คุรุสภา ตั้ง คกก. ศึกษาบทบาท ภาระหน้าที่ที่ควรเป็น ดูถึงบทบาทในอนาคต จำนวนกรรมการ และการได้มาของกรรมการฯ หลังมีข้อเสนอแนะจาก กมธ. ศึกษาฯ สนช. แนะปรับเปลี่ยนสัดส่วนกรรมการในบอร์ด คาดใช้เวลา 1 - 2 เดือน สรุปข้อเสนอให้ สนช. ได้ “ไพฑูรย์” ยันองค์ประกอบที่เป็นอยู่เหมาะสม ทำงานราบรื่นไม่ขัดแย้งทางความคิด
ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ประธานคณะกรรมการคุรุสภา เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ในการประชุมคณะกรรมการคุรุสภา (บอร์ดคุรุสภา) ได้หารือถึงกรณีที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) การศึกษาและการกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ให้ความเห็นเกี่ยวกับองค์ประกอบของบอร์ดคุรุสภา ในส่วนของกรรมการคุรุสภาส่วนของผู้แทนครู และกรรมการคุรุสภาส่วนผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งบางส่วนเห็นว่าน่าจะลดจำนวนกรรมการ ผู้แทนครู และเพิ่มกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิให้มากขึ้น ขณะเดียวกัน ก็มีข้อเสนอว่าน่าจะเพิ่มกรรมการฯในส่วนของผู้ใช้บัณฑิตมากขึ้น เป็นต้น ทั้งนี้ ที่ประชุมอภิปรายถึงประเด็นดังกล่าวอย่างกว้างขวาง และเห็นว่าบอร์ดคุรุสภานั้น เป็นสภาของวิชาชีพครู การที่จะมีการเสนอให้ลดหรือเพิ่มจำนวนกรรมการฯ ผู้แทนในด้านต่างๆโดยไม่ได้กลั่นกรอง หรือรับฟังความเห็นอย่างรอบด้านจากทุกภาคส่วนอาจจะไม่ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์พอ ดังนั้น จึงมีมติให้ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา แต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาบทบาท ภาระหน้าที่ที่ควรจะเป็นของคุรุสภา รวมทั้งศึกษางานวิจัยต่างๆ และ รวบรวมข้อมูล เพื่อจัดทำและใช้เป็นข้อเสนอว่า บทบาทคุรุสภาในอนาคตจะเป็นในลักษณะใดโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพครู นอกจากนี้ ให้ศึกษาจำนวนกรรมการควรมีมากน้อยเท่าไร การได้มาของกรรมการฯ เป็นเช่นไร และจัดทำเป็นข้อเสนอให้ สนช.ซึ่งคาดว่าใช้เวลา 1-2 เดือนจะแล้วเสร็จ
“เข้าใจว่าที่มีการพูดถึงองค์ประกอบของบอร์ดคุรุสภา เพราะที่ผ่านมาอาจจะมีความเข้าใจว่ามีความไม่ลงรอยหรือความไม่เห็นด้วยระหว่างกรรมการ ผู้แทนครู และผู้ทรงคุณวุฒิและมักเข้าใจว่าเมื่อกรรมการฯผู้แทนครูมากเมื่อมีการประชุมลงคะแนนเสียงก็ชนะทุกที จึงมีคำกล่าวว่า ผู้แทนครูมากก็ไม่ต้องพิจารณาอะไรเพราะโหวตชนะทุกที แต่สำหรับบอร์ดชุดนี้มีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิง เราไม่มีความแตกแยกทางความคิด การประชุมพิจารณาไปตามเหตุผลและข้อเท็จจริง ไม่ใช่ประชุมเพื่อรักษาประโยชน์ของกลุ่มหรือเพื่อตนเอง และพิจารณาโดยยึดประโยชน์วิชาชีพและผู้เรียนเป็นหลักใหญ่ ทั้งนี้ ปัจจุบันปัจจุบันกรรมการบอร์ดคุรุสภา มีทั้งสิ้น 39 คน ประกอบด้วย ประธาน 1 คน เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง 8 คน คณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ 4 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน และผู้แทนครู 19 คน ซึ่งส่วนตัวมองว่าโครงสร้างบอร์ดที่เป็นอยู่นั้นเหมาะสม” ศ.ดร.ไพฑุรย์ กล่าวและว่า สำหรับบทบาทของคุรุสภาในอนาคตนั้นจะเป็นเช่นไร คงเป็นเรื่องที่ต้องพูดคุยกัน หากมีบทบาทในเชิงวิชาการ วิชาชีพ องค์ประกอบของบอร์ดก็จะต้องเปลี่ยนไปเพราะทำหน้าที่ในฐานะตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพ แต่หากคุรุสภามีบทบาทเป็นสภาวิชาชีพ เท่ากับเป็นตัวแทนของสังคมต้องเข้ามาดูแลมาตรฐานการผลิตบัณฑิตให้ได้ตามที่สังคมต้องการ ตรงนี้ต้องรอผลารศึกษาจากคณะกรรมการฯที่ตั้งขึ้นต่อไป
