ชงกฎหมายตั้ง คกก. ระดับชาติ เข้าบอร์ดอำนวยการปฏิรูปการศึกษา 18 มี.ค. นี้ พร้อมเสนอ 2 ร่างให้บอร์ดชี้ขาด แจงรูปแบบขององค์กรมีความต่างกัน เป็นส่วนราชการและเป็นองค์กรอิสระในกำกับของนายกฯ
ศ.วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ประธานคณะอนุกรรมการปฏิรูปการศึกษาด้านกฎหมาย ในคณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่มี พล.ร.อ ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธาน เปิดเผยว่า ตามบทบัญญัติของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้น จะต้องมีการยกร่างกฎหมายการศึกษาขึ้นมา 4 ฉบับอย่างเร่งด่วน ได้แก่ ร่าง พ.ร.บ.คณะกรรมการนโยบายการศึกษาและพัฒนามนุษย์แห่งชาติ ร่าง พ.ร.บ.สถาบันวิจัยระบบการศึกษา ร่าง พ.ร.บ.หลักประกันการศึกษาแห่งชาติ และ ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมสถานศึกษานิติบุคคล รวมถึงต้องมีการปรับแก้กฎหมายอีก 5 ฉบับ คือ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และ พ.ร.บ.อาชีวศึกษา ภาระในการยกร่างกฎหมายเหล่านี้จะอยู่ที่คณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษาของ ศธ. ซึ่งเป็นแม่น้ำ 5 สายเป็นหลัก
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมบอร์ดอำนวยการปฏิรูป ศธ. วันที่ 18 มีนาคมนี้ จะมีการเสนอกฎหมายด้านการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการตั้งคณะกรรมการระดับชาติขึ้นมาให้ที่ประชุมพิจารณา 2 ร่าง โดยร่างหนึ่งยกร่างโดย คณะอนุฯปฏิรูปด้านกฎหมาย และอีกร่างหนึ่ง ยกร่างโดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา เข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุม ทั้งนี้ ร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับจะแตกต่างกันตรงรูปแบบขององค์กร โดยร่างของ สกศ. กำหนดให้คณะกรรมการระดับชาติด้านการศึกษา มีฐานะเป็นส่วนราชการระดับกรม อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ส่วนร่างของคณะอนุฯด้านกฎหมายการศึกษา เสนอให้มีฐานะเป็นหนวยงานอิสระที่ไม่เป็นส่วนราชการ อยู่ในกำกับของนายกฯ ซึ่งทั้ง 2 รูปแบบ มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน จึงต้องการให้บอร์ดอำนวยการปฏิรูปการศึกษา เป็นผู้ตัดสินใจเลือกโดยจะชี้แจงจุดดีและข้อจำกัดของทั้ง 2 รูปแบบ
ด้าน นางสิริกร มณีรินทร์ กรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษา กล่าวว่า โดยเจตนารมณ์ของการตั้งคณะกรรมการระดับชาติขึ้นมานั้น เพราะเห็นว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้คุณภาพการศึกษาไทยตกต่ำเพราะนโยบายการศึกษาเปลี่ยนแปลงบ่อยตามการเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีศึกษา จึงต้องการให้แยกฝ่ายนโยบายออกจากฝ่ายบริหาร คณะกรรมการระดับชาติจึงควรแยกออกมาจาก ศธ. ทำหน้าที่ดูแลนโยบาย ขณะที่ ศธ. ทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหารนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ตรงนี้ ถึงแม้จะมีกรเปลี่ยนตัว รมว.ศึกษาธิการ บ่อย แต่นโยบายการศึกษายังมีความต่อเนื่องได้ เพราะฉะนั้น ฐานะของคณะกรรมการระดับชาติจึงควรเป็นหน่วยงานอิสระเพื่อให้ปลอดจากการแทรกแซงของการเมือง กลุ่มผลประโยชน์
“เพื่อให้การทำงานคณะกรรมการระดับชาติขับเคลื่อนได้ จะมีการเสนอเงื่อนไขว่าต้องมีกรรมการที่ทำงานได้เต็มเวลาไม่น้อยกว่า 5 คน จากจำนวนกรรมการซึ่งคาดการณ์จะมีประมาณ 18 - 20 คน และจะต้องมีการตั้งกรรมการเฉพาะเรื่องไม่ต่ำกว่า 5 ชุด อาทิ กรรมการนโยบายและแผน กรรมการเฉพาะเรื่องอาชีวศึกษา และหากเลือกให้เป็นส่วนราชการ ควรให้นายกฯออกระเบียบเกี่ยวกับการบริหารให้คล่องตัวมากขึ้น เช่น สามารถสรรหาบุคลากรจำแหน่งสำคัญ ๆ จากทุกกระทรวงได้ เพื่อให้ซุปเปอร์บอร์ดไม่เป็นราชการเกินไป โดยเฉพาะตำแหน่งเลขาธิการนั้น ไม่ต้องการให้มาตามระบบราชการเหมือนอย่างเช่นเลขาธิการองค์กรหลักใน ศธ. แต่ต้องการให้สรรหาผู้มีความสามารถมาดำรงค์ตำแหน่ง มีวาระในการทำงาน และต้องมีการประเมินด้วย เพื่อให้การทำงานของซูเปอร์บอร์ดมีประสิทธิภาพ แตกต่างจากระบบราชการทั่วๆ ไป มิฉะนั้นแล้ว คณะกรรมการระดับชาติ จะไม่สามารถขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา พัฒนาคุณภาพการศึกษาได้” นางสิริกร กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ศ.วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ประธานคณะอนุกรรมการปฏิรูปการศึกษาด้านกฎหมาย ในคณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่มี พล.ร.อ ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธาน เปิดเผยว่า ตามบทบัญญัติของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้น จะต้องมีการยกร่างกฎหมายการศึกษาขึ้นมา 4 ฉบับอย่างเร่งด่วน ได้แก่ ร่าง พ.ร.บ.คณะกรรมการนโยบายการศึกษาและพัฒนามนุษย์แห่งชาติ ร่าง พ.ร.บ.สถาบันวิจัยระบบการศึกษา ร่าง พ.ร.บ.หลักประกันการศึกษาแห่งชาติ และ ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมสถานศึกษานิติบุคคล รวมถึงต้องมีการปรับแก้กฎหมายอีก 5 ฉบับ คือ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และ พ.ร.บ.อาชีวศึกษา ภาระในการยกร่างกฎหมายเหล่านี้จะอยู่ที่คณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษาของ ศธ. ซึ่งเป็นแม่น้ำ 5 สายเป็นหลัก
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมบอร์ดอำนวยการปฏิรูป ศธ. วันที่ 18 มีนาคมนี้ จะมีการเสนอกฎหมายด้านการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการตั้งคณะกรรมการระดับชาติขึ้นมาให้ที่ประชุมพิจารณา 2 ร่าง โดยร่างหนึ่งยกร่างโดย คณะอนุฯปฏิรูปด้านกฎหมาย และอีกร่างหนึ่ง ยกร่างโดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา เข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุม ทั้งนี้ ร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับจะแตกต่างกันตรงรูปแบบขององค์กร โดยร่างของ สกศ. กำหนดให้คณะกรรมการระดับชาติด้านการศึกษา มีฐานะเป็นส่วนราชการระดับกรม อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ส่วนร่างของคณะอนุฯด้านกฎหมายการศึกษา เสนอให้มีฐานะเป็นหนวยงานอิสระที่ไม่เป็นส่วนราชการ อยู่ในกำกับของนายกฯ ซึ่งทั้ง 2 รูปแบบ มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน จึงต้องการให้บอร์ดอำนวยการปฏิรูปการศึกษา เป็นผู้ตัดสินใจเลือกโดยจะชี้แจงจุดดีและข้อจำกัดของทั้ง 2 รูปแบบ
ด้าน นางสิริกร มณีรินทร์ กรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษา กล่าวว่า โดยเจตนารมณ์ของการตั้งคณะกรรมการระดับชาติขึ้นมานั้น เพราะเห็นว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้คุณภาพการศึกษาไทยตกต่ำเพราะนโยบายการศึกษาเปลี่ยนแปลงบ่อยตามการเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีศึกษา จึงต้องการให้แยกฝ่ายนโยบายออกจากฝ่ายบริหาร คณะกรรมการระดับชาติจึงควรแยกออกมาจาก ศธ. ทำหน้าที่ดูแลนโยบาย ขณะที่ ศธ. ทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหารนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ตรงนี้ ถึงแม้จะมีกรเปลี่ยนตัว รมว.ศึกษาธิการ บ่อย แต่นโยบายการศึกษายังมีความต่อเนื่องได้ เพราะฉะนั้น ฐานะของคณะกรรมการระดับชาติจึงควรเป็นหน่วยงานอิสระเพื่อให้ปลอดจากการแทรกแซงของการเมือง กลุ่มผลประโยชน์
“เพื่อให้การทำงานคณะกรรมการระดับชาติขับเคลื่อนได้ จะมีการเสนอเงื่อนไขว่าต้องมีกรรมการที่ทำงานได้เต็มเวลาไม่น้อยกว่า 5 คน จากจำนวนกรรมการซึ่งคาดการณ์จะมีประมาณ 18 - 20 คน และจะต้องมีการตั้งกรรมการเฉพาะเรื่องไม่ต่ำกว่า 5 ชุด อาทิ กรรมการนโยบายและแผน กรรมการเฉพาะเรื่องอาชีวศึกษา และหากเลือกให้เป็นส่วนราชการ ควรให้นายกฯออกระเบียบเกี่ยวกับการบริหารให้คล่องตัวมากขึ้น เช่น สามารถสรรหาบุคลากรจำแหน่งสำคัญ ๆ จากทุกกระทรวงได้ เพื่อให้ซุปเปอร์บอร์ดไม่เป็นราชการเกินไป โดยเฉพาะตำแหน่งเลขาธิการนั้น ไม่ต้องการให้มาตามระบบราชการเหมือนอย่างเช่นเลขาธิการองค์กรหลักใน ศธ. แต่ต้องการให้สรรหาผู้มีความสามารถมาดำรงค์ตำแหน่ง มีวาระในการทำงาน และต้องมีการประเมินด้วย เพื่อให้การทำงานของซูเปอร์บอร์ดมีประสิทธิภาพ แตกต่างจากระบบราชการทั่วๆ ไป มิฉะนั้นแล้ว คณะกรรมการระดับชาติ จะไม่สามารถขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา พัฒนาคุณภาพการศึกษาได้” นางสิริกร กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่