“กมล” แฉ! ผู้ทรงคุณวุฒิ อ.ก.ค.ศ.เขตฯ พื้นที่อีสานตอนกลาง เรียกเงินค่าลงตำแหน่ง ผอ.ร.ร. หัวละ 5 แสนบาท เผยรอข้อมูลจากเจ้าหน้าสัปดาห์หน้า และแจ้งความเหตุทำให้องค์กรเสื่อมเสียและเอาผิดทางอาญา รวมทั้งแจ้งให้ อ.ก.ค.ศ.เขตฯ ปลดพ้นตำแหน่ง พร้อมกันนี้ ได้ตั้ง คกก.การกลั่นกรองเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ จัดกลุ่ม 3 ประเภท ร้ายแรง - ทั่วไป - บัตรสนเท่ห์ เพื่อจัดกลุ่มให้ชัดเรื่องใดต้องจัดการเร่งด่วนลดขั้นตอนที่ยุ่งยากของระบบราชการ
วันนี้ (4 ธ.ค.) นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า ตนได้ตั้งคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองเรื่องราวร้องทุกข์ร้องเรียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มี นางรัตนา ศรีเหรัญ รองเลขาธิการ กพฐ. เป็นที่ปรึกษา และ นายชูชาติ ทรัพย์มาก ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านบริหารทรัพยากรบุคคลและนิติการ เป็นประธาน เพื่อทำหน้าที่กลั่นกรองพิจารณารับเรื่องราวร้องทุกข์ ร้องเรียน ติดตามผลการดำเนินการและเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา โดยแบ่งเรื่องร้องเรียน ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่ 1 เรื่องร้ายแรง ซึ่งมีผลกระทบต่อระบบ หรือมีการร้องเรียนไปยังสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) อาทิ กรณีสร้างสนามฟุตซอล เป็นต้น ประเภทที่ 2 เรื่องทั่วไป อาทิ ครูร้องเรียนผู้อำนวยการโรงเรียน ร้องเรียนกรรมการคุมสอบ การร้องเรียนภายในโรงเรียน ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่มีการลงชื่อผู้ร้องเรียน และประเภทสุดท้าย บัตรสนเท่ห์ ซึ่งที่ผ่านมา สพฐ. มักไม่ค่อยนำมาพิจารณาแต่ในครั้งนี้จะต้องขอให้ คณะกรรมการจัดทำระบบกลั่นกรองว่าเรื่องใดควรดำเนินการแบบใด
อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่ สพฐ. ต้องตั้งคณะกรรมการชุดนี้ เพราะที่ผ่านมาเรายังจัดการกับปัญหาที่ได้รับเรื่องร้องเรียนไม่ดีเท่าที่ควร เพราะการดำเนินการต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอน เริ่มตั้งแต่เขตพื้นที่การศึกษา สพฐ. รมว.ศึกษาธิการ จนไปถึงสำนักนายกฯ โดยแต่ละขั้นตอนส่วนใหญ่จะใช้เวลาดำเนินการตรวจสอบนาน ในขณะที่ในแต่ละวันมีผู้ร้องทุกข์จำนวนมากวันหนึ่งไม่ต่ำกว่า 10 เรื่อง ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นประเด็นร้องเรียนผู้บริหารระดับเขตพื้นที่ ผู้บริหารโรงเรียน และ ครู เพราะฉะนั้น ตนจึงต้องการให้คณะกรรมการชุดนี้เข้ามาจัดการกับปัญหาต่างๆ เหล่านี้ คัดกรองและให้ความเห็นแก่ตนว่าเรื่องใดสำคัญที่ต้องเร่งจัดการเป็นพิเศษ
“ล่าสุด มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงที่จังหวัดหนึ่งในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ตอนกลาง ซึ่งจะมีการแต่งตั้งผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กในพื้นที่ แต่ปรากฎว่ามีการเรียกรับเงินโดยผู้ทรงคุณวุฒิในคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษา ในจังหวัดดังกล่าว ซึ่งมีหน้าที่ทำโพยได้เรียกรับเงินรายละ 5 แสนบาท หากใครให้ก็จะจัดให้ลงตามโพยที่กำหนด แต่ปรากฏว่าผู้บริหารโรงเรียนที่ประสงค์จะย้ายได้อัดเทปการเรียกรับเงินไว้ และได้นำเสียงที่บันทึกเทปไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ จากนั้นเรื่องได้ถูกร้องไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด รมว.ศึกษาธิการ และสพฐ. เพราะฉะนั้นเวลานี้เรื่องดังกล่าวถือเป็นคดีอาญา ซึ่งกรณีนี้คณะกรรมการชุดนี้ได้วิเคราะห์และให้ความเห็นว่าส่งผลกระทบต่อองค์กรทำให้ สพฐ. เสียหายควรดำเนินการตามกฎหมายและเท่าที่ได้ฟังเสียงในเทปดูเหมือนว่าจะมีการทำแบบนี้มานาน โดยเวลานี้ได้ตั้งคณะกรรมการสืบหาข้อเท็จจริงลงไปหาข้อมูลคาดว่าภายในสัปดาห์หน้าจะรายงานผล จากนั้นผมจะสั่งการให้ดำเนินการแจ้งความในนาม สพฐ. ด้วย เพราะทำให้องค์กรได้รับความเสียหาย ขณะเดียวกันจะแจ้งให้ ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ ปลดบุคคลดังกล่าวพ้นจากตำแหน่ง”นายกมล กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม ผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวเป็นบุคคลภายนอก จึงมีโทษเพียงแค่ปลดพ้นจากตำแหน่งเท่านั้น เพราะฉะนั้น สพฐ. แจ้งความเพื่อเป็นคดีอาญาเพื่อเอาคนผิดมาลงโทษและไม่ให้มีคนเอาแบบอย่าง
