สงกรานต์ เช่นเดียวกับวันพระใหญ่ตามที่สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เสนอหรือไม่ ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า เรื่องนี้ยังต้องพิจารณาจากหลายด้าน และการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เราก็มีหลายกลยุทธ์อยู่แล้ว
นพ.อนุรักษ์ อมรเพชรสถาพร ผู้อำนวยการสำนักงานสาธารณสุขฉุกเฉิน (สธฉ.) กล่าวว่า การดำเนินงานป้องกันและลดอุบัติเหตุของทุกหน่วยงานที่ร่วมมือกันถือว่าทำได้อย่างน่าพอใจแล้ว แต่ที่จะต้องเพิ่มเติมคือการตั้งด่านชุมชน ซึ่งมองว่าบางจุดอาจจะยังทำได้ไม่เต็มที่ 100% จะต้องดำเนินการเข้มข้นขึ้นเพื่อลดอุบัติเหตุลงให้ได้มากกว่านี้ รวมไปถึงการดูแลร่วมกันขณะขับรถ ไม่ว่าจะเป็นพนักงานขับรถ หรือคนในครอบครัว ต่างก็ต้องช่วยเตือนสติกัน หากไม่พร้อมก็ไม่สมควรขับรถ เพราะอย่าง จ.สุรินทร์ ที่มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นอันดับ 1 ในช่วงสงกรานต์ปีนี้ ก็เพราะมาจากอุบัติเหตุหมู่ ซึ่งจริงๆ แล้วการดำเนินการอาจจะดี แต่พลาดเพียงครั้งเดียวก็ทำให้มีผู้บาดเจ็บเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่