ห่วงพระสงฆ์อ้วน ป่วยเบาหวาน สุขภาพช่องปากไม่ดี แนะประชาชนถวายภัตตาหารรสไม่หวาน มีประโยชน์ เน้นเส้นใยสูง มีวิตามินซี วิตามินบี
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า พระสงฆ์ 1 ใน 3 อาพาธด้วยโรคต่างๆ ขณะที่บางรูปไม่เคยเข้ารับการตรวจสุขภาพ จึงไม่รู้ภาวะเสี่ยง โดยปี 2554 สำรวจพระภิกษุ สามเณร จำนวน 98,561 รูป พบมีทั้งปัญหาสุขภาพช่องปาก ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง และเบาหวาน พระสงฆ์บางรูปป่วยมากกว่า 1 โรค พระสงฆ์ร้อยละ 5 อยู่ในภาวะอ้วน ความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ส่วนใหญ่มีสาเหตุจากปัญหาการบริโภคไม่ถูกหลักโภชนาการ ทั้งยังไม่สามารถเลือกฉันอาหารเองได้ ต้องฉันอาหารตามที่ฆราวาสใส่บาตร ประกอบกับสถานภาพของพระภิกษุไม่เอื้อต่อการออกกำลังกายทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรค แสดงให้เห็นว่าพระสงฆ์ขาดโอกาสในการเข้าถึงบริการสุขภาพ จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนให้พระสงฆ์ และวัดมีบทบาทในการส่งเสริมสุขภาพ เป็นศูนย์กลางสุขภาพชุมชน และจัดสภาพแวดล้อมที่ดีให้เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ
“พุทธศาสนิกชนควรหลีกเลี่ยงการถวายภัตตาหารที่รสหวานจัด มีน้ำตาลในปริมาณมาก ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่อาจทำให้เกิดโรคในช่องปาก โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จึงควรถวายอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และฟัน คือ อาหารที่มีเส้นใยสูง เช่น ผักและผลไม้ จำพวก แตงกวา ฝรั่ง มะเขือเทศ ชมพู่ จะช่วยในการทำความสะอาดฟัน อาหารที่มีวิตามินซี เช่น ส้ม สัปปะรด กะหล่ำปลี แครอท ผักคะน้า ซึ่งมีความสำคัญต่อสุขภาพ และรักษาเหงือก ฟัน กระดูก อาหารที่มีวิตามินบี2 เช่น ถั่วลิสง รำ ถั่วเหลือง มะม่วง จะช่วยป้องกันมุมปากแตก ลิ้นอักเสบ เลือกถวายน้ำผลไม้แทนน้ำอัดลม เพราะน้ำอัดลมมีปริมาณน้ำตาลสูง และมีผลต่อการกัดกร่อนของฟันได้ หากเลี่ยงน้ำอัดลมไม่ได้ให้ใช้ดื่มผ่านหลอดลงคอไปโดยตรง จะทำให้น้ำอัดลมสัมผัสผิวฟันน้อยกว่าการดื่มจากแก้ว หลีกเลี่ยงขนมหวาน เช่น คุกกี้ โดนัท ทองหยิบ ทองหยอด และฝอยทอง เพราะปริมาณน้ำตาลสูงจะทำให้ฟันผุได้ง่าย” รมว.สธ. กล่าว
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การดูแลสุขภาพช่องปากของพระสงฆ์ สามารถทำได้โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในช่องปาก และการป้องกันปัจจัยเสี่ยงร่วม โดยเข้ารับการตรวจสุขภาพช่องปากอย่างน้อยปีละครั้ง ร่วมกับการดูแลอนามัยช่องปากอย่างเหมาะสมด้วยสูตร 2 2 2 ได้แก่ แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง นานครั้งละ 2 นาที และงดรับประทานอาหารหลังแปรงฟัน 2 ชั่วโมง รวมถึงการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพฟัน
“กรมอนามัย ได้สนับสนุนพระสงฆ์เป็นแกนหลักดำเนินงานร่วมกับชุมชนในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้ลดเลี่ยง ลดโรค ลดภาวะแทรกซ้อนของโรค และก้าวสู่ชีวิตที่พอเพียง สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน โดยมีกลยุทธ์ 3 ประการ คือ 1.การชี้นำ 2.การเพิ่มความรู้ ความสามารถ ทักษะ และ 3.