“ไมไนย” สั่งบุคลากร สจล.ย้ายบัญชีเงินเดือน จาก ธ.ไทยพาณิชย์ และให้เลือกใช้ใน 3 ธนาคารที่สถาบันใช้บริการ พร้อมนำทีมชวนบุคลากรร่วมปิด 3 บัญชี มูลค่าประมาณ 52 ล้านบาทแล้ว เพื่อกดดันให้ ธ.ไทยพาณิชย์ นำหลักฐานมาส่งเจ้าหน้าที่ ตร.พร้อมเคลียร์ใจยอมตกเป็นเป้ากับเหตุการณ์ที่ผ่านมา จากเดิมตั้งใจลงชิงเก้าอี้ อธิการบดี แต่เมื่อเกิดเรื่องจนกระทั่งมีความชัดเจน ตัดสินใจไม่ลงชิงเพื่อแสดงความรับผิดชอบ
วันนี้ (6 ก.พ.) ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ศ.ดร.โมไนย ไกรฤกษ์ รักษาการแทนอธิการบดี สจล. พร้อมด้วย รศ.ดร.จำรูญ เล้าสินวัฒนา รักษาการแทนรองอธิการบดีส่วนนิติการ สจล. ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบบัญชีเงินฝากธนาคาร (เงินออม) ของ สจล.และผศ.ดร.เผ่าภัค ศิริสุข รักษาการแทนรองอธิการบดีส่วนการคลัง สจล. แถลงชี้แจงความคืบหน้าคดีลักทรัพย์เงินของสถาบัน และรายละเอียดการดำเนินงานด้านต่างๆของสถาบันที่ผ่านมา รวมถึงการดำเนินการทางธุรกรรมด้านการเงินกับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
โดย ศ.ดร.โมไนยกล่าวว่า ขณะนี้ทางสถาบันฯ ได้รายงานความคืบหน้าในการดำเนินงานต่างๆ ต่อนายกฤษณพงษ์ กีรติกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และรศ.นพ.กำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (เลขาธิการ กกอ.) รวมถึงได้มีการเข้าพบผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้บริหารธนาคารที่เกี่ยวข้อง และจะมีการนำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับ สจล.เข้าที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย(ทปอ.) เพื่อให้อธิการบดีต่างๆ รับทราบข้อมูลที่เกิดขึ้น และเป็นบทเรียนเพื่อให้มหาวิทยาลัยต่างๆ ตรวจสอบการเงิน การบัญชีและการคลัง ทั้งนี้ สำหรับการตรวจพบความผิดปกติของบัญชี จนนำมาสู่การดำเนินคดีที่เกิดขึ้น ขณะนี้ได้แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรก บัญชี ธ.กรุงศรีอยุธยา สาขาศรีนครินทร์ มีการปลอมแปลงบัญชี ความเสียหาย จำนวนเงิน 80 ล้านบาท กลุ่มที่ 2 บัญชีเงินฝาก ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาบิ๊กซี สุวินทวงศ์ 3 บัญชี และธ.ไทยพาณิชย์ สาขาสุวรรณภูมิ 1 บัญชี ความเสียหายเป็นจำนวนเงิน ประมาณ 1,400 ล้านบาท และกลุ่มที่ 3 ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ความเสียหาย 100 ล้านบาท รวมเป็นความเสียหายทั้งหมด 1,586 ล้านบาท
