วานนี้ (8 ม.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้คณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม (บอร์ด อภ.) กำลังพิจารณาว่า จะมีการให้แสดงวิสัยทัศน์ของผู้เข้าสมัคร ผอ.อภ. ต่อสาธารณชนเพื่อความโปร่งใสหรือไม่ หลังจากที่เมื่อวันที่ 7 ม.ค.ที่ผ่านมา กลุ่มเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ และตัวแทน 8 เครือข่ายองค์กรสุขภาพ ได้ยื่นหนังสือถึงคณะกรรมการสรรหา และบอร์ด อภ. เพื่อขอให้เปิดการแสดงวิสัยทัศน์ และแผนงานของผู้สมัคร ผอ.อภ.แต่ละราย ก่อนที่จะตัดสินใจเลือก ผอ.อภ.
ทั้งนี้ ผู้ลงสมัครคัดเลือกตำแหน่ง ผอ.อภ.คนใหม่ มีทั้งหมด 4 คน ประกอบด้วย 1.ภก.สุวิทย์ ธีรกุลชน นายกสมาคมเภสัชกรรมการตลาด (ประเทศไทย) 2. ภก.อนันต์ อ่านเปรื่อง อดีตผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัทยา แจนเซ่น-ซีแล็ค จำกัด ในเครือจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน สหรัฐอเมริกา และอดีตผู้จัดการ บริษัท ไบเออร์สด็อร์ฟ (ประเทศไทย) จำกัด 3. นพ.กำจัด รามกุล ที่ปรึกษาระดับกระทรวง สำนักวิชาการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และ 4. นพ.นพพร ชื่นกลิ่น รองอธิบดีกรมควบคุมโรค(คร.)
นพ.วชิระ บถพิบูลย์ ตัวแทนชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า 8 เครือข่ายองค์กรสุขภาพ และกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ เห็นว่า การสรรหา ผอ.อภ.ครั้งนี้ ต้องมีการเปิดเผยต่อสาธารณะ โดยเฉพาะการแสดงวิสัยทัศน์ เนื่องจากจากการพิจารณารายชื่อผู้สมัครทั้ง 4 ท่าน เห็นว่ามีการทำงานร่วมกับอุตสาหกรรมยามาก่อน ซึ่งตรงนี้กังวลมาก เพราะ ผอ.อภ.จะต้องคำนึงถึงการผลิตยาเพื่อคนไทย และต้องราคาถูก ไม่เอากำไรจากผู้ป่วย ดังนั้น ประชาชนมีสิทธิในการทราบถึงแนวทางการบริหารงานของผู้สมัครทุกท่าน ซึ่งการแสดงวิสัยทัศน์ต่อสาธารณะจะได้หมดปัญหาการเคลือบแคลงใจได้ หากสุดท้ายมีการเลือก ผอ.อภ.ที่เคยทำงานกับบริษัทยา ทางเครือข่ายฯ จะเดินทางเข้าพบบอร์ด อภ. เพื่อต้องการความมั่นใจว่า การบริหารงานของ อภ.ยุคนี้จะไร้ปัญหาแน่นอน และจะรู้ทันกลยุทธ์ของบริษัทยาข้ามชาติจริงๆ
ภญ.ศิริพร จิตรประสิทธิศิริ เภสัชกรประจำโรงพยาบาลสนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา กล่าวว่า เท่าที่ทราบคือมีผู้สมัครลงตำแหน่ง ผอ.อภ. ทั้งที่มาจากส่วนวิชาชีพแพทย์ และเภสัชกร ซึ่งไม่ว่าจะมาจากวิชาชีพใดนั้นไม่สำคัญ ขอเพียงมีฝีมือในการบริหารและมีเจตจำนงเพื่อพัฒนาความมั่นคงระบบยาก็พอ แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ เหตุใดบอร์ด อภ.จึงเรียกประชุมด่วน ซึ่งมีวาระการพิจารณาวิสัยทัศน์ของผู้สมัคร ผอ.อภ.เพียงวาระเดียว และที่ทราบมาคืออาจมีการตัดสินใจเลือก ผอ.อภ.ภายในวันนี้ ซึ่งดูเป็นการรีบเร่งจนเกินไป ซึ่งพวกเราเครือข่ายภาคประชาสังคมขอเรียกร้องให้บอร์ด อภ. ชะลอการตัดสินใจคัดเลือก ผอ.อภ.ไปก่อน โดยให้ผู้สมัคร ผอ.อภ.ได้แสดงวิสัยทัศน์ต่อสาธารณชน เพื่อให้ภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมในการพิจารณาให้ความเห็น ก่อนที่บอร์ด อภ.จะตัดสินใจ
