หมอชนบทแจงขึ้นป้ายยันทำหน้าที่รับขึ้นทะเบียนสิทธิบัตรทอง เหตุไม่ไว้ใจปลัด สธ. นิ่งเงียบไม่ทำเอ็มโอยู ไม่ออกประกาศ ย้ำติดเพื่อให้ประชาชนสบายใจ เผยประชุมบอร์ด สปสช. หมอชนบทเข้าร่วมโควตาภาคประชาชนด้วย ด้านรองปลัด สธ. ยันทำเอ็มโอยู - แจ้งหนังสือเวียนในสัปดาห์นี้ ซัดกลับใครกันแน่ที่ไม่จบเรื่อง
นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผอ.รพ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า สาเหตุที่ต้องขึ้นป้ายประกาศจะไม่ทำตามคำสั่งห้ามโรงพยาบาลรับขึ้นทะเบียนสิทธิบัตรทองนั้น โดยยืนยันว่าจะให้บริการต่อไป เนื่องจากการหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เมื่อวันที่ 5 ก.พ. ที่ผ่านมา ซึ่งมี รมว.สาธารณสุข เป็นประธาน จะมีมติร่วมแล้วว่าให้โรงพยาบาลทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนบัตรทองเหมือนเดิม โดยหนังสือคำสั่งก่อนหน้าถือเป็นโมฆะ แต่จนบัดนี้ก็ยังไม่มีการลงนามเลย ทั้งยังไม่มีหนังสือสั่งการออกมาอย่างเป็นทางการจาก สธ. ว่า ให้ทำหน้าที่ดังกล่าว มีเพียงหนังสือคำสั่งให้ยกเลิกการทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนที่ออกมาตั้งแต่วันที่ 15 ม.ค. เท่านั้น จึงไม่ไว้วางใจ เพราะในการประชุมวันนั้น นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ. ก็ไม่ได้เข้าหารือด้วย
“ที่ผ่านมา ยังไม่เคยเห็นว่าปลัด สธ. จะปฏิบัติตามคำสั่งของ รมว.สาธารณสุข แต่อย่างใด ดังนั้น ถ้าจะให้โรงพยาบาลปลดป้ายเหล่านั้นออกได้ก็ต่อเมื่อได้เห็นหนังสือคำสั่งอย่างเป็นทางการจาก รมว.สาธารณสุข เองก็ได้ เพราะมีอำนาจอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องรอให้ปลัด สธ. ออกคำสั่ง เพราะถ้ารอไม่รู้ว่าจะได้เมื่อไร” นพ.อารักษ์ กล่าวและว่า ในส่วนของ รพ.สิชล เองได้มีการขึ้นป้ายที่ห้องงานประกัน และมีการประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสายของโรงพยาบาลให้ประชาชนได้ทราบ และมั่นใจว่าโรงพยาบาลจะให้บริการขึ้นทะเบียนบัตรทองเช่นเดิม
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ผอ.รพ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น และประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า การขึ้นป้ายก็เพื่อแสดงความมั่นใจให้กับประชาชน ว่า จะยังคงรับขึ้นทะเบียนสิทธิบัตรทองอยู่ เพราะขณะนี้ปลัด สธ. ยังไม่ออกมาพูดถึงเรื่องดังกล่าว ทั้งที่มีข้อตกลงร่วมระหว่าง รมว.สาธารณสุข รองปลัด สธ. และเลขาธิการ สปสช. อย่างชัดเจน ว่าจะให้มีการออกประกาศ และหนังสือเวียนแจ้งทุกโรงพยาบาล จนบัดนี้ก็ยังไม่ดำเนินการ ประชาชนก็กังวล อย่าง รพ. ชุมแพ ก็มีการสอบถามมาก ยิ่งหญิงตั้งครรภ์ที่มีกำหนดคลอดช่วง เม.ย. เป็นต้นไป กังวลว่าคลอดแล้วต้องไปยื่นสิทธิบัตรทองให้ลูกหรือไม่ ซึ่งก่อนหน้านี้ตนวางแผนว่า จะจัดรถไว้บริการหญิงคลอดไปส่งทำเรื่องที่ว่าการอำเภอ หรือที่รับขึ้นทะเบียนเลย
