ท่ามกลางความขัดแย้งที่กระจายไปทั่วสังคม ผนวกเข้ากับสภาพสังคมยุคปัจจุบันที่มีความสลับซับซ้อนไปแทบจะทุกมิติ ทำให้การถามหาเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
เด็กและเยาวชนยุคนี้ต้องเติบโตขึ้นมาท่ามกลางสังคมไทยที่ประสบปัญหาเรื่องคุณธรรม จริยธรรม อย่างมาก
ในโอกาสวันมาฆบูชาถือโอกาสนำเรื่องนี้มากระตุกสังคมอีกครั้ง เนื่องจากเรื่องวิกฤติคุณธรรม จริยธรรมที่เห็นได้ชัดเจนจากการเปลี่ยนไปตามยุคสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเชื่อที่อันตรายต่อสังคม !
จากสังคมในอดีตที่เราเคยยกย่องผู้คนในเรื่องความดี ความอาวุโส แต่ปัจจุบันกลับไปยกย่องคนมีอำนาจ ร่ำรวย โดยไม่ได้สนใจว่ามีอำนาจหรือร่ำรวยมาด้วยการโกงผู้อื่นหรือไม่
จากสังคมในอดีตที่เราเน้นการใช้ชีวิตแบบประหยัด พอเพียง แต่ปัจจุบันกลับกลายเป็นลุ่มหลงบริโภค วัตถุนิยม ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการอยากมี อยากเป็น อยากได้ ฯลฯ
นี่เป็นเพียงตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ยังมีองค์ประกอบอีกมากมายที่หล่อหลอมและบ่มเพาะให้เด็กยุคนี้มีโอกาสสุ่มเสี่ยงที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ขาดคุณธรรม จริยธรรม !
นึกถึงประโยคของท่านพุทธทาสภิกขุที่ว่า “ศีลธรรมไม่กลับมา โลกาจะวินาศ” มันสะท้อนว่าถึงเวลาแล้วจริงๆ ที่ต้องเร่งฟื้นฟูเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมให้กลับมาสู่สังคมไทยได้แล้ว
เร่งฟื้นฟูได้ใน 4 ระดับ
ระดับแรกครอบครัว
พ่อแม่มีบทบาทสำคัญในการเป็นแบบอย่างด้านคุณธรรม จริยธรรมให้กับลูก สมองของมนุษย์จะมีการพัฒนาได้เร็วที่สุดในช่วง 6 ขวบปีแรกของชีวิต ช่วงเวลาดังกล่าวที่พ่อแม่ได้เลี้ยงดูลูกอย่างใกล้ชิด นอกเหนือจากการให้ความรัก ความอบอุ่น และดูแลส่งเสริมพัฒนาการอย่างเต็มศักยภาพแล้ว มีความสำคัญอย่างยิ่งที่พ่อแม่ต้องพัฒนาทักษะพื้นฐานต่อการดำรงชีวิตให้เขาเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในสังคมโดยเฉพาะในด้านคุณธรรม จริยธรรม
คุณธรรม จริยธรรม สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่สมองโดยตรงได้ตั้งแต่เด็กยังเล็ก โดย พญ.จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ นักวิชาการอิสระผู้เชี่ยวชาญเรื่องสมอง กล่าวถึงกลไกการทำงานของสมองที่เกี่ยวข้องกับเรื่องคุณธรรม จริยธรรม มี 3 ส่วน
สมองส่วนแรก คือ ก้านสมอง เป็นส่วนที่ต้องการมีชีวิตรอด ซึ่งทารกจะส่งสัญญาณบางอย่างให้พ่อแม่ โดยอาศัยการทำงานของก้านสมองที่ตอบสนองตามสัญชาตญาณ และการควบคุมกล้ามเนื้อต่างๆ ให้เคลื่อนไหวได้ตามต้องการ เช่น ร้องเมื่อหิว หรือ ร้องเพราะต้องการให้แม่อุ้ม หากสมองส่วนนี้ไม่ได้รับการกระตุ้นที่เหมาะสม อาจกลายเป็นการสะสมความอยาก หรือกิเลสของเด็กให้เพิ่มขึ้นได้