“ขณะนี้กังวลว่าคดีที่อยู่ในการดูแลของทางเจ้าพนักงานสอบสวน ซึ่งมีระยะเวลาฝากขังได้จำกัด และการดำเนินการส่งฟ้องไปยังอัยการและศาล ใกล้เข้ามาทุกที โดยหลักฐานสำคัญ ซึ่งทางสถาบันฯ ได้ขอจาก ธ.ไทยพาณิชย์ และแม้จะได้รับการตอบรับจากธนาคารว่าให้ความร่วมมืออย่างดี แต่ในทางปฎิบัติเอกสารยังมาไม่ครบ ซึ่งการขาดเอกสารจะส่งผลต่อรูปคดีและการฟ้องร้อง หรือดำเนินคดีกับผู้ต้องหา เนื่องจากหลักฐานมันเบา จึงอาจมีผลต่อการปล่อยตัวผู้ต้องหา และส่งผลให้การดำเนินการไม่ได้เป็นไปตามที่เราเรียกร้อง ดังนั้น ทุกคนต้องร่วมมือ ร่วมแรงร่วมใจกดดันธ.ไทยพาณิชย์ เพื่อให้นำหลักฐานมาส่งให้เจ้าหน้าที่พนักงานสอบสวน” ศ.ดร.โมไนยกล่าว
ศ.ดร.โมไนยกล่าวต่อว่า ผู้บริหารตกเป็นเป้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้นกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่เนื่องจากผู้บริหารมีความกังวลเรื่องรูปคดี ต่างๆ จึงไม่สามารถพูดอะไรได้มากในช่วงแรกต้องยอมตกเป็นเป้าให้ต่อว่า แต่เมื่อเหตุการณ์มีความชัดเจนมากขึ้น ผู้บริหารได้ให้ข้อมูลประชาคมมากขึ้นเช่นนี้ ซึ่งตนบอกด้วยความจริงใจว่า ก่อนหน้านี้ตนได้เสนอตัวเข้ารับการสรรหาอธิการบดี แต่เมื่อมีการเหตุการณ์นี้ขึ้นและได้พบประชาคมครั้งแรกมีเสียงถามถึงความรับผิดชอบและหลักธรรรมาภิบาลของผู้บริหารชุดนี้ ซึ่งตนก็อยากแสดงความรับผิดชอบ แต่เมื่อดูโดยรวมอาจไม่เป็นผลต่อดีต่อสถาบัน เพราะจะทำให้เกิดความเสียหาย ไม่มีผู้ให้ข้อมูลต่อตำรวจอย่างต่อเนื่อง จนต้องทนให้ถูกต่อว่า และเพื่อเป็นการแสงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตนจึงตัดสินใจไม่เสนอตัวเข้ารับการสรรหาอธิการดี และเห็นได้ชัดว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ทำให้ประชาคมมีความร่วมมือร่วมใจกัน จึงหวัดว่าผู้บริหารตัวจริง คงจะทำให้สถาบันมีระบบธรรมภิบาล โปร่งใสและรัดกุมมากขึ้นในการบริหารงาน
ด้าน รศ.ดร.จำรูญ กล่าวว่า ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในเวลานี้คือ การรวบรวมเอกสารหลักฐาน ซึ่งประกอบด้วย 1. เอกสารภายในของ สจล.เกี่ยวกับการอนุมัติการเบิกถอน และโอนเงินเข้าบัญชี ซึ่งส่วนนี้ สจล.ได้รวบรวมและส่งให้ตำรวจตั้งแต่ต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา 2. เอกสารของธนาคาร ได้แก่ คำขอโอนเงิน หรือการสั่งจ่ายแคชเชียร์เช็ค ว่าใครเป็นผู้ไปลงนามเบิกถอน และใครเป็นผู้ไปเข้าบัญชีสั่งจ่าย รวมทั้งเซนต์อนุมัติรวมเงินให้บัญชีปลายทาง โดยทางสถาบันฯได้ขอครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 มกราคมและได้ส่งไปขอเอกสารเรื่อยๆ 7-8 ครั้ง และระบุชัดเจนว่าจะขอเอกสารอะไรบ้าง อย่างไรก็ตาม เอกสารเหล่านี้ จะทำให้เห็นได้ว่าใครเป็นผู้กระทำผิด และขั้นตอนไหนมีปัญหา แต่ขณะนี้ เราได้รับเอกสารไม่ถึงครึ่งและเอกสารไม่สมบูรณ์ด้วย
