WHO ปรับเกณฑ์คำแนะนำกินน้ำตาล ห้ามเกิน 6 ช้อนชาต่อวัน ช่วยลดเสี่ยงน้ำหนักเกิน อ้วน ฟันผุ หนุนทุกประเทศทำเป็นนโยบายลดภาระโรคและค่ารักษา ห่วงคนไทยกินน้ำตาลสูงเกิน 3 เท่า จากชาเขียว น้ำอัดลม
นพ.ทักษพล ธรรมรังสี ผู้อำนวยการสำนักวิจัยนโยบายสร้างเสริมสุขภาพ (สวน.) กล่าวว่า องค์การอนามัยโลกมีคำแนะนำการบริโภคน้ำตาลแบบใหม่เป็น 2 ระดับ คือ 1. ทั่วไป ทั้งผู้ใหญ่และเด็กบริโภคน้ำตาลน้อยกว่าร้อยละ 10 ของพลังงานทั้งหมดที่ได้รับต่อวัน และ 2. เพื่อสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น ควรบริโภคน้ำตาลต่ำกว่าร้อยละ 5 หรือเทียบเท่ากับ 25 กรัม หรือ 6 ช้อนชาต่อวัน จะลดความเสี่ยงต่อภาวะน้ำหนักเกิน โรคอ้วน และการเกิดฟันผุ นอกจากนี้ ยังได้แนะนำให้ประเทศสมาชิกทุกประเทศจัดทำเป็นนโยบายเพื่อลดการบริโภคน้ำตาลตามคำแนะนำ จะช่วยลดภาระโรคและการสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการเกิดโรคติดต่อไม่เรื้อรังได้อย่างมหาศาล
นพ.ทักษพล กล่าวว่า ปัจจุบันคนไทยบริโภคน้ำตาลอยู่ในระดับอันตราย และยังมีแนวโน้มบริโภคเพิ่มมากขึ้น โดยคนไทยบริโภคน้ำตาลเฉลี่ยคนละ 83.6 กรัมต่อวัน หรือประมาณ 16.7 ช้อนชา ซึ่งสูงกว่าคำแนะนำที่ให้บริโภคน้ำตาลได้ไม่เกินวันละ 6 ช้อนชาต่อวันถึงเกือบ 3 เท่า โดยเกือบครึ่งหนึ่งของน้ำตาลที่บริโภคอยู่ในรูปเครื่องดื่ม และคนไทยจำนวนมากก็ไม่ทราบว่าอาหารและเครื่องดื่มสำเร็จรูปที่ตนบริโภคนั้นมีน้ำตาลสูงเท่าใด สะท้อนถึงข้อจำกัดของระบบฉลากอาหาร นอกจากนั้น คนไทยมักคิดว่าตนเองขาดรสหวานไม่ได้ แต่ประสบการณ์แสดงให้เห็นว่าหลายประเทศสามารถจำกัดการบริโภคน้ำตาลให้เหลือน้อยกว่าร้อยละ 10 ของพลังงานทั้งหมดได้ เช่น นอร์เวย์ ฮังการี บริโภคน้ำตาลเพียง ร้อยละ 7 - 8 เท่านั้น
ด้าน ทพญ.ปิยะดา ประเสริฐสม ผู้จัดการโครงการเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน กล่าวว่า ที่ผ่านมา ปริมาณการบริโภคน้ำตาลของคนไทยเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยครึ่งหนึ่งมาจากเครื่องดื่มรสหวาน ที่คนไทยนิยม เช่น น้ำอัดลม ชาเขียว น้ำสมุนไพร มากกว่านมหลายเท่า ยิ่งกว่านั้นหลายคนยังเชื่อว่า ชาเขียว หรือน้ำสมุนไพรเป็นเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพ ทั้งที่จริงแล้วชาเขียวที่ขายในท้องตลาดมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบมากถึง 15 ช้อนชาต่อขวด ไม่ต่างจากน้ำอัดลม ดังนั้น การมีมาตรการควบคุมปริมาณการบริโภคน้ำตาล เช่น การปรับปรุงการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มรสหวานให้เหมาะสม รวมทั้งการสร้างค่านิยมอ่อนหวานให้เกิดขึ้นในสังคม จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อสุขภาพของคนไทยโดยเฉพาะเด็กและเยาวชน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.