“หมอมงคล” ติงแนวทางปฏิรูประบบบริการปลัด สธ. ไม่ใช่ทางออก ชี้ รพ. ขาดทุนเกิดจากสำนักปลัดฯ ไม่ปรับปรุงโครงสร้าง เสนอยุบ รพ. อำเภอดูแลคนน้อยกว่า 2 หมื่น รวมเป็นสาขาย่อย รพ. ใหญ่ใกล้เคียง ลดภาระค่าบริหารจัดการ หมอ พยาบาล ตึก รับเพียงผู้ป่วยนอก ส่งต่อผู้ป่วยใน
นพ.มงคล ณ สงขลา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) เห็นชอบการจัดสรรงบเหมาจ่ายรายหัวขาลงปี 2558 ให้ยึดตามรูปแบบเดิม แต่มีความยืดหยุ่นมากขึ้นในเรื่องการกันเงินไว้ที่ระดับเขตไม่เกิน 5% และการันตีงบตั้งแต่ต้นปีงบประมาณไม่ต่ำกว่า 80% โดยไม่หักเงินคืนปลายปี ซึ่งจะช่วยให้โรงพยาบาลบริหารจัดการงบได้ ไม่เสี่ยงต่อการขาดสภาพคล่องทางการเงิน ว่า ตามปกติก็โอนงบเหมาจ่ายรายหัวให้โรงพยาบาล 80% อยู่แล้ว แต่เมื่อทำงานได้ไม่ตรงเป้า พอหักเงินคืนก็มีการต่อว่า แล้วอะไรคือสิ่งที่ต้องการ ส่วนตัวแล้วมองว่า แนวทางการแก้ปัญหาของ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ. คนปัจจุบันนั้นยังไม่ใช่ทางออก อย่างเรื่องปัญหาขาดสภาพคล่องของโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) จริงๆ เกิดจากการไม่ปรับปรุงโครงสร้างของ สป.สธ. มากกว่า
“อดีตที่ผ่านมาเนื่องจากการคมนาคมไม่สะดวก จำเป็นที่จะต้องมีโรงพยาบาลในทุกอำเภอ แต่ปัจจุบันการคมนาคมดีขึ้น มีอำเภอมากขึ้น บางอำเภอห่างกันแค่ 20 กว่ากิโลเมตร ถามว่าจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องมีโรงพยาบาลประจำอำเภอทุกแห่ง เพราะก็ทราบดีว่าโรงพยาบาลอำเภอที่มีประชากรน้อยกว่า 2 หมื่น ซึ่งการคิดงบเหมาจ่ายตามรายหัวนั้นอย่างไรเสียก็ไม่เพียงพอ เพราะต้องมีค่าใช้จ่ายในเรื่องของการบริหารจัดการ ค่าจ้างแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ ค่าตึกต่างๆ อีกมาก จึงมองว่าจริงๆ แล้วโครงสร้างของ สป.สธ. จะต้องมีการปรับให้เข้ากับยุคสมัยในปัจจุบันมากขึ้น อย่างศูนย์วิชาการของแต่ละกรม ที่เมื่อก่อนจำเป็นต้องมี เนื่องจากบุคลากรในโรงพยาบาลน้อย แต่ถามว่าปัจจุบันจำเป็นต้องมีหรือไม่ ก็ไม่จำเป็น เพราะบุคลากรในโรงพยาบาลต่างมีความรู้ความสามารถมากกว่าในการดูแลชาวบ้านแล้ว” อดีต รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.มงคล กล่าวว่า สมัยตนเป็นปลัด สธ. เมื่อ 10 กว่าปีก่อนก็มีข้อมูลว่าโรงพยาบาลที่ดูแลประชากรน้อยกว่า 5 หมื่นคน จะประสบปัญหาโรงพยาบาลขาดทุน ก็มีนโยบายให้รีดไขมันตัวเอง เช่น ลดจำนวนคน ลดตึก ซึ่งปีแรกที่ตนเป็นปลัด สธ. ก็มีหลายโรงพยาบาลที่ขอคืนพยาบาล ขอคืนตึกกลับมา เพราะรู้ตัวดีกว่าแบกรับต่อไปไม่ไหว แต่หลังจากยุคตนก็ไม่มีการดำเนินการต่อในเรื่องนี้ แต่กลับบริหารโรงพยาบาลโดยไม่คำนึงถึงเงินในกระเป๋า ทั้งที่ปัจจุบันโรงพยาบาลควรลดขนาดการบริหารจัดการของตัวเองลงให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ที่สำคัญผู้อำนวยการโรงพยาบาลควรบริหารอย่างนักธุรกิจ ไม่ใช่อย่างแพทย์
ผู้สื่อข่าวถามว่า การปรับโครงสร้างเช่นนี้ จำเป็นที่จะต้องมีการยุบโรงพยาบาลอำเภอบางแห่งหรือไม่ นพ.มงคล กล่าวว่า ก็ต้องพิจารณาตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ อย่างบางแห่งโรงพยาบาลอำเภอที่มีประชากรน้อยกว่า 2 หมื่นคน ซึ่งขาดทุนแน่ๆ แต่อยู่ห่างจากโรงพยาบาลศูนย์ หรือโรงพยาบาลจังหวัดเพียงไม่กี่ 10 กิโลเมตร ถามว่าจำเป็นที่จะต้องให้โรงพยาบาลอำเภอเหล่านั้นแบกรับค่าบริหารจัดการหรือไม่ ก็อาจยุบรวมกับโรงพยาบาลใหญ่ โดยทำหน้าที่เป็นสาขา รับเพียงแต่ผู้ป่วยนอกเท่านั้น เมื่อมีผู้ป่วยในก็ส่งตัวต่อมายังโรงพยาบาลใหญ่ ซึ่งระยะไม่กี่ 10 กิโลเมตรก็ใช้เวลาในการเดินทางเพียงไม่นานเท่านั้น