ส่วนที่สอง คือ สมองส่วนกลาง เป็นส่วนที่ควบคุมอารมณ์ต่าง ๆ เช่น รัก ชอบ โกรธ เกลียด เด็กจะมีอารมณ์อย่างไร ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับการปลูกฝังอารมณ์มาจากพ่อแม่ ฉะนั้นพ่อแม่ต้องสอนให้เด็กรู้จักยับยั้งชั่งใจ และไม่ไปยึดติดกับสิ่งของภายนอก
ส่วนสุดท้าย คือ สมองส่วนบน เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดูแลคุณธรรมจริยธรรม สร้างกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล เข้าใจเหตุปัจจัยต่างๆ สมองส่วนนี้มีการพัฒนามาตั้งแต่แรกเกิด แต่พัฒนาได้ค่อนข้างช้า เพราะใช้เวลาในการสะสมความรู้ความเข้าใจค่อนข้างนาน
ดังนั้น ถ้าพ่อแม่อยากปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้แก่เด็ก ต้องส่งเสริมสมองส่วนบนตั้งแต่ยังเล็กๆ อย่ารอให้ลูกโตหรือเข้าใจเรื่องที่เป็นนามธรรมแล้วค่อยสอน เพราะยิ่งทำให้สมองส่วนบนพัฒนาได้ช้าลง
ปัจจุบันพ่อแม่จำนวนไม่น้อยที่มุ่งประเด็นกระตุ้นสมองด้วยการยัดเยียดให้เด็กๆ เรียนพิเศษกันสารพัด เพราะเข้าใจว่าถ้าลูกเรียนเก่งก็เท่ากับว่าเป็นการพัฒนาสมองเด็ก ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด ที่จริงแล้วเรื่องการพัฒนาสมองของเด็ก ต้องพัฒนาอย่างรอบด้าน ไม่ใช่เน้นเรื่องวิชาการอย่างเดียว
ถ้าพ่อแม่เพ่งเฉพาะเรื่องการเรียนเก่งคือคนเก่ง คือคนดีที่เชื่อฟังพ่อแม่ ลูกก็จะมุ่งแต่เรียนอย่างเดียว มุ่งสู่การแข่งขันอย่างเดียว แล้วโลกแห่งการแข่งขันนี่แหละที่นำไปสู่การเห็นแก่ตัว และท้ายที่สุดก็อาจไม่สนใจวิธีการที่ได้มาเพื่อชัยชนะ และถ้าเด็กขาดคุณธรรม จริยธรรม สุดท้ายก็จะไม่สนใจเรื่องการให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ
ระดับที่สองโรงเรียน
เมื่อเข้าสู่รั้วโรงเรียน ซึ่งจัดเป็นบ้านหลังที่สองของลูก ยิ่งต้องมีการเชื่อมโยงจากครอบครัว ด้วยการส่งเสริมเรื่องคุณธรรม จริยธรรม สร้างโรงเรียนที่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้
ก่อนหน้านี้ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี เคยกล่าวไว้ถึงเรื่องภาวะวิกฤติที่สังคมไทยขาดผู้นำที่มีคุณธรรม จริยธรรม ทำให้เกิดวิกฤติคุณธรรมสังคม พร้อมทั้งชี้แนะว่าควรจะต้องเร่งสร้างผู้นำที่มีคุณธรรม จริยธรรม โดยจุดมุ่งหมายสูงสุดของทุกอารยธรรมก็คือการเข้าถึงความดี ความจริง และความงาม หรือคุณงามความดีนั่นเอง
และหนึ่งในแนวทางที่คุณหมอเกษมได้นำเสนอก็คือ “ส่งเสริมการสร้างโรงเรียนคุณธรรม” เพื่อเป็นเครื่องมือรับไม้ต่อจากครอบครัวในการอบรมสั่งสอนเรื่องการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมอย่างต่อเนื่อง
ผู้บริหารสถานศึกษาเองก็ต้องให้ความสำคัญในการส่งเสริมเด็กนักเรียนให้เรียนหนังสือเก่ง แต่ก็เน้นเรื่องเป็นคนดีด้วย
ระดับที่สามนโยบายรัฐ
