xs
xsm
sm
md
lg

สั่ง สพฐ.ทบทวนจัดสอนทวิภาษาพื้นที่ชายแดน ชี้เด็กเข้าใจภาษาไทยช้า

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

“ณรงค์” สั่ง สพฐ. ทบทวนการสอบระบบทวิภาษาใน ร.ร. พื้นที่ชายแดน โดยศึกษาข้อดี - ข้อเสีย ระบุการสอนในไทยยังไม่ค่อยได้ผล เพราะสอนแบบค่อยเป็นค่อยไปจนเด็กพูดไทยได้ช้า ขณะที่ต่างประเทศสอนทวิภาษาได้ผลดีกว่า ยันยังไม่ได้สั่งยกเลิกแต่อนาคตเป็นไปได้ที่เด็กกลุ่มนี้ต้องเรียนภาษาไทยเพียงภาษาเดียว

วันนี้ (5 มี.ค.) พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมกระทรวง ว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้รายงานความคืบหน้าเรื่องการปรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ซึ่งตนได้ให้ข้อแนะนำไปว่า การปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรควรรีบดำเนินการ โดย สพฐ. ควรแบ่งการปรับหลักสูตรเป็นช่วงๆ เช่น ระยะแรกปรับปรุงหลักสูตรในระดับปฐมวัยถึงช่วงชั้นที่ 1 ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 ให้เสร็จก่อน จากนั้นค่อยๆ ดำเนินการต่อในช่วง ป.4 - 6 เป็นต้น แต่ที่ผ่านมา สพฐ. ใช้วิธีการปรับปรุงพร้อมกันตั้งแต่ระดับปฐมวัยไปจนถึงระดับมัธยมศึกษา ซึ่งต้องใช้เวลานานมากและเมื่อเสร็จแล้วยังต้องนำร่องหลักสูตรอีก เพราะฉะนั้น สพฐ. ควรจะแบ่งการปรับปรุงเป็นทีละขั้นตอนไม่ใช่รอทำให้เสร็จทีเดียว ซึ่งแนวทางนี้จะทำให้หลักสูตรแกนกลางฉบับใหม่เสร็จเร็วขึ้น

พล.ร.อ.ณรงค์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ สพฐ. ยังได้รายงานการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบระบบทวิภาษา ซึ่งใช้สอนในโรงเรียนตามแนวชายแดนและพื้นที่พิเศษ ซึ่งเด็กส่วนใหญ่เป็นเด็กชาติพันธุ์ ไม่ได้ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่ แต่ใช้ภาษาท้องถิ่น อาทิ ภาษาละหู่ อาข่า กะเหรี่ยง เมียน ไทยใหญ่ จีนฮ่อ ลีซอ ม้ง คะฉิ่น ละว้า มูเซอ อีก้อ เป็นต้น เพราะฉะนั้น การเรียนการสอนรูปแบบทวิภาษาก็เพื่อให้เด็กในพื้นที่เหล่านี้มีโอกาสเรียนรู้อ่านและเขียนภาษาไทยเข้าใจ จนนำไปสู่การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องได้ อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมให้ความเห็นว่าการเรียนการสอนในรูปแบบทวิภาษานี้เป็นเรื่องดี และพบว่าในต่างประเทศดำเนินการได้มีประสิทธิภาพมาก ขณะที่ประเทศไทยกลับไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากมีการสำรวจพบว่า เด็กที่เรียนในโรงเรียนชายแดนและพื้นที่พิเศษ ระดับ ป.3 เรียนการอ่านและเขียนภาษาไทยได้ช้า และการเรียนการสอนก็เน้นแบบค่อยเป็นค่อยไปจนทำให้เด็กเหล่านี้ไม่สามารถสื่อสารภาษาไทยกับคนอื่นได้และยังเป็นห่วงเรื่องความมั่นคงด้วย ดังนั้นที่ประชุมมอบให้ สพฐ. ไปศึกษาข้อดี ข้อเสีย รวมถึงทบทวนว่าการเรียนทวิภาษายังมีความจำเป็นอยู่หรือไม่และนำกลับมารายงานที่ประชุมอีกครั้ง

“การให้ไปทบทวนเรื่องการสอนรูปแบบทวิภาษาไม่ได้หมายความว่า ผมสั่งให้ยกเลิกการสอน แค่อยากให้ศึกษาข้อดี ข้อเสียว่าถ้าการสอนทวิภาษาไม่ช่วยให้เด็กเข้าใจภาษาไทยมากขึ้น รวมถึงอาจทำให้เกิดปัญหาอ่านออกเขียนได้ ก็อาจจะต้องดูว่ามีความจำเป็นหรือไม่ที่จะจัดการสอนรูปแบบดังกล่าวต่อไป และในอนาคตก็อาจเป็นไปได้ที่จะให้เด็กกลุ่มนี้เรียนภาษาไทยเพียงอย่างเดียว” รมว.ศึกษาธิการ กล่าว
 
 
 
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่


การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าร่วมการแข่งขัน / โปรเปิ้ล
การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าร่วมการแข่งขัน / โปรเปิ้ล
เรื่องการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าร่วมการแข่งขัน อาจจะได้ยินนักกอล์ฟสาวของเราได้เล่าถึงประสบการณ์การเตรียมตัวหรือการจัดการต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องการเตรียมความพร้อมของร่างกายก่อนเข้าร่วมการแข่งขัน โปรคิดว่าการเตรียมความพร้อมของร่างกายเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งสำหรับนักกอล์ฟที่กำลังจะเข้าสู่การเป็นนักกีฬาเพื่อเข้าร่วมการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันในระดับสมัครเล่น หรือในระดับอาชีพ การเตรียมความพร้อมทางด้านร่างกาย โปรว่านักกอล์ฟทุกท่านควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับการแข่งขันจริง เมื่อเรามีความพร้อมในส่วนนี้ เราก็จะมีความมั่นใจ สมาธิ และสติในการเล่นที่มีประสิทธิภาพ
กำลังโหลดความคิดเห็น