ผู้บริโภคเตือนประชาชนอย่าเพิ่มสมัครโปรโมชันวินาทีใหม่ของ 3 ค่ายมือถือ แฉพยายามทำให้เข้าใจว่า โทร. ได้มาก ทั้งที่จ่ายแพงกว่าโปรเหมาจ่ายตามเดิม ระบุ AIS แพงขึ้น 65.3% ขณะที่ดีแทค - ทรู ค่าบริการสูงกว่าที่ กสทช. กำหนด แถมลดสิทธิประโยชน์ลง หวั่นค่ายมือถือ กสทช. รวมหัว ฉวยโอกาสผู้บริโภครู้ทัน ไม่ตอบรับโปรใหม่ บิดเบือนไม่ต้องการค่า โทร. วินาที
วันนี้ (25 ก.พ.) ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) ผศ.รุจน์ โกมลบุตร ประธานอนุกรรมการด้านสื่อและโทรคมนาคม คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.) แถลงข่าว “รู้ยัง! ผู้บริโภคไม่โง่ ดูโปรแล้วไม่อยากเปลี่ยน” ว่า จากการที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ ทั้ง AIS DTAC และ TRUE MOVE เสนอแพกเกจคิดค่าโทร. เป็นวินาทีนั้น คอบช. เห็นว่ามีอัตราค่าบริการไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภค เนื่องจากต้องจ่ายราคาแพงขึ้น แต่สิทธิประโยชน์ลดลง เมื่อเทียบกับแพกเกจเดิมที่ไม่คิดค่าโทร. เป็นวินาที คอบช.จึงขอปฏิเสธโปรโมชันใหม่ และไม่ยอมรับว่าเป็นแนวทางที่ถูกต้องในการตอบสนองต่อมติสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)
“ส่วนของผู้บริโภคเสนอว่า ไม่ควรสมัครโปรวินาทีที่ออกมาในตอนนี้ เนื่องจากมีราคาไม่เป็นธรรม และไม่ได้ตอบสนองเรื่องการไม่ปัดเศษเป็นวินาทีอย่างแท้จริง และขอให้ผู้บริโภคช่วยกันสื่อสารไปยังค่ายมือถือ เพื่อเรียกร้องให้ค่ายมือถือคิดค่าบริการเป็นวินาทีตามจริง มากกว่าการออกโปรโมชันที่สับสนและมีราคาไม่เป็นธรรม” ผศ.รุจน์ กล่าว
ด้าน น.ส.ชลดา บุญเกษม อนุกรรมการด้านสื่อฯ คอบช. กล่าวว่า อย่างค่าย AIS มี 8 แพกเกจ มีเพียงแพกเกจเดียวที่คิดค่าโทร. เป็นวินาทีคือ isecond 345 บาท โทร. ได้ 4,800 วินาทีต่อเดือน หรือ 80 นาทีต่อเดือน เมื่อเทียบกับแพกเกจเหมาจ่ายตามเดิมคือ ismart 399 บาท โทรได้ 150 นาทีต่อเดือน จะพบว่า แพงขึ้นถึง 65.3% แต่พยายามแสดงตัวเลขให้เข้าใจว่าโทร. ได้มาก ส่วนดีแทค ออกโปรโมชันวินาที 2 แพคเกจ และทรูออกเพียง 1 แพกเกจ ซึ่งเป็นโปรที่ไม่ปัดเศษ แต่เมื่อคำนวณเป็นนาที พบว่า ค่าบริการสูงกว่าที่ กสทช. กำหนดไว้ เช่น กำหนดคิดเป็น 1.67 สตางค์ต่อวินาที เมื่อโทร. ครบ 60 วินาที หรือ 1 นาที เป็นเงินทั้งสิ้น 1.2 บาทต่อนาที ซึ่งเกินกว่าที่ กสทช. กำหนดไว้ที่ 99 สตางค์ต่อนาที
ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง กรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านสินค้าและบริการทั่วไป คอบช. กล่าวว่า การคิดแบบปัดเศษวินาทีเป็นการกระทำที่เอาเปรียบผู้บริโภค และค้ากำไรเกินควร จึงเสนอให้ กสทช. ใช้มาตรการป้องกันการเอาเปรียบผู้บริโภค ห้ามผู้ประกอบการคิดค่าบริการในส่วนที่ผู้บริโภคไม่ได้มีการใช้งานจริง ทั้งค่าโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต โดย กสทช. ควรรวมเรื่องการคิดค่าโทรศัพท์เป็นวินาทีเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาในประกาศ ‘การกระทำที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม โดยการอาศัยการใช้เครือข่ายหรือการโฆษณา อันมีลักษณะเป็นการค้ากำไรเกินควร หรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ พ.ศ. ...
