700 องค์กร รวมกว่า 1.18 แสนคน ร่วมหนุนคลอดร่าง พ.ร.บ.ควบคุมยาสูบฉบับใหม่ เรียกร้องถึงรัฐบาลปกป้องเยาวชนไทยจากการเป็นนักสูบหน้าใหม่ ย้ำรัฐบาลปฏิรูปชุดนี้ต้องเดินหน้าออกกฎหมาย เผย สธ. หารือสมาคมชาวไร่ยาสูบตามคำสั่งนายกฯ ให้ชี้แจงทำความเข้าใจ แต่หวั่นเกิดการล็อบบี ด้านผู้ค้าปลีกรับบริษัทบุหรี่ส่งซองเปล่าให้แยกขายบุหรี่ ได้กำไรเพิ่มขึ้น
วันนี้ (12 ม.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่สยามสแควร์วัน ตัวแทนจาก 700 องค์กรที่สนับสนุนร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่ รวมกว่า 300 คน อาทิ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมมะเร็งวิทยาแห่งประเทศไทย เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ 21 องค์กร สมาคมหมออนามัย มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากการสูบบุหรี่ เป็นต้น รวมตัวกันเพื่อสนับสนุนกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในการผลักดันร่าง ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. ... และส่งเสียงไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สนับสนุนและผ่านร่าง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว เพื่อเป็นของขวัญให้แก่ประชาชน เนื่องจากกฎหมายดังกล่าวจะช่วยปกป้องและคุ้มครองสุขภาพของคนไทยจากบุหรี่ โดยขณะนี้มีผู้ลงรายชื่อเพื่อสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่แล้วกว่า 118,148 รายชื่อ
ทั้งนี้ นายการุญ ตระกูลเผด็จไกร นายกสมาคมผู้ไร้กล่องเสียงในประเทศไทย แถลงข่าวร่วมกับสมาคมแพทย์ต่างๆ ว่า ที่ต้องออกกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่ เนื่องจากกฎหมายที่มีในปัจจุบันไม่ทันกับกลยุทธ์ของบริษัทบุหรี่ ซึ่งตนไม่อยากเห็นเด็กและเยาวชนต้องทุกข์ทรมานและตายทั้งเป็นจากการสูบบุหรี่เหมือนกับคนรุ่นตน โดยเราขอวิงวอนให้รัฐบาลยืนหยัดทำสิ่งที่ถูกต้องเพื่อลูกหลานของเรา
ศ.พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ ประธานเครือข่ายสมาพันธ์แห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ กล่าวว่า กฎหมายฉบับนี้มีความสำคัญมาก รัฐบาลชุดนี้เป็นรัฐบาลปฏิรูป จึงไม่ควรรอไว้ให้รัฐบาลสมัยหน้าพิจารณาตามที่บริษัทบุหรี่เสนอ ซึ่งองค์กรต่างๆ ในสังคมไทยรวมกว่า 700 องค์กร ลงชื่อสนับสนุนแล้วกว่า 118,148 คน จากทั่วประเทศ แสดงให้เห็นชัดเจนว่าคนไทยเราเป็นห่วงเยาวชนและลูกหลานในอนาคต และพร้อมที่จะร่วมมือกับรัฐบาลในการปกป้องเยาวชนจากบุหรี่ ช่วยกันลดจำนวนเยาวชนที่จะก้าวสู่การเป็นนักสูบหน้าใหม่ และช่วยให้ผู้สูบบุหรี่เลิกบุหรี่ก่อนที่จะป่วย จะช่วยให้ประเทศไทยลดความสูญเสียจากการสูบบุหรี่ ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจำนวนมาก ซึ่งเทียบไม่ได้กับราคาบุหรี่แค่ไม่กี่บาท ซึ่งถือเป็นการคืนความสุขให้แก่ประชาชนตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี
ผศ.ดร.ลักขณา เติมศิริกุลชัย อดีตอาจารย์จากมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ที่สมาคมชาวไร่ยาสูบออกมาเคลื่อนไหวคัดค้าน โดยอ้างว่าชาวไร่ยาสูบกว่า 52,000 ครอบครัว จะเดือดร้อนอย่างสาหัส ทั้งที่ไม่มีบทบัญญัติใดในกฎหมายเกี่ยวข้องกับชาวไร่ยาสูบเลย ขณะที่กว่าครึ่งหนึ่งของยาสูบที่ปลูกในเมืองไทยนั้นเป็นการปลูกเพื่อส่งออก เมื่อลงไปพูดคุยกับสมาคมชาวไร่ยาสูบในจังหวัดภาคเหนือที่ขึ้นป้ายคัดค้านก็พบว่า บริษัทบุหรี่สนับสนุนเงินเป็นแพกเกจสำหรับเคลื่อนไหวคัดค้าน รวมถึงขึ้นป้ายตามริมถนนในหลายจังหวัด ซึ่งบางส่วนเมื่อทราบข้อเท็จจริงเรื่องกฎหมายก็ได้เอาป้ายลงแล้ว
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีสมาคมชาวไร่ยาสูบเข้าหารือกับ สธ. เรื่องร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่ กังวลว่าจะเกิดการล็อบบี้กฎหมายหรือไม่ ผศ.ดร.ลักขณา กล่าวว่า เท่าที่ทราบคือสมาคมชาวไร่ยาสูบไปยื่นเรื่องถึงนายกฯ ซึ่งนายกฯก็มีคำสั่งให้ รมว.สาธารณสุข ลองรับฟังความเห็นจากกลุ่มดังกล่าว จึงมีการชี้แจงทำความเข้าใจกันที่ สธ. ซึ่งยืนยันว่ากฎหมายนี้ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับชาวไร่ยาสูบ เพราะกว่า 68% ล้วนปลูกใบยาสูบเพื่อส่งออก ที่เหลือส่งให้โรงงานยาสูบตามล็อตการผลิต และร้านค้ารายย่อยก็มีกำไรเพียง 840 บาทต่อเดือน ขณะที่อุตสาหกรรมยาสูบอย่างบริษัทต่างชาติกำไร 250 ล้านบาทต่อเดือน โรงงานยาสูบมีกำไร 500 ล้านบาทต่อเดือน การออกมาเคลื่อนไหวจึงเป็นการให้ร้านค้าที่แทบไม่มีผลกระทบออกมาเคลื่อนไหวหน้าฉากเท่านั้น ยืนยันว่า กฎหมายนี้มีผลประโยชน์ต่อเยาวชนไทย เพราะกำหนดชัดเจนห้ามขายให้เยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี ห้ามแบ่งซองขาย ห้ามการโฆษณา แต่ชาวไร่ยาสูบห่างไกลอาจไม่รับรู้ข้อมูลตรงนี้ จึงถูกข้อมูลลวงให้เชื่อง่าย เช่น ออกกฎหมายแล้วจะถูกห้ามปลูกใบยาสูบอีก เป็นต้น
ทั้งนี้ ค่อนข้างกังวลว่าการหารืออาจมีการล็อบบีรัฐบาล ซึ่งบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส ถือเป็นบริษัทบุหรี่ที่รวยที่สุดในโลก และมักหนุนธุรกิจการค้าต่างๆ จึงอยากให้รัฐบาลคำนึงว่าผลิตภัณฑ์ยาสูบไม่ใช่สินค้าธรรมดา แต่เป็นสิ่งเสพติดชนิดหนึ่ง ต้องมีกฎหมายควบคุม และอยากให้แยกการใช้มาตรการใดๆ ของรัฐกับธุรกิจยาสูบ ไม่ปฏิบัติตัวเหมือนกับธุรกิจสินค้าอื่นทั่วไป
น.ส.วิยะดา แดนตะเคียน ตัวแทนผู้ค้าปลีก กล่าวว่า กลยุทธ์ของบริษัทบุหรี่ พบว่า มีการให้ซองขนาดเล็กเพื่อใช้แบ่งขายมาด้วยทุกครั้ง ซึ่งหากร้านโชห่วยแบ่งขายจะได้กำไรเพิ่มขึ้น เป็นซองละ 20 บาท จากปกติที่ได้กำไรซองละไม่กี่สตางค์ ซึ่งกลุ่มลูกค้าที่มักซื้อแบบปลีกมีแต่กลุ่มเด็กและเยาวชน เนื่องจากมีกำลังซื้อน้อยกว่า แต่กลับตกเป็นเหยื่อของบริษัทบุหรี่ กลายเป็นนักสูบหน้าใหม่ในที่สุด โดยร้านค้าของชำหากขายตามที่กฎหมายฉบับใหม่กำหนด เชื่อว่าไม่มีผลกระทบใดๆ ทั้งสิ้น