“สิ่งที่สำคัญ คือ ความร่วมมือจาก ธ.ไทยพาณิชย์ ซึ่งตั้งแต่เกิดเรื่องผู้บริหารยืนยันชัดเจนว่า เราไม่เคยออกมาร้องขอความรับผิดชอบใดๆ จาก ธ.ไทยพาณิชย์ แต่สิ่งที่ร้องขอมาตลอด คือ ความร่วมมือ ซึ่งถ้า ธ.ไทยพาณิชย์ส่งเอกสารมาครบ ทุกอย่างก็จะไม่รอช้าก็จะส่งเอกสารให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการสอบสวนต่อไป ก็จะรู้ว่าใครกระทำผิด ซึ่งสถาบัน และธ.ไทยพาณิชย์ ถือเป็นเพื่อนที่ดีมายาวนาน แต่ตอนนี้จะให้เราไม่คลางแคลงใจ หรือสงสัยเรื่องธรรมาภิบาลคงไม่ได้ ดังนั้น ในเมื่อเราต่างเป็นผู้เสียหายเหมือนกันควรจะร่วมมือกันส่งเอกสารให้เจ้าหน้าที่ตำรวจให้ครบ เพราะนั้นคือความโปร่งใสที่สุด” รศ.ดร.จำรูญกล่าว
ขณะที่ ผศ.ดร.เผ่าภัค กล่าวว่า ขณะนี้ทางสจล.ได้ทำปิดบัญชีฝากประจำ ธ.ไทยพาณิชย์ จำนวน 3 บัญชี เป็นเงินประมาณ 52 ล้านบาท และจะทำหนังสือเวียนขอความร่วมมือคณะต่างๆ ปิดบัญชีกับ ธ.ไทยพาณิชย์ ด้วย และในวันเดียวนี้โดยลงนามคำสั่ง จากศ.ดร.โมไนย ไกรฤกษ์ รักษาการแทนอธิการบดี สจล. ได้ส่งหนังสือเวียนถึงบุคลากรและนักศึกษา สจล.ทุกคน เรื่องแจ้งงดการทำธุรกรรม การจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง เงินค่าตอบแทนและเงินอื่นๆผ่านธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) โดยหนังสือระบุว่า ตามที่เกิดคดีความทางการเงินของ สจล. พนักงานสอบสวนและ สจล.ได้ดำเนินการสืบสวนสอบสวนอย่างเต็มที่ เพื่อหาตัวผู้กระทำผิดและเตรียมเรียกร้องค่าเสียหายของสถาบันฯแต่ในช่วงเวลาที่ผ่านมานั้น ธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งถือเป็นผู้ถือหลักฐานและเอกสารสำคัญต่อรูปคดี มิได้ให้ความร่วมมือและไม่แสดงความรับผิดชอบต่อผลกระทบ ซึ่งเกิดขึ้นมาจากการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับธนาคาร เท่าที่ควร ดังนั้น สถาบันจึงเห็นควรยุติธุรกรรมทางการเงิน ระหว่งสถาบันกับธนาคาไทบพาณิชย์ เป็นการชั่วคราว โดยสถาบันจะยุติการจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทนและเงินอื่นๆ ผ่านทางธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด ตั้งแต่เดือน มีนาคม 2558 นี้เป็นต้นไป โดยจะสั่งจ่ายเงินผ่านธนาคารกรุงไทย กรุงศรีอยุธยา กสิกรไทย ขอให้บุคลากรและนักศึกษาที่รับเงินผ่านทางธนาคารไทยพาณิชย์ดำเนินการปิดบัญชีออมทรัพย์และส่งสำเนาหน้าเลขที่บัญชีที่เปิดใหม่หรือ มีอยู่กับอีก 3 ธนาคารมาที่ส่วนการคลัง สจล.ภายในวันที่ 27 ก.พ.