ชมรม รพศ./รพท. เสนอ สนช. แก้ปัญหาแพทย์ลาออก คัดนักเรียนพื้นที่ชนบทเข้าเป็นหมอ เปิดโครงการพิเศษผู้จบ ป.ตรี ด้านสุขภาพมาเรียนต่อยอดเป็นหมอ ไม่เห็นด้วยให้ รพ. ออกนอกระบบตอนนี้ ชี้ต้องพัฒนาให้พื้นที่มีประสิทธิภาพก่อน
นพ.ธานินทร์ สีวราภรณ์สกุล ประธานชมรมโรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ./รพท.) และ ผอ.รพ.พระนครศรีอยุธยา กล่าวภายหลังหารือร่วมกับคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อเสนอแนวทางปฏิรูประบบสุขภาพ ว่า คณะกรรมาธิการ ได้เปิดโอกาสให้กลุ่มวิชาชีพ ชมรมต่างๆ เสนอแนะแนวทางการปฏิรูประบบสาธารณสุข โดยชมรม รพศ./รพท. ได้เสนอปัญหาแพทย์ขาดแคลนแพทย์มในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เนื่องจากทุกปียังคงมีแพทย์ลาออกเกือบ 40% ของจำนวนแพทย์บรรจุใหม่ ซึ่งตกปีละประมาณ 600 คน ทางออกคือ ควรมีการคัดนักเรียนจากพื้นที่ชนบทจริงๆ และเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ระบบการเรียนระดับปริญญาให้มากขึ้นกว่าเดิม รวมทั้งจัดให้มีโครงการพิเศษรับเจ้าหน้าที่ที่จบปริญญาตรีด้านสุขภาพ และมีความพร้อมที่จะเรียนต่อยอดเป็นแพทย์ ซึ่งกลุ่มนี้มีข้อมูลว่ากลับภูมิลำเนาและคงอยู่ในพื้นที่นาน
“ที่สำคัญ ต้องมียุทธศาสตร์ระดับชาติเพื่อผลิตแพทย์ให้ประเทศที่ชัดเจนตามความต้องการ โดยควรแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ แพทย์เฉพาะทางมีความเชี่ยวชาญระดับสูง สำหรับดูแลโรคซับซ้อน และแพทย์ที่ทำหน้าที่ในต่างจังหวัด มีผู้เชี่ยวชาญสาขาหลัก เพื่อรับส่งต่อดูแลผู้ป่วยที่ถูกส่งมาจากโรงพยาบาลในชุมชน โดยผู้เชี่ยวชาญกลุ่มนี้ดูแลผู้ป่วยได้เกือบ 90% มีบางส่วนที่จะส่งต่อไปยังแพทย์กลุ่มแรกเท่านั้น" นพ.ธานินทร์ กล่าวและว่า ก่อนหน้านี้ ทางชมรมฯ เคยเสนอ สนช. ในเรื่องการปฏิรูประบบไปบ้างแล้ว อาทิ ควรปฏิรูประบบสุขภาพโดยใช้เขตสุขภาพเป็นหลัก พัฒนาให้มีประสิทธิภาพในกลุ่มจังหวัดของพื้นที่นั้นๆ ทั้งเรื่องคุณภาพการบริการ และบุคลากรต่างๆ
นพ.ธานินทร์ กล่าวว่า ส่วนเรื่องการออกนอกระบบ ทางชมรมฯมองว่ายังไม่ถึงเวลาที่จะเดินตามเหมือน รพ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร ที่กลายเป็นองค์การมหาชน เพราะแม้ รพ.บ้านแพ้ว จะประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการ แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นชัด คือ ต้องออกให้บริการนอกพื้นที่ด้วย ซึ่งเป็นการหาทรัพยากรจากแหล่งอื่นนั่นเอง ดังนั้น หากโรงพยาบาลในสังกัด สธ.ออกนอกระบบหมด และต้องบริหารจัดการเอง หากทำดีมีประสิทธิภาพก็ดีไป แต่หากทำไม่ดีก็ถึงขั้นล้ม หากจะออกนอกระบบ ขอเสนอว่าควรจะพัฒนาในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพก่อน จากนั้นค่อยออกนอกระบบแต่เป็นในรูปแบบเขตสุขภาพ เพื่อที่จะได้อยู่ในรอดเป็นกลุ่มเป็นพื้นที่
