สจล.จี้สถาบันการเงิน ให้ความร่วมมือส่งหลักฐานเบิกจ่ายเงินให้พนักงานสอบสวน ใช้ยืนยันความผิด “ทรงกลด” และควานหาตัวผู้เกี่ยวข้อง พร้อมตั้งข้อสังเกต กรณีธนาคารพบความผิดปกติแต่กลับไม่แจ้งสถาบัน และปปง.ให้รับทราบ กลับปล่อยให้สถาบันซึ่งเป็นลูกค้าตรวจสอบพบความผิดปกติเอง ระบุสถาบันขาดความเชื่อมั่นในระบบบริหารและธรรมาภิบาลของธนาคาร พร้อมทบทวนไม่ทำธุรกรรมทุกประเภทเพื่อรักษาผลประโยชน์และความปลอดภัยทางการเงินของสถาบันและบุคลากร นักศึกษาทุกคน
วันนี้ (22 ม.ค.) นายจำรูญ เล้าสินวัฒนา รองอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เปิดเผยว่า จากกรณีคดียักยอกเงิน สจล.ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำการสืบสวนรูปคดีจากหลักฐานต่างๆ ส่งผลให้คดีมีความคืบหน้าไปมาก แต่ยังขาดเอกสารสำคัญคือ สลิปถอนเงิน และสำเนาการสอบสวน นายทรงกลด ศรีประสงค์ เมื่อครั้งทำหน้าที่เป็นผู้จัดการธนาคารไทยพาณิชย์ในเวลานั้น และเวลานี้ทางธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ให้ข่าวทำนองว่าธนาคารไม่ต้องรับผิดชอบต่อการถอนเงินของสถาบันโดยทุจริต ด้วยเหตุนี้สถาบันจึงตั้งข้อสังเกต และจัดทำถ้อยแถลงขอเรียกร้องขอความร่วมมือจากสถาบันการเงิน ดังนี้ 1.สถาบันขอให้ธนาคารมอบเอกสารหลักฐานการเบิกจ่ายเงินและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับคดีทั้งหมดแก่พนักงานสอบสวน ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าวจะเป็นหลักฐานสำคัญในการยืนยันการกระทำความผิดของนายทรงกลด ศรีประสงค์ และหาบุคคล กลุ่มบุคคลผู้ร่วมกระทำผิดหรือแม้แต่จะพิสูจน์ได้ว่าเป็นความผิดของทางธนาคารด้วยหรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมาไม่ได้รับความร่วมมือ
2.จากการที่ผู้บริหารของสถาบันเข้าพบผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโสของธนาคารไทยพาณิชย์ทราบว่ากรณีการลาออกจากการเป็นพนักงานของธนาคารไทยพาณิชย์ของนายทรงกลด ศรีประสงค์ ผู้ต้องหาคนสำคัญของคดี สืบเนื่องจากธนาคารได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและผลการตรวจพบว่าบุคคลดังกล่าวได้ดำเนินการผิดขั้นตอนของการเบิกถอนเงินของสถาบันโดยมิได้มีลายมือชื่อของผู้บริหารสถาบันกำกับหรืออาจไม่มีใบถอนเงิน ซึ่งเป็นการทำผิดวินัยร้ายแรงด้านการเงินซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ส่อไปในทางทุจริตของลูกจ้างธนาคาร แต่ธนาคารกลับมิได้แจ้งความผิดปกติดังกล่าวให้สถาบันทราบ ซึ่งธนาคารควรจะต้องไล่ นายทรงกลด ออกหรือดำเนินคดีกับนายทรงกลด ศรีประสงค์ธนาคารก็กลับใช้วิธีให้นายทรงกลด นำเอกสารการทำธุรกรรมมาให้ผู้บริหารลงนามให้ครบและให้ยื่นใบลาออกไป การแก้ปัญหาเช่นนี้ทำให้สถาบันขาดความน่าเชื่อถือต่อธนาคารอย่างยิ่ง ซึ่งสถาบันต้องการทราบว่าผู้มีอำนาจลงนามเบิกจ่ายของสถาบัน ได้ลงนามย้อนหลังไปให้ธนาคารหรือไม่ เพราะปกติจะไม่สามารถทำได้ เนื่องจากมีการถอนเงินโดยไม่ชอบไปแล้ว และในการปฏิบัติของสถาบันจะต้องแนบใบถอนมาพร้อมกับหนังสือขอคำสั่งอนุมัติ ซึ่งเอกสารหลักฐานทั้งหมดอยู่ที่ธนาคารต้องเอาออกมาแสดง
