จบด้วยดีช่วยคนไร้สถานะเข้ากองทุนคืนสิทธิ สธ. เคาะตัวเลข 285,171 คน รวมกลุ่มตกหล่น 3.8 หมื่นคนแล้ว รมช.ศธ. ระบุให้คณะทำงานทำข้อมูลตัวเลขเพิ่มเติมในกลุ่มคนได้ขึ้นทะเบียนโครงการเฉลิมพระเกียรติ และ นร.ที่ ศธ. ขึ้นทะเบียน ก่อนเสนอ ครม. พร้อมทำยุทธศาสตร์ดูแลภาพรวม
วันนี้ (23 ก.พ.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธานการประชุมหารือประเด็นเชิงยุทธศาสตร์เพื่อการจัดการสถานะและสิทธิในบริการสาธารณสุขของบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติ โดยเชิญภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งสำนักงบประมาณ กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักบริหารการทะเบียน กระทรวงมหาดไทย และคณะทำงานวิชาการยกร่างยุทธศาสตร์ฯ ร่วมหารือ หลังจากที่ 37 องค์กรสาธารณสุข ออกมาเรียกร้องและยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อขอให้แก้ไขตัวเลขบุคคลรอพิสูจน์สถานะและสิทธิที่จะเข้ากองทุนคืนสิทธิเพิ่มเติมจากที่ สธ. เสนอตัวเลขเพียง 170,535 คน ส่งผลให้มีคนตกหล่นไปประมาณ 3.8 หมื่นคน ซึ่ง สธ.ระบุว่าจะมีการยืนยันในการประชุมครั้งนี้
ทั้งนี้ ภายหลังประชุม นพ.สมศักดิ์ ให้สัมภาษณ์ว่า ที่ประชุมพิจารณา 2 เรื่อง คือ 1.จำนวนบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ และจะขอขยายเพิ่มเติมหลังจากมติ ครม.เมื่อวันที่ 23 มี.ค. 2553 ที่ให้ไปแล้วกว่า 4 แสนคน โดยครั้งนี้มีข้อสรุปตัวเลขที่คาดว่าจะเสนอ คือ 285,171 คน แบ่งเป็น 1. ชนกลุ่มน้อยที่อพยพเข้ามาในประเทศ จำนวน 150,076 คน 2. บุตรของบุคคลกลุ่มที่ 1 จำนวน 56,672 คน 3. บุคคลกลุ่มอื่นๆ ที่ได้รับสำรวจและจัดทำทะเบียน จำนวน 1,883 คน ซึ่งเป็นกลุ่มที่ขึ้นทะเบียนไว้ตามโครงการเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษาฯ ซึ่งอ้างว่าคนสัญชาติไทย แต่ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ เพราะขาดหลักฐานทางกระทรวงมหาดไทยจึงให้ขึ้นทะเบียนไว้ก่อน และ4.กลุ่มนักเรียน นักศึกษา ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้วและให้สิทธิจำนวน 76,540 คน โดยในสองกลุ่มแรกไม่น่ามีปัญหา เพราะมีตัวเลขและข้อมูลชัดเจน ส่วนสองกลุ่มหลังได้มอบให้คณะทำงานไปจัดทำข้อมูลเพิ่มเติม จากนั้นจะเสนอเข้า ครม. ซึ่งไม่น่าทันการประชุม ครม.วันที่ 25 ก.พ.
