ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสชี้ยังไร้ข้อมูลยืนยัน “อีโบลา” แพร่ผ่านอากาศได้ แต่ให้เฝ้าระวังในหมูเพิ่ม หลังวิจัยพบแพร่สู่คนได้ ระบุสถานการร์อีโบลาในแอฟริกาดีขึ้น แต่ยังควบคุมไม่ได้ ย้ำไทยต้องคงมาตรการเฝ้าระวังเข้มข้นต่อเนื่อง
นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกด้านโรคติดเชื้อไวรัสสัตว์สู่คน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงกรณีนักวิทยาศาสตร์จากต่างประเทศตรวจวิเคราะห์เลือดจากผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา พบผู้ป่วยไม่แสดงอาการ และพบแบบแผนทางพันธุกรรมมีการเปลี่ยนแปลง อาจทำให้การติดต่อจากคนสู่คนง่ายขึ้นผ่านทางอากาศ ว่า ข้อมูลยังไม่ชัดเจนว่าเชื้อจะติดต่อผ่านอากาศได้หรือไม่ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริงถือว่าน่ากลัวมาก แต่เท่าที่ตนศึกษามาเรื่องนี้น่าจะเป็นเพียงการทดสอบเชื้อไวรัสอีโบลามากกว่า เพราะเมื่อปี 2009 มีการทดสอบเชื้ออีโบลาสายพันธุ์เรสตันจากลิงสู่หมู และจากหมูสู่คน โดยคนที่ได้รับเชื้อจากหมูไม่มีอาการป่วย การศึกษาในครั้งนี้จึงศึกษาอีโบลาสายพันธุ์ที่กำลังระบาดในแอฟริกา โดยตั้งสมมติฐานว่าหมูเป็นพาหะแพร่เชื้อ จึงเลี้ยงหมูรวมกับลิง แต่มีผนังลวดกั้นไม่ให้สัตว์สัมผัสกัน โดย 8 วันพบว่า ลิงมีอาการเหมือนติดเชื้อไวรัสอีโบลา จึงพิสูจน์ว่าหมูแพร่เชื้อมาสู่คนได้ แต่ยังไม่ได้ยืนยันว่าติดต่อผ่านอากาศได้หรือไม่ และหากมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแพร่ระบาด ความรุนแรงของโรคจะลดลง
นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวว่า ส่วนกรณีองค์การอนามัยโลก ยอมรับว่า งบประมาณที่ใช้ในการควบคุมโรคอีโบลาเหลือน้อยจนอาจจะทำให้การควบคุมโรคทำได้ยากขึ้น จริงๆ แล้วการควบคุมโรคนี้ลำบากมานานแล้ว เพราะระบบสาธารณสุขของประเทศในแอฟริกาไม่ดีพอ อาสาสมัครก็น้อยลงเพราะเข้าไปทำงานในพื้นที่แล้วยังต้องถูกกักตัว 21 วัน ต้องเสียงานเสียการโดยเฉพาะเซียร์ราลีโอนถือว่าน่าเป็นห่วงมาก มีผู้ป่วยจำนวนมาก โดยล่าสุดข้อมูลเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2558 พบว่า ผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น 769 ราย ส่วนประเทศกินีมีผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 230 ราย และไลบีเรีย 48 ราย ถือว่าสถานการณ์ดีขึ้น
“แม้ตอนนี้จะไม่ค่อยเห็นข่าวอีโบลา แต่ความเป็นจริงโรคยังไม่สงบ ส่วนประเทศไทยยังต้องคงมาตรการควบคุม ป้องกันโรคเข้มข้น 100% เช่นเดิม เหมือนๆ กับทุกประเทศในโลก ที่สำคัญคือ นอกจากจะเฝ้าระวังในลิง ในสุนัขแล้ว ยังต้องเพิ่มการเฝ้าระวังโรคในหมูเพิ่มขึ้นด้วย” นพ.ธีระวัฒน์ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกด้านโรคติดเชื้อไวรัสสัตว์สู่คน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงกรณีนักวิทยาศาสตร์จากต่างประเทศตรวจวิเคราะห์เลือดจากผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา พบผู้ป่วยไม่แสดงอาการ และพบแบบแผนทางพันธุกรรมมีการเปลี่ยนแปลง อาจทำให้การติดต่อจากคนสู่คนง่ายขึ้นผ่านทางอากาศ ว่า ข้อมูลยังไม่ชัดเจนว่าเชื้อจะติดต่อผ่านอากาศได้หรือไม่ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริงถือว่าน่ากลัวมาก แต่เท่าที่ตนศึกษามาเรื่องนี้น่าจะเป็นเพียงการทดสอบเชื้อไวรัสอีโบลามากกว่า เพราะเมื่อปี 2009 มีการทดสอบเชื้ออีโบลาสายพันธุ์เรสตันจากลิงสู่หมู และจากหมูสู่คน โดยคนที่ได้รับเชื้อจากหมูไม่มีอาการป่วย การศึกษาในครั้งนี้จึงศึกษาอีโบลาสายพันธุ์ที่กำลังระบาดในแอฟริกา โดยตั้งสมมติฐานว่าหมูเป็นพาหะแพร่เชื้อ จึงเลี้ยงหมูรวมกับลิง แต่มีผนังลวดกั้นไม่ให้สัตว์สัมผัสกัน โดย 8 วันพบว่า ลิงมีอาการเหมือนติดเชื้อไวรัสอีโบลา จึงพิสูจน์ว่าหมูแพร่เชื้อมาสู่คนได้ แต่ยังไม่ได้ยืนยันว่าติดต่อผ่านอากาศได้หรือไม่ และหากมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแพร่ระบาด ความรุนแรงของโรคจะลดลง
นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวว่า ส่วนกรณีองค์การอนามัยโลก ยอมรับว่า งบประมาณที่ใช้ในการควบคุมโรคอีโบลาเหลือน้อยจนอาจจะทำให้การควบคุมโรคทำได้ยากขึ้น จริงๆ แล้วการควบคุมโรคนี้ลำบากมานานแล้ว เพราะระบบสาธารณสุขของประเทศในแอฟริกาไม่ดีพอ อาสาสมัครก็น้อยลงเพราะเข้าไปทำงานในพื้นที่แล้วยังต้องถูกกักตัว 21 วัน ต้องเสียงานเสียการโดยเฉพาะเซียร์ราลีโอนถือว่าน่าเป็นห่วงมาก มีผู้ป่วยจำนวนมาก โดยล่าสุดข้อมูลเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2558 พบว่า ผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น 769 ราย ส่วนประเทศกินีมีผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 230 ราย และไลบีเรีย 48 ราย ถือว่าสถานการณ์ดีขึ้น
“แม้ตอนนี้จะไม่ค่อยเห็นข่าวอีโบลา แต่ความเป็นจริงโรคยังไม่สงบ ส่วนประเทศไทยยังต้องคงมาตรการควบคุม ป้องกันโรคเข้มข้น 100% เช่นเดิม เหมือนๆ กับทุกประเทศในโลก ที่สำคัญคือ นอกจากจะเฝ้าระวังในลิง ในสุนัขแล้ว ยังต้องเพิ่มการเฝ้าระวังโรคในหมูเพิ่มขึ้นด้วย” นพ.ธีระวัฒน์ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่