สธ. จี้ รพ. ในสังกัดทั่วประเทศพัฒนาบริการ “คลินิกวัยรุ่น” เน้นการเข้าถึงและใช้บริการด้านสุขภาพและอนามัยเจริญพันธุ์ ที่ง่าย เร็ว ลับ อบอุ่นและปลอดภัย ประสานใกล้ชิดครูกับหมอเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาวัยรุ่นตั้งครรภ์ที่แนวโน้มเพิ่มขึ้น “หมอรัชตะ” ชี้สถิติรอบ 10 ปี มีวัยรุ่นอายุ 10 - 19 ปี ทั่วประเทศคลอดลูก 1 ล้านกว่าคน เป็นให้ทำให้ไทยสูญเสียทางเศรษฐกิจปีละกว่า 14,000 ล้านบาท ชม รพ.ห้วยราช พัฒนางานคลินิกวัยรุ่นได้ดี
วันนี้ (13 ธ.ค.) ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ ผู้ตรวจราชการ สธ. ประจำเขตสุขภาพที่ 9 (จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์) และคณะ ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลห้วยราช อ.ห้วยราช จ.บุรีรัมย์ เพื่อรับฟังการดำเนินงานจัดบริการสุขภาพอนามัยเจริญพันธุ์และคลินิกวัยรุ่น พร้อมตรวจเยี่ยมศูนย์เพื่อนใจทูบีนัมเบอร์วัน และโครงการพูดคุยในครอบครัว เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาวัยรุ่นตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
โดย ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายเร่งแก้ไขป้องกันปัญหาวัยรุ่นไทยตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร เนื่องจากเป็นประเด็นที่มีผลกระทบทั้งต่อสังคม คุณภาพประชากร เศรษฐกิจ หรืออาจนำไปสู่การทำแท้งเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของเยาวชนหญิง สถานการณ์ในปี 2555 มีวัยรุ่นอายุ 10 - 19 ปี คลอดบุตรรวม 133,176 คน คิดเป็นร้อยละ 17 ของหญิงคลอดทั้งหมดที่มี 801,737 คน แนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากปี 2546 ซึ่งมีจำนวน 95,879 คน ยอดรวม 10 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2546 - 2555 มีวัยรุ่นกลุ่มนี้คลอดบุตรรวม 1 ล้านกว่าคน และผลการวิจัยของศูนย์อนามัยที่ 8 จ.นครสวรรค์ ซึ่งศึกษาในแม่วัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี ที่อยู่ใน 14 จังหวัด และคลอดบุตรคนแรกไม่เกิน 2 ปี จำนวน 2,900 ตัวอย่างในปี 2555 พบว่า ร้อยละ 68 เป็นนักเรียน นักศึกษา การตั้งครรภ์ของวัยรุ่น 1 คน ก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจเฉลี่ย 119,998 - 324,928 บาท โดยรวมแล้วจะทำให้ประเทศไทยสูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจประมาณปีละ 14,000 ล้านบาท จึงต้องเร่งป้องกันปัญหาโดยเร็วซึ่งหัวใจของความสำเร็จ จะต้องอาศัยความร่วมมือกันหลายหน่วยงาน ที่ผ่านมา สธ. ได้เร่งพัฒนาการบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพวัยรุ่น ป้องกันการตั้งครรภ์เน้นการทำงานเชื่อมโยงร่วมกับสถานศึกษาในพื้นที่ในการให้ความรู้ ความเข้าใจเรื่องการดูแลอนามัยเจริญพันธุ์แก่เด็กนักเรียน ส่วนสถานบริการสาธารณสุข มีหน้าที่ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือ ขณะนี้โรงพยาบาลในสังกัดฯทั่วประเทศ ได้ตั้งคลินิกบริการที่เป็นมิตรกับวัยรุ่นและเยาวชน เพื่อเพิ่มการเข้าถึงและใช้บริการด้านสุขภาพอนามัยเจริญพันธุ์ที่ง่าย เร็ว อบอุ่น และปลอดภัย