นี้ เพื่อดำเนินการต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศว่า ในระหว่างที่มีการตอบข้อซักถามของบุคลากรนั้น บุคลากรส่วนใหญ่แสดงความไม่พอใจที่ธนาคารไทยพาณิชย์ ไม่ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลสำคัญที่จะสาวไปถึงตัวการผู้กระทำผิด จึงมีผู้เสนอให้หามาตรการกดดันธนาคาร โดยเชิญชวนบุคลากร ศิษย์เก่า นักศึกษา ปิดบัญชีกับธนาคารไทยพาณิชย์ แล้วถ่ายภาพตนเอง นำเผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ทุกชนิด ทั้งเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ทวิชเตอร์ เป็นต้น ซึ่งทำให้บุคลากรในห้องประชุมปรบมือขานรับกันอย่างกึกก้อง พร้อมกันนี้กลุ่มผุ้บริหารก็ได้เชิญชวนศิษย์เก่า และบุคลากร ไปร่วมกันปิดบัญชีกับธนาคารไทยพาณิชย์
ต่อมาเมื่อเวลา 14.10 น. ศ.ดร.โมไนย ได้นำทีมผู้บริหารมาที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาเทคโนโลยีฯ เพื่อปิดบัญชี โดยมีบุคลากรและนักศึกษามารอให้กำลังใจและเตรียมสมุดบัญชีมาปิดด้วยกว่า 100คน ทั้งยังถือป้ายผ้าข้อความ"หมดสิ้นแล้วกับความเชื่อมั่น หมดหวังกับความจริงใจ สจล.เลิกทำธุรกรรมการเงินทุกประเภท" พร้อมตะโกนปิดบัญชีๆ และโยนสมุดบัญชีลงกับพื้น
จากนั้น รักษาการแทนอธิการบดี ให้สัมภาษณ์หลังปิดบัญชีเรียบร้อยแล้ว ว่า สจล.ปิดบัญชี 3 เล่มยอดรวม 52 ล้านบาท คดีนี้ สจล.กังวลว่าหากหลักฐานไม่เพียงพอจะกลายเป็นมวยล้มต้มคนดู หรือจับได้แค่ปลาซิวปลาสร้อย ฝ่ายบริหารสจล.จึงต้องดำเนินการอย่างเต็มที่ เพื่อให้ธนาคารส่งมิบหลักฐานต่างๆให้ครบ
ด้าน รศ.ดร.จิราภา วิทยาภิรักษ์ บุคลากรสจล.กล่าวว่า ประชาคมรอหลักฐานจาดธนาคารมานานแล้ว ดังนั้นการที่ผู้บริหารสจล.มาปิดบัญชีเราก็พร้อมสนับสนุน และเต็มใจทำตามหนังสือเวียนที่ให้เราปิดยัญชีกับธนาคารไทยพาณิชย์
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (6 ก.พ.) ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ศ.ดร.โมไนย ไกรฤกษ์ รักษาการแทนอธิการบดี สจล. พร้อมด้วย รศ.ดร.จำรูญ เล้าสินวัฒนา รักษาการแทนรองอธิการบดีส่วนนิติการ สจล. ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบบัญชีเงินฝากธนาคาร (เงินออม) ของ สจล.และผศ.ดร.เผ่าภัค ศิริสุข รักษาการแทนรองอธิการบดีส่วนการคลัง สจล. แถลงชี้แจงความคืบหน้าคดีลักทรัพย์เงินของสถาบัน และรายละเอียดการดำเนินงานด้านต่างๆของสถาบันที่ผ่านมา รวมถึงการดำเนินการทางธุรกรรมด้านการเงินกับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
โดย ศ.ดร.โมไนยกล่าวว่า ขณะนี้ทางสถาบันฯ ได้รายงานความคืบหน้าในการดำเนินงานต่างๆ ต่อนายกฤษณพงษ์ กีรติกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และรศ.นพ.กำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (เลขาธิการ กกอ.) รวมถึงได้มีการเข้าพบผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้บริหารธนาคารที่เกี่ยวข้อง และจะมีการนำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับ สจล.