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ประธานคณะกรรมการคุรุสภา เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ในการประชุมคณะกรรมการคุรุสภา (บอร์ดคุรุสภา) ได้หารือถึงกรณีที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) การศึกษาและการกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ให้ความเห็นเกี่ยวกับองค์ประกอบของบอร์ดคุรุสภา ในส่วนของกรรมการคุรุสภาส่วนของผู้แทนครู และกรรมการคุรุสภาส่วนผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งบางส่วนเห็นว่าน่าจะลดจำนวนกรรมการ ผู้แทนครู และเพิ่มกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิให้มากขึ้น ขณะเดียวกัน ก็มีข้อเสนอว่าน่าจะเพิ่มกรรมการฯในส่วนของผู้ใช้บัณฑิตมากขึ้น เป็นต้น ทั้งนี้ ที่ประชุมอภิปรายถึงประเด็นดังกล่าวอย่างกว้างขวาง และเห็นว่าบอร์ดคุรุสภานั้น เป็นสภาของวิชาชีพครู การที่จะมีการเสนอให้ลดหรือเพิ่มจำนวนกรรมการฯ ผู้แทนในด้านต่างๆโดยไม่ได้กลั่นกรอง หรือรับฟังความเห็นอย่างรอบด้านจากทุกภาคส่วนอาจจะไม่ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์พอ ดังนั้น จึงมีมติให้ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา แต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาบทบาท ภาระหน้าที่ที่ควรจะเป็นของคุรุสภา รวมทั้งศึกษางานวิจัยต่างๆ และ รวบรวมข้อมูล เพื่อจัดทำและใช้เป็นข้อเสนอว่า บทบาทคุรุสภาในอนาคตจะเป็นในลักษณะใดโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพครู นอกจากนี้ ให้ศึกษาจำนวนกรรมการควรมีมากน้อยเท่าไร การได้มาของกรรมการฯ เป็นเช่นไร และจัดทำเป็นข้อเสนอให้ สนช.ซึ่งคาดว่าใช้เวลา 1-2 เดือนจะแล้วเสร็จ
“เข้าใจว่าที่มีการพูดถึงองค์ประกอบของบอร์ดคุรุสภา เพราะที่ผ่านมาอาจจะมีความเข้าใจว่ามีความไม่ลงรอยหรือความไม่เห็นด้วยระหว่างกรรมการ ผู้แทนครู และผู้ทรงคุณวุฒิและมักเข้าใจว่าเมื่อกรรมการฯผู้แทนครูมากเมื่อมีการประชุมลงคะแนนเสียงก็ชนะทุกที จึงมีคำกล่าวว่า ผู้แทนครูมากก็ไม่ต้องพิจารณาอะไรเพราะโหวตชนะทุกที แต่สำหรับบอร์ดชุดนี้มีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิง เราไม่มีความแตกแยกทางความคิด การประชุมพิจารณาไปตามเหตุผลและข้อเท็จจริง ไม่ใช่ประชุมเพื่อรักษาประโยชน์ของกลุ่มหรือเพื่อตนเอง และพิจารณาโดยยึดประโยชน์วิชาชีพและผู้เรียนเป็นหลักใหญ่ ทั้งนี้ ปัจจุบันปัจจุบันกรรมการบอร์ดคุรุสภา มีทั้งสิ้น 39 คน ประกอบด้วย ประธาน 1 คน เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง 8 คน คณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ 4 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน และผู้แทนครู 19 คน ซึ่งส่วนตัวมองว่าโครงสร้างบอร์ดที่เป็นอยู่นั้นเหมาะสม” ศ.ดร.ไพฑุรย์ กล่าวและว่า สำหรับบทบาทของคุรุสภาในอนาคตนั้นจะเป็นเช่นไร คงเป็นเรื่องที่ต้องพูดคุยกัน หากมีบทบาทในเชิงวิชาการ วิชาชีพ องค์ประกอบของบอร์ดก็จะต้องเปลี่ยนไปเพราะทำหน้าที่ในฐานะตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพ แต่หากคุรุสภามีบทบาทเป็นสภาวิชาชีพ เท่ากับเป็นตัวแทนของสังคมต้องเข้ามาดูแลมาตรฐานการผลิตบัณฑิตให้ได้ตามที่สังคมต้องการ ตรงนี้ต้องรอผลารศึกษาจากคณะกรรมการฯที่ตั้งขึ้นต่อไป
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่