“หมอรัชตะ” เผยยังไม่ได้หนังสือทางการจาก ป.ป.ท. เตรียมลุยสอบ สปสช. บริหารส่อไม่โปร่งใส ระบุ สปสช. ชี้แจงได้ทุกเรื่อง ด้านนายกแพทยสภาชี้กรรมการ สปสช. ควรยกเครื่องเปลี่ยนกลุ่มได้แล้ว มีแต่หน้าเดิม ด้าน สปสช.แจงละเอียดยิบ 5 ข้อร้องเรียน
วันนี้ (9 มี.ค.) ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) กล่าวถึงกรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ตรวจสอบ สปสช. เนื่องจากมีผู้ร้องเรียนบริหารงานอาจไม่โปร่งใส และเอื้อประโยชน์พวกพ้อง ว่า ยังไม่ได้รับหนังสืออย่างเป็นทางการ แต่เป็นเรื่องปกติที่จะมีประชาชนร้องเรียน ซึ่ง ป.ป.ท. ก็เป็นหน่วยงานหนึ่ง หากมีข้อร้องเรียนเรื่องใด ตามขั้นตอน ป.ป.ท. จะทำหนังสือมายังประธานบอร์ดฯ จากนั้น สปสช. ก็จะชี้แจงไป ซึ่งทุกเรื่องชี้แจงได้หมด ส่วนที่เชื่อมโยงการบริหารงานของ สปสช. ทำให้โรงพยาบาลสังกัด สธ. ขาดทุนกว่า 100 แห่งนั้น ที่ผ่านมา ตนได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 2 ชุด คือ คณะกรรมการตรวจสอบกรณีโรงพยาบาลขาดทุน มี นพ.ยุทธ โพธารามิก เป็นประธาน แต่ นพ.ยุทธ ขอลาออก จึงอยู่ระหว่างเลือกประธานคนใหม่ และคณะกรรมการตรวจสอบข้อมูลการจัดสรรงบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มี ศ.อัมมาร สยามวาลา เป็นประธาน ซึ่งจะเดินหน้าต่อไป
ด้าน ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา ในฐานะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข บอร์ด สปสช. กล่าวว่า ถึงเวลาที่บอร์ด สปสช. ต้องปฏิรูปสัดส่วนกรรมการ เพราะกรรมการส่วนใหญ่ยังเป็นกลุ่มเดิม อาจมีเปลี่ยนไปมาในแต่ละอนุกรรมการย่อย ซึ่งการพิจารณาในแต่ละเรื่องควรมีคนจากภาคส่วนอื่นเข้ามาหมุนเวียนกันไปบ้าง
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณี ป.ป.ท. เตรียมตรวจสอบ สปสช. เรื่องค่าตอบแทนเบี้ยประชุมที่มากเกินไป ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า เบี้ยประชุมบอร์ด สปสช. อยู่ที่ 10,000 บาทต่อเดือน ประชุมเดือนละครั้ง หากพูดก็ถือว่ามากอยู่ แต่ก็ต้องไปดูระเบียบ ซึ่งตรงนี้มีระเบียบรองรับ ขณะที่แพทยสภา ประชุมบอร์ดแต่ละครั้งอยู่ที่ 1,000 บาทเท่านั้น ดังนั้น หากจะมีการปฏิรูปก็ต้องพิจารณาให้ครอบคลุมทั้งหมด แต่ตนก็ไม่ทราบว่าจะปฏิรูปได้มากน้อยแค่ไหน
นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผอ.มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และกรรมการ สปสช. สัดส่วนภาคประชาชน กล่าวว่า ตรวจสอบครั้งนี้ถือเป็นโอกาสที่จะได้ชี้แจง อย่างข้อร้องเรียนใช้งบผิดวัตถุประสงค์ โดยจ่ายให้มูลนิธิ ชมรมต่างๆ ที่ไม่ใช่หน่วยบริการนั้น ต้องยกตัวอย่างกรณีการทำงานร่วมกันระหว่าง สปสช. มูลนิธิ และเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ซึ่งเริ่มจากโครงการโกลบอล ฟันด์ ของสหประชาชาติที่สนับสนุนให้มีการช่วยเหลือผู้ติดเชื้อ โดยปีแรก โกลบอล ฟันด์ สนับสนุนเต็ม 100% จากนั้นปีที่ 2 สนับสนุน 80% และ สปสช. เข้ามาช่วยอีก 20% พอปีที่ 3 สนับสนุนหน่วยงานละ 50% กระทั่งสุดท้ายโครงการโกลบอล ฟันด์ สิ้นสุดลง สปสช. จึงสนับสนุนเต็ม 100% แต่ทั้งหมดเป็นการทำงานเพื่อส่งเสริมป้องกันโรค มีระเบียบรองรับ ตรวจสอบได้ มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยมากกว่าจะต้องมาเน้นแค่การรักษาพยาบาล จึงไม่เข้าใจว่าการร้องเรียนมีวัตถุประสงค์อะไร เพราะแต่ละเรื่องตรวจสอบได้หมด
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า พร้อมชี้แจงทุกประเด็น ซึ่งเรื่องร้องเรียนเป็นประเด็นเดียวกับที่ปลัด สธ.เสนอในการประชุมบอร์ดฯ ซึ่งผู้บริหารระดับสูงของ สปสช.ได้แถลงข่าวชี้แจงไปหมดแล้ว และยืนยันพร้อมให้การตรวจสอบ ส่วนกรณีร้องเรียนคณะกรรมการตรวจสอบการใช้เงินภาครัฐ(คตร.) ได้ชี้แจงไปแล้ว ส่วนประเด็น ป.ป.ท.นั้น มุ่งประเด็นมาที่บอร์ด สปสช.โดยตรง อย่างไรก็ตาม สปสช.ยังไม่ได้รับหนังสือ แต่ช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา สปสช.ได้รับคำสั่งจาก รมว.สธ.ให้ทำข้อมูลชี้แจงให้กับ ป.ป.ท. เนื่องจากในการดำเนินการของบประมาณประจำปี 2559 ใน 5 ประเด็นดังกล่าว
นพ.วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ รองเลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า ประเด็น 5 ข้อร้องเรียนต่อ ป.ป.ท.นั้น เป็นเรื่องเก่าและขอชี้แจงเบื้องต้นว่า 1.กรณีบอร์ด สปสช.บางคนมีผลประโยชน์ทับซ้อน โอนเงินไปสนับสนุนโครงการของหน่วยงานที่เป็นหัวหน้าหรือกรรมการอยู่ ทำให้ รพ.ขาดทุน ข้อเท็จจริงคือการจัดสรรเงินตามกฎหมายสามารถให้หน่วยบริการหรือหน่วยงานอื่นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดบริการของหน่วยบริการได้ 2.การนำเงินไปให้รพ.เอกชนในการบริการโรคเฉพาะ ซึ่งไม่ใช่หน่วยบริการตามกฎหมายของ สปสช. เป็นการเข้าใจผิดและบิดเบือนข้อมูลเพราะ รพ.เอกชนเป็นหน่วยบริการตามกฎหมายของ สปสช.
3.สปสช.ผูกขาดการซื้อยาและเวชภัณฑ์ต่างๆ ที่เอื้อต่อเอกชน ได้รับค่าคอมมิชชั่นก็นำกลับไปใช้เป็นสวัสดิการของ สปสช. ไม่คืนเข้าหน่วยบริการ จริงๆแล้วการซื้อทั้งหมดดำเนินการผ่านองค์การเภสัชกรรม(อภ.) ไม่เคยซื้อตรงผ่านเอกชน และไม่มีค่าคอมมิชชั่น 4.การตกแต่งบัญชีโดยการโอนเงินล่วงหน้าและเรียกเงินกลับเพื่อการประเมินโบนัส และอ้างว่ามีการโอนเงินไปกลับนั้น ข้อเท็จจริงการโอนเงินล่วงหน้าเพื่อช่วยเหลือมิให้ รพ. มีปัญหาสภาพคล่องตอนต้นปีงบประมาณ และจะมีการหักลบตามผลงานที่ทำได้ตอนปลายปี ซึ่งเป็นระบบปกติ และ 5.การปรับอัตราเงินเดือนค่าตอบแทนของคณะกรรมการหรือเลขาธิการ สปสช. ไม่เป็นไปตามมติ ครม. กล่าวคือใช้ในอัตราสูงสุดที่ ครม.กำหนดโดยไม่ได้เป็นการเพิ่มขึ้นเป็นลำดับขั้น หรือแม้แต่ค่าตอบแทนเบี้ยประชุม ทุกอย่างเป็นไปตามกฎหมาย ส่วนเงินเดือนเลขาธิการ สปสช. เพราะก่อนรับตำแหน่งเลขาธิการวาระที่ 2 ก็ได้รับเงินเดือนที่เต็มขั้นอยู่ก่อนแล้ว การดำรงตำแหน่งวาระ 2 จึงให้ได้รับเงินเดือนเท่าเดิม