เข้าที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย(ทปอ.) เพื่อให้อธิการบดีต่างๆ รับทราบข้อมูลที่เกิดขึ้น และเป็นบทเรียนเพื่อให้มหาวิทยาลัยต่างๆ ตรวจสอบการเงิน การบัญชีและการคลัง ทั้งนี้ สำหรับการตรวจพบความผิดปกติของบัญชี จนนำมาสู่การดำเนินคดีที่เกิดขึ้น ขณะนี้ได้แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรก บัญชี ธ.กรุงศรีอยุธยา สาขาศรีนครินทร์ มีการปลอมแปลงบัญชี ความเสียหาย จำนวนเงิน 80 ล้านบาท กลุ่มที่ 2 บัญชีเงินฝาก ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาบิ๊กซี สุวินทวงศ์ 3 บัญชี และธ.ไทยพาณิชย์ สาขาสุวรรณภูมิ 1 บัญชี ความเสียหายเป็นจำนวนเงิน ประมาณ 1,400 ล้านบาท และกลุ่มที่ 3 ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ความเสียหาย 100 ล้านบาท รวมเป็นความเสียหายทั้งหมด 1,586 ล้านบาท
“ขณะนี้กังวลว่าคดีที่อยู่ในการดูแลของทางเจ้าพนักงานสอบสวน ซึ่งมีระยะเวลาฝากขังได้จำกัด และการดำเนินการส่งฟ้องไปยังอัยการและศาล ใกล้เข้ามาทุกที โดยหลักฐานสำคัญ ซึ่งทางสถาบันฯ ได้ขอจาก ธ.ไทยพาณิชย์ และแม้จะได้รับการตอบรับจากธนาคารว่าให้ความร่วมมืออย่างดี แต่ในทางปฎิบัติเอกสารยังมาไม่ครบ ซึ่งการขาดเอกสารจะส่งผลต่อรูปคดีและการฟ้องร้อง หรือดำเนินคดีกับผู้ต้องหา เนื่องจากหลักฐานมันเบา จึงอาจมีผลต่อการปล่อยตัวผู้ต้องหา และส่งผลให้การดำเนินการไม่ได้เป็นไปตามที่เราเรียกร้อง ดังนั้น ทุกคนต้องร่วมมือ ร่วมแรงร่วมใจกดดันธ.ไทยพาณิชย์ เพื่อให้นำหลักฐานมาส่งให้เจ้าหน้าที่พนักงานสอบสวน” ศ.ดร.โมไนยกล่าว
ศ.ดร.โมไนยกล่าวต่อว่า ผู้บริหารตกเป็นเป้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้นกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่เนื่องจากผู้บริหารมีความกังวลเรื่องรูปคดี ต่างๆ จึงไม่สามารถพูดอะไรได้มากในช่วงแรกต้องยอมตกเป็นเป้าให้ต่อว่า แต่เมื่อเหตุการณ์มีความชัดเจนมากขึ้น ผู้บริหารได้ให้ข้อมูลประชาคมมากขึ้นเช่นนี้ ซึ่งตนบอกด้วยความจริงใจว่า ก่อนหน้านี้ตนได้เสนอตัวเข้ารับการสรรหาอธิการบดี แต่เมื่อมีการเหตุการณ์นี้ขึ้นและได้พบประชาคมครั้งแรกมีเสียงถามถึงความรับผิดชอบและหลักธรรรมาภิบาลของผู้บริหารชุดนี้ ซึ่งตนก็อยากแสดงความรับผิดชอบ แต่เมื่อดูโดยรวมอาจไม่เป็นผลต่อดีต่อสถาบัน เพราะจะทำให้เกิดความเสียหาย ไม่มีผู้ให้ข้อมูลต่อตำรวจอย่างต่อเนื่อง จนต้องทนให้ถูกต่อว่า และเพื่อเป็นการแสงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตนจึงตัดสินใจไม่เสนอตัวเข้ารับการสรรหาอธิการดี และเห็นได้ชัดว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ทำให้ประชาคมมีความร่วมมือร่วมใจกัน จึงหวัดว่าผู้บริหารตัวจริง คงจะทำให้สถาบันมีระบบธรรมภิบาล โปร่งใสและรัดกุมมากขึ้นในการบริหารงาน