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (12 ม.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่สยามสแควร์วัน ตัวแทนจาก 700 องค์กรที่สนับสนุนร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่ รวมกว่า 300 คน อาทิ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมมะเร็งวิทยาแห่งประเทศไทย เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ 21 องค์กร สมาคมหมออนามัย มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากการสูบบุหรี่ เป็นต้น รวมตัวกันเพื่อสนับสนุนกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในการผลักดันร่าง ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. ... และส่งเสียงไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สนับสนุนและผ่านร่าง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว เพื่อเป็นของขวัญให้แก่ประชาชน เนื่องจากกฎหมายดังกล่าวจะช่วยปกป้องและคุ้มครองสุขภาพของคนไทยจากบุหรี่ โดยขณะนี้มีผู้ลงรายชื่อเพื่อสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่แล้วกว่า 118,148 รายชื่อ
ทั้งนี้ นายการุญ ตระกูลเผด็จไกร นายกสมาคมผู้ไร้กล่องเสียงในประเทศไทย แถลงข่าวร่วมกับสมาคมแพทย์ต่างๆ ว่า ที่ต้องออกกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่ เนื่องจากกฎหมายที่มีในปัจจุบันไม่ทันกับกลยุทธ์ของบริษัทบุหรี่ ซึ่งตนไม่อยากเห็นเด็กและเยาวชนต้องทุกข์ทรมานและตายทั้งเป็นจากการสูบบุหรี่เหมือนกับคนรุ่นตน โดยเราขอวิงวอนให้รัฐบาลยืนหยัดทำสิ่งที่ถูกต้องเพื่อลูกหลานของเรา
ศ.พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ ประธานเครือข่ายสมาพันธ์แห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ กล่าวว่า กฎหมายฉบับนี้มีความสำคัญมาก รัฐบาลชุดนี้เป็นรัฐบาลปฏิรูป จึงไม่ควรรอไว้ให้รัฐบาลสมัยหน้าพิจารณาตามที่บริษัทบุหรี่เสนอ ซึ่งองค์กรต่างๆ ในสังคมไทยรวมกว่า 700 องค์กร ลงชื่อสนับสนุนแล้วกว่า 118,148 คน จากทั่วประเทศ แสดงให้เห็นชัดเจนว่าคนไทยเราเป็นห่วงเยาวชนและลูกหลานในอนาคต และพร้อมที่จะร่วมมือกับรัฐบาลในการปกป้องเยาวชนจากบุหรี่ ช่วยกันลดจำนวนเยาวชนที่จะก้าวสู่การเป็นนักสูบหน้าใหม่ และช่วยให้ผู้สูบบุหรี่เลิกบุหรี่ก่อนที่จะป่วย จะช่วยให้ประเทศไทยลดความสูญเสียจากการสูบบุหรี่ ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจำนวนมาก ซึ่งเทียบไม่ได้กับราคาบุหรี่แค่ไม่กี่บาท ซึ่งถือเป็นการคืนความสุขให้แก่ประชาชนตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี
ผศ.ดร.ลักขณา เติมศิริกุลชัย อดีตอาจารย์จากมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ที่สมาคมชาวไร่ยาสูบออกมาเคลื่อนไหวคัดค้าน โดยอ้างว่าชาวไร่ยาสูบกว่า 52,000 ครอบครัว จะเดือดร้อนอย่างสาหัส ทั้งที่ไม่มีบทบัญญัติใดในกฎหมายเกี่ยวข้องกับชาวไร่ยาสูบเลย ขณะที่กว่าครึ่งหนึ่งของยาสูบที่ปลูกในเมืองไทยนั้นเป็นการปลูกเพื่อส่งออก เมื่อลงไปพูดคุยกับสมาคมชาวไร่ยาสูบในจังหวัดภาคเหนือที่ขึ้นป้ายคัดค้านก็พบว่า บริษัทบุหรี่สนับสนุนเงินเป็นแพกเกจสำหรับเคลื่อนไหวคัดค้าน รวมถึงขึ้นป้ายตามริมถนนในหลายจังหวัด ซึ่งบางส่วนเมื่อทราบข้อเท็จจริงเรื่องกฎหมายก็ได้เอาป้ายลงแล้ว
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีสมาคมชาวไร่ยาสูบเข้าหารือกับ สธ. เรื่องร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่ กังวลว่าจะเกิดการล็อบบี้กฎหมายหรือไม่ ผศ.ดร.ลักขณา กล่าวว่า เท่าที่ทราบคือสมาคมชาวไร่ยาสูบไปยื่นเรื่องถึงนายกฯ ซึ่งนายกฯก็มีคำสั่งให้ รมว.สาธารณสุข ลองรับฟังความเห็นจากกลุ่มดังกล่าว จึงมีการชี้แจงทำความเข้าใจกันที่ สธ. ซึ่งยืนยันว่ากฎหมายนี้ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับชาวไร่ยาสูบ เพราะกว่า 68% ล้วนปลูกใบยาสูบเพื่อส่งออก ที่เหลือส่งให้โรงงานยาสูบตามล็อตการผลิต และร้านค้ารายย่อยก็มีกำไรเพียง 840 บาทต่อเดือน ขณะที่อุตสาหกรรมยาสูบอย่างบริษัทต่างชาติกำไร 250 ล้านบาทต่อเดือน โรงงานยาสูบมีกำไร 500 ล้านบาทต่อเดือน การออกมาเคลื่อนไหวจึงเป็นการให้ร้านค้าที่แทบไม่มีผลกระทบออกมาเคลื่อนไหวหน้าฉากเท่านั้น ยืนยันว่า กฎหมายนี้มีผลประโยชน์ต่อเยาวชนไทย เพราะกำหนดชัดเจนห้ามขายให้เยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี ห้ามแบ่งซองขาย ห้ามการโฆษณา แต่ชาวไร่ยาสูบห่างไกลอาจไม่รับรู้ข้อมูลตรงนี้ จึงถูกข้อมูลลวงให้เชื่อง่าย เช่น ออกกฎหมายแล้วจะถูกห้ามปลูกใบยาสูบอีก เป็นต้น
ทั้งนี้ ค่อนข้างกังวลว่าการหารืออาจมีการล็อบบีรัฐบาล ซึ่งบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส ถือเป็นบริษัทบุหรี่ที่รวยที่สุดในโลก และมักหนุนธุรกิจการค้าต่างๆ จึงอยากให้รัฐบาลคำนึงว่าผลิตภัณฑ์ยาสูบไม่ใช่สินค้าธรรมดา แต่เป็นสิ่งเสพติดชนิดหนึ่ง ต้องมีกฎหมายควบคุม และอยากให้แยกการใช้มาตรการใดๆ ของรัฐกับธุรกิจยาสูบ ไม่ปฏิบัติตัวเหมือนกับธุรกิจสินค้าอื่นทั่วไป
น.ส.วิยะดา แดนตะเคียน ตัวแทนผู้ค้าปลีก กล่าวว่า กลยุทธ์ของบริษัทบุหรี่ พบว่า มีการให้ซองขนาดเล็กเพื่อใช้แบ่งขายมาด้วยทุกครั้ง ซึ่งหากร้านโชห่วยแบ่งขายจะได้กำไรเพิ่มขึ้น เป็นซองละ 20 บาท จากปกติที่ได้กำไรซองละไม่กี่สตางค์ ซึ่งกลุ่มลูกค้าที่มักซื้อแบบปลีกมีแต่กลุ่มเด็กและเยาวชน เนื่องจากมีกำลังซื้อน้อยกว่า แต่กลับตกเป็นเหยื่อของบริษัทบุหรี่ กลายเป็นนักสูบหน้าใหม่ในที่สุด โดยร้านค้าของชำหากขายตามที่กฎหมายฉบับใหม่กำหนด เชื่อว่าไม่มีผลกระทบใดๆ ทั้งสิ้น
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่