ผู้บริโภคโอดไม่เคยรู้ราคาค่ารักษา รพ.เอกชน ทั้งที่มีกฎหมายให้แสดงราคาก่อนรับบริการ ท้วงมีสิทธิรู้ข้อมูลก่อนตัดสินใจเข้ารักษาหรือไม่ หรือกัดฟันไปหา รพ.อื่นหากราคาแพงเกินไป หนุนกำหนดราคากลาง ด้าน “สารี” ลั่นหากเดินหน้าทำเกณฑ์เบิกจ่ายค่ารักษากลางแทน DRG พร้อมค้านเต็มที่ ขณะที่ รมว.สธ.เผยยังไม่มีนโยบายเดินหน้าทั้งสองประเด็น
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) กล่าวว่า แม้ประเทศไทยจะมี พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ที่กำหนดให้สถานพยาบาลเอกชนแสดงราคา เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค แต่ในทางปฏิบัติกลับไม่เป็นเช่นนั้น ผู้บริโภคไม่เคยรู้ราคาเลย ทั้งที่จริงแล้วเป้นสิทธิของผู้บริโภค อย่างเรื่องของค่ายาและเวชภัณฑ์ซึ่งส่วนใหญ่โรงพยาบาลมักไปเพิ่มราคาในส่วนนี้ ทำให้ผู้ป่วยนอกจากจะต้องจ่ายค่าหมอ ค่าบริการเต็มจำนวนแล้ว ยังต้องมาเสียค่ายาที่แพงมากอีก จึงมองว่าควรปรับเปลี่ยนระบบโดยให้ผู้ป่วยสามารถเอาใบสั่งยาไปซื้อยาจากร้านยาภายนอกได้ ส่วนการกำหนดราคากลางเพื่อควบคุมไม่ให้ราคาค่ารักษาพยาบาบแพงจนเกินไปนั้น ตนยังเห็นด้วยที่จะให้มีการกำหนดราคากลางดังกล่าว เพื่อให้ค่ารักษาพยาบาลเป็นธรรม ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีเกณฑ์
น.ส.สารีกล่าวว่า สำหรับนโยบายอดีต รมว.สาธารณสุข ที่เคยจะทำการเกณฑ์เบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลกลางระดับประเทศ เพื่อมาแทนการเบิกจ่ายตามเกณฑ์การวินิจฉัยโรคร่วม (DRG) นั้น ขณะนี้ไม่ได้มีการหารือกันต่อเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ตนก็รู้สึกยินดีที่ไม่มีการหารือเพื่อเดินหน้ากันต่อ เพราะไม่เห็นด้วย เนื่องจากเกณฑ์ DRG นั้นดีอยู่แล้ว และเป็นการสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ไม่เป็นภาระต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) และไม่ทำให้โรงพยาบาลขาดทุน แต่กลุ่มโรงพยาบาลเอกชนอาจมีปัญหาตรงที่ได้กำไรน้อยเมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่จ่ายเงินโดยไม่ใช้สิทธิ
ด้าน นายปิติชัย พงษ์วานิชอนันต์ ประชาชนทั่วไปที่ได้รับผลกระทบจากค่ารักษาพยาบาลแพง กล่าวว่า แม้จะมีกฎหมายให้สถานพยาบาลเอกชนแจ้งราคา แต่ในทางปฏิบัติเราไม่เคยรู้ราคาเลย ถึงแม้ว่าเราจะเจ็บป่วยแต่สิทธิในการเลือกเข้ารับบริการหรือไม่เป็นสิทธิของผู้ป่วย โดยโรงพยาบาลจะต้องแจ้งทางเลือก และค่าบริการให้ทราบอย่างชัดเจน แล้วให้ผู้ป่วยตัดสินใจเองว่าเมื่อเทียบกับอาการเจ็บป่วยของตนแล้วจะยอมเข้ารับการรักษาในอัตราค่าบริการเท่านี้หรือไม่ หรือหากคิดว่าแพงเกินไปแล้วยังทนไหวอยากเปลี่ยนโรงพยาบาลก็เป็นสิทธิของผู้ป่วยที่จะเลือก เพราะมิเช่นนั้น อาจเกิดปรากฏการณ์บิลช็อก คือเห็นค่ารักษาพยาบาลแล้วตกใจ เพราะราคาสูงมาก
“ ส่วนกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินจำเป็นต้องรับการรักษานั้น จนไม่มีเวลามาพิจารณาเรื่องของราคา ก็ต้องมาดูข้อเท็จจริงว่าอาการเจ็บป่วยดังกล่าวมันฉุกเฉินเข้าเกณฑ์ตามสิทธิเจ็บป่วยฉุกเฉินรักษาฟรีหรือไม่ ก็ต้องมาพิจารณาตรงนี้ว่าทำไมผู้ป่วยบอกฉุกเฉินแล้วโรงพยาบาลบอกไม่ใช่ ก็ต้องมาดูข้อเท็จจริงกัน อย่างไรก็ตาม หากมีการควบคุมราคาไม่ให้ค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชนแพงจนเกินไปก็ถือเป็นเรื่องที่ดี คือ ราคาก็อาจให้โรงพยาบาลสามารถทำกำไรได้บ้าง แต่ไม่ใช่เอากำไรจนมากเกินไป แต่ผู้ป่วยก็ต้องพิจารณาให้ดี เพราะโรงพยาบาลเอกชนนั้นก็มีหลายเรตหลายราคาเช่นกัน ” นายปิติชัยกล่าว