ด้าน รศ.ดร.จำรูญ กล่าวว่า ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในเวลานี้คือ การรวบรวมเอกสารหลักฐาน ซึ่งประกอบด้วย 1. เอกสารภายในของ สจล.เกี่ยวกับการอนุมัติการเบิกถอน และโอนเงินเข้าบัญชี ซึ่งส่วนนี้ สจล.ได้รวบรวมและส่งให้ตำรวจตั้งแต่ต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา 2. เอกสารของธนาคาร ได้แก่ คำขอโอนเงิน หรือการสั่งจ่ายแคชเชียร์เช็ค ว่าใครเป็นผู้ไปลงนามเบิกถอน และใครเป็นผู้ไปเข้าบัญชีสั่งจ่าย รวมทั้งเซนต์อนุมัติรวมเงินให้บัญชีปลายทาง โดยทางสถาบันฯได้ขอครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 มกราคมและได้ส่งไปขอเอกสารเรื่อยๆ 7-8 ครั้ง และระบุชัดเจนว่าจะขอเอกสารอะไรบ้าง อย่างไรก็ตาม เอกสารเหล่านี้ จะทำให้เห็นได้ว่าใครเป็นผู้กระทำผิด และขั้นตอนไหนมีปัญหา แต่ขณะนี้ เราได้รับเอกสารไม่ถึงครึ่งและเอกสารไม่สมบูรณ์ด้วย
“สิ่งที่สำคัญ คือ ความร่วมมือจาก ธ.ไทยพาณิชย์ ซึ่งตั้งแต่เกิดเรื่องผู้บริหารยืนยันชัดเจนว่า เราไม่เคยออกมาร้องขอความรับผิดชอบใดๆ จาก ธ.ไทยพาณิชย์ แต่สิ่งที่ร้องขอมาตลอด คือ ความร่วมมือ ซึ่งถ้า ธ.ไทยพาณิชย์ส่งเอกสารมาครบ ทุกอย่างก็จะไม่รอช้าก็จะส่งเอกสารให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการสอบสวนต่อไป ก็จะรู้ว่าใครกระทำผิด ซึ่งสถาบัน และธ.ไทยพาณิชย์ ถือเป็นเพื่อนที่ดีมายาวนาน แต่ตอนนี้จะให้เราไม่คลางแคลงใจ หรือสงสัยเรื่องธรรมาภิบาลคงไม่ได้ ดังนั้น ในเมื่อเราต่างเป็นผู้เสียหายเหมือนกันควรจะร่วมมือกันส่งเอกสารให้เจ้าหน้าที่ตำรวจให้ครบ เพราะนั้นคือความโปร่งใสที่สุด” รศ.ดร.จำรูญกล่าว
ขณะที่ ผศ.ดร.เผ่าภัค กล่าวว่า ขณะนี้ทางสจล.ได้ทำปิดบัญชีฝากประจำ ธ.ไทยพาณิชย์ จำนวน 3 บัญชี เป็นเงินประมาณ 52 ล้านบาท และจะทำหนังสือเวียนขอความร่วมมือคณะต่างๆ ปิดบัญชีกับ ธ.ไทยพาณิชย์ ด้วย และในวันเดียวนี้โดยลงนามคำสั่ง จากศ.ดร.โมไนย ไกรฤกษ์ รักษาการแทนอธิการบดี สจล. ได้ส่งหนังสือเวียนถึงบุคลากรและนักศึกษา สจล.ทุกคน เรื่องแจ้งงดการทำธุรกรรม การจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง เงินค่าตอบแทนและเงินอื่นๆผ่านธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) โดยหนังสือระบุว่า ตามที่เกิดคดีความทางการเงินของ สจล. พนักงานสอบสวนและ สจล.