สมาคมแม่บ้านสาธารณสุข หนุนสร้างต้นแบบ “แม่วัยทีนอาสา - ผู้สูงอายุ” แก้ปัญหาป่องวัยเรียน - แม่วัยใส พบสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับโลก เล็งนำร่อง 10 จังหวัดก่อนขยายผล ห่วงผู้สูงอายุอยู่คนเดียวมากกว่า 1 ล้านคน เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าในรอบ 20 ปี
วันนี้ (23 ก.พ.) ที่โรงแรมปรินซ์พาเลซ กทม. นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเปิดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนายุทธศาสตร์แม่บ้านสาธารณสุข และเครือข่ายสาธารณสุขเรื่อง “การแก้ไขปัญหาปัญหาวัยรุ่นตั้งครรภ์และพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุ” จัดโดยสมาคมแม่บ้านสาธารณสุข ว่า แม้อัตราการเกิดใหม่ลดลง แต่พบว่าอัตราเด็กเกิดใหม่จากแม่วัยรุ่นมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยปี 2555 มีแม่วัยรุ่นอายุ 10 - 19 ปี คลอดบุตรรวม 133,176 คน คิดเป็นร้อยละ 17 ของหญิงคลอดทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับโลกคือร้อยละ 11 มากกว่าปี 2546 ซึ่งมีจำนวนเพียง 95,879 คน ซึ่งปัญหานี้ทำให้มีแนวโน้มเผชิญความเสี่ยงด้านคุณภาพประชากรรุ่นใหม่รุนแรงขึ้น เช่น การทำแท้ง ปัญหาจิตสังคมของวัยรุ่นและผู้ปกครอง ทารกถูกทอดทิ้ง การเลี้ยงดูทารกและเด็กไม่เหมาะสม เป็นต้น
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์ผู้สูงอายุ พบว่าประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว โดยผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2557 พบไทยมีผู้สูงอายุอายุ 60 ปีขึ้นไป 10 ล้านกว่าคน คิดเป็นร้อยละ 15 ของประชากรทั้งหมด ส่วนใหญ่ร้อยละ 57 อยู่ในกลุ่มอายุ 60 - 69 ปี เกือบร้อยละ 60 อยู่ในชนบท ที่น่าห่วงพบว่ามีผู้สูงอายุอยู่คนเดียวมากถึงร้อยละ 10 หรือมีประมาณ 1 ล้านกว่าคน ซึ่งเพิ่มขึ้นในรอบ 20 ปี จำนวนเกือบ 3 เท่าตัว ซึ่งวัยสูงอายุต้องได้รับการดูแล เนื่องจากสุขภาพร่างกายเสื่อมลง เจ็บป่วยเรื้อรัง ทุพพลภาพ และพิการเพิ่มขึ้น สธ.ได้เร่งพัฒนาระบบการดูแลที่เหมาะสม ทั้งในโรงพยาบาล ชุมชน และที่บ้าน โดยสนับสนุนการตั้งชมรมผู้สูงวัยโดยบูรณาการหน่วยงานในพื้นที่ ได้แก่ สถานบริการสาธารณสุข และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อจัดระบบดูแลระยะยาวต่อเนื่องตลอดชีวิต ดูแลโรคเรื้อรังที่สำคัญ การสร้างอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในชุมชน และการให้ความรู้แก่ผู้ดูแลผู้สูงอายุ และการดูแลแบบประคับประคอง
ด้าน นางนาถนภา สหเมธาพัฒน์ นายกสามาคมแม่บ้านสาธารณสุข กล่าวว่า สมาคมแม่บ้านสาธารณสุขตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุน ส่งเสริมการพัฒนางานสาธารณสุขในทุกภูมิภาคของประเทศ ในปีนี้เน้นหนักที่ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และพัฒนาเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของสังคม เพิ่มการเข้าถึงบริการของรัฐ และไม่ก่อภาระต่อสังคมในอนาคต โดยจะมีการสร้างต้นแบบ “แม่วัยทีนอาสา” ซึ่งเป็นวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ในชุมชน มาร่วมกันแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุด และเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุต้นแบบ มาร่วมพัฒนาสุขภาพ ในเบื้องต้นจะศึกษานำร่องใน 10 จังหวัดต้นแบบ ได้แก่ นนทบุรี ตราด ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ จันทบุรี มหาสารคาม สระบุรี สุรินทร์ ชัยนาท และ สุพรรณบุรี เนื่องจากเป็นจังหวัดที่พบว่ามีปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และบุคลากรสาธารณสุข เครือข่ายสมาชิกในจังหวัด ซึ่งมีหลากหลายวิชาชีพ มีความพร้อมในการดำเนินงาน เพื่อหารูปแบบที่เหมาะสมกับพื้นที่ และขยายผลดำเนินการให้ครอบคลุมทุกจังหวัดต่อไป