นายจำรูญ กล่าวต่อว่า 3.การที่ธนาคารปฏิบัติเช่นนี้จึงนำมาซึ่งความเสียหายเป็นจำนวนเงินมหาศาลในเวลาต่อมานั้น หากธนาคารมีระบบและการปฏิบัติงานของบุคคลที่เกี่ยวข้องได้มาตรฐานจริง ธนาคารน่าจะทราบสัญญาณความผิดปกติดังกล่าวในบัญชีของสถาบันซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคาร และทำการตรวจสอบหรือแจ้งเตือนมายังสถาบัน หรือแจ้งรายงานไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งที่ผ่านมาธนาคารมิได้ดำเนินการใดใด จนสถาบันเป็นฝ่ายตรวจพบ 4.ข้อน่าสังเกตอีกประการหนึ่ง คือ เงินฝากของสถาบันที่ถูกทำการทุจริตไปครั้งนี้เป็นเงินฝากประจำ แต่มีการถอนไปก่อนกำหนดทั้งสิ้น และการเบิกถอนในแต่ละครั้งเป็นเงินจำนวนมาก เมื่อธนาคารตรวจสอบพบการปฏิบัติงานที่ผิดปกติของ นายทรงกลด แล้ว ไม่แจ้งธุรกรรมที่น่าสงสัยนี้แก่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ทราบ กลับปกปิดโดยให้ นายทรงกลด ลาออกไป ซึ่งเป็นสาเหตุโดยตรงที่ทำให้ นายทรงกลด มีโอกาสไปเป็นผู้จัดการที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยาและทุจริตเงินของสถาบันได้อีก และ5.สถาบันในฐานะที่เป็นผู้เสียหายโดยตรงจึงขาดความเชื่อมั่นในมาตรฐานการบริหารจัดการเงินฝาก และหลักธรรมาภิบาลของธนาคารไทยพาณิชย์ สถาบันจึงทบทวนการทำธุรกรรมทางการเงินทุกประเภทกับธนาคารไทยพาณิชย์ เพื่อการรักษาผลประโยชน์ของสถาบัน ตลอดจน เพื่อความปลอดภัยทางการเงินของบุคลากรและนักศึกษาของสถาบัน
“สถาบันหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คดีดังกล่าวจะสามารถหาผู้กระทำความผิดทั้งหมดมารับโทษตามกฎหมาย โดยหลักฐานจากธนาคารจะเป็นตัวแปรสำคัญในการทำให้คดีนี้คลี่คลาย ทั้งนี้ สถาบันมุ่งหวังให้กรณีดังกล่าวจะเป็นกรณีศึกษาให้กับประชาชน หน่วยงาน องค์กร ฯลฯ ให้มีความระมัดระวังในการทำธุรกรรมทางการเงินกับธนาคารหรือหน่วยงานทางการเงินที่ได้มาตรฐานอย่างแท้จริง เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายเช่นเดียวกับสถาบันที่ผ่านมา”รองอธิการ สจล.กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (22 ม.ค.) นายจำรูญ เล้าสินวัฒนา รองอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เปิดเผยว่า จากกรณีคดียักยอกเงิน สจล.ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำการสืบสวนรูปคดีจากหลักฐานต่างๆ ส่งผลให้คดีมีความคืบหน้าไปมาก แต่ยังขาดเอกสารสำคัญคือ สลิปถอนเงิน และสำเนาการสอบสวน นายทรงกลด ศรีประสงค์ เมื่อครั้งทำหน้าที่เป็นผู้จัดการธนาคารไทยพาณิชย์ในเวลานั้น และเวลานี้ทางธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ให้ข่าวทำนองว่าธนาคารไม่ต้องรับผิดชอบต่อการถอนเงินของสถาบันโดยทุจริต ด้วยเหตุนี้สถาบันจึงตั้งข้อสังเกต และจัดทำถ้อยแถลงขอเรียกร้องขอความร่วมมือจากสถาบันการเงิน ดังนี้ 1.สถาบันขอให้ธนาคารมอบเอกสารหลักฐานการเบิกจ่ายเงินและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับคดีทั้งหมดแก่พนักงานสอบสวน ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าวจะเป็นหลักฐานสำคัญในการยืนยันการกระทำความผิดของนายทรงกลด ศรีประสงค์ และหาบุคคล กลุ่มบุคคลผู้ร่วมกระทำผิดหรือแม้แต่จะพิสูจน์ได้ว่าเป็นความผิดของทางธนาคารด้วยหรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมาไม่ได้รับความร่วมมือ