นพ.ศมศักดิ์ กล่าวว่า 2. การร่างยุทธศาสตร์ฯ ซึ่งจะเป็นเรื่องของการดูแลบุคคลไร้สัญชาติไร้สถานะในภาพรวมทั้งหมด โดยหากทำเป็นยุทธศาสตร์ก็จะเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการในทุกรัฐบาล ไม่จำเป็นต้องเสนอของบประมาณปีต่อปี ที่สำคัญ หากสำเร็จจะกลายเป็นครั้งแรกของโลกก็ว่าได้ที่ให้การดูแลคนกลุ่มนี้ โดยได้มอบให้คณะทำงานไปดำเนินการร่างยุทธศาสตร์ให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือนโดยให้ระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนและค่อยมาประชุมกันอีกครั้ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตัวเลขที่เสนอ 285,171 คนนั้น รวมในส่วนตัวเลขตกหล่นที่กลุ่ม 37 องค์กรออกมาเรียกร้องให้ปรับแก้ไขแล้ว เนื่องจากตัวเลขที่ทางกลุ่มออกมาเรียกร้องนั้น เป็นตัวเลขที่ชัดเจนจากทางกระทรวงมหาดไทยแล้ว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (23 ก.พ.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธานการประชุมหารือประเด็นเชิงยุทธศาสตร์เพื่อการจัดการสถานะและสิทธิในบริการสาธารณสุขของบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติ โดยเชิญภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งสำนักงบประมาณ กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักบริหารการทะเบียน กระทรวงมหาดไทย และคณะทำงานวิชาการยกร่างยุทธศาสตร์ฯ ร่วมหารือ หลังจากที่ 37 องค์กรสาธารณสุข ออกมาเรียกร้องและยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อขอให้แก้ไขตัวเลขบุคคลรอพิสูจน์สถานะและสิทธิที่จะเข้ากองทุนคืนสิทธิเพิ่มเติมจากที่ สธ. เสนอตัวเลขเพียง 170,535 คน ส่งผลให้มีคนตกหล่นไปประมาณ 3.8 หมื่นคน ซึ่ง สธ.ระบุว่าจะมีการยืนยันในการประชุมครั้งนี้
ทั้งนี้ ภายหลังประชุม นพ.สมศักดิ์ ให้สัมภาษณ์ว่า ที่ประชุมพิจารณา 2 เรื่อง คือ 1.จำนวนบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ และจะขอขยายเพิ่มเติมหลังจากมติ ครม.เมื่อวันที่ 23 มี.ค. 2553 ที่ให้ไปแล้วกว่า 4 แสนคน โดยครั้งนี้มีข้อสรุปตัวเลขที่คาดว่าจะเสนอ คือ 285,171 คน แบ่งเป็น 1. ชนกลุ่มน้อยที่อพยพเข้ามาในประเทศ จำนวน 150,076 คน 2. บุตรของบุคคลกลุ่มที่ 1 จำนวน 56,672 คน 3. บุคคลกลุ่มอื่นๆ ที่ได้รับสำรวจและจัดทำทะเบียน จำนวน 1,883 คน ซึ่งเป็นกลุ่มที่ขึ้นทะเบียนไว้ตามโครงการเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษาฯ ซึ่งอ้างว่าคนสัญชาติไทย แต่ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ เพราะขาดหลักฐานทางกระทรวงมหาดไทยจึงให้ขึ้นทะเบียนไว้ก่อน และ4.กลุ่มนักเรียน นักศึกษา ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้วและให้สิทธิจำนวน 76,540 คน โดยในสองกลุ่มแรกไม่น่ามีปัญหา เพราะมีตัวเลขและข้อมูลชัดเจน ส่วนสองกลุ่มหลังได้มอบให้คณะทำงานไปจัดทำข้อมูลเพิ่มเติม จากนั้นจะเสนอเข้า ครม. ซึ่งไม่น่าทันการประชุม ครม.วันที่ 25 ก.พ.
นพ.ศมศักดิ์ กล่าวว่า 2. การร่างยุทธศาสตร์ฯ ซึ่งจะเป็นเรื่องของการดูแลบุคคลไร้สัญชาติไร้สถานะในภาพรวมทั้งหมด โดยหากทำเป็นยุทธศาสตร์ก็จะเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการในทุกรัฐบาล ไม่จำเป็นต้องเสนอของบประมาณปีต่อปี ที่สำคัญ หากสำเร็จจะกลายเป็นครั้งแรกของโลกก็ว่าได้ที่ให้การดูแลคนกลุ่มนี้ โดยได้มอบให้คณะทำงานไปดำเนินการร่างยุทธศาสตร์ให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือนโดยให้ระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนและค่อยมาประชุมกันอีกครั้ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตัวเลขที่เสนอ 285,171 คนนั้น รวมในส่วนตัวเลขตกหล่นที่กลุ่ม 37 องค์กรออกมาเรียกร้องให้ปรับแก้ไขแล้ว เนื่องจากตัวเลขที่ทางกลุ่มออกมาเรียกร้องนั้น เป็นตัวเลขที่ชัดเจนจากทางกระทรวงมหาดไทยแล้ว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่