อาเซียนรับรอง อย. ไทยเป็นหน่วยตรวจสอบคุณภาพยาอาเซียน ช่วยยาผลิตในไทยที่ผ่านการรับรองส่งออกขายทั่วอาเซียนโดยไม่ต้องตรวจสอบซ้ำ ลดภาระค่าใช้จ่าย เลขาธิการ อย. เผยเตรียมเข้าร่วมสมาชิกมาตรฐานสากล PIC/S หวังลดการกีดกันทางการค้า
วันนี้ (20 มี.ค.) นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 13 มี.ค. ที่ผ่านมา คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านคุณภาพและมาตรฐานของอาเซียน ได้รับรองให้ อย. เป็นหน่วยประเมินการตรวจสอบคุณภาพยาของอาเซียน (Asean Listed Inspection Service) ซึ่งทุกประเทศสมาชิกได้ให้การยอมรับ ซึ่งจากนี้จะส่งผลให้ยาที่ผลิตในไทย และได้รับการรับรองจาก อย. สามารถส่งขายในประเทศสมาชิกอาเซียนได้ โดยไม่จำเป็นต้องให้ประเทศสมาชิกเข้ามาตรวจมาตรฐานการผลิต (GMP) และตรวจสอบที่ปลายทางอีก ถือเป็นการลดความซ้ำซ้อนและ อำนวยความสะดวก ลดภาระค่าจ่าย ซึ่งการตรวจสอบมาตรฐานยาแต่ละครั้งสูงถึงรายละเกือบ 1 แสนบาท นอกจากนี้ ยังทำให้ได้รับความเชื่อถือจากประเทศต่างๆ ที่จะเข้ามาตั้งฐานการผลิตยาในไทยด้วย
“ที่ผ่านมาในการตรวจสอบมาตรฐานการผลิตยา อย. ใช้มาตรฐานสากล PIC/S แต่นยังไม่ได้เข้าร่วมเป็นประเทศสมาชิก PIC/S ขณะนี้อยู่ระหว่างการทำเรื่องเพื่อขอเข้าเป็นสมาชิก ซึ่งหากได้รับการยอมรับให้เข้าร่วมแล้ว จะเป็นการยืนยันว่าเรื่องของมาตรฐานการผลิตยาในไทยว่ามีคุณภาพ สามารถส่งออกยาไปขายได้ทั่วโลกอย่างสะดวก ไม่ต้องมีการตรวจสอบมาตรฐานซ้ำ ช่วยลดปัญหาการกีดกันทางการค้าได้ในระดับหนึ่ง ทั้งนี้ คาดว่า น่าจะใช้เวลาอีกประมาณ 2 ปี จึงจะได้รับการรับรอง เพราะตอนนี้ยังติดเรื่องของยาสัตว์อยู่” เลขาธิการ อย. กล่าวและว่า สำหรับประเทศในอาเซียนที่ได้รับการรับรองให้เป้นหน่วยตรวจอบคุณภาพยาอาเซียนประกอบด้วย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (20 มี.ค.) นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 13 มี.ค. ที่ผ่านมา คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านคุณภาพและมาตรฐานของอาเซียน ได้รับรองให้ อย. เป็นหน่วยประเมินการตรวจสอบคุณภาพยาของอาเซียน (Asean Listed Inspection Service) ซึ่งทุกประเทศสมาชิกได้ให้การยอมรับ ซึ่งจากนี้จะส่งผลให้ยาที่ผลิตในไทย และได้รับการรับรองจาก อย. สามารถส่งขายในประเทศสมาชิกอาเซียนได้ โดยไม่จำเป็นต้องให้ประเทศสมาชิกเข้ามาตรวจมาตรฐานการผลิต (GMP) และตรวจสอบที่ปลายทางอีก ถือเป็นการลดความซ้ำซ้อนและ อำนวยความสะดวก ลดภาระค่าจ่าย ซึ่งการตรวจสอบมาตรฐานยาแต่ละครั้งสูงถึงรายละเกือบ 1 แสนบาท นอกจากนี้ ยังทำให้ได้รับความเชื่อถือจากประเทศต่างๆ ที่จะเข้ามาตั้งฐานการผลิตยาในไทยด้วย
“ที่ผ่านมาในการตรวจสอบมาตรฐานการผลิตยา อย. ใช้มาตรฐานสากล PIC/S แต่นยังไม่ได้เข้าร่วมเป็นประเทศสมาชิก PIC/S ขณะนี้อยู่ระหว่างการทำเรื่องเพื่อขอเข้าเป็นสมาชิก ซึ่งหากได้รับการยอมรับให้เข้าร่วมแล้ว จะเป็นการยืนยันว่าเรื่องของมาตรฐานการผลิตยาในไทยว่ามีคุณภาพ สามารถส่งออกยาไปขายได้ทั่วโลกอย่างสะดวก ไม่ต้องมีการตรวจสอบมาตรฐานซ้ำ ช่วยลดปัญหาการกีดกันทางการค้าได้ในระดับหนึ่ง ทั้งนี้ คาดว่า น่าจะใช้เวลาอีกประมาณ 2 ปี จึงจะได้รับการรับรอง เพราะตอนนี้ยังติดเรื่องของยาสัตว์อยู่” เลขาธิการ อย. กล่าวและว่า สำหรับประเทศในอาเซียนที่ได้รับการรับรองให้เป้นหน่วยตรวจอบคุณภาพยาอาเซียนประกอบด้วย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่