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (4 ธ.ค.) นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า ตนได้ตั้งคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองเรื่องราวร้องทุกข์ร้องเรียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มี นางรัตนา ศรีเหรัญ รองเลขาธิการ กพฐ. เป็นที่ปรึกษา และ นายชูชาติ ทรัพย์มาก ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านบริหารทรัพยากรบุคคลและนิติการ เป็นประธาน เพื่อทำหน้าที่กลั่นกรองพิจารณารับเรื่องราวร้องทุกข์ ร้องเรียน ติดตามผลการดำเนินการและเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา โดยแบ่งเรื่องร้องเรียน ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่ 1 เรื่องร้ายแรง ซึ่งมีผลกระทบต่อระบบ หรือมีการร้องเรียนไปยังสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) อาทิ กรณีสร้างสนามฟุตซอล เป็นต้น ประเภทที่ 2 เรื่องทั่วไป อาทิ ครูร้องเรียนผู้อำนวยการโรงเรียน ร้องเรียนกรรมการคุมสอบ การร้องเรียนภายในโรงเรียน ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่มีการลงชื่อผู้ร้องเรียน และประเภทสุดท้าย บัตรสนเท่ห์ ซึ่งที่ผ่านมา สพฐ. มักไม่ค่อยนำมาพิจารณาแต่ในครั้งนี้จะต้องขอให้ คณะกรรมการจัดทำระบบกลั่นกรองว่าเรื่องใดควรดำเนินการแบบใด
อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่ สพฐ. ต้องตั้งคณะกรรมการชุดนี้ เพราะที่ผ่านมาเรายังจัดการกับปัญหาที่ได้รับเรื่องร้องเรียนไม่ดีเท่าที่ควร เพราะการดำเนินการต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอน เริ่มตั้งแต่เขตพื้นที่การศึกษา สพฐ. รมว.ศึกษาธิการ จนไปถึงสำนักนายกฯ โดยแต่ละขั้นตอนส่วนใหญ่จะใช้เวลาดำเนินการตรวจสอบนาน ในขณะที่ในแต่ละวันมีผู้ร้องทุกข์จำนวนมากวันหนึ่งไม่ต่ำกว่า 10 เรื่อง ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นประเด็นร้องเรียนผู้บริหารระดับเขตพื้นที่ ผู้บริหารโรงเรียน และ ครู เพราะฉะนั้น ตนจึงต้องการให้คณะกรรมการชุดนี้เข้ามาจัดการกับปัญหาต่างๆ เหล่านี้ คัดกรองและให้ความเห็นแก่ตนว่าเรื่องใดสำคัญที่ต้องเร่งจัดการเป็นพิเศษ
“ล่าสุด มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงที่จังหวัดหนึ่งในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ตอนกลาง ซึ่งจะมีการแต่งตั้งผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กในพื้นที่ แต่ปรากฎว่ามีการเรียกรับเงินโดยผู้ทรงคุณวุฒิในคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษา ในจังหวัดดังกล่าว ซึ่งมีหน้าที่ทำโพยได้เรียกรับเงินรายละ 5 แสนบาท หากใครให้ก็จะจัดให้ลงตามโพยที่กำหนด แต่ปรากฏว่าผู้บริหารโรงเรียนที่ประสงค์จะย้ายได้อัดเทปการเรียกรับเงินไว้ และได้นำเสียงที่บันทึกเทปไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ จากนั้นเรื่องได้ถูกร้องไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด รมว.ศึกษาธิการ และสพฐ. เพราะฉะนั้นเวลานี้เรื่องดังกล่าวถือเป็นคดีอาญา ซึ่งกรณีนี้คณะกรรมการชุดนี้ได้วิเคราะห์และให้ความเห็นว่าส่งผลกระทบต่อองค์กรทำให้ สพฐ. เสียหายควรดำเนินการตามกฎหมายและเท่าที่ได้ฟังเสียงในเทปดูเหมือนว่าจะมีการทำแบบนี้มานาน โดยเวลานี้ได้ตั้งคณะกรรมการสืบหาข้อเท็จจริงลงไปหาข้อมูลคาดว่าภายในสัปดาห์หน้าจะรายงานผล จากนั้นผมจะสั่งการให้ดำเนินการแจ้งความในนาม สพฐ. ด้วย เพราะทำให้องค์กรได้รับความเสียหาย ขณะเดียวกันจะแจ้งให้ ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ ปลดบุคคลดังกล่าวพ้นจากตำแหน่ง”นายกมล กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม ผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวเป็นบุคคลภายนอก จึงมีโทษเพียงแค่ปลดพ้นจากตำแหน่งเท่านั้น เพราะฉะนั้น สพฐ. แจ้งความเพื่อเป็นคดีอาญาเพื่อเอาคนผิดมาลงโทษและไม่ให้มีคนเอาแบบอย่าง
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่