รมว.แรงงาน จี้เร่งพิสูจน์สัญชาติต่างด้าวให้เสร็จภายใน 31 มีนาคมนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงาน พร้อมรองรับประชาคมอาเซียน ย้ำสร้างโมเดลนำเข้าแรงงานถูกกฎหมาย ส่งเสริมแรงงานที่ดีสำหรับกิจการที่ดี เพิ่มยุทธศาสตร์ชาติด้านแรงงาน ลดผลผลกระทบสังคม
ที่กระทรวงแรงงาน (รง.) พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ในการประชุมคณะอนุกรรมการประสานงานการจัดการแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ด้านแรงงานครั้งที่ 1 ปี 2558 ที่ประชุมได้พิจารณาในประเด็น อาทิ แนวทางการดำเนินการกับแรงงานต่างด้าวที่จะครบกำหนดระยะเวลาผ่อนผันในวันที่ 31 มีนาคม 2558 ภายใต้ 3 แนวทาง คือ แนวทางแรก ให้นายจ้างที่ปฏิบัติตามคำสั่ง คสช.ครบทุกขั้นตอนและมีความต้องการจ้างงานแรงงานต่างด้าวได้รับประโยชน์ตามสิทธิ แนวทางที่ 2 นายจ้างที่มีความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวและได้ยื่นบัญชีรายชื่อให้เจ้าหน้าที่แล้ว แต่มีปัญหาการพิสูจน์สัญชาติล่าช้า นายจ้างได้รับประโยชน์ตามสิทธิ และแนวทางสุดท้าย นายจ้างที่ไม่ได้มายื่นบัญชีรายชื่อจะต้องมีมาตรการบังคับใช้กฎหมายโดยใช้กลไกตามคำสั่งที่ 100 และ 101 ซึ่งแรงงานต่างด้าวกลุ่มที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติแล้วสามารถอยู่ได้จนถึง 31 ตุลาคม 2559
ทั้งนี้ ส่วนกลุ่มทื่ยื่นบัญชีรายชื่อแล้วแต่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติยังไม่แล้วเสร็จจะได้รับการผ่อนผันเนื่องจากกระบวนการพิสูจน์สัญชาติไม่ทันภายในวันที่ 31 มีนาคมนี้ ส่วนกลุ่มที่ยังไม่ได้ยื่นบัญชีรายชื่อ จำเป็นต้องดำเนินการตามที่กำหนดกับนายจ้างที่มีการจ้างแรงงานต่างด้าวอยู่ สำหรับแนวทางการการดำเนินการจัดระบบแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว กัมพูชา และแรงงานประมงหลังสิ้นสุดการพิสูจน์สัญชาติวันที่ 31 มีนาคม 2558 จะต้องสรุปนำเรียนรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงรับทราบก่อนนำเข้าคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
พล.อ.สุรศักดิ์ กล่าวต่อว่า สำหรับแนวทางการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวในกิจการประมงทะเล เบื้องต้นคงเป็นไปตาม 7 ขั้นตอนที่หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันวิเคราะห์เสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คือ การลงทะเบียนนายจ้างประมงและการรวบรวมความต้องการแรงงานประมงของผู้ประกอบการ สมาคมประมงจะเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับศูนย์บริหารจัดการแรงงานประมงใน 22 จังหวัด รับสมัครแรงงานไทยเพื่อจูงใจให้แรงงานไทยทำประมง คัดเลือกบริษัทนายจ้างที่ถูกกฎหมายไทย ประสานกับประเทศต้นทางภายใต้กรอบเอ็มโอยูของภาครัฐทั้งสองประเทศ นำเข้าแรงงานต่างด้าวโดยสมาคมประมง ผู้ประกอบการประมงประสานงานร่วมกับกระทรวงแรงงาน การดูแลแรงงานประมงก่อนลงเรือ โดยสมาคมประมงและสมาชิกจะจัดที่พักแรงงานประมงใน 22 จังหวัดติดทะเล การตรวจติดตามเรือประมงโดยกรมประมง และมีบทลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐ และเอกชนที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
ส่วนการปรับปรุงบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงาน (MOU) กับประเทศต้นทาง เรื่องการเว้นระยะเวลาการจ้างงานของแรงงานต่างด้าวที่ครบกำหนด 4 ปี ซึ่งต้องเดินทางกลับประเทศและเว้นระยะเวลาการจ้าง 3 ปี โดยข้อเสนอใหม่ให้เว้นระยะเวลา 30 วันจึงจะกลับเข้ามาทำงานใหม่ได้ เพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาการเตรียมการจัดทำเอกสารนำเข้าใหม่ การกลับไปพักผ่อนอยู่กับครอบครัวหลังจากเข้ามาทำงานในประเทศ และเพื่อความต่อเนื่องของการทำงาน
