สธ. เตรียมออกประกาศตั้งสำนักงานเขตสุขภาพ โยนผู้ตรวจราชการกำหนดตัวชี้วัด สอดคล้องเป้าหมาย 16 ด้าน 3 ยุทธศาสตร์ ย้ำตัวชี้วัดไม่ใช่เป้าหมาย แต่อยากเห็นการจัดบริการเป็นระบบเพื่อประชาชน
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวในการประชุมผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2558 ว่า ในเร็วๆ นี้ กระทรวงสาธารณสุขจะออกกฎกระทรวงเรื่องการตั้งสำนักงานเขตสุขภาพเพื่อขับเคลื่อนการทำงานต่อไป ซึ่งเรื่องนี้ดำเนินการกันมานานแล้วตั้งแต่สมัย นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ เป็น รมว.สาธารณสุข และได้มีการหารือร่วมกันกับสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ซึ่งทุกคนเห็นด้วย แต่ไม่ได้เดินหน้าต่อเนื่องจากเกิดปัญหาทางการเมืองขึ้นมาก่อน ดังนั้น จึงจะรื้อเรื่องนี้ขึ้นมาอีกครั้ง โดยไปหารือเพื่อยืนยันในหลักการในการบริหารจัดการ ระบบบริการ และการกำหนดเกณฑ์การทำงานในระดับกระทรวง และระดับเขต โดยจะประเมินผลการทำงานในช่วง 6 เดือน และ 12 เดือน
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า เกณฑ์ชี้วัด (เคพีไอ) การทำงานที่กระทรวงจะใช้ประเมินเป็นไปตามเป้าหมาย 16 ด้าน ใน 3 ยุทธศาสตร์ แบ่งเป็น 1. การพัฒนาสุขภาพตามกลุ่มวัย แบ่งเป็นแม่และเด็กปฐมวัย เด็กวัยเรียน เด็กวัยรุ่น วัยทำงาน ผู้สูงอายุและคนพิการ 2. พัฒนาและจัดระบบบริการ แบ่งเป็น ปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ ระบบควบคุมโรค ระบบคุ้มครองผู้บริโภค ยาเสพติด และ 3. พัฒนาระบบบริหารจัดการ เรื่องการบังคับใช้กฎหมาย สิ่งแวดล้อม พัฒนาบุคลากร การเงินการคลัง ยาและเวชภัณฑ์ พัสดุ และปราบปรามทุจริต โดยในระดับกระทรวงมีตัวชี้วัดแล้ว 21 ตัว สำหรับตัวชี้วัดะดับเขตและระดับจังหวัดนั้น จะให้ผู้ตรวจราชการ สธ. ในแต่ละเขตเป็นผู้กำหนด โดยให้สอดคล้องกับเป้าหมาย 16 ด้าน 3 ยุทธศาสตร์ดังกล่าว
“เคพีไอไม่ใช่เป้าหมาย แต่สิ่งที่อยากเห็นคือการให้ความสำคัญกับการจัดระบบบริการประชาชนในระบบเขตสุขภาพเป็นระบบ โดยเฉพาะระบบการควบคุมโรคต่างๆ ซึ่งผลลัพธ์ตรงนี้จะเกิดกับประชาชน” นพ.ณรงค์ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวในการประชุมผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2558 ว่า ในเร็วๆ นี้ กระทรวงสาธารณสุขจะออกกฎกระทรวงเรื่องการตั้งสำนักงานเขตสุขภาพเพื่อขับเคลื่อนการทำงานต่อไป ซึ่งเรื่องนี้ดำเนินการกันมานานแล้วตั้งแต่สมัย นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ เป็น รมว.สาธารณสุข และได้มีการหารือร่วมกันกับสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ซึ่งทุกคนเห็นด้วย แต่ไม่ได้เดินหน้าต่อเนื่องจากเกิดปัญหาทางการเมืองขึ้นมาก่อน ดังนั้น จึงจะรื้อเรื่องนี้ขึ้นมาอีกครั้ง โดยไปหารือเพื่อยืนยันในหลักการในการบริหารจัดการ ระบบบริการ และการกำหนดเกณฑ์การทำงานในระดับกระทรวง และระดับเขต โดยจะประเมินผลการทำงานในช่วง 6 เดือน และ 12 เดือน
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า เกณฑ์ชี้วัด (เคพีไอ) การทำงานที่กระทรวงจะใช้ประเมินเป็นไปตามเป้าหมาย 16 ด้าน ใน 3 ยุทธศาสตร์ แบ่งเป็น 1. การพัฒนาสุขภาพตามกลุ่มวัย แบ่งเป็นแม่และเด็กปฐมวัย เด็กวัยเรียน เด็กวัยรุ่น วัยทำงาน ผู้สูงอายุและคนพิการ 2. พัฒนาและจัดระบบบริการ แบ่งเป็น ปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ ระบบควบคุมโรค ระบบคุ้มครองผู้บริโภค ยาเสพติด และ 3. พัฒนาระบบบริหารจัดการ เรื่องการบังคับใช้กฎหมาย สิ่งแวดล้อม พัฒนาบุคลากร การเงินการคลัง ยาและเวชภัณฑ์ พัสดุ และปราบปรามทุจริต โดยในระดับกระทรวงมีตัวชี้วัดแล้ว 21 ตัว สำหรับตัวชี้วัดะดับเขตและระดับจังหวัดนั้น จะให้ผู้ตรวจราชการ สธ. ในแต่ละเขตเป็นผู้กำหนด โดยให้สอดคล้องกับเป้าหมาย 16 ด้าน 3 ยุทธศาสตร์ดังกล่าว
“เคพีไอไม่ใช่เป้าหมาย แต่สิ่งที่อยากเห็นคือการให้ความสำคัญกับการจัดระบบบริการประชาชนในระบบเขตสุขภาพเป็นระบบ โดยเฉพาะระบบการควบคุมโรคต่างๆ ซึ่งผลลัพธ์ตรงนี้จะเกิดกับประชาชน” นพ.ณรงค์ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่