รมว.สาธารณสุข กล่าวต่อว่า ทั้งจากการรับฟังผลการดำเนินงานของ รพ.ห้วยราช จ.บุรีรัมย์ ซึ่งได้เปิดให้บริการเมื่อพ.ศ. 2555 พบว่าได้ผลดี อัตราการเข้าถึงและใช้บริการสุขภาพและอนามัยเจริญพันธุ์ที่คลินิกเพิ่มขึ้นเกือบ 4 เท่าตัว จาก 108 ราย ในปี 2556 เพิ่มเป็น 401 ราย ในปี 2557 ปรึกษาปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมเพิ่มขึ้นเกือบ 11 เท่าตัว จากเดิม 18 ราย เป็น 190 ราย โดยเป็นวัยรุ่นร้อยละ 50 และเป็นผู้ที่อยู่นอกพื้นที่ อ.ห้วยราช ร้อยละ 83 ขณะเดียวกัน ยังได้รับรายงานว่าโรงเรียนที่เป็นโรงเรียนคุณธรรมหลายแห่ง เช่น ที่โรงเรียนบ้านบุ ต.หนองพลวง อ.จักราช จ.นครราชสีมา ว่านอกจากจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันเยาวชนไทย ไม่ยุ่งเกี่ยวยาเสพติด หรือเรื่องเพศได้แล้ว ยังป้องกันปัญหาเด็กนักเรียนตั้งครรภ์ได้ด้วย จึงมั่นใจว่าหากมีความร่วมมือกันทั้งครูกับหมอ และหน่วยงานอื่นๆ อย่างจริงจังแล้ว จะสามารถแก้ไขปัญหาวัยรุ่นตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ด้าน นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ ผู้ตรวจราชการ สธ. เขตสุขภาพที่ 9 กล่าวว่า อัตราการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นในจังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ สุรินทร์ และ บุรีรัมย์ สูงขึ้นต่อเนื่อง วัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี คลอดลูกร้อยละ 20 และร้อยละ 80 ของวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์เป็นการตั้งครรภ์แบบไม่ตั้งใจ ร้อยละ 30 จบด้วยการทำแท้ง จึงได้พัฒนาระบบบริการ โดยจัดตั้งเครือข่าย การดูแลและส่งต่อวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ เพื่อป้องกันการแท้งที่ไม่ปลอดภัยในโรงพยาบาลทุกแห่งในเขตสุขภาพที่ 9 โดยใช้ทีมแพทย์อาสาจากโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลชุมชนในเครือข่าย ใช้ยุทธศาสตร์ 4 ด้าน คือ 1. สร้างค่านิยมไม่มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร โดยรณรงค์ให้ความรู้ในกลุ่มวัยรุ่น และกลุ่มผู้ปกครอง ครู ให้เข้าใจถึงพัฒนาการ พฤติกรรมของวัยรุ่น 2. สร้างค่านิยมการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย คุมกำเนิดที่ถูกวิธี และประสานความร่วมมือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชนในการสนับสนุนให้วัยรุ่นเข้าถึงการคุมกำเนิดที่เหมาะสม 3. ให้บริการฝากครรภ์ที่เหมาะสมแก่วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์โดยตั้งใจและตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม แต่ตัดสินใจตั้งครรภ์ต่อหลังรับคำปรึกษา เพื่อลดปัญหาเด็กทารกน้ำหนักตัวน้อย และภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ และ 4. การให้บริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย ได้มาตรฐาน กรณีที่วัยรุ่นไม่สามารถตั้งครรภ์ต่อไปได้ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนจากการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย
รายงานผลการศึกษาวิจัยที่ รพ.ห้วยราช เมื่อ พ.ศ. 2556 - 2557 พบว่า ได้ผลดี อัตราการคลอดของวัยรุ่นอายุ 15 - 19 ปี ต่อกลุ่มประชากรวัยเดียวกันทุก 1,000 คน ของ อ.ห้วยราช ลดลงจาก 52 ในปี 2556 เป็น 40 ในปี 2557 ความพึงพอใจของผู้รับบริการอยู่ระดับพอใจมากสูงถึงร้อยละ 98 มีบริการคุมกำเนิดเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ โดยฝังยาคุมกำเนิดมากที่สุดร้อยละ 51 ปัจจุบัน รพ.ห้วยราช มีบริการวัยรุ่นแบบเบ็ดเสร็จที่จุดเดียวกัน มีบริการปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง ทางฮอตไลน์ เฟซบุ๊ก คลินิก รพ.ห้วยราช และ ไลน์ ที่ง่าย เร็ว ลับ และอบอุ่น พ่อแม่กับการพัฒนาทักษะการสื่อสารเรื่องเพศกับบุตรหลานวัยรุ่น ทั้งนี้ที่ผ่านมาผลการเฝ้าระวังในพื้นที่ อ.ห้วยราช อัตราการคลอดในวัยรุ่นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 26 ในปี 2554 เป็นร้อยละ 33 ของการคลอดทั้งหมดในปี 2556 และวัยรุ่นมีปัญหาตั้งครรภ์ซ้ำร้อยละ 12 ในปี 2555