รมว.แรงงานกล่าวอีกว่า นายกรัฐมนตรีได้มีข้อสั่งการเมื่อวันที่ 20 มกราคมที่ผ่านมาเกี่ยวกับการให้เร่งรัดการดำเนินการในการตรวจพิสูจน์สัญชาติเนื่องจากขณะนี้เกิดความล่าช้า ดังนั้นต้องหามาตรการในการแก้ไขปัญหา ทำอย่างไรให้มีแรงงานพอเพียงทั้งแรงงานต่างชาติและแรงงานไทยที่ตอบสนองต่อการขาดแคลนแรงงานของกิจการต่างๆ ในประเทศ และเตรียมความพร้อมที่จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน นอกจากนี้ เรื่องการแยกกองทุนประกันสังคมของคนไทยและแรงงานต่างด้าวออกจากกันนั้น ได้มอบหมายให้ปลัด รง.ดำเนินการร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมเพื่อคนต่างด้าว เนื่องจากปัจจุบันกองทุนประกันสังคมไม่ได้แยกระหว่างคนไทยกับคนต่างด้าว จึงจำเป็นต้องการแยกกองทุนออกจากกันเพื่อให้คนต่างด้าวมีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์เมื่อเดินทางกลับประเทศ เนื่องจากเรื่องดังกล่าวมีความจำเป็น ส่วนการเพิ่มเติมสำหรับยุทธศาสตร์ชาติด้านแรงงานที่จะต้องเพิ่มเรื่องผลกระทบด้านสังคมวัฒนธรรมเข้าไปด้วยนั้น เพราะแม้ว่าแรงงานจะอยู่ในกรอบกฎหมาย ไม่กระทบความมั่นคง ทำให้เศรษฐกิจดีก็ตาม ขณะเดียวกันก็ต้องไม่กระทบต่อสังคมด้วย
“เราจะสร้างโมเดลการนำเข้าแรงงานที่ถูกกฎหมายให้ได้ อาจมีการลดหย่อนผ่อนปรนในบางเรื่องจึงต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ส่วนแรงงานที่ดีสำหรับกิจการที่ดี เคารพกฎหมายไทย อยู่กับวัฒนธรรมไทยได้ เราคงต้องสร้างแรงจูงใจให้เขาอยู่กับเราได้ ผู้ประกอบการคงต้องวางระบบ ส่วนแรงงานต่างด้าวกลุ่มที่ผิดบ้าง ถูกบ้าง จะบังคับใช้กฎหมาย และกลุ่มที่กระทำผิดกฎหมายจะจับกุมดำเนินคดีและผลักดันกลับประเทศต้นทางต่อไป” รมว.แรงงานกล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ที่กระทรวงแรงงาน (รง.) พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ในการประชุมคณะอนุกรรมการประสานงานการจัดการแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ด้านแรงงานครั้งที่ 1 ปี 2558 ที่ประชุมได้พิจารณาในประเด็น อาทิ แนวทางการดำเนินการกับแรงงานต่างด้าวที่จะครบกำหนดระยะเวลาผ่อนผันในวันที่ 31 มีนาคม 2558 ภายใต้ 3 แนวทาง คือ แนวทางแรก ให้นายจ้างที่ปฏิบัติตามคำสั่ง คสช.ครบทุกขั้นตอนและมีความต้องการจ้างงานแรงงานต่างด้าวได้รับประโยชน์ตามสิทธิ แนวทางที่ 2 นายจ้างที่มีความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวและได้ยื่นบัญชีรายชื่อให้เจ้าหน้าที่แล้ว แต่มีปัญหาการพิสูจน์สัญชาติล่าช้า นายจ้างได้รับประโยชน์ตามสิทธิ และแนวทางสุดท้าย นายจ้างที่ไม่ได้มายื่นบัญชีรายชื่อจะต้องมีมาตรการบังคับใช้กฎหมายโดยใช้กลไกตามคำสั่งที่ 100 และ 101 ซึ่งแรงงานต่างด้าวกลุ่มที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติแล้วสามารถอยู่ได้จนถึง 31 ตุลาคม 2559
ทั้งนี้ ส่วนกลุ่มทื่ยื่นบัญชีรายชื่อแล้วแต่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติยังไม่แล้วเสร็จจะได้รับการผ่อนผันเนื่องจากกระบวนการพิสูจน์สัญชาติไม่ทันภายในวันที่ 31 มีนาคมนี้ ส่วนกลุ่มที่ยังไม่ได้ยื่นบัญชีรายชื่อ จำเป็นต้องดำเนินการตามที่กำหนดกับนายจ้างที่มีการจ้างแรงงานต่างด้าวอยู่ สำหรับแนวทางการการดำเนินการจัดระบบแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว กัมพูชา และแรงงานประมงหลังสิ้นสุดการพิสูจน์สัญชาติวันที่ 31 มีนาคม 2558 จะต้องสรุปนำเรียนรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงรับทราบก่อนนำเข้าคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