ทักษพล ธรรมรังสี ผู้อำนวยการสำนักวิจัยนโยบายสร้างเสริมสุขภาพ (สวน.) กล่าวว่า องค์การอนามัยโลกมีคำแนะนำการบริโภคน้ำตาลแบบใหม่เป็น 2 ระดับ คือ 1. ทั่วไป ทั้งผู้ใหญ่และเด็กบริโภคน้ำตาลน้อยกว่าร้อยละ 10 ของพลังงานทั้งหมดที่ได้รับต่อวัน และ 2. เพื่อสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น ควรบริโภคน้ำตาลต่ำกว่าร้อยละ 5 หรือเทียบเท่ากับ 25 กรัม หรือ 6 ช้อนชาต่อวัน จะลดความเสี่ยงต่อภาวะน้ำหนักเกิน โรคอ้วน และการเกิดฟันผุ นอกจากนี้ ยังได้แนะนำให้ประเทศสมาชิกทุกประเทศจัดทำเป็นนโยบายเพื่อลดการบริโภคน้ำตาลตามคำแนะนำ จะช่วยลดภาระโรคและการสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการเกิดโรคติดต่อไม่เรื้อรังได้อย่างมหาศาล
นพ.ทักษพล กล่าวว่า ปัจจุบันคนไทยบริโภคน้ำตาลอยู่ในระดับอันตราย และยังมีแนวโน้มบริโภคเพิ่มมากขึ้น โดยคนไทยบริโภคน้ำตาลเฉลี่ยคนละ 83.6 กรัมต่อวัน หรือประมาณ 16.7 ช้อนชา ซึ่งสูงกว่าคำแนะนำที่ให้บริโภคน้ำตาลได้ไม่เกินวันละ 6 ช้อนชาต่อวันถึงเกือบ 3 เท่า โดยเกือบครึ่งหนึ่งของน้ำตาลที่บริโภคอยู่ในรูปเครื่องดื่ม และคนไทยจำนวนมากก็ไม่ทราบว่าอาหารและเครื่องดื่มสำเร็จรูปที่ตนบริโภคนั้นมีน้ำตาลสูงเท่าใด สะท้อนถึงข้อจำกัดของระบบฉลากอาหาร นอกจากนั้น คนไทยมักคิดว่าตนเองขาดรสหวานไม่ได้ แต่ประสบการณ์แสดงให้เห็นว่าหลายประเทศสามารถจำกัดการบริโภคน้ำตาลให้เหลือน้อยกว่าร้อยละ 10 ของพลังงานทั้งหมดได้ เช่น นอร์เวย์ ฮังการี บริโภคน้ำตาลเพียง ร้อยละ 7 - 8 เท่านั้น
ด้าน ทพญ.ปิยะดา ประเสริฐสม ผู้จัดการโครงการเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน กล่าวว่า ที่ผ่านมา ปริมาณการบริโภคน้ำตาลของคนไทยเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยครึ่งหนึ่งมาจากเครื่องดื่มรสหวาน ที่คนไทยนิยม เช่น น้ำอัดลม ชาเขียว น้ำสมุนไพร มากกว่านมหลายเท่า ยิ่งกว่านั้นหลายคนยังเชื่อว่า ชาเขียว หรือน้ำสมุนไพรเป็นเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพ ทั้งที่จริงแล้วชาเขียวที่ขายในท้องตลาดมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบมากถึง 15 ช้อนชาต่อขวด ไม่ต่างจากน้ำอัดลม ดังนั้น การมีมาตรการควบคุมปริมาณการบริโภคน้ำตาล เช่น การปรับปรุงการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มรสหวานให้เหมาะสม รวมทั้งการสร้างค่านิยมอ่อนหวานให้เกิดขึ้นในสังคม จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อสุขภาพของคนไทยโดยเฉพาะเด็กและเยาวชน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่