“ขณะนี้ยังไม่เห็นมีการทำเอ็มโอยูร่วม และไม่รู้เมื่อไร ยิ่งชมรมโรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไปออกมาประกาศไม่ร่วมทำงานกับ สปสช. ซึ่งทางปลัด สธ. ก็ไม่มีมาตรการหรือคำสั่งห้าม โรงพยาบาลหลายแห่งจึงไม่ค่อยมั่นใจมากนัก ทำให้มีโรงพยาบาลอีกหลายแห่งยังคงติดประกาศย้ำเตือนประชาชนว่า ไม่ต้องกังวล เพราะบอกตรงๆ ว่า เราไม่ไว้ใจทางสำนักงานปลัดฯ จะทำอย่างไรกับเรื่องนี้กันแน่ แต่เพื่อความสบายใจของประชาชนจึงติดป้ายประกาศดีกว่า” นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวและว่า นอกจากนี้ ในการประชุมบอร์ด สปสช. วันที่ 9 ก.พ. ชมรมแพทย์ชนบทได้รับเชิญจากกรรมการ สปสช. สัดส่วนภาคประชาชน ให้เข้าร่วมในโควตาภาคประชาชน เพื่อร่วมฟังว่าในการประชุมบอร์ด สปสช. เรื่องจัดสรรงบประมาณบัตรทองจะเป็นอย่างไร เนื่องจากหากมีการพูดถึงโรงพยาบาลชุมชนจะได้ตอบถูก
ด้าน นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัด สธ. กล่าวว่า รมว.สาธารณสุข ก็ประกาศชัดเจนแล้วว่าจะมีการทำเอ็มโอยูร่วมกัน และจะออกหนังสือเวียนแจ้งแก่โรงพยาบาลให้ดำเนินการรับขึ้นทะเบียนสิทธิบัตรทองต่อ ก็ต้องเป็นไปตามที่หารือและ รมว.สาธารณสุขชี้แจง ส่วนที่โรงพยาบาลชุมชนต่างๆ ขึ้นป้ายประกาศนั้นก็ถือว่าเป็นเรื่องของเขา แต่ยืนยันว่าเอ็มโอยูและการทำหนังสือเวียนนั้นต้องมีการดำเนินการแน่นอนภายในสัปดาห์นี้ ขอให้ทุกฝ่ายวางใจ
ผู้สื่อข่าวถามว่า การออกมาเคลื่อนไหวเช่นนี้จะทำให้เรื่องไม่จบ และเป็นการขัดคำสั่งของ รมว.สาธารณสุข ที่ให้ทุกฝ่ายหยุดเคลื่อนไหวหรือไม่ นพ.วชริะ กล่าวว่า จริงๆ เรื่องนี้ก็ควรยุติได้แล้ว ตั้งแต่มีประกาศของ รมว.สาธารณสุข ก็ต้องพิจารณาดูเอาว่าใครที่ไม่อยากยุติในเรื่องนี้ ประชาชนที่มองว่าฝั่ง สธ. เอาประชาชนเป็นตัวประกันนั้นก็ต้องพิจารณาให้ดีว่าเราเอาประชาชนเป็นตัวประกันจริงหรือไม่
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผอ.รพ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า สาเหตุที่ต้องขึ้นป้ายประกาศจะไม่ทำตามคำสั่งห้ามโรงพยาบาลรับขึ้นทะเบียนสิทธิบัตรทองนั้น โดยยืนยันว่าจะให้บริการต่อไป เนื่องจากการหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เมื่อวันที่ 5 ก.พ. ที่ผ่านมา ซึ่งมี รมว.สาธารณสุข เป็นประธาน จะมีมติร่วมแล้วว่าให้โรงพยาบาลทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนบัตรทองเหมือนเดิม โดยหนังสือคำสั่งก่อนหน้าถือเป็นโมฆะ แต่จนบัดนี้ก็ยังไม่มีการลงนามเลย ทั้งยังไม่มีหนังสือสั่งการออกมาอย่างเป็นทางการจาก สธ. ว่า ให้ทำหน้าที่ดังกล่าว มีเพียงหนังสือคำสั่งให้ยกเลิกการทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนที่ออกมาตั้งแต่วันที่ 15 ม.ค. เท่านั้น จึงไม่ไว้วางใจ เพราะในการประชุมวันนั้น นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ. ก็ไม่ได้เข้าหารือด้วย
“ที่ผ่านมา ยังไม่เคยเห็นว่าปลัด สธ. จะปฏิบัติตามคำสั่งของ รมว.สาธารณสุข แต่อย่างใด ดังนั้น ถ้าจะให้โรงพยาบาลปลดป้ายเหล่านั้นออกได้ก็ต่อเมื่อได้เห็นหนังสือคำสั่งอย่างเป็นทางการจาก รมว.สาธารณสุข เองก็ได้ เพราะมีอำนาจอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องรอให้ปลัด สธ. ออกคำสั่ง เพราะถ้ารอไม่รู้ว่าจะได้เมื่อไร” นพ.อารักษ์ กล่าวและว่า ในส่วนของ รพ.สิชล เองได้มีการขึ้นป้ายที่ห้องงานประกัน และมีการประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสายของโรงพยาบาลให้ประชาชนได้ทราบ และมั่นใจว่าโรงพยาบาลจะให้บริการขึ้นทะเบียนบัตรทองเช่นเดิม
