สธ. โต้กลับไม่รับทำบัตรทอง ชี้เป็นหน้าที่ของ สปสช. ย้ำมติบอร์ด สปสช. กำหนดชัดเองให้ยกเลิกทำหน้าที่นายทะเบียน เหตุต้องแยกผู้ซื้อ - ผู้ให้บริการตามกฎหมาย โอดทำให้ฟรีๆ ถึง เม.ย. 2558 ระหว่างรอ สปสช. หา ผอ. สาขาคนใหม่ และกลไกมารองรับไม่ให้กระทบผู้ป่วย ยันทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลบัตรทอง เดินหน้าดูแลจ่ายเงินผู้ได้รับผลกระทบบริการการแพทย์เช่นเดิม
นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีข่าวทำหนังสือลงวันที่ 15 ม.ค. 2558 ถึงเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) ยกเลิกการทำหน้าที่นายทะเบียน สปสช. สาขาจังหวัด โดยมีการอ้างทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้ป่วยเนื่องจากไม่รับทำบัตรทอง ว่า ความจริงแล้วเรื่องนี้เป็นไปตามมติของบอร์ด สปสช. ซึ่งยกเลิกการทำหน้าที่ดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2557 ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายที่ให้แยกผู้ซื้อบริการคือ สปสช. และผู้ให้บริการคือ สสจ. ออกจากกัน แต่เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับประชาชน ทั้งการขึ้นทะเบียนสิทธิบัตรทอง การย้ายสิทธิ หรือการย้ายข้ามโรงพยาบาล เป็นต้น สสจ. จะรับทำหน้าที่นี้ไปก่อนจนถึงวันที่ 30 เม.ย. 2558 จึงส่องมอบคืนให้กับ สปสช. ทั้งหมด
“เรื่องนี้ไม่ได้กระทบกับผู้ป่วยเหมือนที่ข่าวออกมาเลยว่า สธ. จะไม่รับทำบัตรทอง ซึ่งความจริงแล้วก็ไม่ใช่หน้าที่ของ สธ. อยู่แล้ว เพราะผู้ทำบัตรทองคือ สปสช. และการยกเลิกให้ นพ.สสจ. เป็นนายทะเบียนและหน่วยรับลงทะเบียนผู้มีสิทธิบัตรทองก็ไม่ได้หมายความว่า เมื่อมีเด็กแรกเกิดที่โรงพยาบาล ทางเราจะไม่แจ้งข้อมูลเพื่อให้เขามีสิทธิบัตรทอง เราก็ยังรวบรวมข้อมูลเหมือนเดิม ส่วนการย้ายสิทธิบัตรทองก็ยังทำได้เหมือนเดิม” รองปลัด สธ. กล่าว
นพ.วชิระ กล่าวอีกว่า ประเด็นนี้เป็นกระบวนการภายในระหว่าง สธ. กับ สปสช. แต่กลับไปตีความว่าจะส่งผลกระทบกับประชาชน ต้องทำความเข้าใจให้ชัดว่า การรวบรวมทะเบียน กับการขึ้นทะเบียนสิทธิบัตรทองแตกต่างกัน ต้องแยกให้ชัดคือ สธ. จะรวบรวมข้อมูลให้ แต่ผู้ขึ้นทะเบียนต้องเป็น สปสช. หนังสือที่แจ้งไปยังเลขาธิการ สปสช. จึงไม่เข้าใจว่าขัดหลักเกณฑ์อย่างไร
นพ.วชิระ กล่าวว่า นอกจากนี้ หนังสือดังกล่าวยังมีเรื่องของการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นผู้รับผลกระทบจากการบริการตามมาตรา 41 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ซึ่งชัดเจนว่าแม้ นพ.สสจ. จะเลิกทำหน้าที่ในฐานะ สปสช.สาขาจังหวัด แต่ก็ยังดำเนินการในเรื่องนี้เช่นเดิม เพราะเป็นเรื่องที่ต้องการความรวดเร็วเมื่อผู้ป่วยร้องขอ แต่การเบิกจ่ายเงินนั้น หากจะให้ สสจ. เบิกจ่ายได้เองโดยไม่ต้องรอ สปสช. ในพื้นที่จ่ายเงินให้ จะต้องขอคำอนุมัติจากกระทรวงการคลังเพื่อมอบอำนาจ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรอผลการพิจารณาอยู่
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า คงต้องมาหารือกันว่าจะมีกลไกอย่างไร เบื้องต้นหากยกเลิกหน่วยรับลงทะเบียน ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นหน่วยบริการก็เกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อประชาชน
พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านสิทธิบัตรและจัดเก็บรายได้ รพ.สุรินทร์ กล่าวว่า หลังจากบอร์ด สปสช. ยกเลิกให้ นพ.สสจ. เป็น ผอ.สปสช. สาขาจังหวัด ก็ทำให้เกิดการแยกบทบาทหน้าที่ชัดเจน แต่ระหว่างรอ สปสช. หา ผอ. สาขาคนใหม่ สสจ. ก็ยังช่วยทำงานให้เหมือนเดิม เพียงแต่มีกำหนดวันชัดเจนขึ้น เพื่อให้ สปสช. มีกลไกมารองรับอย่างเป็นระบบ ส่วนเรื่องการรวบรวมข้อมูลสิทธิบัตรทองโรงพยาบาลก็ยังทำ แต่จะส่งข้อมูลถึงใคร ตรงนี้ต้องรอ สปสช. หากลไกมารองรับ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การยกเลิก สปสช. สาขาจังหวัด สืบเนื่องจากบอร์ด สปสช. มีมติยกเลิก เมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2557 ซึ่งขณะนั้นมี นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ เป็น รมว.