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.ธานินทร์ สีวราภรณ์สกุล ประธานชมรมโรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ./รพท.) และ ผอ.รพ.พระนครศรีอยุธยา กล่าวภายหลังหารือร่วมกับคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อเสนอแนวทางปฏิรูประบบสุขภาพ ว่า คณะกรรมาธิการ ได้เปิดโอกาสให้กลุ่มวิชาชีพ ชมรมต่างๆ เสนอแนะแนวทางการปฏิรูประบบสาธารณสุข โดยชมรม รพศ./รพท. ได้เสนอปัญหาแพทย์ขาดแคลนแพทย์มในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เนื่องจากทุกปียังคงมีแพทย์ลาออกเกือบ 40% ของจำนวนแพทย์บรรจุใหม่ ซึ่งตกปีละประมาณ 600 คน ทางออกคือ ควรมีการคัดนักเรียนจากพื้นที่ชนบทจริงๆ และเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ระบบการเรียนระดับปริญญาให้มากขึ้นกว่าเดิม รวมทั้งจัดให้มีโครงการพิเศษรับเจ้าหน้าที่ที่จบปริญญาตรีด้านสุขภาพ และมีความพร้อมที่จะเรียนต่อยอดเป็นแพทย์ ซึ่งกลุ่มนี้มีข้อมูลว่ากลับภูมิลำเนาและคงอยู่ในพื้นที่นาน
“ที่สำคัญ ต้องมียุทธศาสตร์ระดับชาติเพื่อผลิตแพทย์ให้ประเทศที่ชัดเจนตามความต้องการ โดยควรแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ แพทย์เฉพาะทางมีความเชี่ยวชาญระดับสูง สำหรับดูแลโรคซับซ้อน และแพทย์ที่ทำหน้าที่ในต่างจังหวัด มีผู้เชี่ยวชาญสาขาหลัก เพื่อรับส่งต่อดูแลผู้ป่วยที่ถูกส่งมาจากโรงพยาบาลในชุมชน โดยผู้เชี่ยวชาญกลุ่มนี้ดูแลผู้ป่วยได้เกือบ 90% มีบางส่วนที่จะส่งต่อไปยังแพทย์กลุ่มแรกเท่านั้น" นพ.ธานินทร์ กล่าวและว่า ก่อนหน้านี้ ทางชมรมฯ เคยเสนอ สนช. ในเรื่องการปฏิรูประบบไปบ้างแล้ว อาทิ ควรปฏิรูประบบสุขภาพโดยใช้เขตสุขภาพเป็นหลัก พัฒนาให้มีประสิทธิภาพในกลุ่มจังหวัดของพื้นที่นั้นๆ ทั้งเรื่องคุณภาพการบริการ และบุคลากรต่างๆ
นพ.ธานินทร์ กล่าวว่า ส่วนเรื่องการออกนอกระบบ ทางชมรมฯมองว่ายังไม่ถึงเวลาที่จะเดินตามเหมือน รพ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร ที่กลายเป็นองค์การมหาชน เพราะแม้ รพ.บ้านแพ้ว จะประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการ แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นชัด คือ ต้องออกให้บริการนอกพื้นที่ด้วย ซึ่งเป็นการหาทรัพยากรจากแหล่งอื่นนั่นเอง ดังนั้น หากโรงพยาบาลในสังกัด สธ.ออกนอกระบบหมด และต้องบริหารจัดการเอง หากทำดีมีประสิทธิภาพก็ดีไป แต่หากทำไม่ดีก็ถึงขั้นล้ม หากจะออกนอกระบบ ขอเสนอว่าควรจะพัฒนาในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพก่อน จากนั้นค่อยออกนอกระบบแต่เป็นในรูปแบบเขตสุขภาพ เพื่อที่จะได้อยู่ในรอดเป็นกลุ่มเป็นพื้นที่
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่