นายกฯ มอบอาชีวะศึกษาแนวทางพัฒนาอาชีวะของประเทศจีน เผยเบื้องต้นไทย-จีน เตรียมจับมือร่วมยกระดับการเรียนอาชีวะ ด้าน รมว.ศึกษา มอบอีก10 นโยบายให้ไปดำเนินการ
วันนี้ (22 ม.ค.) นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ไปศึกษาดูงานการพัฒนาอาชีวศึกษาของสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อศึกษาแนวทางการปฎิรูปอาชีวศึกษาของประเทศจีนสู่การพัฒนาอาชีวศึกษาของประเทศไทย เนื่องจากประเทศจีนสามารถเปลี่ยนแปลงประเทศไปอย่างรวดเร็ว โดยใช้การอาชีวศึกษาเปลี่ยนแปลงจากประเทศเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ประเทศจีนต้องใช้กำลังแรงงานหลายล้านคน จนสามารถเปลี่ยนแปลงประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย สอศ.ได้มีการพูดคุยกับผู้บริหารอาชีวศึกษาของประเทศจีนพร้อมกับศึกษาแนวทางดังกล่าวแล้ว และเบื้องต้นอาจมีการทำข้อตกลงความร่วมมือด้านอาชีวศึกษาไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อให้เกิดความร่วมในการปฎิรูปอาชีวศึกษาหลากหลายมิติในอนาคตต่อไป
“จุดเด่นของการปฎิรูปอาชีวศึกษาของประเทศจีน อาทิ ปฎิรูปการบริหาร โดยรัฐบาลกำหนดนโยบายทุกๆด้าน ประชาชน องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนสถานประกอบการต้องมีส่วนสนับสนุนโรงเรียนอาชีวศึกษา มีหน่วยงานที่ดูแลโรงเรียนอาชีวศึกษา กำหนดหลักสูตรให้สอดคล้องกับตลาดแรงงาน และมีกลไกหาเงินทุนรูปแบบต่างๆ รวมถึงปรับปรุงระบบการจัดอาชีวศึกษาให้ก้าวหน้า โดยการถ่ายโอนการเรียนของผู้เรียนสายสามัญและสายอาชีพ เปลี่ยนโรงเรียนมัธยมศึกษาแบบเดิมที่เปิดสอนเฉพาะวิชาสามัญมาเป็นโรงเรียนมัธยมอาชีวศึกษา เป็นต้น”นายชัยพฤกษ์ กล่าว
เลขาธิการ กอศ.กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว ศึกษาธิการ ได้มอบประเด็นเชิงนโยบายให้อาชีวศึกษามาพิจาณาใน 10 เรื่อง ได้แก่ 1.จัดทำแผนพัฒนาการอาชีวศึกษาไทยระยะยาว และแผนพัฒนาระยะ 5 ปี ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนปฎิรูปประเทศ โดยความร่วมมือกับภาคเอกชน 2.สนับสนุนให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมพัฒนาอาชีวศึกษา 3.ปรับโครงสร้างการบริหารงานอาชีวศึกษาทุกระดับ 4.สนับสนุนอุปกรณ์การเรียน เครื่องมือ ที่เหมาะสมเพียงพอ 5.จัดสรรงบประมาณและทรัพยากรให้เป็นพิเศษ สำหรับสถานศึกษาที่ห่างไกล สถานศึกษาขนาดเล็ก เพื่อกระจายโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงอาชีวศึกษามากขึ้น 6.จัดทุนการศึกษาสายอาชีพทุกระดับ 7.พัฒนาระบบการถ่ายโอนการเรียนของผู้เรียนสายสามัญและสายอาชีพ พร้อมส่งเสริมสถานศึกษาสายสามัญให้เปิดสอนสายอาชีพในสาขาที่ไม่ต้องลงทุนด้านอุปกรณ์ 8.จัดให้ครูที่มีคุณภาพในจำนวนที่เหมาะสมเพียงพอ โดยครูต้องเข้ารับการฝึกอบรมในสถานประกอบการทุกปี 9.พัฒนาและจัดตั้งวิทยาลัยอาชีวศึกษารูปแบบพิเศษประเภทต่างๆ เช่น วิทยาลัยอาชีวศึกษาภาคภาษาอังกฤษ และ 10.ขยายความร่วมมือด้านอาชีวศึกษากับประเทศที่ประสบความสำเร็จทั่วโลก