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (13 ธ.ค.) ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ ผู้ตรวจราชการ สธ. ประจำเขตสุขภาพที่ 9 (จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์) และคณะ ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลห้วยราช อ.ห้วยราช จ.บุรีรัมย์ เพื่อรับฟังการดำเนินงานจัดบริการสุขภาพอนามัยเจริญพันธุ์และคลินิกวัยรุ่น พร้อมตรวจเยี่ยมศูนย์เพื่อนใจทูบีนัมเบอร์วัน และโครงการพูดคุยในครอบครัว เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาวัยรุ่นตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
โดย ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายเร่งแก้ไขป้องกันปัญหาวัยรุ่นไทยตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร เนื่องจากเป็นประเด็นที่มีผลกระทบทั้งต่อสังคม คุณภาพประชากร เศรษฐกิจ หรืออาจนำไปสู่การทำแท้งเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของเยาวชนหญิง สถานการณ์ในปี 2555 มีวัยรุ่นอายุ 10 - 19 ปี คลอดบุตรรวม 133,176 คน คิดเป็นร้อยละ 17 ของหญิงคลอดทั้งหมดที่มี 801,737 คน แนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากปี 2546 ซึ่งมีจำนวน 95,879 คน ยอดรวม 10 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2546 - 2555 มีวัยรุ่นกลุ่มนี้คลอดบุตรรวม 1 ล้านกว่าคน และผลการวิจัยของศูนย์อนามัยที่ 8 จ.นครสวรรค์ ซึ่งศึกษาในแม่วัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี ที่อยู่ใน 14 จังหวัด และคลอดบุตรคนแรกไม่เกิน 2 ปี จำนวน 2,900 ตัวอย่างในปี 2555 พบว่า ร้อยละ 68 เป็นนักเรียน นักศึกษา การตั้งครรภ์ของวัยรุ่น 1 คน ก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจเฉลี่ย 119,998 - 324,928 บาท โดยรวมแล้วจะทำให้ประเทศไทยสูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจประมาณปีละ 14,000 ล้านบาท จึงต้องเร่งป้องกันปัญหาโดยเร็วซึ่งหัวใจของความสำเร็จ จะต้องอาศัยความร่วมมือกันหลายหน่วยงาน ที่ผ่านมา สธ. ได้เร่งพัฒนาการบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพวัยรุ่น ป้องกันการตั้งครรภ์เน้นการทำงานเชื่อมโยงร่วมกับสถานศึกษาในพื้นที่ในการให้ความรู้ ความเข้าใจเรื่องการดูแลอนามัยเจริญพันธุ์แก่เด็กนักเรียน ส่วนสถานบริการสาธารณสุข มีหน้าที่ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือ ขณะนี้โรงพยาบาลในสังกัดฯทั่วประเทศ ได้ตั้งคลินิกบริการที่เป็นมิตรกับวัยรุ่นและเยาวชน เพื่อเพิ่มการเข้าถึงและใช้บริการด้านสุขภาพอนามัยเจริญพันธุ์ที่ง่าย เร็ว อบอุ่น และปลอดภัย
รมว.สาธารณสุข กล่าวต่อว่า ทั้งจากการรับฟังผลการดำเนินงานของ รพ.ห้วยราช จ.บุรีรัมย์ ซึ่งได้เปิดให้บริการเมื่อพ.ศ. 2555 พบว่าได้ผลดี อัตราการเข้าถึงและใช้บริการสุขภาพและอนามัยเจริญพันธุ์ที่คลินิกเพิ่มขึ้นเกือบ 4 เท่าตัว จาก 108 ราย ในปี 2556 เพิ่มเป็น 401 ราย ในปี 2557 ปรึกษาปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมเพิ่มขึ้นเกือบ 11 เท่าตัว จากเดิม 18 ราย เป็น 190 ราย โดยเป็นวัยรุ่นร้อยละ 50 และเป็นผู้ที่อยู่นอกพื้นที่ อ.ห้วยราช ร้อยละ 83 ขณะเดียวกัน ยังได้รับรายงานว่าโรงเรียนที่เป็นโรงเรียนคุณธรรมหลายแห่ง เช่น ที่โรงเรียนบ้านบุ ต.