สาธารณสุข และประธานบอร์ด สปสช. โดยมีสาเหตุมาจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ทักท้วง สปสช. ในเรื่องการตั้งสำนักงานสาขา โดยพบว่ามีความซ้ำซ้อน เนื่องจาก สสจ. เป็นหน่วยงานในสังกัด สป.สธ. มีบทบาทผู้ให้บริการ ไม่ควรมีบทบาทผู้ซื้อบริการ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีข่าวทำหนังสือลงวันที่ 15 ม.ค. 2558 ถึงเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) ยกเลิกการทำหน้าที่นายทะเบียน สปสช. สาขาจังหวัด โดยมีการอ้างทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้ป่วยเนื่องจากไม่รับทำบัตรทอง ว่า ความจริงแล้วเรื่องนี้เป็นไปตามมติของบอร์ด สปสช. ซึ่งยกเลิกการทำหน้าที่ดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2557 ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายที่ให้แยกผู้ซื้อบริการคือ สปสช. และผู้ให้บริการคือ สสจ. ออกจากกัน แต่เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับประชาชน ทั้งการขึ้นทะเบียนสิทธิบัตรทอง การย้ายสิทธิ หรือการย้ายข้ามโรงพยาบาล เป็นต้น สสจ. จะรับทำหน้าที่นี้ไปก่อนจนถึงวันที่ 30 เม.ย. 2558 จึงส่องมอบคืนให้กับ สปสช. ทั้งหมด
“เรื่องนี้ไม่ได้กระทบกับผู้ป่วยเหมือนที่ข่าวออกมาเลยว่า สธ. จะไม่รับทำบัตรทอง ซึ่งความจริงแล้วก็ไม่ใช่หน้าที่ของ สธ. อยู่แล้ว เพราะผู้ทำบัตรทองคือ สปสช. และการยกเลิกให้ นพ.สสจ. เป็นนายทะเบียนและหน่วยรับลงทะเบียนผู้มีสิทธิบัตรทองก็ไม่ได้หมายความว่า เมื่อมีเด็กแรกเกิดที่โรงพยาบาล ทางเราจะไม่แจ้งข้อมูลเพื่อให้เขามีสิทธิบัตรทอง เราก็ยังรวบรวมข้อมูลเหมือนเดิม ส่วนการย้ายสิทธิบัตรทองก็ยังทำได้เหมือนเดิม” รองปลัด สธ. กล่าว
นพ.วชิระ กล่าวอีกว่า ประเด็นนี้เป็นกระบวนการภายในระหว่าง สธ. กับ สปสช. แต่กลับไปตีความว่าจะส่งผลกระทบกับประชาชน ต้องทำความเข้าใจให้ชัดว่า การรวบรวมทะเบียน กับการขึ้นทะเบียนสิทธิบัตรทองแตกต่างกัน ต้องแยกให้ชัดคือ สธ. จะรวบรวมข้อมูลให้ แต่ผู้ขึ้นทะเบียนต้องเป็น สปสช. หนังสือที่แจ้งไปยังเลขาธิการ สปสช. จึงไม่เข้าใจว่าขัดหลักเกณฑ์อย่างไร
นพ.วชิระ กล่าวว่า นอกจากนี้ หนังสือดังกล่าวยังมีเรื่องของการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นผู้รับผลกระทบจากการบริการตามมาตรา 41 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ซึ่งชัดเจนว่าแม้ นพ.สสจ. จะเลิกทำหน้าที่ในฐานะ สปสช.สาขาจังหวัด แต่ก็ยังดำเนินการในเรื่องนี้เช่นเดิม เพราะเป็นเรื่องที่ต้องการความรวดเร็วเมื่อผู้ป่วยร้องขอ แต่การเบิกจ่ายเงินนั้น หากจะให้ สสจ. เบิกจ่ายได้เองโดยไม่ต้องรอ สปสช. ในพื้นที่จ่ายเงินให้ จะต้องขอคำอนุมัติจากกระทรวงการคลังเพื่อมอบอำนาจ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรอผลการพิจารณาอยู่
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า คงต้องมาหารือกันว่าจะมีกลไกอย่างไร เบื้องต้นหากยกเลิกหน่วยรับลงทะเบียน ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นหน่วยบริการก็เกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อประชาชน
พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านสิทธิบัตรและจัดเก็บรายได้ รพ.สุรินทร์ กล่าวว่า หลังจากบอร์ด สปสช. ยกเลิกให้ นพ.สสจ. เป็น ผอ.สปสช. สาขาจังหวัด ก็ทำให้เกิดการแยกบทบาทหน้าที่ชัดเจน แต่ระหว่างรอ สปสช. หา ผอ. สาขาคนใหม่ สสจ. ก็ยังช่วยทำงานให้เหมือนเดิม เพียงแต่มีกำหนดวันชัดเจนขึ้น เพื่อให้ สปสช. มีกลไกมารองรับอย่างเป็นระบบ ส่วนเรื่องการรวบรวมข้อมูลสิทธิบัตรทองโรงพยาบาลก็ยังทำ แต่จะส่งข้อมูลถึงใคร ตรงนี้ต้องรอ สปสช. หากลไกมารองรับ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การยกเลิก สปสช. สาขาจังหวัด สืบเนื่องจากบอร์ด สปสช. มีมติยกเลิก เมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2557 ซึ่งขณะนั้นมี นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ เป็น รมว.สาธารณสุข และประธานบอร์ด สปสช. โดยมีสาเหตุมาจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ทักท้วง สปสช. ในเรื่องการตั้งสำนักงานสาขา โดยพบว่ามีความซ้ำซ้อน เนื่องจาก สสจ. เป็นหน่วยงานในสังกัด สป.สธ. มีบทบาทผู้ให้บริการ ไม่ควรมีบทบาทผู้ซื้อบริการ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่