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (22 ม.ค.) นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ไปศึกษาดูงานการพัฒนาอาชีวศึกษาของสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อศึกษาแนวทางการปฎิรูปอาชีวศึกษาของประเทศจีนสู่การพัฒนาอาชีวศึกษาของประเทศไทย เนื่องจากประเทศจีนสามารถเปลี่ยนแปลงประเทศไปอย่างรวดเร็ว โดยใช้การอาชีวศึกษาเปลี่ยนแปลงจากประเทศเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ประเทศจีนต้องใช้กำลังแรงงานหลายล้านคน จนสามารถเปลี่ยนแปลงประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย สอศ.ได้มีการพูดคุยกับผู้บริหารอาชีวศึกษาของประเทศจีนพร้อมกับศึกษาแนวทางดังกล่าวแล้ว และเบื้องต้นอาจมีการทำข้อตกลงความร่วมมือด้านอาชีวศึกษาไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อให้เกิดความร่วมในการปฎิรูปอาชีวศึกษาหลากหลายมิติในอนาคตต่อไป
“จุดเด่นของการปฎิรูปอาชีวศึกษาของประเทศจีน อาทิ ปฎิรูปการบริหาร โดยรัฐบาลกำหนดนโยบายทุกๆด้าน ประชาชน องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนสถานประกอบการต้องมีส่วนสนับสนุนโรงเรียนอาชีวศึกษา มีหน่วยงานที่ดูแลโรงเรียนอาชีวศึกษา กำหนดหลักสูตรให้สอดคล้องกับตลาดแรงงาน และมีกลไกหาเงินทุนรูปแบบต่างๆ รวมถึงปรับปรุงระบบการจัดอาชีวศึกษาให้ก้าวหน้า โดยการถ่ายโอนการเรียนของผู้เรียนสายสามัญและสายอาชีพ เปลี่ยนโรงเรียนมัธยมศึกษาแบบเดิมที่เปิดสอนเฉพาะวิชาสามัญมาเป็นโรงเรียนมัธยมอาชีวศึกษา เป็นต้น”นายชัยพฤกษ์ กล่าว
เลขาธิการ กอศ.กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว ศึกษาธิการ ได้มอบประเด็นเชิงนโยบายให้อาชีวศึกษามาพิจาณาใน 10 เรื่อง ได้แก่ 1.จัดทำแผนพัฒนาการอาชีวศึกษาไทยระยะยาว และแผนพัฒนาระยะ 5 ปี ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนปฎิรูปประเทศ โดยความร่วมมือกับภาคเอกชน 2.สนับสนุนให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมพัฒนาอาชีวศึกษา 3.ปรับโครงสร้างการบริหารงานอาชีวศึกษาทุกระดับ 4.สนับสนุนอุปกรณ์การเรียน เครื่องมือ ที่เหมาะสมเพียงพอ 5.จัดสรรงบประมาณและทรัพยากรให้เป็นพิเศษ สำหรับสถานศึกษาที่ห่างไกล สถานศึกษาขนาดเล็ก เพื่อกระจายโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงอาชีวศึกษามากขึ้น 6.จัดทุนการศึกษาสายอาชีพทุกระดับ 7.พัฒนาระบบการถ่ายโอนการเรียนของผู้เรียนสายสามัญและสายอาชีพ พร้อมส่งเสริมสถานศึกษาสายสามัญให้เปิดสอนสายอาชีพในสาขาที่ไม่ต้องลงทุนด้านอุปกรณ์ 8.จัดให้ครูที่มีคุณภาพในจำนวนที่เหมาะสมเพียงพอ โดยครูต้องเข้ารับการฝึกอบรมในสถานประกอบการทุกปี 9.พัฒนาและจัดตั้งวิทยาลัยอาชีวศึกษารูปแบบพิเศษประเภทต่างๆ เช่น วิทยาลัยอาชีวศึกษาภาคภาษาอังกฤษ และ 10.ขยายความร่วมมือด้านอาชีวศึกษากับประเทศที่ประสบความสำเร็จทั่วโลก
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่