นางมณี จิรโชติมงคลกุล เครือข่ายผู้บริโภค กทม. กล่าวว่า เรียกร้องให้ค่ายมือถือทุกราย และ กสทช. ให้ข้อมูลผู้บริโภคอย่างถูกต้อง ไม่ทำให้ผู้บริโภคเกิดความสับสน หลอกลวงผู้บริโภคด้วยวิธีการอันซับซ้อน ซึ่งไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของ สปช. อย่างโปรโมชันใหม่ที่ 3 ค่ายมือถือเปิดตัวชัดเจนว่า เป็นการเสนอทางเลือกที่ไม่น่าเลือก เพราะมีอัตราค่าบริการที่แพงกว่าโปรโมชันเดิมที่มีอยู่ในท้องตลาด และมีลักษณะลดสิทธิประโยชน์ผู้บริโภค บางค่ายยังแฝงการปัดเศษเข้ามาด้วย ซึ่งหากดูผิวเผินเหมือนให้สิทธิประโยชน์ที่คุ้มค่าและเป็นธรรม แต่จริงๆ ไม่ใช่ ทั้งนี้ คาดว่า เมื่อผู้บริโภคไม่ให้การตอบรับโปรใหม่ ผู้ให้บริการและ กสทช.จะใช้สถานการณ์นี้อ้างว่า ผู้บริโภคไม่ต้องการระบบคิดค่า โทร. เป็นวินาที ทั้งที่ความจริงเป็นการพยายามบิดเบือนและตีความอย่างศรีธนญชัย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (25 ก.พ.) ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) ผศ.รุจน์ โกมลบุตร ประธานอนุกรรมการด้านสื่อและโทรคมนาคม คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.) แถลงข่าว “รู้ยัง! ผู้บริโภคไม่โง่ ดูโปรแล้วไม่อยากเปลี่ยน” ว่า จากการที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ ทั้ง AIS DTAC และ TRUE MOVE เสนอแพกเกจคิดค่าโทร. เป็นวินาทีนั้น คอบช. เห็นว่ามีอัตราค่าบริการไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภค เนื่องจากต้องจ่ายราคาแพงขึ้น แต่สิทธิประโยชน์ลดลง เมื่อเทียบกับแพกเกจเดิมที่ไม่คิดค่าโทร. เป็นวินาที คอบช.จึงขอปฏิเสธโปรโมชันใหม่ และไม่ยอมรับว่าเป็นแนวทางที่ถูกต้องในการตอบสนองต่อมติสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)
“ส่วนของผู้บริโภคเสนอว่า ไม่ควรสมัครโปรวินาทีที่ออกมาในตอนนี้ เนื่องจากมีราคาไม่เป็นธรรม และไม่ได้ตอบสนองเรื่องการไม่ปัดเศษเป็นวินาทีอย่างแท้จริง และขอให้ผู้บริโภคช่วยกันสื่อสารไปยังค่ายมือถือ เพื่อเรียกร้องให้ค่ายมือถือคิดค่าบริการเป็นวินาทีตามจริง มากกว่าการออกโปรโมชันที่สับสนและมีราคาไม่เป็นธรรม” ผศ.รุจน์ กล่าว