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.มงคล ณ สงขลา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) เห็นชอบการจัดสรรงบเหมาจ่ายรายหัวขาลงปี 2558 ให้ยึดตามรูปแบบเดิม แต่มีความยืดหยุ่นมากขึ้นในเรื่องการกันเงินไว้ที่ระดับเขตไม่เกิน 5% และการันตีงบตั้งแต่ต้นปีงบประมาณไม่ต่ำกว่า 80% โดยไม่หักเงินคืนปลายปี ซึ่งจะช่วยให้โรงพยาบาลบริหารจัดการงบได้ ไม่เสี่ยงต่อการขาดสภาพคล่องทางการเงิน ว่า ตามปกติก็โอนงบเหมาจ่ายรายหัวให้โรงพยาบาล 80% อยู่แล้ว แต่เมื่อทำงานได้ไม่ตรงเป้า พอหักเงินคืนก็มีการต่อว่า แล้วอะไรคือสิ่งที่ต้องการ ส่วนตัวแล้วมองว่า แนวทางการแก้ปัญหาของ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ. คนปัจจุบันนั้นยังไม่ใช่ทางออก อย่างเรื่องปัญหาขาดสภาพคล่องของโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) จริงๆ เกิดจากการไม่ปรับปรุงโครงสร้างของ สป.สธ. มากกว่า
“อดีตที่ผ่านมาเนื่องจากการคมนาคมไม่สะดวก จำเป็นที่จะต้องมีโรงพยาบาลในทุกอำเภอ แต่ปัจจุบันการคมนาคมดีขึ้น มีอำเภอมากขึ้น บางอำเภอห่างกันแค่ 20 กว่ากิโลเมตร ถามว่าจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องมีโรงพยาบาลประจำอำเภอทุกแห่ง เพราะก็ทราบดีว่าโรงพยาบาลอำเภอที่มีประชากรน้อยกว่า 2 หมื่น ซึ่งการคิดงบเหมาจ่ายตามรายหัวนั้นอย่างไรเสียก็ไม่เพียงพอ เพราะต้องมีค่าใช้จ่ายในเรื่องของการบริหารจัดการ ค่าจ้างแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ ค่าตึกต่างๆ อีกมาก จึงมองว่าจริงๆ แล้วโครงสร้างของ สป.สธ. จะต้องมีการปรับให้เข้ากับยุคสมัยในปัจจุบันมากขึ้น อย่างศูนย์วิชาการของแต่ละกรม ที่เมื่อก่อนจำเป็นต้องมี เนื่องจากบุคลากรในโรงพยาบาลน้อย แต่ถามว่าปัจจุบันจำเป็นต้องมีหรือไม่ ก็ไม่จำเป็น เพราะบุคลากรในโรงพยาบาลต่างมีความรู้ความสามารถมากกว่าในการดูแลชาวบ้านแล้ว” อดีต รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.มงคล กล่าวว่า สมัยตนเป็นปลัด สธ. เมื่อ 10 กว่าปีก่อนก็มีข้อมูลว่าโรงพยาบาลที่ดูแลประชากรน้อยกว่า 5 หมื่นคน จะประสบปัญหาโรงพยาบาลขาดทุน ก็มีนโยบายให้รีดไขมันตัวเอง เช่น ลดจำนวนคน ลดตึก ซึ่งปีแรกที่ตนเป็นปลัด สธ. ก็มีหลายโรงพยาบาลที่ขอคืนพยาบาล ขอคืนตึกกลับมา เพราะรู้ตัวดีกว่าแบกรับต่อไปไม่ไหว แต่หลังจากยุคตนก็ไม่มีการดำเนินการต่อในเรื่องนี้ แต่กลับบริหารโรงพยาบาลโดยไม่คำนึงถึงเงินในกระเป๋า ทั้งที่ปัจจุบันโรงพยาบาลควรลดขนาดการบริหารจัดการของตัวเองลงให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ที่สำคัญผู้อำนวยการโรงพยาบาลควรบริหารอย่างนักธุรกิจ ไม่ใช่อย่างแพทย์
ผู้สื่อข่าวถามว่า การปรับโครงสร้างเช่นนี้ จำเป็นที่จะต้องมีการยุบโรงพยาบาลอำเภอบางแห่งหรือไม่ นพ.มงคล กล่าวว่า ก็ต้องพิจารณาตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ อย่างบางแห่งโรงพยาบาลอำเภอที่มีประชากรน้อยกว่า 2 หมื่นคน ซึ่งขาดทุนแน่ๆ แต่อยู่ห่างจากโรงพยาบาลศูนย์ หรือโรงพยาบาลจังหวัดเพียงไม่กี่ 10 กิโลเมตร ถามว่าจำเป็นที่จะต้องให้โรงพยาบาลอำเภอเหล่านั้นแบกรับค่าบริหารจัดการหรือไม่ ก็อาจยุบรวมกับโรงพยาบาลใหญ่ โดยทำหน้าที่เป็นสาขา รับเพียงแต่ผู้ป่วยนอกเท่านั้น เมื่อมีผู้ป่วยในก็ส่งตัวต่อมายังโรงพยาบาลใหญ่ ซึ่งระยะไม่กี่ 10 กิโลเมตรก็ใช้เวลาในการเดินทางเพียงไม่นานเท่านั้น
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่