พล.อ.สุรศักดิ์ กล่าวต่อว่า สำหรับแนวทางการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวในกิจการประมงทะเล เบื้องต้นคงเป็นไปตาม 7 ขั้นตอนที่หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันวิเคราะห์เสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คือ การลงทะเบียนนายจ้างประมงและการรวบรวมความต้องการแรงงานประมงของผู้ประกอบการ สมาคมประมงจะเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับศูนย์บริหารจัดการแรงงานประมงใน 22 จังหวัด รับสมัครแรงงานไทยเพื่อจูงใจให้แรงงานไทยทำประมง คัดเลือกบริษัทนายจ้างที่ถูกกฎหมายไทย ประสานกับประเทศต้นทางภายใต้กรอบเอ็มโอยูของภาครัฐทั้งสองประเทศ นำเข้าแรงงานต่างด้าวโดยสมาคมประมง ผู้ประกอบการประมงประสานงานร่วมกับกระทรวงแรงงาน การดูแลแรงงานประมงก่อนลงเรือ โดยสมาคมประมงและสมาชิกจะจัดที่พักแรงงานประมงใน 22 จังหวัดติดทะเล การตรวจติดตามเรือประมงโดยกรมประมง และมีบทลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐ และเอกชนที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
ส่วนการปรับปรุงบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงาน (MOU) กับประเทศต้นทาง เรื่องการเว้นระยะเวลาการจ้างงานของแรงงานต่างด้าวที่ครบกำหนด 4 ปี ซึ่งต้องเดินทางกลับประเทศและเว้นระยะเวลาการจ้าง 3 ปี โดยข้อเสนอใหม่ให้เว้นระยะเวลา 30 วันจึงจะกลับเข้ามาทำงานใหม่ได้ เพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาการเตรียมการจัดทำเอกสารนำเข้าใหม่ การกลับไปพักผ่อนอยู่กับครอบครัวหลังจากเข้ามาทำงานในประเทศ และเพื่อความต่อเนื่องของการทำงาน
รมว.แรงงานกล่าวอีกว่า นายกรัฐมนตรีได้มีข้อสั่งการเมื่อวันที่ 20 มกราคมที่ผ่านมาเกี่ยวกับการให้เร่งรัดการดำเนินการในการตรวจพิสูจน์สัญชาติเนื่องจากขณะนี้เกิดความล่าช้า ดังนั้นต้องหามาตรการในการแก้ไขปัญหา ทำอย่างไรให้มีแรงงานพอเพียงทั้งแรงงานต่างชาติและแรงงานไทยที่ตอบสนองต่อการขาดแคลนแรงงานของกิจการต่างๆ ในประเทศ และเตรียมความพร้อมที่จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน นอกจากนี้ เรื่องการแยกกองทุนประกันสังคมของคนไทยและแรงงานต่างด้าวออกจากกันนั้น ได้มอบหมายให้ปลัด รง.ดำเนินการร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมเพื่อคนต่างด้าว เนื่องจากปัจจุบันกองทุนประกันสังคมไม่ได้แยกระหว่างคนไทยกับคนต่างด้าว จึงจำเป็นต้องการแยกกองทุนออกจากกันเพื่อให้คนต่างด้าวมีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์เมื่อเดินทางกลับประเทศ เนื่องจากเรื่องดังกล่าวมีความจำเป็น ส่วนการเพิ่มเติมสำหรับยุทธศาสตร์ชาติด้านแรงงานที่จะต้องเพิ่มเรื่องผลกระทบด้านสังคมวัฒนธรรมเข้าไปด้วยนั้น เพราะแม้ว่าแรงงานจะอยู่ในกรอบกฎหมาย ไม่กระทบความมั่นคง ทำให้เศรษฐกิจดีก็ตาม ขณะเดียวกันก็ต้องไม่กระทบต่อสังคมด้วย
“เราจะสร้างโมเดลการนำเข้าแรงงานที่ถูกกฎหมายให้ได้ อาจมีการลดหย่อนผ่อนปรนในบางเรื่องจึงต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ส่วนแรงงานที่ดีสำหรับกิจการที่ดี เคารพกฎหมายไทย อยู่กับวัฒนธรรมไทยได้ เราคงต้องสร้างแรงจูงใจให้เขาอยู่กับเราได้ ผู้ประกอบการคงต้องวางระบบ ส่วนแรงงานต่างด้าวกลุ่มที่ผิดบ้าง ถูกบ้าง จะบังคับใช้กฎหมาย และกลุ่มที่กระทำผิดกฎหมายจะจับกุมดำเนินคดีและผลักดันกลับประเทศต้นทางต่อไป” รมว.แรงงานกล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่