การขับเคลื่อนของภาคีเครือข่ายร่วมให้เกิดผลดีและประโยชน์ที่เอื้อต่อกัน มีเป้าหมายคือ 1 อำเภอ 1 วัดส่งเสริมสุขภาพ ครอบคลุมการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ทั่วประเทศ โดยมีวัดส่งเสริมสุขภาพที่ผ่านเกณฑ์ 5 องค์ประกอบดังนี้ สะอาดร่มรื่น สงบร่มเย็น สุขภาพร่วมสร้าง ศิลปะร่วมจิต และชาวประชาร่วมพัฒนา จำนวน 3,044 วัด กระจายอยู่ทุกอำเภอ แบ่งเป็นวัดส่งเสริมสุขภาพดีเด่น จำนวน 924 วัด และผ่านเกณฑ์ประเมินขั้นพื้นฐาน จำนวน 2,120 วัด” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า พระสงฆ์ 1 ใน 3 อาพาธด้วยโรคต่างๆ ขณะที่บางรูปไม่เคยเข้ารับการตรวจสุขภาพ จึงไม่รู้ภาวะเสี่ยง โดยปี 2554 สำรวจพระภิกษุ สามเณร จำนวน 98,561 รูป พบมีทั้งปัญหาสุขภาพช่องปาก ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง และเบาหวาน พระสงฆ์บางรูปป่วยมากกว่า 1 โรค พระสงฆ์ร้อยละ 5 อยู่ในภาวะอ้วน ความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ส่วนใหญ่มีสาเหตุจากปัญหาการบริโภคไม่ถูกหลักโภชนาการ ทั้งยังไม่สามารถเลือกฉันอาหารเองได้ ต้องฉันอาหารตามที่ฆราวาสใส่บาตร ประกอบกับสถานภาพของพระภิกษุไม่เอื้อต่อการออกกำลังกายทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรค แสดงให้เห็นว่าพระสงฆ์ขาดโอกาสในการเข้าถึงบริการสุขภาพ จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนให้พระสงฆ์ และวัดมีบทบาทในการส่งเสริมสุขภาพ เป็นศูนย์กลางสุขภาพชุมชน และจัดสภาพแวดล้อมที่ดีให้เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ
“พุทธศาสนิกชนควรหลีกเลี่ยงการถวายภัตตาหารที่รสหวานจัด มีน้ำตาลในปริมาณมาก ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่อาจทำให้เกิดโรคในช่องปาก โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จึงควรถวายอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และฟัน คือ อาหารที่มีเส้นใยสูง เช่น ผักและผลไม้ จำพวก แตงกวา ฝรั่ง มะเขือเทศ ชมพู่ จะช่วยในการทำความสะอาดฟัน อาหารที่มีวิตามินซี เช่น ส้ม สัปปะรด กะหล่ำปลี แครอท ผักคะน้า ซึ่งมีความสำคัญต่อสุขภาพ และรักษาเหงือก ฟัน กระดูก อาหารที่มีวิตามินบี2 เช่น ถั่วลิสง รำ ถั่วเหลือง มะม่วง จะช่วยป้องกันมุมปากแตก ลิ้นอักเสบ เลือกถวายน้ำผลไม้แทนน้ำอัดลม เพราะน้ำอัดลมมีปริมาณน้ำตาลสูง และมีผลต่อการกัดกร่อนของฟันได้ หากเลี่ยงน้ำอัดลมไม่ได้ให้ใช้ดื่มผ่านหลอดลงคอไปโดยตรง จะทำให้น้ำอัดลมสัมผัสผิวฟันน้อยกว่าการดื่มจากแก้ว หลีกเลี่ยงขนมหวาน เช่น คุกกี้ โดนัท ทองหยิบ ทองหยอด และฝอยทอง เพราะปริมาณน้ำตาลสูงจะทำให้ฟันผุได้ง่าย” รมว.สธ. กล่าว
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การดูแลสุขภาพช่องปากของพระสงฆ์ สามารถทำได้โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในช่องปาก และการป้องกันปัจจัยเสี่ยงร่วม โดยเข้ารับการตรวจสุขภาพช่องปากอย่างน้อยปีละครั้ง ร่วมกับการดูแลอนามัยช่องปากอย่างเหมาะสมด้วยสูตร 2 2 2 ได้แก่ แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง นานครั้งละ 2 นาที และงดรับประทานอาหารหลังแปรงฟัน 2 ชั่วโมง รวมถึงการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพฟัน
“กรมอนามัย ได้สนับสนุนพระสงฆ์เป็นแกนหลักดำเนินงานร่วมกับชุมชนในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้ลดเลี่ยง ลดโรค ลดภาวะแทรกซ้อนของโรค และก้าวสู่ชีวิตที่พอเพียง สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน โดยมีกลยุทธ์ 3 ประการ คือ 1.การชี้นำ 2.การเพิ่มความรู้ ความสามารถ ทักษะ และ 3.การขับเคลื่อนของภาคีเครือข่ายร่วมให้เกิดผลดีและประโยชน์ที่เอื้อต่อกัน มีเป้าหมายคือ 1 อำเภอ 1 วัดส่งเสริมสุขภาพ ครอบคลุมการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ทั่วประเทศ โดยมีวัดส่งเสริมสุขภาพที่ผ่านเกณฑ์ 5 องค์ประกอบดังนี้ สะอาดร่มรื่น สงบร่มเย็น สุขภาพร่วมสร้าง ศิลปะร่วมจิต และชาวประชาร่วมพัฒนา จำนวน 3,044 วัด กระจายอยู่ทุกอำเภอ แบ่งเป็นวัดส่งเสริมสุขภาพดีเด่น จำนวน 924 วัด และผ่านเกณฑ์ประเมินขั้นพื้นฐาน จำนวน 2,120 วัด” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่