เขตพื้นที่นำร่องฯ กระจายอำนาจ ยังพบปัญหาหลายอย่าง ระบุปัญหาหลักเรื่องบุคลากร ครูต้องทำงานธุรการไม่มีเวลาสอน “ณรงค์” แนะอย่าวิ่งชนปัญหา แต่ให้หาทางออกที่หลากหลาย ระบุโครงการเพิ่งเริ่มยังไม่เห็นภาพชัด
วันนี้ (26 ม.ค.) พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตนได้เข้ารับฟังการดำเนินงานตามโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน หลังจากมอบหมายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 20 เขต ไปคัดเลือกโรงเรียนในเขตๆ ละ 15 โรงเพื่อนำร่องกระจายอำนาจการบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดอิสระและมีความคล่องตัวในการทำงานตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 ม.ค. พบว่า หลังจากเริ่มโครงการฯดังกล่าวไปแล้ว ประมาณ 20 วัน จึงขอให้แต่ละเขตพื้นที่ฯ นำประสบการณ์และปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาแลกเปลี่ยนร่วมกัน เช่น ปัญหาบุคลากร งบประมาณ การบริหารจัดการ เป็นต้น ซึ่งตนได้ให้ข้อเสนอแนะไปว่า บางครั้งการหาแนวทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ใช่การใช้วิธีการวิ่งชนกับปัญหา แต่ควรหาแนวทางแก้ปัญหาให้หลากหลายรูปแบบ เพราะบางเรื่องที่ต้องดำเนินการแต่ติดขัดเรื่องข้อกฎหมายถ้าจะแก้ไข หรือยกเลิกต้องใช้เวลา ก็ควรต้องหาทางออกอื่นๆ ที่จะสามารถทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้หรือไม่
“เสียงสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องของบุคลากร เช่น ครูต้องไปทำงานธุรการ ทิ้งห้องเรียนจนทำให้ไม่มีเวลาเตรียมการสอน ซึ่งเขตพื้นที่ก็อยากเสนอให้ทุกโรงเรียนมีเจ้าหน้าที่ธุรการ แต่ในความเป็นจริงต้องดูภาพรวมด้วยเพราะโรงเรียนมีอยู่หลายหมื่นโรง และหากจะต้องมีเจ้าหน้าที่ธุรการให้ครบทุกโรงคงเป็นไปไม่ได้ และอาจจะเกิดปัญหาด้านงบประมาณตามมาอีก อย่างไรก็ตาม โครงการนี้เพิ่งจะเริ่มต้นอาจยังไม่เห็นภาพชัดเจน คาดว่า อีกประมาณ 2 - 3 เดือนการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวจะเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมอย่างแน่นอน” รมว.ศึกษาธิการ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (26 ม.ค.) พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตนได้เข้ารับฟังการดำเนินงานตามโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน หลังจากมอบหมายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 20 เขต ไปคัดเลือกโรงเรียนในเขตๆ ละ 15 โรงเพื่อนำร่องกระจายอำนาจการบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดอิสระและมีความคล่องตัวในการทำงานตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 ม.ค. พบว่า หลังจากเริ่มโครงการฯดังกล่าวไปแล้ว ประมาณ 20 วัน จึงขอให้แต่ละเขตพื้นที่ฯ นำประสบการณ์และปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาแลกเปลี่ยนร่วมกัน เช่น ปัญหาบุคลากร งบประมาณ การบริหารจัดการ เป็นต้น ซึ่งตนได้ให้ข้อเสนอแนะไปว่า บางครั้งการหาแนวทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ใช่การใช้วิธีการวิ่งชนกับปัญหา แต่ควรหาแนวทางแก้ปัญหาให้หลากหลายรูปแบบ เพราะบางเรื่องที่ต้องดำเนินการแต่ติดขัดเรื่องข้อกฎหมายถ้าจะแก้ไข หรือยกเลิกต้องใช้เวลา ก็ควรต้องหาทางออกอื่นๆ ที่จะสามารถทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้หรือไม่
“เสียงสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องของบุคลากร เช่น ครูต้องไปทำงานธุรการ ทิ้งห้องเรียนจนทำให้ไม่มีเวลาเตรียมการสอน ซึ่งเขตพื้นที่ก็อยากเสนอให้ทุกโรงเรียนมีเจ้าหน้าที่ธุรการ แต่ในความเป็นจริงต้องดูภาพรวมด้วยเพราะโรงเรียนมีอยู่หลายหมื่นโรง และหากจะต้องมีเจ้าหน้าที่ธุรการให้ครบทุกโรงคงเป็นไปไม่ได้ และอาจจะเกิดปัญหาด้านงบประมาณตามมาอีก อย่างไรก็ตาม โครงการนี้เพิ่งจะเริ่มต้นอาจยังไม่เห็นภาพชัดเจน คาดว่า อีกประมาณ 2 - 3 เดือนการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวจะเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมอย่างแน่นอน” รมว.ศึกษาธิการ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่