จ่อตั้งองค์กรตระกูล ส.ใหม่ ผุดสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยสุขภาพ มาแทนที่ สวรส. เหตุทำงานวิจัยได้กว้างขวางกว่าแค่เรื่องระบบ พร้อมตั้งกองทุนวิจัยปีแรก 2 พันล้านบาท ปีถัดไปเพิ่มเป็น 4 พันล้านบาท ด้าน สวรส. เผยเป็นการควบรวมให้ทำงานรอบด้านขึ้น
แหล่งข่าวแวดวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้กำลังมีการร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยสุขภาพ พ.ศ. ... ขึ้น โดยจะให้มีการจัดตั้ง “สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยสุขภาพ” ขึ้น อยู่ภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งหาก พ.ร.บ.ฉบับนี้มีผลบังคับใช้ อาจจะต้องยกเลิก พ.ร.บ.สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พ.ศ. 2535 หรือเกิดการยุบสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เนื่องจากการสนับสนุนการวิจัยต่างๆ หลังมี สวรส. อาจไม่เต็มที่ เพราะมุ่งเน้นการวิจัยด้านระบบสาธารณสุข ซึ่งมีขอบเขตแคบกว่าการวิจัยสุขภาพ ทั้งนี้ ในร่าง พ.ร.บ. ฉบับใหม่ดังกล่าว กำหนดให้มีคณะกรรมการกำหนดนโยบายและขอบเขตการวิจัยสุขภาพของประเทศ เพื่อทำหน้าที่กำหนดยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาประเทศ
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ในมาตรา 24 ยังกำหนดให้ตั้งกองทุนขึ้น เรียกว่า กองทุนส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยสุขภาพ เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนและใช้จ่ายสำหรับการดำเนินงาน โดยระบุให้เงินทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้เบื้องต้นอยู่ที่ 1,000 ล้านบาท หลังจากนั้นในปีแรก ให้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จัดสรรเงินให้อีกร้อยละ 1 ของงบประมาณของทั้งสองหน่วยงาน หรือคิดเป็นเงินประมาณ 2,000 ล้านบาทต่อปี และปีต่อมาให้เพิ่มเป็นร้อยละ 2 หรือ 4,000 ล้านบาทต่อปี ถือเป็นงบประมาณมหาศาล เทียบเท่ากับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่ได้รับงบประมาณจากภาษีบาป คือ เหล้าและบุหรี่ รวมกันเฉลี่ยปีละประมาณ 4,000 ล้านบาท จึงน่ากังวลว่า การตั้งสำนักงานฯเช่นนี้เหมาะสม และมีความจำเป็นในยุคปฏิรูปของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี หรือไม่
นพ.ภูษิต ประคองสาย รักษาการ ผอ.สวรส. กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวได้ผ่านการประชาพิจารณ์ ระดมความคิดเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว เหลือเพียงรอเข้า ครม. อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจกังวลว่า การตั้งกองทุนขึ้นใหม่จะไปซ้ำซ้อนกับหน่วยงานวิจัยอื่นๆ หรือไม่ เช่น สสส. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) แต่เป็นคนละส่วนกัน โดย สสส. จะเน้นการทำงานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และดูแลสุขภาวะต่างๆ ขณะที่ วช. จะเป็นการวิจัยหลายส่วน ทั้งสุขภาพ เกษตร แรงงาน ฯลฯ แต่สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยสุขภาพจะเป็นหน่วยงานวิจัยที่ขึ้นมาแทน สวรส. หรือเรียกว่ารวม สวรส. ไว้ ทำให้การทำงานรอบด้านมากขึ้น โดยจะศึกษาวิจัยด้านสุขภาพภาพรวมทั้งประเทศ ทั้งบุคลากรสาธารณสุข กำลังคน นโยบาย ปัญหาสาธารณสุข เป็นต้น ซึ่งต่อไปหากจะหางานวิจัยหรือผลการศึกษาด้านสุขภาพก็ต้องเป็นหน่วยงานนี้
ผู้สื่อข่าวถามว่าการตั้งกองทุนใช้งบประมาณมากเกินไป ทั้งที่มีหน่วยงานวิจัยอื่นแล้วหรือไม่ นพ.ภูษิต กล่าวว่า เข้าใจว่าคนอาจเข้าใจเช่นนั้นได้ แต่จริงๆ งบด้านสุขภาพบางส่วนที่ทาง วช. ได้รับการสนับสนุน จะต้องถูกโยกมาอยู่ในสำนักงานฯ ดังกล่าวเพื่อทำการศึกษาวิจัยด้านสุขภาพแทน เช่น หาก วช. ได้รับงบวิจัยสุขภาพปีละพันล้านบาท ก็จะถูกนำมาให้กับสำนักงานฯเป็นผู้ดำเนินการแทน ซึ่งตรงนี้ วช. ทราบดี เพราะมีการประชาพิจารณ์แล้ว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
