ศธ. ขานรับนโยบายซูเปอร์บอร์ด นายกฯ “อมรวิชช์” แจงชุดของนายกฯ เป็นชุดเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาเร่งด่วนในระยะ 6 - 7 เดือน ซึ่งจะเห็นผลงานรูปธรรม ขณะที่ชุดของ สปช. ต้องทำงานตามกลไกของรัฐธรรมนูญ และจะเปลี่ยนชื่อเป็น คกก. นโยบายและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แห่งชาติ ทำงานสอดคล้องกับบอร์ดนายกฯ
วันนี้ (11 มี.ค.) นายอมรวิชช์ นาครทรรพ โฆษกกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารองค์กรหลัก ศธ. ว่า ที่ประชุมหารือถึงนโยบายของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งให้ตั้งซูเปอร์บอร์ดการศึกษา เพื่อดูแลการศึกษา ซึ่งจะเป็นคณะทำงานระยะสั้นทำงานเร่งด่วนให้เกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ต้องอ่านออกเขียนได้ และเด็กชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 ต้องเลือกเรียนวิชาเสริมเป็นสาขาวิชาชีพ เพื่อการวางแผนอาชีพในอนาคต อีกทั้งเชื่อมโยงการศึกษากับการส่งเสริมวิชาชีพ ให้ตรงความต้องการของท้องถิ่นและประเทศชาติ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้รายงานในที่ประชุมว่า มีเด็ก ป.3 จำนวน 25,000 คน ที่ยังอ่านเขียนภาษาไทยไม่ได้ โดยขณะนี้ สพฐ. ได้แก้ ปัญหาการเรียนภาษาไทยโดยมีการสอนแบบแจกลูกสะกดคำ ซึ่งจะทำให้เด็กเรียนรู้ภาษาไทยได้เร็วขึ้น ส่วนนโยบายให้เด็กอ่านออกเขียนได้ตั้งแต่ ป.1 นั้น สพฐ. พร้อมที่จะดำเนินการทันที ส่วนเรื่องการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบระบบทวิภาษา ซึ่งจัดสอนในโรงเรียนตามชายแดนและพื้นที่พิเศษนั้น ศธ. ยังไม่มีนโยบายยกเลิกการสอนแบบทวิภาษา เพียงแต่ปรับรูปแบบการสอนในเรื่องนี้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม
“สำหรับซูเบอร์บอร์ดของนายกฯ เป็นคนละชุดกับของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) โดยชุดของนายกฯ เป็นชุดเฉพาะกิจเพื่อมาจัดการกับปัญหาเร่งด่วนในช่วง 6 - 7 เดือนนี้ ส่วนซูเปอร์บอร์ดของ สปช. จะเป็นองค์กรทั้งตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ โดยอาจจะเปลี่ยนชื่อมาเป็นคณะกรรมการนโยบายและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แห่งชาติ และทำงานสอดคล้องกับซูเบอร์บอร์ดของนายกฯ โดยคณะกรรมการ ที่ สปช. เสนอได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเรียบร้อยแล้ว ส่วนโครงสร้างของคณะกรรมการชุดดังกล่าว จะเป็นอย่างไรนั้น ยังไม่มีการลงรายละเอียด แต่เท่าที่หารือเบื้องต้นคณะกรรมการชุดนี้จะประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีความรู้ความสามารถและเป็นที่ยอมรับของสังคม จากภาคส่วนต่างๆ ประมาณ 20 คน”นายอมรวิชช์ กล่าว
นายอมรวิชช์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้าเรื่องร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ซึ่งจะมีการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองของกระทรวงการคลังในวันที่ 12 มีนาคม และหากไม่มีอะไรคลาดเคลื่อน คาดว่า ร่าง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวจะผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และสามารถประกาศใช้ได้ปลายปี 2558 สำหรับ พ.ร.บ. ฉบับนี้จัดตั้งเพื่อส่งเสริมการผลิต การวิจัย และพัฒนาการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา ซึ่งจะมาช่วยเติมเต็มระบบไอซีทีทางการศึกษา
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (11 มี.ค.) นายอมรวิชช์ นาครทรรพ โฆษกกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารองค์กรหลัก ศธ. ว่า ที่ประชุมหารือถึงนโยบายของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งให้ตั้งซูเปอร์บอร์ดการศึกษา เพื่อดูแลการศึกษา ซึ่งจะเป็นคณะทำงานระยะสั้นทำงานเร่งด่วนให้เกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ต้องอ่านออกเขียนได้ และเด็กชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 ต้องเลือกเรียนวิชาเสริมเป็นสาขาวิชาชีพ เพื่อการวางแผนอาชีพในอนาคต อีกทั้งเชื่อมโยงการศึกษากับการส่งเสริมวิชาชีพ ให้ตรงความต้องการของท้องถิ่นและประเทศชาติ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้รายงานในที่ประชุมว่า มีเด็ก ป.3 จำนวน 25,000 คน ที่ยังอ่านเขียนภาษาไทยไม่ได้ โดยขณะนี้ สพฐ. ได้แก้ ปัญหาการเรียนภาษาไทยโดยมีการสอนแบบแจกลูกสะกดคำ ซึ่งจะทำให้เด็กเรียนรู้ภาษาไทยได้เร็วขึ้น ส่วนนโยบายให้เด็กอ่านออกเขียนได้ตั้งแต่ ป.1 นั้น สพฐ. พร้อมที่จะดำเนินการทันที ส่วนเรื่องการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบระบบทวิภาษา ซึ่งจัดสอนในโรงเรียนตามชายแดนและพื้นที่พิเศษนั้น ศธ. ยังไม่มีนโยบายยกเลิกการสอนแบบทวิภาษา เพียงแต่ปรับรูปแบบการสอนในเรื่องนี้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม
“สำหรับซูเบอร์บอร์ดของนายกฯ เป็นคนละชุดกับของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) โดยชุดของนายกฯ เป็นชุดเฉพาะกิจเพื่อมาจัดการกับปัญหาเร่งด่วนในช่วง 6 - 7 เดือนนี้ ส่วนซูเปอร์บอร์ดของ สปช. จะเป็นองค์กรทั้งตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ โดยอาจจะเปลี่ยนชื่อมาเป็นคณะกรรมการนโยบายและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แห่งชาติ และทำงานสอดคล้องกับซูเบอร์บอร์ดของนายกฯ โดยคณะกรรมการ ที่ สปช. เสนอได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเรียบร้อยแล้ว ส่วนโครงสร้างของคณะกรรมการชุดดังกล่าว จะเป็นอย่างไรนั้น ยังไม่มีการลงรายละเอียด แต่เท่าที่หารือเบื้องต้นคณะกรรมการชุดนี้จะประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีความรู้ความสามารถและเป็นที่ยอมรับของสังคม จากภาคส่วนต่างๆ ประมาณ 20 คน”นายอมรวิชช์ กล่าว
นายอมรวิชช์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้าเรื่องร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ซึ่งจะมีการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองของกระทรวงการคลังในวันที่ 12 มีนาคม และหากไม่มีอะไรคลาดเคลื่อน คาดว่า ร่าง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวจะผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และสามารถประกาศใช้ได้ปลายปี 2558 สำหรับ พ.ร.บ. ฉบับนี้จัดตั้งเพื่อส่งเสริมการผลิต การวิจัย และพัฒนาการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา ซึ่งจะมาช่วยเติมเต็มระบบไอซีทีทางการศึกษา
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่