ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ชี้ มหา’ลัยไม่ว่าในระบบ - นอกระบบ ก็ไม่พ้นวงจรการตรวจเงินแผนดิน ย้ำผู้บริหารอย่าวางใจ คิดว่ามอบอำนาจลงนามเอกสารการเงินแล้วจะพ้นความรับผิดชอบ ส่วนกรณีมหา’ลัยถูกโกงเป็นบทเรียนที่ต้องมาทบทวนระบบควบคุมภายใน ย้ำอย่าเชื่อเอกสารแค่แผ่นเดียว
วันนี้ (18 มี.ค.) ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จัดการสัมมนาเรื่อง มาตรการกำกับดูแลด้านการเงิน และระบบการควบคุมภายในของสถาบันอุดมศึกษา โดยนายขจร จิตสุขุมมงคล ที่ปรึกษาด้านระบบริหาร สกอ. กล่าวว่า จากปัญหาการยักยอกทรัพย์เงินในสถาบันเทคเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ส่งผลให้เกิดความเกิดเสียหายต่อภาพลักษณ์ของอุดมศึกษา และทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่น สกอ. จึงต้องการกระตุ้นเตือนให้ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาตระหนักถึงหน้าที่ในการกำกับดูแลด้านการเงิน และการควบคุมภายในของสถาบัน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชน และสร้างภาพลักษณ์การปลอดการทุจริตในสถาบันอุดมศึกษา
นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน กล่าวว่า ปัญหาการทุจริตสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ และเอกชน หากไม่มีระบบการควบคุมที่ดี ซึ่งในเอกชนอาจจะพบเห็นไม่มากนัก เพราะเจ้าของจะใส่ใจเงินมากกว่ามหาวิทยาลัยของรัฐที่มองว่าเป็นเงินหลวง จึงไม่ค่อยสนใจ ดังนั้น จึงต้องปรับทัศนคติกันใหม่ และควรน้อมนำพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ โดยต้องตระหนักว่า เงินแผ่นดินคือเงินของประชาชนทั้งชาติ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ต้องรับผิดชอบตลอดเวลา ต้องใช้เงินอย่างระมัดระวัง ละเอียดรอบคอบ และไม่แอบแฝง เพื่อไม่ให้เกิดความพลั้งพลาดเสียหาย
“แม้มหาวิทยาลัยจะมีที่อยู่ในระบบและออกนอกระบบ แต่ยืนยันว่า มหาวิทยาลัยก็ยังไม่หลุดพ้นจากวงโคจรการตรวจเงินแผ่นดินไปได้ การลงนามมอบอำนาจของผู้บริหารที่ให้ผู้อื่นดำเนินการแทน ก็ไม่ใช่จะพ้นจากความผิด เพราะที่ผ่านมาผู้บริหารมักเข้าใจว่าหากมอบอำนาจแล้วก็ไม่ต้องรับผิดชอบ ทั้งนี้ ในการใช้จ่ายเงินนั้น มหาวิทยาลัยควรปฏิบัติตามกฎระเบียบและแบบแผนการปฏิบัติราชการ แต่ถ้าเรื่องใดไม่มีระเบียบระบุไว้ชัดเจน ผู้บริหารต้องใช้ดุลยพินิจโดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ต้องสมเหตุสมผล และตรวจสอบได้”ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน กล่าว
นายพิศิษฐ์ กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่ง ก็ถือเป็นจุดหนึ่งที่ต้องมาทบทวน และให้ความสำคัญกับระบบการควบคุมภายใน ที่ต้องมีการสอบยัน อย่าเชื่อเอกสารเพียงชิ้นเดียว หรือไว้วางใจคน เพราะหากไม่รักษาระบบให้ดี ระบบถ่วงดุลก็จะหายไป ซึ่งก็จะเป็นสัญญาณหายนะที่จะก่อให้ความเกิดความเสียหายตามมา
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (18 มี.ค.) ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จัดการสัมมนาเรื่อง มาตรการกำกับดูแลด้านการเงิน และระบบการควบคุมภายในของสถาบันอุดมศึกษา โดยนายขจร จิตสุขุมมงคล ที่ปรึกษาด้านระบบริหาร สกอ. กล่าวว่า จากปัญหาการยักยอกทรัพย์เงินในสถาบันเทคเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ส่งผลให้เกิดความเกิดเสียหายต่อภาพลักษณ์ของอุดมศึกษา และทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่น สกอ. จึงต้องการกระตุ้นเตือนให้ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาตระหนักถึงหน้าที่ในการกำกับดูแลด้านการเงิน และการควบคุมภายในของสถาบัน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชน และสร้างภาพลักษณ์การปลอดการทุจริตในสถาบันอุดมศึกษา
นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน กล่าวว่า ปัญหาการทุจริตสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ และเอกชน หากไม่มีระบบการควบคุมที่ดี ซึ่งในเอกชนอาจจะพบเห็นไม่มากนัก เพราะเจ้าของจะใส่ใจเงินมากกว่ามหาวิทยาลัยของรัฐที่มองว่าเป็นเงินหลวง จึงไม่ค่อยสนใจ ดังนั้น จึงต้องปรับทัศนคติกันใหม่ และควรน้อมนำพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ โดยต้องตระหนักว่า เงินแผ่นดินคือเงินของประชาชนทั้งชาติ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ต้องรับผิดชอบตลอดเวลา ต้องใช้เงินอย่างระมัดระวัง ละเอียดรอบคอบ และไม่แอบแฝง เพื่อไม่ให้เกิดความพลั้งพลาดเสียหาย
“แม้มหาวิทยาลัยจะมีที่อยู่ในระบบและออกนอกระบบ แต่ยืนยันว่า มหาวิทยาลัยก็ยังไม่หลุดพ้นจากวงโคจรการตรวจเงินแผ่นดินไปได้ การลงนามมอบอำนาจของผู้บริหารที่ให้ผู้อื่นดำเนินการแทน ก็ไม่ใช่จะพ้นจากความผิด เพราะที่ผ่านมาผู้บริหารมักเข้าใจว่าหากมอบอำนาจแล้วก็ไม่ต้องรับผิดชอบ ทั้งนี้ ในการใช้จ่ายเงินนั้น มหาวิทยาลัยควรปฏิบัติตามกฎระเบียบและแบบแผนการปฏิบัติราชการ แต่ถ้าเรื่องใดไม่มีระเบียบระบุไว้ชัดเจน ผู้บริหารต้องใช้ดุลยพินิจโดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ต้องสมเหตุสมผล และตรวจสอบได้”ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน กล่าว
นายพิศิษฐ์ กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่ง ก็ถือเป็นจุดหนึ่งที่ต้องมาทบทวน และให้ความสำคัญกับระบบการควบคุมภายใน ที่ต้องมีการสอบยัน อย่าเชื่อเอกสารเพียงชิ้นเดียว หรือไว้วางใจคน เพราะหากไม่รักษาระบบให้ดี ระบบถ่วงดุลก็จะหายไป ซึ่งก็จะเป็นสัญญาณหายนะที่จะก่อให้ความเกิดความเสียหายตามมา
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่