นโยบายรัฐมีความสำคัญมาก ต้องส่งเสริมให้เกิดคนมีความรู้ความสามารถและเป็นคนดีเข้ามาเป็นผู้บริหารของบ้านเมือง ดังตัวอย่างพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเรื่อง ส่งเสริมให้คนดีได้เป็นผู้นำ
“ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครที่จะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีปกครองบ้านเมืองและควบคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้”
ขณะเดียวกัน นโยบายของภาครัฐต้องส่งเสริมตั้งแต่ระดับสังคมหน่วยที่เล็กที่สุดคือ ครอบครัว ให้พ่อแม่ ผู้ปกครองมีความรู้และเอื้อให้ผู้ใหญ่ในสังคมเห็นความสำคัญของการเลี้ยงดูบุตรหลานและส่งเสริมให้เลี้ยงเด็กมีคุณภาพ ปลูกฝังให้มีคุณธรรมจริยธรรมตั้งแต่เล็ก รวมไปถึงการสร้างแบบอย่างที่ดีในสังคม
และส่งเสริมนโยบายไปสู่สถานศึกษาให้ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้ มีหลักสูตรและกิจกรรมที่ส่งเสริมเด็กและเยาวชนให้เป็นคนดีมีคุณธรรมและจริยธรรม
ระดับที่สี่เร่งสร้างทัศนคติและค่านิยมใหม่
ต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติและค่านิยมให้ผู้คนส่วนใหญ่นับถือคนที่ “ความดี” ไม่นับถือคนที่ “เงิน”
ส่งเสริมให้มีการนับถือ “คนดี” มากกว่า “คนเก่ง” ให้มีความเชื่อที่ว่า “คุณธรรม ความซื่อสัตย์” สำคัญกว่า “เงินตรา หรือ อำนาจ” ฯลฯ ก็จะทำให้ทุกคนในสังคมมีจิตใจที่เอื้ออาทรต่อกัน เห็นประโยชน์ส่วนรวมสำคัญกว่าประโยชน์ส่วนตน และคนในสังคมก็จะอยู่กันอย่างสงบสุข
หากฟื้นฟูได้ในทั้ง 4 ระดับก็วิเศษ แต่ไม่ใช่เรื่องง่าย และอยู่นอกเหนือเจตจำนงของเราในฐานะปัจเจก
วันนี้ต้องเริ่มต้นฟื้นฟูในระดับแรกสุดคือครอบครัวเสียก่อน
เพราะเราทุกคนลงมือทำได้ !
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
เด็กและเยาวชนยุคนี้ต้องเติบโตขึ้นมาท่ามกลางสังคมไทยที่ประสบปัญหาเรื่องคุณธรรม จริยธรรม อย่างมาก
ในโอกาสวันมาฆบูชาถือโอกาสนำเรื่องนี้มากระตุกสังคมอีกครั้ง เนื่องจากเรื่องวิกฤติคุณธรรม จริยธรรมที่เห็นได้ชัดเจนจากการเปลี่ยนไปตามยุคสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเชื่อที่อันตรายต่อสังคม !
จากสังคมในอดีตที่เราเคยยกย่องผู้คนในเรื่องความดี ความอาวุโส แต่ปัจจุบันกลับไปยกย่องคนมีอำนาจ ร่ำรวย โดยไม่ได้สนใจว่ามีอำนาจหรือร่ำรวยมาด้วยการโกงผู้อื่นหรือไม่
จากสังคมในอดีตที่เราเน้นการใช้ชีวิตแบบประหยัด พอเพียง แต่ปัจจุบันกลับกลายเป็นลุ่มหลงบริโภค วัตถุนิยม ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการอยากมี อยากเป็น อยากได้ ฯลฯ
นี่เป็นเพียงตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ยังมีองค์ประกอบอีกมากมายที่หล่อหลอมและบ่มเพาะให้เด็กยุคนี้มีโอกาสสุ่มเสี่ยงที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ขาดคุณธรรม จริยธรรม !