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (9 มี.ค.) ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) กล่าวถึงกรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ตรวจสอบ สปสช. เนื่องจากมีผู้ร้องเรียนบริหารงานอาจไม่โปร่งใส และเอื้อประโยชน์พวกพ้อง ว่า ยังไม่ได้รับหนังสืออย่างเป็นทางการ แต่เป็นเรื่องปกติที่จะมีประชาชนร้องเรียน ซึ่ง ป.ป.ท. ก็เป็นหน่วยงานหนึ่ง หากมีข้อร้องเรียนเรื่องใด ตามขั้นตอน ป.ป.ท. จะทำหนังสือมายังประธานบอร์ดฯ จากนั้น สปสช. ก็จะชี้แจงไป ซึ่งทุกเรื่องชี้แจงได้หมด ส่วนที่เชื่อมโยงการบริหารงานของ สปสช. ทำให้โรงพยาบาลสังกัด สธ. ขาดทุนกว่า 100 แห่งนั้น ที่ผ่านมา ตนได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 2 ชุด คือ คณะกรรมการตรวจสอบกรณีโรงพยาบาลขาดทุน มี นพ.ยุทธ โพธารามิก เป็นประธาน แต่ นพ.ยุทธ ขอลาออก จึงอยู่ระหว่างเลือกประธานคนใหม่ และคณะกรรมการตรวจสอบข้อมูลการจัดสรรงบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มี ศ.อัมมาร สยามวาลา เป็นประธาน ซึ่งจะเดินหน้าต่อไป
ด้าน ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา ในฐานะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข บอร์ด สปสช. กล่าวว่า ถึงเวลาที่บอร์ด สปสช. ต้องปฏิรูปสัดส่วนกรรมการ เพราะกรรมการส่วนใหญ่ยังเป็นกลุ่มเดิม อาจมีเปลี่ยนไปมาในแต่ละอนุกรรมการย่อย ซึ่งการพิจารณาในแต่ละเรื่องควรมีคนจากภาคส่วนอื่นเข้ามาหมุนเวียนกันไปบ้าง
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณี ป.ป.ท. เตรียมตรวจสอบ สปสช. เรื่องค่าตอบแทนเบี้ยประชุมที่มากเกินไป ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า เบี้ยประชุมบอร์ด สปสช. อยู่ที่ 10,000 บาทต่อเดือน ประชุมเดือนละครั้ง หากพูดก็ถือว่ามากอยู่ แต่ก็ต้องไปดูระเบียบ ซึ่งตรงนี้มีระเบียบรองรับ ขณะที่แพทยสภา ประชุมบอร์ดแต่ละครั้งอยู่ที่ 1,000 บาทเท่านั้น ดังนั้น หากจะมีการปฏิรูปก็ต้องพิจารณาให้ครอบคลุมทั้งหมด แต่ตนก็ไม่ทราบว่าจะปฏิรูปได้มากน้อยแค่ไหน
นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผอ.มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และกรรมการ สปสช. สัดส่วนภาคประชาชน กล่าวว่า ตรวจสอบครั้งนี้ถือเป็นโอกาสที่จะได้ชี้แจง อย่างข้อร้องเรียนใช้งบผิดวัตถุประสงค์ โดยจ่ายให้มูลนิธิ ชมรมต่างๆ ที่ไม่ใช่หน่วยบริการนั้น ต้องยกตัวอย่างกรณีการทำงานร่วมกันระหว่าง สปสช. มูลนิธิ และเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ซึ่งเริ่มจากโครงการโกลบอล ฟันด์ ของสหประชาชาติที่สนับสนุนให้มีการช่วยเหลือผู้ติดเชื้อ โดยปีแรก โกลบอล ฟันด์ สนับสนุนเต็ม 100% จากนั้นปีที่ 2 สนับสนุน 80% และ สปสช. เข้ามาช่วยอีก 20% พอปีที่ 3 สนับสนุนหน่วยงานละ 50% กระทั่งสุดท้ายโครงการโกลบอล ฟันด์ สิ้นสุดลง สปสช. จึงสนับสนุนเต็ม 100% แต่ทั้งหมดเป็นการทำงานเพื่อส่งเสริมป้องกันโรค มีระเบียบรองรับ ตรวจสอบได้ มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยมากกว่าจะต้องมาเน้นแค่การรักษาพยาบาล จึงไม่เข้าใจว่าการร้องเรียนมีวัตถุประสงค์อะไร เพราะแต่ละเรื่องตรวจสอบได้หมด