2.จากการที่ผู้บริหารของสถาบันเข้าพบผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโสของธนาคารไทยพาณิชย์ทราบว่ากรณีการลาออกจากการเป็นพนักงานของธนาคารไทยพาณิชย์ของนายทรงกลด ศรีประสงค์ ผู้ต้องหาคนสำคัญของคดี สืบเนื่องจากธนาคารได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและผลการตรวจพบว่าบุคคลดังกล่าวได้ดำเนินการผิดขั้นตอนของการเบิกถอนเงินของสถาบันโดยมิได้มีลายมือชื่อของผู้บริหารสถาบันกำกับหรืออาจไม่มีใบถอนเงิน ซึ่งเป็นการทำผิดวินัยร้ายแรงด้านการเงินซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ส่อไปในทางทุจริตของลูกจ้างธนาคาร แต่ธนาคารกลับมิได้แจ้งความผิดปกติดังกล่าวให้สถาบันทราบ ซึ่งธนาคารควรจะต้องไล่ นายทรงกลด ออกหรือดำเนินคดีกับนายทรงกลด ศรีประสงค์ธนาคารก็กลับใช้วิธีให้นายทรงกลด นำเอกสารการทำธุรกรรมมาให้ผู้บริหารลงนามให้ครบและให้ยื่นใบลาออกไป การแก้ปัญหาเช่นนี้ทำให้สถาบันขาดความน่าเชื่อถือต่อธนาคารอย่างยิ่ง ซึ่งสถาบันต้องการทราบว่าผู้มีอำนาจลงนามเบิกจ่ายของสถาบัน ได้ลงนามย้อนหลังไปให้ธนาคารหรือไม่ เพราะปกติจะไม่สามารถทำได้ เนื่องจากมีการถอนเงินโดยไม่ชอบไปแล้ว และในการปฏิบัติของสถาบันจะต้องแนบใบถอนมาพร้อมกับหนังสือขอคำสั่งอนุมัติ ซึ่งเอกสารหลักฐานทั้งหมดอยู่ที่ธนาคารต้องเอาออกมาแสดง
นายจำรูญ กล่าวต่อว่า 3.การที่ธนาคารปฏิบัติเช่นนี้จึงนำมาซึ่งความเสียหายเป็นจำนวนเงินมหาศาลในเวลาต่อมานั้น หากธนาคารมีระบบและการปฏิบัติงานของบุคคลที่เกี่ยวข้องได้มาตรฐานจริง ธนาคารน่าจะทราบสัญญาณความผิดปกติดังกล่าวในบัญชีของสถาบันซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคาร และทำการตรวจสอบหรือแจ้งเตือนมายังสถาบัน หรือแจ้งรายงานไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งที่ผ่านมาธนาคารมิได้ดำเนินการใดใด จนสถาบันเป็นฝ่ายตรวจพบ 4.ข้อน่าสังเกตอีกประการหนึ่ง คือ เงินฝากของสถาบันที่ถูกทำการทุจริตไปครั้งนี้เป็นเงินฝากประจำ แต่มีการถอนไปก่อนกำหนดทั้งสิ้น และการเบิกถอนในแต่ละครั้งเป็นเงินจำนวนมาก เมื่อธนาคารตรวจสอบพบการปฏิบัติงานที่ผิดปกติของ นายทรงกลด แล้ว ไม่แจ้งธุรกรรมที่น่าสงสัยนี้แก่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ทราบ กลับปกปิดโดยให้ นายทรงกลด ลาออกไป ซึ่งเป็นสาเหตุโดยตรงที่ทำให้ นายทรงกลด มีโอกาสไปเป็นผู้จัดการที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยาและทุจริตเงินของสถาบันได้อีก และ5.สถาบันในฐานะที่เป็นผู้เสียหายโดยตรงจึงขาดความเชื่อมั่นในมาตรฐานการบริหารจัดการเงินฝาก และหลักธรรมาภิบาลของธนาคารไทยพาณิชย์ สถาบันจึงทบทวนการทำธุรกรรมทางการเงินทุกประเภทกับธนาคารไทยพาณิชย์ เพื่อการรักษาผลประโยชน์ของสถาบัน ตลอดจน เพื่อความปลอดภัยทางการเงินของบุคลากรและนักศึกษาของสถาบัน
“สถาบันหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คดีดังกล่าวจะสามารถหาผู้กระทำความผิดทั้งหมดมารับโทษตามกฎหมาย โดยหลักฐานจากธนาคารจะเป็นตัวแปรสำคัญในการทำให้คดีนี้คลี่คลาย ทั้งนี้ สถาบันมุ่งหวังให้กรณีดังกล่าวจะเป็นกรณีศึกษาให้กับประชาชน หน่วยงาน องค์กร ฯลฯ ให้มีความระมัดระวังในการทำธุรกรรมทางการเงินกับธนาคารหรือหน่วยงานทางการเงินที่ได้มาตรฐานอย่างแท้จริง เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายเช่นเดียวกับสถาบันที่ผ่านมา”รองอธิการ สจล.กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่