นึกถึงประโยคของท่านพุทธทาสภิกขุที่ว่า “ศีลธรรมไม่กลับมา โลกาจะวินาศ” มันสะท้อนว่าถึงเวลาแล้วจริงๆ ที่ต้องเร่งฟื้นฟูเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมให้กลับมาสู่สังคมไทยได้แล้ว
เร่งฟื้นฟูได้ใน 4 ระดับ
ระดับแรกครอบครัว
พ่อแม่มีบทบาทสำคัญในการเป็นแบบอย่างด้านคุณธรรม จริยธรรมให้กับลูก สมองของมนุษย์จะมีการพัฒนาได้เร็วที่สุดในช่วง 6 ขวบปีแรกของชีวิต ช่วงเวลาดังกล่าวที่พ่อแม่ได้เลี้ยงดูลูกอย่างใกล้ชิด นอกเหนือจากการให้ความรัก ความอบอุ่น และดูแลส่งเสริมพัฒนาการอย่างเต็มศักยภาพแล้ว มีความสำคัญอย่างยิ่งที่พ่อแม่ต้องพัฒนาทักษะพื้นฐานต่อการดำรงชีวิตให้เขาเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในสังคมโดยเฉพาะในด้านคุณธรรม จริยธรรม
คุณธรรม จริยธรรม สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่สมองโดยตรงได้ตั้งแต่เด็กยังเล็ก โดย พญ.จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ นักวิชาการอิสระผู้เชี่ยวชาญเรื่องสมอง กล่าวถึงกลไกการทำงานของสมองที่เกี่ยวข้องกับเรื่องคุณธรรม จริยธรรม มี 3 ส่วน
สมองส่วนแรก คือ ก้านสมอง เป็นส่วนที่ต้องการมีชีวิตรอด ซึ่งทารกจะส่งสัญญาณบางอย่างให้พ่อแม่ โดยอาศัยการทำงานของก้านสมองที่ตอบสนองตามสัญชาตญาณ และการควบคุมกล้ามเนื้อต่างๆ ให้เคลื่อนไหวได้ตามต้องการ เช่น ร้องเมื่อหิว หรือ ร้องเพราะต้องการให้แม่อุ้ม หากสมองส่วนนี้ไม่ได้รับการกระตุ้นที่เหมาะสม อาจกลายเป็นการสะสมความอยาก หรือกิเลสของเด็กให้เพิ่มขึ้นได้
ส่วนที่สอง คือ สมองส่วนกลาง เป็นส่วนที่ควบคุมอารมณ์ต่าง ๆ เช่น รัก ชอบ โกรธ เกลียด เด็กจะมีอารมณ์อย่างไร ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับการปลูกฝังอารมณ์มาจากพ่อแม่ ฉะนั้นพ่อแม่ต้องสอนให้เด็กรู้จักยับยั้งชั่งใจ และไม่ไปยึดติดกับสิ่งของภายนอก
ส่วนสุดท้าย คือ สมองส่วนบน เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดูแลคุณธรรมจริยธรรม สร้างกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล เข้าใจเหตุปัจจัยต่างๆ สมองส่วนนี้มีการพัฒนามาตั้งแต่แรกเกิด แต่พัฒนาได้ค่อนข้างช้า เพราะใช้เวลาในการสะสมความรู้ความเข้าใจค่อนข้างนาน
ดังนั้น ถ้าพ่อแม่อยากปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้แก่เด็ก ต้องส่งเสริมสมองส่วนบนตั้งแต่ยังเล็กๆ อย่ารอให้ลูกโตหรือเข้าใจเรื่องที่เป็นนามธรรมแล้วค่อยสอน เพราะยิ่งทำให้สมองส่วนบนพัฒนาได้ช้าลง
ปัจจุบันพ่อแม่จำนวนไม่น้อยที่มุ่งประเด็นกระตุ้นสมองด้วยการยัดเยียดให้เด็กๆ เรียนพิเศษกันสารพัด เพราะเข้าใจว่าถ้าลูกเรียนเก่งก็เท่ากับว่าเป็นการพัฒนาสมองเด็ก ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด ที่จริงแล้วเรื่องการพัฒนาสมองของเด็ก ต้องพัฒนาอย่างรอบด้าน ไม่ใช่เน้นเรื่องวิชาการอย่างเดียว
ถ้าพ่อแม่เพ่งเฉพาะเรื่องการเรียนเก่งคือคนเก่ง คือคนดีที่เชื่อฟังพ่อแม่ ลูกก็จะมุ่งแต่เรียนอย่างเดียว มุ่งสู่การแข่งขันอย่างเดียว แล้วโลกแห่งการแข่งขันนี่แหละที่นำไปสู่การเห็นแก่ตัว และท้ายที่สุดก็อาจไม่สนใจวิธีการที่ได้มาเพื่อชัยชนะ และถ้าเด็กขาดคุณธรรม จริยธรรม สุดท้ายก็จะไม่สนใจเรื่องการให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ