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า พร้อมชี้แจงทุกประเด็น ซึ่งเรื่องร้องเรียนเป็นประเด็นเดียวกับที่ปลัด สธ.เสนอในการประชุมบอร์ดฯ ซึ่งผู้บริหารระดับสูงของ สปสช.ได้แถลงข่าวชี้แจงไปหมดแล้ว และยืนยันพร้อมให้การตรวจสอบ ส่วนกรณีร้องเรียนคณะกรรมการตรวจสอบการใช้เงินภาครัฐ(คตร.) ได้ชี้แจงไปแล้ว ส่วนประเด็น ป.ป.ท.นั้น มุ่งประเด็นมาที่บอร์ด สปสช.โดยตรง อย่างไรก็ตาม สปสช.ยังไม่ได้รับหนังสือ แต่ช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา สปสช.ได้รับคำสั่งจาก รมว.สธ.ให้ทำข้อมูลชี้แจงให้กับ ป.ป.ท. เนื่องจากในการดำเนินการของบประมาณประจำปี 2559 ใน 5 ประเด็นดังกล่าว
นพ.วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ รองเลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า ประเด็น 5 ข้อร้องเรียนต่อ ป.ป.ท.นั้น เป็นเรื่องเก่าและขอชี้แจงเบื้องต้นว่า 1.กรณีบอร์ด สปสช.บางคนมีผลประโยชน์ทับซ้อน โอนเงินไปสนับสนุนโครงการของหน่วยงานที่เป็นหัวหน้าหรือกรรมการอยู่ ทำให้ รพ.ขาดทุน ข้อเท็จจริงคือการจัดสรรเงินตามกฎหมายสามารถให้หน่วยบริการหรือหน่วยงานอื่นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดบริการของหน่วยบริการได้ 2.การนำเงินไปให้รพ.เอกชนในการบริการโรคเฉพาะ ซึ่งไม่ใช่หน่วยบริการตามกฎหมายของ สปสช. เป็นการเข้าใจผิดและบิดเบือนข้อมูลเพราะ รพ.เอกชนเป็นหน่วยบริการตามกฎหมายของ สปสช.
3.สปสช.ผูกขาดการซื้อยาและเวชภัณฑ์ต่างๆ ที่เอื้อต่อเอกชน ได้รับค่าคอมมิชชั่นก็นำกลับไปใช้เป็นสวัสดิการของ สปสช. ไม่คืนเข้าหน่วยบริการ จริงๆแล้วการซื้อทั้งหมดดำเนินการผ่านองค์การเภสัชกรรม(อภ.) ไม่เคยซื้อตรงผ่านเอกชน และไม่มีค่าคอมมิชชั่น 4.การตกแต่งบัญชีโดยการโอนเงินล่วงหน้าและเรียกเงินกลับเพื่อการประเมินโบนัส และอ้างว่ามีการโอนเงินไปกลับนั้น ข้อเท็จจริงการโอนเงินล่วงหน้าเพื่อช่วยเหลือมิให้ รพ. มีปัญหาสภาพคล่องตอนต้นปีงบประมาณ และจะมีการหักลบตามผลงานที่ทำได้ตอนปลายปี ซึ่งเป็นระบบปกติ และ 5.การปรับอัตราเงินเดือนค่าตอบแทนของคณะกรรมการหรือเลขาธิการ สปสช. ไม่เป็นไปตามมติ ครม. กล่าวคือใช้ในอัตราสูงสุดที่ ครม.กำหนดโดยไม่ได้เป็นการเพิ่มขึ้นเป็นลำดับขั้น หรือแม้แต่ค่าตอบแทนเบี้ยประชุม ทุกอย่างเป็นไปตามกฎหมาย ส่วนเงินเดือนเลขาธิการ สปสช. เพราะก่อนรับตำแหน่งเลขาธิการวาระที่ 2 ก็ได้รับเงินเดือนที่เต็มขั้นอยู่ก่อนแล้ว การดำรงตำแหน่งวาระ 2 จึงให้ได้รับเงินเดือนเท่าเดิม
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่