ด้าน น.ส.ชลดา บุญเกษม อนุกรรมการด้านสื่อฯ คอบช. กล่าวว่า อย่างค่าย AIS มี 8 แพกเกจ มีเพียงแพกเกจเดียวที่คิดค่าโทร. เป็นวินาทีคือ isecond 345 บาท โทร. ได้ 4,800 วินาทีต่อเดือน หรือ 80 นาทีต่อเดือน เมื่อเทียบกับแพกเกจเหมาจ่ายตามเดิมคือ ismart 399 บาท โทรได้ 150 นาทีต่อเดือน จะพบว่า แพงขึ้นถึง 65.3% แต่พยายามแสดงตัวเลขให้เข้าใจว่าโทร. ได้มาก ส่วนดีแทค ออกโปรโมชันวินาที 2 แพคเกจ และทรูออกเพียง 1 แพกเกจ ซึ่งเป็นโปรที่ไม่ปัดเศษ แต่เมื่อคำนวณเป็นนาที พบว่า ค่าบริการสูงกว่าที่ กสทช. กำหนดไว้ เช่น กำหนดคิดเป็น 1.67 สตางค์ต่อวินาที เมื่อโทร. ครบ 60 วินาที หรือ 1 นาที เป็นเงินทั้งสิ้น 1.2 บาทต่อนาที ซึ่งเกินกว่าที่ กสทช. กำหนดไว้ที่ 99 สตางค์ต่อนาที
ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง กรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านสินค้าและบริการทั่วไป คอบช. กล่าวว่า การคิดแบบปัดเศษวินาทีเป็นการกระทำที่เอาเปรียบผู้บริโภค และค้ากำไรเกินควร จึงเสนอให้ กสทช. ใช้มาตรการป้องกันการเอาเปรียบผู้บริโภค ห้ามผู้ประกอบการคิดค่าบริการในส่วนที่ผู้บริโภคไม่ได้มีการใช้งานจริง ทั้งค่าโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต โดย กสทช. ควรรวมเรื่องการคิดค่าโทรศัพท์เป็นวินาทีเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาในประกาศ ‘การกระทำที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม โดยการอาศัยการใช้เครือข่ายหรือการโฆษณา อันมีลักษณะเป็นการค้ากำไรเกินควร หรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ พ.ศ. ...
นางมณี จิรโชติมงคลกุล เครือข่ายผู้บริโภค กทม. กล่าวว่า เรียกร้องให้ค่ายมือถือทุกราย และ กสทช. ให้ข้อมูลผู้บริโภคอย่างถูกต้อง ไม่ทำให้ผู้บริโภคเกิดความสับสน หลอกลวงผู้บริโภคด้วยวิธีการอันซับซ้อน ซึ่งไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของ สปช. อย่างโปรโมชันใหม่ที่ 3 ค่ายมือถือเปิดตัวชัดเจนว่า เป็นการเสนอทางเลือกที่ไม่น่าเลือก เพราะมีอัตราค่าบริการที่แพงกว่าโปรโมชันเดิมที่มีอยู่ในท้องตลาด และมีลักษณะลดสิทธิประโยชน์ผู้บริโภค บางค่ายยังแฝงการปัดเศษเข้ามาด้วย ซึ่งหากดูผิวเผินเหมือนให้สิทธิประโยชน์ที่คุ้มค่าและเป็นธรรม แต่จริงๆ ไม่ใช่ ทั้งนี้ คาดว่า เมื่อผู้บริโภคไม่ให้การตอบรับโปรใหม่ ผู้ให้บริการและ กสทช.จะใช้สถานการณ์นี้อ้างว่า ผู้บริโภคไม่ต้องการระบบคิดค่า โทร. เป็นวินาที ทั้งที่ความจริงเป็นการพยายามบิดเบือนและตีความอย่างศรีธนญชัย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่