แฉ! รองนายกฯ “ยงยุทธ” ขวางร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่ เตะถ่วงให้ ก.พาณิชย์ ท้วงเรื่องให้ บ.ยาต้องรายงานโครงสร้างราคายา ตามที่เคยอุตสาหกรรมยาข้ามชาติคัดค้าน ทั้งที่เป็นประโยชน์ช่วยคนไทยเข้าถึงยา จี้เคลียร์ประเด็นผลประโยชน์ทับซ้อน เหตุมีน้องสะใภ้เคยทำงานบริษัทยาข้ามชาติ
วันนี้ (3 ก.พ.) น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล ผู้ประสานงานกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอ ว็อทช์) กล่าวว่า นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้มีหนังสือคำสั่งผ่านทางสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เลขที่ 0507 3177 ลงวันที่ 30 ม.ค. 2558 มีคำสั่งให้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นำร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ กลับไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนนำเสนอเข้าสู่คณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยกระทรวงพาณิชย์ได้มีข้อท้วงติงในเรื่องให้บริษัทยาต้องรายงานโครงสร้างราคายา ซึ่งเป็นการคัดลอกข้อท้วงติงจากหนังสือของบริษัทยาสหรัฐฯ ที่ได้ทำหนังสือถึง นายยงยุทธ รมว.สาธารณสุข รมว.พาณิชย์ รมว.ต่างประเทศ และ รมว.คลัง โดยอ้างว่า เป็นการกีดขวางการวิจัยและพัฒนายาในอนาคต แต่กลับไม่เคยรับฟังข้อมูลจากนักวิชาการด้านสาธารณสุขหรือภาคประชาสังคมเลย แต่นำข้อเสนอของบริษัทยาข้ามชาติมาผลักดันต่อ
“ร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ กำหนดให้ยื่นโครงสร้างราคายาและข้อมูลสิทธิบัตรในการขอขึ้นทะเบียนตำรับยา ตรงนี้จะเป็นผลดีต่อการควบคุมราคายาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มการเข้าถึงยาของประชาชน ซึ่งการทำเช่นนี้ของนายยงยุทธถือเป็นการขวางร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่หรือไม่ ทั้งนี้ นายยงยุทธต้องชี้แจงประเด็นดังกล่าว เพราะร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ ก็กำหนดชัดเจนไม่อนุญาตให้ตัวแทนบริษัทยาเป็นหนึ่งในคณะกรรมการยา เพราะจะมีผลประโยชน์ทับซ้อน แต่ตัวนายยงยุทธนั้น มีน้องสะใภ้เคยทำงานเป็นผู้บริหารระดับสูงของสมาคมบริษัทยาข้ามชาติในประเทศไทยที่วิ่งล็อบบี้เรื่องนี้อย่างเข้มข้น ซึ่งเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนไม่ได้ห้ามเฉพาะนักการเมือง แต่เป็นเรื่องต้องห้ามสำหรับบรรดาผู้มีอำนาจจากการแต่งตั้งรัฐประหารด้วยเช่นกัน” น.ส.กรรณิการ์ กล่าว
น.ส.กรรณิการ์ กล่าวว่า ถือเป็นความขัดแย้งในตัวเองอย่างยิ่งที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ ครม. เป็นเดือดเป็นร้อนกับข้อวิจารณ์ของผู้ช่วยรัฐมนตรีสหรัฐฯ เรื่องการเมืองและการคงอยู่ของกฎอัยการศึก แต่เมื่อถึงคราวการแทรกแซงกฎหมายไทยและการกำหนดนโยบายสาธารณะของประเทศไทยที่ทำเพื่อประโยชน์ของประชาชน รัฐบาลกลับเดินตามความต้องการของทุนสหรัฐฯอย่างที่ไม่กล้าแม้แต่จะโต้แย้งด้วยข้อมูลตามหลักวิชาการ ดังนั้น กลุ่มฯจึงขอเรียกร้องให้การพิจารณาของหน่วยงานก่อนการเข้า ครม. นั้นจะต้องมีส่วนร่วมของนักวิชาการและภาคประชาสังคม และขอให้ คสช. และรัฐบาลรักษาหลักธรรมาภิบาลและความไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนตามที่อ้างเสมอ
ด้าน ผศ.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดงานแผนการพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) กล่าวว่า การปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.ยาเป็นเรื่องสำคัญในการคุ้มครองสุขภาพคนไทย ทางแผนการพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยาสนับสนุนร่างของ สธ. แม้ว่าจะเห็นว่า บางประเด็นจะสามารถแก้ไขให้เข้มข้นด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและการจัดการกับการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรมได้อีกตามร่างกฎหมายฉบับประชาชน ซึ่งทาง กพย. พร้อมที่จะเสนอในการพิจารณาในขั้น สนช. จึงขอให้รัฐบาลอย่างถ่วงรั้งการออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองประชาชน ขอให้รวดเร็วเช่นที่ออกกฎหมายผลักดันเศรษฐกิจ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (3 ก.