ภญ.ศิริพร กล่าวว่า นอกจากนี้ ยังเป็นห่วงในเรื่องของผู้สมัคร ผอ.อภ.มีมาจากภาคส่วนที่เป็นธุรกิจยาและบริษัทยาเอกชนด้วย เกรงว่าอาจเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน และเท่าที่ทราบคือ มีการแสดงวิสัยทัศน์แต่เพียงการพัฒนา อภ.ให้เป็นผู้นำด้านการผลิตยาในระดับนานาชาติ แต่ไม่มีการแสดงวิสัยทัศน์ในการแก้ปัญหาด้านยาภายในประเทศไทยเลย ทั้งที่ปีที่ผ่านมาเราเผชิญกับปัญหาด้านยาหลายเรื่อง เช่น ปัญหายาจำเป็นขาดแคลน เราขอเพียงแค่บริหารจัดการตามพันธกิจของ อภ.ภายในประเทศให้ดีก่อนก็พอ สามารถจัดสรรยาจำเป็นให้ผู้ป่วยได้อย่างเพียงพอ ผลิตยาที่ดีมีคุณภาพ ถ่วงดุลราคายา เป็นข้อมูลให้แก่รัฐบาลได้ว่าต้นทุนราคายาแต่ละตัวอยู่ที่เท่าไร ที่สำคัญการขยายการผลิตยาของ อภ.ออกไปให้มากที่สุด ก็จะกลายเป้นการไปแข่งขันกับเอกชน ทั้งที่ยาบางตัว อภ.ไม่จำเป็นต้องผลิต เพราะเอกชนผลิตอยู่แล้ว แต่ควรผลิตเฉพาะยาจำเป็นที่ภาคเอกชนไม่ผลิตก็เพียงพอ
"หากบอร์ด อภ.ตัดสินใจคัดเลือก ผอ.อภ.โดยไม่ให้ผู้สมัครแสดงวิสัยทัศน์ต่อสาธารณชน ทางเครือข่ายก็คงต้องกลับมาปรึกษาว่าจะดำเนินการเช่นไร แต่ที่แน่ๆ คือหากเกิดความเสียหายขึ้นภายในอนาคต บอร์ด อภ.จะแบกความรับผิดชอบไหวหรือไม่" ภญ.ศิริพร กล่าว
นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผอ.มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า จากการพิจารณารายชื่อผู้สมัครครั้งนี้ พบว่า บางคนที่มาจากภาคเอกชน โดยเฉพาะเคยอยู่ในสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (พรีม่า) ซึ่งมักจะออกมาคัดค้านการเข้าถึงยาของภาคประชาชนอยู่เสมอ ทำให้เป็นที่น่ากังวลใจว่า วิสัยทัศน์ของผู้ที่จะมาทำหน้าที่ดูแลการเข้าถึงยาของประชาชน ทำให้การเข้าถึงยามีคุณภาพนั้น จะไปในทิศทางใด ซึ่ง 8 เครือข่ายองค์กรสุขภาพจะติดตามการสรรหาตำแหน่งดังกล่าวอย่างใกล้ชิด
ทั้งนี้ ผู้ลงสมัครคัดเลือกตำแหน่ง ผอ.อภ.คนใหม่ มีทั้งหมด 4 คน ประกอบด้วย 1.ภก.สุวิทย์ ธีรกุลชน นายกสมาคมเภสัชกรรมการตลาด (ประเทศไทย) 2. ภก.อนันต์ อ่านเปรื่อง อดีตผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัทยา แจนเซ่น-ซีแล็ค จำกัด ในเครือจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน สหรัฐอเมริกา และอดีตผู้จัดการ บริษัท ไบเออร์สด็อร์ฟ (ประเทศไทย) จำกัด 3. นพ.กำจัด รามกุล ที่ปรึกษาระดับกระทรวง สำนักวิชาการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และ 4. นพ.นพพร ชื่นกลิ่น รองอธิบดีกรมควบคุมโรค(คร.)