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (23 ก.พ.) ที่โรงแรมปรินซ์พาเลซ กทม. นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเปิดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนายุทธศาสตร์แม่บ้านสาธารณสุข และเครือข่ายสาธารณสุขเรื่อง “การแก้ไขปัญหาปัญหาวัยรุ่นตั้งครรภ์และพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุ” จัดโดยสมาคมแม่บ้านสาธารณสุข ว่า แม้อัตราการเกิดใหม่ลดลง แต่พบว่าอัตราเด็กเกิดใหม่จากแม่วัยรุ่นมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยปี 2555 มีแม่วัยรุ่นอายุ 10 - 19 ปี คลอดบุตรรวม 133,176 คน คิดเป็นร้อยละ 17 ของหญิงคลอดทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับโลกคือร้อยละ 11 มากกว่าปี 2546 ซึ่งมีจำนวนเพียง 95,879 คน ซึ่งปัญหานี้ทำให้มีแนวโน้มเผชิญความเสี่ยงด้านคุณภาพประชากรรุ่นใหม่รุนแรงขึ้น เช่น การทำแท้ง ปัญหาจิตสังคมของวัยรุ่นและผู้ปกครอง ทารกถูกทอดทิ้ง การเลี้ยงดูทารกและเด็กไม่เหมาะสม เป็นต้น
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์ผู้สูงอายุ พบว่าประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว โดยผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2557 พบไทยมีผู้สูงอายุอายุ 60 ปีขึ้นไป 10 ล้านกว่าคน คิดเป็นร้อยละ 15 ของประชากรทั้งหมด ส่วนใหญ่ร้อยละ 57 อยู่ในกลุ่มอายุ 60 - 69 ปี เกือบร้อยละ 60 อยู่ในชนบท ที่น่าห่วงพบว่ามีผู้สูงอายุอยู่คนเดียวมากถึงร้อยละ 10 หรือมีประมาณ 1 ล้านกว่าคน ซึ่งเพิ่มขึ้นในรอบ 20 ปี จำนวนเกือบ 3 เท่าตัว ซึ่งวัยสูงอายุต้องได้รับการดูแล เนื่องจากสุขภาพร่างกายเสื่อมลง เจ็บป่วยเรื้อรัง ทุพพลภาพ และพิการเพิ่มขึ้น สธ.ได้เร่งพัฒนาระบบการดูแลที่เหมาะสม ทั้งในโรงพยาบาล ชุมชน และที่บ้าน โดยสนับสนุนการตั้งชมรมผู้สูงวัยโดยบูรณาการหน่วยงานในพื้นที่ ได้แก่ สถานบริการสาธารณสุข และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อจัดระบบดูแลระยะยาวต่อเนื่องตลอดชีวิต ดูแลโรคเรื้อรังที่สำคัญ การสร้างอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในชุมชน และการให้ความรู้แก่ผู้ดูแลผู้สูงอายุ และการดูแลแบบประคับประคอง
ด้าน นางนาถนภา สหเมธาพัฒน์ นายกสามาคมแม่บ้านสาธารณสุข กล่าวว่า สมาคมแม่บ้านสาธารณสุขตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุน ส่งเสริมการพัฒนางานสาธารณสุขในทุกภูมิภาคของประเทศ ในปีนี้เน้นหนักที่ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และพัฒนาเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของสังคม เพิ่มการเข้าถึงบริการของรัฐ และไม่ก่อภาระต่อสังคมในอนาคต โดยจะมีการสร้างต้นแบบ “แม่วัยทีนอาสา” ซึ่งเป็นวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ในชุมชน มาร่วมกันแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุด และเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุต้นแบบ มาร่วมพัฒนาสุขภาพ ในเบื้องต้นจะศึกษานำร่องใน 10 จังหวัดต้นแบบ ได้แก่ นนทบุรี ตราด ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ จันทบุรี มหาสารคาม สระบุรี สุรินทร์ ชัยนาท และ สุพรรณบุรี เนื่องจากเป็นจังหวัดที่พบว่ามีปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และบุคลากรสาธารณสุข เครือข่ายสมาชิกในจังหวัด ซึ่งมีหลากหลายวิชาชีพ มีความพร้อมในการดำเนินงาน เพื่อหารูปแบบที่เหมาะสมกับพื้นที่ และขยายผลดำเนินการให้ครอบคลุมทุกจังหวัดต่อไป
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่