พ.) น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล ผู้ประสานงานกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอ ว็อทช์) กล่าวว่า นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้มีหนังสือคำสั่งผ่านทางสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เลขที่ 0507 3177 ลงวันที่ 30 ม.ค. 2558 มีคำสั่งให้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นำร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ กลับไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนนำเสนอเข้าสู่คณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยกระทรวงพาณิชย์ได้มีข้อท้วงติงในเรื่องให้บริษัทยาต้องรายงานโครงสร้างราคายา ซึ่งเป็นการคัดลอกข้อท้วงติงจากหนังสือของบริษัทยาสหรัฐฯ ที่ได้ทำหนังสือถึง นายยงยุทธ รมว.สาธารณสุข รมว.พาณิชย์ รมว.ต่างประเทศ และ รมว.คลัง โดยอ้างว่า เป็นการกีดขวางการวิจัยและพัฒนายาในอนาคต แต่กลับไม่เคยรับฟังข้อมูลจากนักวิชาการด้านสาธารณสุขหรือภาคประชาสังคมเลย แต่นำข้อเสนอของบริษัทยาข้ามชาติมาผลักดันต่อ
“ร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ กำหนดให้ยื่นโครงสร้างราคายาและข้อมูลสิทธิบัตรในการขอขึ้นทะเบียนตำรับยา ตรงนี้จะเป็นผลดีต่อการควบคุมราคายาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มการเข้าถึงยาของประชาชน ซึ่งการทำเช่นนี้ของนายยงยุทธถือเป็นการขวางร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่หรือไม่ ทั้งนี้ นายยงยุทธต้องชี้แจงประเด็นดังกล่าว เพราะร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ ก็กำหนดชัดเจนไม่อนุญาตให้ตัวแทนบริษัทยาเป็นหนึ่งในคณะกรรมการยา เพราะจะมีผลประโยชน์ทับซ้อน แต่ตัวนายยงยุทธนั้น มีน้องสะใภ้เคยทำงานเป็นผู้บริหารระดับสูงของสมาคมบริษัทยาข้ามชาติในประเทศไทยที่วิ่งล็อบบี้เรื่องนี้อย่างเข้มข้น ซึ่งเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนไม่ได้ห้ามเฉพาะนักการเมือง แต่เป็นเรื่องต้องห้ามสำหรับบรรดาผู้มีอำนาจจากการแต่งตั้งรัฐประหารด้วยเช่นกัน” น.ส.กรรณิการ์ กล่าว
น.ส.กรรณิการ์ กล่าวว่า ถือเป็นความขัดแย้งในตัวเองอย่างยิ่งที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ ครม. เป็นเดือดเป็นร้อนกับข้อวิจารณ์ของผู้ช่วยรัฐมนตรีสหรัฐฯ เรื่องการเมืองและการคงอยู่ของกฎอัยการศึก แต่เมื่อถึงคราวการแทรกแซงกฎหมายไทยและการกำหนดนโยบายสาธารณะของประเทศไทยที่ทำเพื่อประโยชน์ของประชาชน รัฐบาลกลับเดินตามความต้องการของทุนสหรัฐฯอย่างที่ไม่กล้าแม้แต่จะโต้แย้งด้วยข้อมูลตามหลักวิชาการ ดังนั้น กลุ่มฯจึงขอเรียกร้องให้การพิจารณาของหน่วยงานก่อนการเข้า ครม. นั้นจะต้องมีส่วนร่วมของนักวิชาการและภาคประชาสังคม และขอให้ คสช. และรัฐบาลรักษาหลักธรรมาภิบาลและความไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนตามที่อ้างเสมอ
ด้าน ผศ.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดงานแผนการพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) กล่าวว่า การปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.ยาเป็นเรื่องสำคัญในการคุ้มครองสุขภาพคนไทย ทางแผนการพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยาสนับสนุนร่างของ สธ. แม้ว่าจะเห็นว่า บางประเด็นจะสามารถแก้ไขให้เข้มข้นด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและการจัดการกับการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรมได้อีกตามร่างกฎหมายฉบับประชาชน ซึ่งทาง กพย. พร้อมที่จะเสนอในการพิจารณาในขั้น สนช. จึงขอให้รัฐบาลอย่างถ่วงรั้งการออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองประชาชน ขอให้รวดเร็วเช่นที่ออกกฎหมายผลักดันเศรษฐกิจ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่