ระดับที่สองโรงเรียน
เมื่อเข้าสู่รั้วโรงเรียน ซึ่งจัดเป็นบ้านหลังที่สองของลูก ยิ่งต้องมีการเชื่อมโยงจากครอบครัว ด้วยการส่งเสริมเรื่องคุณธรรม จริยธรรม สร้างโรงเรียนที่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้
ก่อนหน้านี้ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี เคยกล่าวไว้ถึงเรื่องภาวะวิกฤติที่สังคมไทยขาดผู้นำที่มีคุณธรรม จริยธรรม ทำให้เกิดวิกฤติคุณธรรมสังคม พร้อมทั้งชี้แนะว่าควรจะต้องเร่งสร้างผู้นำที่มีคุณธรรม จริยธรรม โดยจุดมุ่งหมายสูงสุดของทุกอารยธรรมก็คือการเข้าถึงความดี ความจริง และความงาม หรือคุณงามความดีนั่นเอง
และหนึ่งในแนวทางที่คุณหมอเกษมได้นำเสนอก็คือ “ส่งเสริมการสร้างโรงเรียนคุณธรรม” เพื่อเป็นเครื่องมือรับไม้ต่อจากครอบครัวในการอบรมสั่งสอนเรื่องการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมอย่างต่อเนื่อง
ผู้บริหารสถานศึกษาเองก็ต้องให้ความสำคัญในการส่งเสริมเด็กนักเรียนให้เรียนหนังสือเก่ง แต่ก็เน้นเรื่องเป็นคนดีด้วย
ระดับที่สามนโยบายรัฐ
นโยบายรัฐมีความสำคัญมาก ต้องส่งเสริมให้เกิดคนมีความรู้ความสามารถและเป็นคนดีเข้ามาเป็นผู้บริหารของบ้านเมือง ดังตัวอย่างพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเรื่อง ส่งเสริมให้คนดีได้เป็นผู้นำ
“ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครที่จะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีปกครองบ้านเมืองและควบคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้”
ขณะเดียวกัน นโยบายของภาครัฐต้องส่งเสริมตั้งแต่ระดับสังคมหน่วยที่เล็กที่สุดคือ ครอบครัว ให้พ่อแม่ ผู้ปกครองมีความรู้และเอื้อให้ผู้ใหญ่ในสังคมเห็นความสำคัญของการเลี้ยงดูบุตรหลานและส่งเสริมให้เลี้ยงเด็กมีคุณภาพ ปลูกฝังให้มีคุณธรรมจริยธรรมตั้งแต่เล็ก รวมไปถึงการสร้างแบบอย่างที่ดีในสังคม
และส่งเสริมนโยบายไปสู่สถานศึกษาให้ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้ มีหลักสูตรและกิจกรรมที่ส่งเสริมเด็กและเยาวชนให้เป็นคนดีมีคุณธรรมและจริยธรรม
ระดับที่สี่เร่งสร้างทัศนคติและค่านิยมใหม่
ต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติและค่านิยมให้ผู้คนส่วนใหญ่นับถือคนที่ “ความดี” ไม่นับถือคนที่ “เงิน”
ส่งเสริมให้มีการนับถือ “คนดี” มากกว่า “คนเก่ง” ให้มีความเชื่อที่ว่า “คุณธรรม ความซื่อสัตย์” สำคัญกว่า “เงินตรา หรือ อำนาจ” ฯลฯ ก็จะทำให้ทุกคนในสังคมมีจิตใจที่เอื้ออาทรต่อกัน เห็นประโยชน์ส่วนรวมสำคัญกว่าประโยชน์ส่วนตน และคนในสังคมก็จะอยู่กันอย่างสงบสุข
หากฟื้นฟูได้ในทั้ง 4 ระดับก็วิเศษ แต่ไม่ใช่เรื่องง่าย และอยู่นอกเหนือเจตจำนงของเราในฐานะปัจเจก
วันนี้ต้องเริ่มต้นฟื้นฟูในระดับแรกสุดคือครอบครัวเสียก่อน
เพราะเราทุกคนลงมือทำได้ !
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่