นพ.วชิระ บถพิบูลย์ ตัวแทนชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า 8 เครือข่ายองค์กรสุขภาพ และกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ เห็นว่า การสรรหา ผอ.อภ.ครั้งนี้ ต้องมีการเปิดเผยต่อสาธารณะ โดยเฉพาะการแสดงวิสัยทัศน์ เนื่องจากจากการพิจารณารายชื่อผู้สมัครทั้ง 4 ท่าน เห็นว่ามีการทำงานร่วมกับอุตสาหกรรมยามาก่อน ซึ่งตรงนี้กังวลมาก เพราะ ผอ.อภ.จะต้องคำนึงถึงการผลิตยาเพื่อคนไทย และต้องราคาถูก ไม่เอากำไรจากผู้ป่วย ดังนั้น ประชาชนมีสิทธิในการทราบถึงแนวทางการบริหารงานของผู้สมัครทุกท่าน ซึ่งการแสดงวิสัยทัศน์ต่อสาธารณะจะได้หมดปัญหาการเคลือบแคลงใจได้ หากสุดท้ายมีการเลือก ผอ.อภ.ที่เคยทำงานกับบริษัทยา ทางเครือข่ายฯ จะเดินทางเข้าพบบอร์ด อภ. เพื่อต้องการความมั่นใจว่า การบริหารงานของ อภ.ยุคนี้จะไร้ปัญหาแน่นอน และจะรู้ทันกลยุทธ์ของบริษัทยาข้ามชาติจริงๆ
ภญ.ศิริพร จิตรประสิทธิศิริ เภสัชกรประจำโรงพยาบาลสนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา กล่าวว่า เท่าที่ทราบคือมีผู้สมัครลงตำแหน่ง ผอ.อภ. ทั้งที่มาจากส่วนวิชาชีพแพทย์ และเภสัชกร ซึ่งไม่ว่าจะมาจากวิชาชีพใดนั้นไม่สำคัญ ขอเพียงมีฝีมือในการบริหารและมีเจตจำนงเพื่อพัฒนาความมั่นคงระบบยาก็พอ แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ เหตุใดบอร์ด อภ.จึงเรียกประชุมด่วน ซึ่งมีวาระการพิจารณาวิสัยทัศน์ของผู้สมัคร ผอ.อภ.เพียงวาระเดียว และที่ทราบมาคืออาจมีการตัดสินใจเลือก ผอ.อภ.ภายในวันนี้ ซึ่งดูเป็นการรีบเร่งจนเกินไป ซึ่งพวกเราเครือข่ายภาคประชาสังคมขอเรียกร้องให้บอร์ด อภ. ชะลอการตัดสินใจคัดเลือก ผอ.อภ.ไปก่อน โดยให้ผู้สมัคร ผอ.อภ.ได้แสดงวิสัยทัศน์ต่อสาธารณชน เพื่อให้ภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมในการพิจารณาให้ความเห็น ก่อนที่บอร์ด อภ.จะตัดสินใจ
ภญ.ศิริพร กล่าวว่า นอกจากนี้ ยังเป็นห่วงในเรื่องของผู้สมัคร ผอ.อภ.มีมาจากภาคส่วนที่เป็นธุรกิจยาและบริษัทยาเอกชนด้วย เกรงว่าอาจเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน และเท่าที่ทราบคือ มีการแสดงวิสัยทัศน์แต่เพียงการพัฒนา อภ.ให้เป็นผู้นำด้านการผลิตยาในระดับนานาชาติ แต่ไม่มีการแสดงวิสัยทัศน์ในการแก้ปัญหาด้านยาภายในประเทศไทยเลย ทั้งที่ปีที่ผ่านมาเราเผชิญกับปัญหาด้านยาหลายเรื่อง เช่น ปัญหายาจำเป็นขาดแคลน เราขอเพียงแค่บริหารจัดการตามพันธกิจของ อภ.ภายในประเทศให้ดีก่อนก็พอ สามารถจัดสรรยาจำเป็นให้ผู้ป่วยได้อย่างเพียงพอ ผลิตยาที่ดีมีคุณภาพ ถ่วงดุลราคายา เป็นข้อมูลให้แก่รัฐบาลได้ว่าต้นทุนราคายาแต่ละตัวอยู่ที่เท่าไร ที่สำคัญการขยายการผลิตยาของ อภ.ออกไปให้มากที่สุด ก็จะกลายเป้นการไปแข่งขันกับเอกชน ทั้งที่ยาบางตัว อภ.ไม่จำเป็นต้องผลิต เพราะเอกชนผลิตอยู่แล้ว แต่ควรผลิตเฉพาะยาจำเป็นที่ภาคเอกชนไม่ผลิตก็เพียงพอ
"หากบอร์ด อภ.ตัดสินใจคัดเลือก ผอ.อภ.โดยไม่ให้ผู้สมัครแสดงวิสัยทัศน์ต่อสาธารณชน ทางเครือข่ายก็คงต้องกลับมาปรึกษาว่าจะดำเนินการเช่นไร แต่ที่แน่ๆ คือหากเกิดความเสียหายขึ้นภายในอนาคต บอร์ด อภ.จะแบกความรับผิดชอบไหวหรือไม่" ภญ.ศิริพร กล่าว
นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผอ.มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า จากการพิจารณารายชื่อผู้สมัครครั้งนี้ พบว่า บางคนที่มาจากภาคเอกชน โดยเฉพาะเคยอยู่ในสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (พรีม่า) ซึ่งมักจะออกมาคัดค้านการเข้าถึงยาของภาคประชาชนอยู่เสมอ ทำให้เป็นที่น่ากังวลใจว่า วิสัยทัศน์ของผู้ที่จะมาทำหน้าที่ดูแลการเข้าถึงยาของประชาชน ทำให้การเข้าถึงยามีคุณภาพนั้น จะไปในทิศทางใด ซึ่ง 8 เครือข่ายองค์กรสุขภาพจะติดตามการสรรหาตำแหน่งดังกล่าวอย่างใกล้ชิด