ได้ดำเนินการสืบสวนสอบสวนอย่างเต็มที่ เพื่อหาตัวผู้กระทำผิดและเตรียมเรียกร้องค่าเสียหายของสถาบันฯแต่ในช่วงเวลาที่ผ่านมานั้น ธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งถือเป็นผู้ถือหลักฐานและเอกสารสำคัญต่อรูปคดี มิได้ให้ความร่วมมือและไม่แสดงความรับผิดชอบต่อผลกระทบ ซึ่งเกิดขึ้นมาจากการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับธนาคาร เท่าที่ควร ดังนั้น สถาบันจึงเห็นควรยุติธุรกรรมทางการเงิน ระหว่งสถาบันกับธนาคาไทบพาณิชย์ เป็นการชั่วคราว โดยสถาบันจะยุติการจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทนและเงินอื่นๆ ผ่านทางธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด ตั้งแต่เดือน มีนาคม 2558 นี้เป็นต้นไป โดยจะสั่งจ่ายเงินผ่านธนาคารกรุงไทย กรุงศรีอยุธยา กสิกรไทย ขอให้บุคลากรและนักศึกษาที่รับเงินผ่านทางธนาคารไทยพาณิชย์ดำเนินการปิดบัญชีออมทรัพย์และส่งสำเนาหน้าเลขที่บัญชีที่เปิดใหม่หรือ มีอยู่กับอีก 3 ธนาคารมาที่ส่วนการคลัง สจล.ภายในวันที่ 27 ก.พ.นี้ เพื่อดำเนินการต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศว่า ในระหว่างที่มีการตอบข้อซักถามของบุคลากรนั้น บุคลากรส่วนใหญ่แสดงความไม่พอใจที่ธนาคารไทยพาณิชย์ ไม่ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลสำคัญที่จะสาวไปถึงตัวการผู้กระทำผิด จึงมีผู้เสนอให้หามาตรการกดดันธนาคาร โดยเชิญชวนบุคลากร ศิษย์เก่า นักศึกษา ปิดบัญชีกับธนาคารไทยพาณิชย์ แล้วถ่ายภาพตนเอง นำเผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ทุกชนิด ทั้งเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ทวิชเตอร์ เป็นต้น ซึ่งทำให้บุคลากรในห้องประชุมปรบมือขานรับกันอย่างกึกก้อง พร้อมกันนี้กลุ่มผุ้บริหารก็ได้เชิญชวนศิษย์เก่า และบุคลากร ไปร่วมกันปิดบัญชีกับธนาคารไทยพาณิชย์
ต่อมาเมื่อเวลา 14.10 น. ศ.ดร.โมไนย ได้นำทีมผู้บริหารมาที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาเทคโนโลยีฯ เพื่อปิดบัญชี โดยมีบุคลากรและนักศึกษามารอให้กำลังใจและเตรียมสมุดบัญชีมาปิดด้วยกว่า 100คน ทั้งยังถือป้ายผ้าข้อความ"หมดสิ้นแล้วกับความเชื่อมั่น หมดหวังกับความจริงใจ สจล.เลิกทำธุรกรรมการเงินทุกประเภท" พร้อมตะโกนปิดบัญชีๆ และโยนสมุดบัญชีลงกับพื้น
จากนั้น รักษาการแทนอธิการบดี ให้สัมภาษณ์หลังปิดบัญชีเรียบร้อยแล้ว ว่า สจล.ปิดบัญชี 3 เล่มยอดรวม 52 ล้านบาท คดีนี้ สจล.กังวลว่าหากหลักฐานไม่เพียงพอจะกลายเป็นมวยล้มต้มคนดู หรือจับได้แค่ปลาซิวปลาสร้อย ฝ่ายบริหารสจล.จึงต้องดำเนินการอย่างเต็มที่ เพื่อให้ธนาคารส่งมิบหลักฐานต่างๆให้ครบ
ด้าน รศ.ดร.จิราภา วิทยาภิรักษ์ บุคลากรสจล.กล่าวว่า ประชาคมรอหลักฐานจาดธนาคารมานานแล้ว ดังนั้นการที่ผู้บริหารสจล.มาปิดบัญชีเราก็พร้อมสนับสนุน และเต็มใจทำตามหนังสือเวียนที่ให้เราปิดยัญชีกับธนาคารไทยพาณิชย์
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่