สมาพันธ์ฯสังคมปลอดบุหรี่ และเครือข่าย 700 องค์กร เข้าพบ รมว.สาธารณสุข วอน รบ. เร่งเดินหน้าออกกฎหมายคุมยาสูบฉบับใหม่ ชี้ช่วยปกป้องเยาวชน อุดช่องโหว่กฎหมายล้าหลัง ลดภาระค่าใช้จ่ายรักษาโรค 50,000 ล้านบาท ด้าน “หมอรัชตะ” เผยเหลือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความเห็น ก่อนเสนอ ครม.
วันนี้ (4 ก.พ.) ตัวแทนสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ และเครือข่ายองค์กรต่างๆ 700 องค์กร นำโดย ศ.พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ ประธานสมาพัยธ์เครือข่ายแห่งชาติฯ ดร.ศรัณญา เบญจกุล อาจารย์คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล และ ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เดินเข้าพบ ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อติดตามความคืบหน้าการผลักดันร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ฉบับใหม่
ทั้งนี้ ศ.พญ.สมศรี กล่าวว่า สมาพันธ์ฯ และเครือข่ายต่างเฝ้ารอว่าเมื่อไรกฎหมายบุหรี่จะเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) และเข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ตามลำดับ เพราะหากยิ่งออกกฎหมายช้า ก็ยิ่งทำให้ประเทศไทยเสียประโยชน์ เพราะอัตราการสูบบุหรี่ของชายไทยสูงถึง 40% ซึ่งผู้แทนมูลนิธิโรคปอดของโลก มีความเห็นว่าปัญหาการสูบบุหรี่ของชายไทยยังสูงในระดับวิกฤต จึงมาทวงถาม รมว.สาธารณสุข และขอให้รัฐบาลเร่งเดินหน้าเรื่องนี้โดยเร็ว เพราะขณะนี้เด็กไทยติดบุหรี่แล้วเกือบ 2 ล้านคน และจะมีเด็กอีกเป็นจำนวนมากทยอยเข้าสู่การเป็นลูกค้าของบริษัทบุหรี่ เพราะกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีช่องโหว่ และใช้มากว่า 20 ปีแล้ว ซึ่งกฎหมายฉบับใหม่จะมาอุดช่องโหว่เหล่านี้ โดยเฉพาะการห้ามโฆษณาส่งเสริมการขาย ที่สำคัญจะช่วยลดภาระที่รัฐบาลและคนไทยต้องแบกค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคจากการสูบบุหรี่ถึงปีละกว่า 50,000 ล้านบาท
ศ.นพ.รัชตะ กล่าวภายหลังหารือร่วมกันว่า สมาพันธ์ฯและเครือข่ายมาเข้าพบก็เพื่อขอให้เร่งผลักดันร่างกมฎหมายควบคุมยาสูบฉบับใหม่ และยืนยันที่จะหนุนร่างกฎหมายฉบับนี้ เพราะถือเป็นกฎหมายที่มีประโยชน์ช่วยหยุดยั้งเยาวชนไทย และสตรีไม่ให้เป็นนักสูบหน้าใหม่ โดยระยะยาวสุขภาพคนไทยจะดีขึ้น สำหรับการผลักดันกฎหมายฉบับนี้ เหลือเพียงการให้ความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการคลัง ซึ่งเมื่อวันที่ 12 ม.ค. ที่ผ่านมา ตนได้เชิญหน่วยงานดังกล่าวมาหารือทำความเข้าใจในข้อกฎหมาย ซึ่งต่างก็มีความเห็นบวกต่อกฎหมายนี้ อย่างไรก็ตาม ยังเหลือกระทรวงการคลังและกระทรวงเกษตรฯ ที่ยังไม่ได้ส่งหนังสือให้ความเห็นตอบกลับมา ซึ่งคาดว่าน่าจะได้รับความเห็นภายในสัปดาห์นี้
“เมื่อได้ความเห็นครบแล้วก็จะเสนอเข้าสู่ ครม. ให้เร็วที่สุด เพื่อส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความพิจารณา จากนั้นจึงส่งเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาออกกฎหมาย ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้คาดว่าอาจต้องใช้เวลาอีก 4 - 6 เดือน ส่วนข้อทักท้วงต่างๆ ของกลุ่มเกษตรกรที่เกรงว่าจะกระทบต่อรายได้และการประกอบอาชีพนั้น อาจจะให้เสนอความคิดเห็นในขั้นของการพิจารณาโดยคณะกรรมการกฤษฎีกาต่อไป” รมว.สาธารณสุข กล่าว
ดร.ศรัณญา กล่าวว่า ช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยสามารถลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ลงได้เฉลี่ยปีละ 3 หมื่นคน หากต้องการลดการสูบบุหรี่ลงให้ได้ร้อยละ 30 ภายในปี 2568 เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ตามมติที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติเมื่อปี 2554 ประเทศไทยต้องทำงานควบคุมยาสูบหนักขึ้นจากเดิม 3 เท่า เพื่อลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ลงให้ได้เฉลี่ย 1 แสนคนต่อปี ทั้งนี้ จากผลการพยากรณ์อัตราการสูบบุหรี่ของคนไทย ตั้งแต่ปี 2554 ถึงปี 2568 พบว่า ในอีก 15 ปีข้างหน้านี้ อัตราการสูบบุหรี่ของคนไทยจะอยู่ที่ร้อยละ 17.5 หรือมีจำนวนผู้สูบบุหรี่ 10.5 ล้านคน ตามแนวโน้มที่ผ่านมาตั้งแต่ พ.ศ. 2534 ถึง 2554 ซึ่งหากประเทศไทยต้องการบรรลุเป้าหมายระดับโลก เราควรมีอัตราการสูบบุหรี่อยู่ที่ร้อยละ 15.0 หรือมีผู้สูบบุหรี่ ประมาณ 9.0 ล้านคนเท่านั้นในปี 2568