แหล่งข่าวแวดวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้กำลังมีการร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยสุขภาพ พ.ศ. ... ขึ้น โดยจะให้มีการจัดตั้ง “สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยสุขภาพ” ขึ้น อยู่ภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งหาก พ.ร.บ.ฉบับนี้มีผลบังคับใช้ อาจจะต้องยกเลิก พ.ร.บ.สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พ.ศ. 2535 หรือเกิดการยุบสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เนื่องจากการสนับสนุนการวิจัยต่างๆ หลังมี สวรส. อาจไม่เต็มที่ เพราะมุ่งเน้นการวิจัยด้านระบบสาธารณสุข ซึ่งมีขอบเขตแคบกว่าการวิจัยสุขภาพ ทั้งนี้ ในร่าง พ.ร.บ. ฉบับใหม่ดังกล่าว กำหนดให้มีคณะกรรมการกำหนดนโยบายและขอบเขตการวิจัยสุขภาพของประเทศ เพื่อทำหน้าที่กำหนดยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาประเทศ
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ในมาตรา 24 ยังกำหนดให้ตั้งกองทุนขึ้น เรียกว่า กองทุนส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยสุขภาพ เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนและใช้จ่ายสำหรับการดำเนินงาน โดยระบุให้เงินทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้เบื้องต้นอยู่ที่ 1,000 ล้านบาท หลังจากนั้นในปีแรก ให้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จัดสรรเงินให้อีกร้อยละ 1 ของงบประมาณของทั้งสองหน่วยงาน หรือคิดเป็นเงินประมาณ 2,000 ล้านบาทต่อปี และปีต่อมาให้เพิ่มเป็นร้อยละ 2 หรือ 4,000 ล้านบาทต่อปี ถือเป็นงบประมาณมหาศาล เทียบเท่ากับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่ได้รับงบประมาณจากภาษีบาป คือ เหล้าและบุหรี่ รวมกันเฉลี่ยปีละประมาณ 4,000 ล้านบาท จึงน่ากังวลว่า การตั้งสำนักงานฯเช่นนี้เหมาะสม และมีความจำเป็นในยุคปฏิรูปของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี หรือไม่
นพ.ภูษิต ประคองสาย รักษาการ ผอ.สวรส. กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวได้ผ่านการประชาพิจารณ์ ระดมความคิดเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว เหลือเพียงรอเข้า ครม. อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจกังวลว่า การตั้งกองทุนขึ้นใหม่จะไปซ้ำซ้อนกับหน่วยงานวิจัยอื่นๆ หรือไม่ เช่น สสส. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) แต่เป็นคนละส่วนกัน โดย สสส. จะเน้นการทำงานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และดูแลสุขภาวะต่างๆ ขณะที่ วช. จะเป็นการวิจัยหลายส่วน ทั้งสุขภาพ เกษตร แรงงาน ฯลฯ แต่สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยสุขภาพจะเป็นหน่วยงานวิจัยที่ขึ้นมาแทน สวรส. หรือเรียกว่ารวม สวรส. ไว้ ทำให้การทำงานรอบด้านมากขึ้น โดยจะศึกษาวิจัยด้านสุขภาพภาพรวมทั้งประเทศ ทั้งบุคลากรสาธารณสุข กำลังคน นโยบาย ปัญหาสาธารณสุข เป็นต้น ซึ่งต่อไปหากจะหางานวิจัยหรือผลการศึกษาด้านสุขภาพก็ต้องเป็นหน่วยงานนี้
ผู้สื่อข่าวถามว่าการตั้งกองทุนใช้งบประมาณมากเกินไป ทั้งที่มีหน่วยงานวิจัยอื่นแล้วหรือไม่ นพ.ภูษิต กล่าวว่า เข้าใจว่าคนอาจเข้าใจเช่นนั้นได้ แต่จริงๆ งบด้านสุขภาพบางส่วนที่ทาง วช. ได้รับการสนับสนุน จะต้องถูกโยกมาอยู่ในสำนักงานฯ ดังกล่าวเพื่อทำการศึกษาวิจัยด้านสุขภาพแทน เช่น หาก วช. ได้รับงบวิจัยสุขภาพปีละพันล้านบาท ก็จะถูกนำมาให้กับสำนักงานฯเป็นผู้ดำเนินการแทน ซึ่งตรงนี้ วช. ทราบดี เพราะมีการประชาพิจารณ์แล้ว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่