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รมว.สาธารณสุข กล่าวถึงเรื่องนี้สั้นๆ ว่า ขณะนี้ สธ.ยังไม่มีนโยบายในเรื่องงการกำหนดราคากลางค่ารักษาพยาบาล รวมไปถึงเกณฑ์การเบิกจ่ายราคากลางเช่นกัน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) กล่าวว่า แม้ประเทศไทยจะมี พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ที่กำหนดให้สถานพยาบาลเอกชนแสดงราคา เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค แต่ในทางปฏิบัติกลับไม่เป็นเช่นนั้น ผู้บริโภคไม่เคยรู้ราคาเลย ทั้งที่จริงแล้วเป้นสิทธิของผู้บริโภค อย่างเรื่องของค่ายาและเวชภัณฑ์ซึ่งส่วนใหญ่โรงพยาบาลมักไปเพิ่มราคาในส่วนนี้ ทำให้ผู้ป่วยนอกจากจะต้องจ่ายค่าหมอ ค่าบริการเต็มจำนวนแล้ว ยังต้องมาเสียค่ายาที่แพงมากอีก จึงมองว่าควรปรับเปลี่ยนระบบโดยให้ผู้ป่วยสามารถเอาใบสั่งยาไปซื้อยาจากร้านยาภายนอกได้ ส่วนการกำหนดราคากลางเพื่อควบคุมไม่ให้ราคาค่ารักษาพยาบาบแพงจนเกินไปนั้น ตนยังเห็นด้วยที่จะให้มีการกำหนดราคากลางดังกล่าว เพื่อให้ค่ารักษาพยาบาลเป็นธรรม ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีเกณฑ์
น.ส.สารีกล่าวว่า สำหรับนโยบายอดีต รมว.สาธารณสุข ที่เคยจะทำการเกณฑ์เบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลกลางระดับประเทศ เพื่อมาแทนการเบิกจ่ายตามเกณฑ์การวินิจฉัยโรคร่วม (DRG) นั้น ขณะนี้ไม่ได้มีการหารือกันต่อเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ตนก็รู้สึกยินดีที่ไม่มีการหารือเพื่อเดินหน้ากันต่อ เพราะไม่เห็นด้วย เนื่องจากเกณฑ์ DRG นั้นดีอยู่แล้ว และเป็นการสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ไม่เป็นภาระต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) และไม่ทำให้โรงพยาบาลขาดทุน แต่กลุ่มโรงพยาบาลเอกชนอาจมีปัญหาตรงที่ได้กำไรน้อยเมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่จ่ายเงินโดยไม่ใช้สิทธิ
ด้าน นายปิติชัย พงษ์วานิชอนันต์ ประชาชนทั่วไปที่ได้รับผลกระทบจากค่ารักษาพยาบาลแพง กล่าวว่า แม้จะมีกฎหมายให้สถานพยาบาลเอกชนแจ้งราคา แต่ในทางปฏิบัติเราไม่เคยรู้ราคาเลย ถึงแม้ว่าเราจะเจ็บป่วยแต่สิทธิในการเลือกเข้ารับบริการหรือไม่เป็นสิทธิของผู้ป่วย โดยโรงพยาบาลจะต้องแจ้งทางเลือก และค่าบริการให้ทราบอย่างชัดเจน แล้วให้ผู้ป่วยตัดสินใจเองว่าเมื่อเทียบกับอาการเจ็บป่วยของตนแล้วจะยอมเข้ารับการรักษาในอัตราค่าบริการเท่านี้หรือไม่ หรือหากคิดว่าแพงเกินไปแล้วยังทนไหวอยากเปลี่ยนโรงพยาบาลก็เป็นสิทธิของผู้ป่วยที่จะเลือก เพราะมิเช่นนั้น อาจเกิดปรากฏการณ์บิลช็อก คือเห็นค่ารักษาพยาบาลแล้วตกใจ เพราะราคาสูงมาก
“ ส่วนกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินจำเป็นต้องรับการรักษานั้น จนไม่มีเวลามาพิจารณาเรื่องของราคา ก็ต้องมาดูข้อเท็จจริงว่าอาการเจ็บป่วยดังกล่าวมันฉุกเฉินเข้าเกณฑ์ตามสิทธิเจ็บป่วยฉุกเฉินรักษาฟรีหรือไม่ ก็ต้องมาพิจารณาตรงนี้ว่าทำไมผู้ป่วยบอกฉุกเฉินแล้วโรงพยาบาลบอกไม่ใช่ ก็ต้องมาดูข้อเท็จจริงกัน อย่างไรก็ตาม หากมีการควบคุมราคาไม่ให้ค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชนแพงจนเกินไปก็ถือเป็นเรื่องที่ดี คือ ราคาก็อาจให้โรงพยาบาลสามารถทำกำไรได้บ้าง แต่ไม่ใช่เอากำไรจนมากเกินไป แต่ผู้ป่วยก็ต้องพิจารณาให้ดี เพราะโรงพยาบาลเอกชนนั้นก็มีหลายเรตหลายราคาเช่นกัน ” นายปิติชัยกล่าว
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รมว.สาธารณสุข กล่าวถึงเรื่องนี้สั้นๆ ว่า ขณะนี้ สธ.ยังไม่มีนโยบายในเรื่องงการกำหนดราคากลางค่ารักษาพยาบาล รวมไปถึงเกณฑ์การเบิกจ่ายราคากลางเช่นกัน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่