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (4 ก.พ.) ตัวแทนสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ และเครือข่ายองค์กรต่างๆ 700 องค์กร นำโดย ศ.พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ ประธานสมาพัยธ์เครือข่ายแห่งชาติฯ ดร.ศรัณญา เบญจกุล อาจารย์คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล และ ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เดินเข้าพบ ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อติดตามความคืบหน้าการผลักดันร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ฉบับใหม่
ทั้งนี้ ศ.พญ.สมศรี กล่าวว่า สมาพันธ์ฯ และเครือข่ายต่างเฝ้ารอว่าเมื่อไรกฎหมายบุหรี่จะเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) และเข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ตามลำดับ เพราะหากยิ่งออกกฎหมายช้า ก็ยิ่งทำให้ประเทศไทยเสียประโยชน์ เพราะอัตราการสูบบุหรี่ของชายไทยสูงถึง 40% ซึ่งผู้แทนมูลนิธิโรคปอดของโลก มีความเห็นว่าปัญหาการสูบบุหรี่ของชายไทยยังสูงในระดับวิกฤต จึงมาทวงถาม รมว.สาธารณสุข และขอให้รัฐบาลเร่งเดินหน้าเรื่องนี้โดยเร็ว เพราะขณะนี้เด็กไทยติดบุหรี่แล้วเกือบ 2 ล้านคน และจะมีเด็กอีกเป็นจำนวนมากทยอยเข้าสู่การเป็นลูกค้าของบริษัทบุหรี่ เพราะกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีช่องโหว่ และใช้มากว่า 20 ปีแล้ว ซึ่งกฎหมายฉบับใหม่จะมาอุดช่องโหว่เหล่านี้ โดยเฉพาะการห้ามโฆษณาส่งเสริมการขาย ที่สำคัญจะช่วยลดภาระที่รัฐบาลและคนไทยต้องแบกค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคจากการสูบบุหรี่ถึงปีละกว่า 50,000 ล้านบาท
ศ.นพ.รัชตะ กล่าวภายหลังหารือร่วมกันว่า สมาพันธ์ฯและเครือข่ายมาเข้าพบก็เพื่อขอให้เร่งผลักดันร่างกมฎหมายควบคุมยาสูบฉบับใหม่ และยืนยันที่จะหนุนร่างกฎหมายฉบับนี้ เพราะถือเป็นกฎหมายที่มีประโยชน์ช่วยหยุดยั้งเยาวชนไทย และสตรีไม่ให้เป็นนักสูบหน้าใหม่ โดยระยะยาวสุขภาพคนไทยจะดีขึ้น สำหรับการผลักดันกฎหมายฉบับนี้ เหลือเพียงการให้ความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการคลัง ซึ่งเมื่อวันที่ 12 ม.ค. ที่ผ่านมา ตนได้เชิญหน่วยงานดังกล่าวมาหารือทำความเข้าใจในข้อกฎหมาย ซึ่งต่างก็มีความเห็นบวกต่อกฎหมายนี้ อย่างไรก็ตาม ยังเหลือกระทรวงการคลังและกระทรวงเกษตรฯ ที่ยังไม่ได้ส่งหนังสือให้ความเห็นตอบกลับมา ซึ่งคาดว่าน่าจะได้รับความเห็นภายในสัปดาห์นี้
“เมื่อได้ความเห็นครบแล้วก็จะเสนอเข้าสู่ ครม. ให้เร็วที่สุด เพื่อส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความพิจารณา จากนั้นจึงส่งเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาออกกฎหมาย ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้คาดว่าอาจต้องใช้เวลาอีก 4 - 6 เดือน ส่วนข้อทักท้วงต่างๆ ของกลุ่มเกษตรกรที่เกรงว่าจะกระทบต่อรายได้และการประกอบอาชีพนั้น อาจจะให้เสนอความคิดเห็นในขั้นของการพิจารณาโดยคณะกรรมการกฤษฎีกาต่อไป” รมว.สาธารณสุข กล่าว
ดร.ศรัณญา กล่าวว่า ช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยสามารถลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ลงได้เฉลี่ยปีละ 3 หมื่นคน หากต้องการลดการสูบบุหรี่ลงให้ได้ร้อยละ 30 ภายในปี 2568 เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ตามมติที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติเมื่อปี 2554 ประเทศไทยต้องทำงานควบคุมยาสูบหนักขึ้นจากเดิม 3 เท่า เพื่อลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ลงให้ได้เฉลี่ย 1 แสนคนต่อปี ทั้งนี้ จากผลการพยากรณ์อัตราการสูบบุหรี่ของคนไทย ตั้งแต่ปี 2554 ถึงปี 2568 พบว่า ในอีก 15 ปีข้างหน้านี้ อัตราการสูบบุหรี่ของคนไทยจะอยู่ที่ร้อยละ 17.5 หรือมีจำนวนผู้สูบบุหรี่ 10.5 ล้านคน ตามแนวโน้มที่ผ่านมาตั้งแต่ พ.ศ. 2534 ถึง 2554 ซึ่งหากประเทศไทยต้องการบรรลุเป้าหมายระดับโลก เราควรมีอัตราการสูบบุหรี่อยู่ที่ร้อยละ 15.0 หรือมีผู้สูบบุหรี่ ประมาณ 9.0 ล้านคนเท่านั้นในปี 2568
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่