หนองพลวง อ.จักราช จ.นครราชสีมา ว่านอกจากจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันเยาวชนไทย ไม่ยุ่งเกี่ยวยาเสพติด หรือเรื่องเพศได้แล้ว ยังป้องกันปัญหาเด็กนักเรียนตั้งครรภ์ได้ด้วย จึงมั่นใจว่าหากมีความร่วมมือกันทั้งครูกับหมอ และหน่วยงานอื่นๆ อย่างจริงจังแล้ว จะสามารถแก้ไขปัญหาวัยรุ่นตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ด้าน นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ ผู้ตรวจราชการ สธ. เขตสุขภาพที่ 9 กล่าวว่า อัตราการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นในจังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ สุรินทร์ และ บุรีรัมย์ สูงขึ้นต่อเนื่อง วัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี คลอดลูกร้อยละ 20 และร้อยละ 80 ของวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์เป็นการตั้งครรภ์แบบไม่ตั้งใจ ร้อยละ 30 จบด้วยการทำแท้ง จึงได้พัฒนาระบบบริการ โดยจัดตั้งเครือข่าย การดูแลและส่งต่อวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ เพื่อป้องกันการแท้งที่ไม่ปลอดภัยในโรงพยาบาลทุกแห่งในเขตสุขภาพที่ 9 โดยใช้ทีมแพทย์อาสาจากโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลชุมชนในเครือข่าย ใช้ยุทธศาสตร์ 4 ด้าน คือ 1. สร้างค่านิยมไม่มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร โดยรณรงค์ให้ความรู้ในกลุ่มวัยรุ่น และกลุ่มผู้ปกครอง ครู ให้เข้าใจถึงพัฒนาการ พฤติกรรมของวัยรุ่น 2. สร้างค่านิยมการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย คุมกำเนิดที่ถูกวิธี และประสานความร่วมมือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชนในการสนับสนุนให้วัยรุ่นเข้าถึงการคุมกำเนิดที่เหมาะสม 3. ให้บริการฝากครรภ์ที่เหมาะสมแก่วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์โดยตั้งใจและตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม แต่ตัดสินใจตั้งครรภ์ต่อหลังรับคำปรึกษา เพื่อลดปัญหาเด็กทารกน้ำหนักตัวน้อย และภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ และ 4. การให้บริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย ได้มาตรฐาน กรณีที่วัยรุ่นไม่สามารถตั้งครรภ์ต่อไปได้ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนจากการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย
รายงานผลการศึกษาวิจัยที่ รพ.ห้วยราช เมื่อ พ.ศ. 2556 - 2557 พบว่า ได้ผลดี อัตราการคลอดของวัยรุ่นอายุ 15 - 19 ปี ต่อกลุ่มประชากรวัยเดียวกันทุก 1,000 คน ของ อ.ห้วยราช ลดลงจาก 52 ในปี 2556 เป็น 40 ในปี 2557 ความพึงพอใจของผู้รับบริการอยู่ระดับพอใจมากสูงถึงร้อยละ 98 มีบริการคุมกำเนิดเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ โดยฝังยาคุมกำเนิดมากที่สุดร้อยละ 51 ปัจจุบัน รพ.ห้วยราช มีบริการวัยรุ่นแบบเบ็ดเสร็จที่จุดเดียวกัน มีบริการปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง ทางฮอตไลน์ เฟซบุ๊ก คลินิก รพ.ห้วยราช และ ไลน์ ที่ง่าย เร็ว ลับ และอบอุ่น พ่อแม่กับการพัฒนาทักษะการสื่อสารเรื่องเพศกับบุตรหลานวัยรุ่น ทั้งนี้ที่ผ่านมาผลการเฝ้าระวังในพื้นที่ อ.ห้วยราช อัตราการคลอดในวัยรุ่นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 26 ในปี 2554 เป็นร้อยละ 33 ของการคลอดทั้งหมดในปี 2556 และวัยรุ่นมีปัญหาตั้งครรภ์ซ้ำร้อยละ 12 ในปี 2555
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่