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ผอ.รพ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น และประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า การขึ้นป้ายก็เพื่อแสดงความมั่นใจให้กับประชาชน ว่า จะยังคงรับขึ้นทะเบียนสิทธิบัตรทองอยู่ เพราะขณะนี้ปลัด สธ. ยังไม่ออกมาพูดถึงเรื่องดังกล่าว ทั้งที่มีข้อตกลงร่วมระหว่าง รมว.สาธารณสุข รองปลัด สธ. และเลขาธิการ สปสช. อย่างชัดเจน ว่าจะให้มีการออกประกาศ และหนังสือเวียนแจ้งทุกโรงพยาบาล จนบัดนี้ก็ยังไม่ดำเนินการ ประชาชนก็กังวล อย่าง รพ. ชุมแพ ก็มีการสอบถามมาก ยิ่งหญิงตั้งครรภ์ที่มีกำหนดคลอดช่วง เม.ย. เป็นต้นไป กังวลว่าคลอดแล้วต้องไปยื่นสิทธิบัตรทองให้ลูกหรือไม่ ซึ่งก่อนหน้านี้ตนวางแผนว่า จะจัดรถไว้บริการหญิงคลอดไปส่งทำเรื่องที่ว่าการอำเภอ หรือที่รับขึ้นทะเบียนเลย
“ขณะนี้ยังไม่เห็นมีการทำเอ็มโอยูร่วม และไม่รู้เมื่อไร ยิ่งชมรมโรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไปออกมาประกาศไม่ร่วมทำงานกับ สปสช. ซึ่งทางปลัด สธ. ก็ไม่มีมาตรการหรือคำสั่งห้าม โรงพยาบาลหลายแห่งจึงไม่ค่อยมั่นใจมากนัก ทำให้มีโรงพยาบาลอีกหลายแห่งยังคงติดประกาศย้ำเตือนประชาชนว่า ไม่ต้องกังวล เพราะบอกตรงๆ ว่า เราไม่ไว้ใจทางสำนักงานปลัดฯ จะทำอย่างไรกับเรื่องนี้กันแน่ แต่เพื่อความสบายใจของประชาชนจึงติดป้ายประกาศดีกว่า” นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวและว่า นอกจากนี้ ในการประชุมบอร์ด สปสช. วันที่ 9 ก.พ. ชมรมแพทย์ชนบทได้รับเชิญจากกรรมการ สปสช. สัดส่วนภาคประชาชน ให้เข้าร่วมในโควตาภาคประชาชน เพื่อร่วมฟังว่าในการประชุมบอร์ด สปสช. เรื่องจัดสรรงบประมาณบัตรทองจะเป็นอย่างไร เนื่องจากหากมีการพูดถึงโรงพยาบาลชุมชนจะได้ตอบถูก
ด้าน นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัด สธ. กล่าวว่า รมว.สาธารณสุข ก็ประกาศชัดเจนแล้วว่าจะมีการทำเอ็มโอยูร่วมกัน และจะออกหนังสือเวียนแจ้งแก่โรงพยาบาลให้ดำเนินการรับขึ้นทะเบียนสิทธิบัตรทองต่อ ก็ต้องเป็นไปตามที่หารือและ รมว.สาธารณสุขชี้แจง ส่วนที่โรงพยาบาลชุมชนต่างๆ ขึ้นป้ายประกาศนั้นก็ถือว่าเป็นเรื่องของเขา แต่ยืนยันว่าเอ็มโอยูและการทำหนังสือเวียนนั้นต้องมีการดำเนินการแน่นอนภายในสัปดาห์นี้ ขอให้ทุกฝ่ายวางใจ
ผู้สื่อข่าวถามว่า การออกมาเคลื่อนไหวเช่นนี้จะทำให้เรื่องไม่จบ และเป็นการขัดคำสั่งของ รมว.สาธารณสุข ที่ให้ทุกฝ่ายหยุดเคลื่อนไหวหรือไม่ นพ.วชริะ กล่าวว่า จริงๆ เรื่องนี้ก็ควรยุติได้แล้ว ตั้งแต่มีประกาศของ รมว.สาธารณสุข ก็ต้องพิจารณาดูเอาว่าใครที่ไม่อยากยุติในเรื่องนี้ ประชาชนที่มองว่าฝั่ง สธ. เอาประชาชนเป็นตัวประกันนั้นก็ต้องพิจารณาให้ดีว่าเราเอาประชาชนเป็นตัวประกันจริงหรือไม่
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่