สพฐ. เผยผลจัดสอบ Pre O-Net ป.6 ม.3 คะแนนยังต่ำ 3 วิชา คณิต - วิทย์ - อังกฤษ หลังจับคู่ ร.ร. ในเขตที่ทำคะแนนดี และคะแนนต่ำมาพัฒนาร่วมกัน แต่ภาพรวมมั่นใจเด็กพร้อมรับการสอบ ลุ้นโค้งสุดท้ายก่อนสอบ O-Net ดึงครูเก่งใน 5 กลุ่มวิชาจัดโปรแกรมติวเข้มดูได้ผ่านทางไกลผ่านดาวเทียม เว็บไซต์ สพฐ. และทางแอปพลิเคชัน มั่นใจเด็กทำคะแนน O-Net เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 3% รวมทั้งสร้างแรงกระเพื่อมให้เกิดการตื่นตัวมากขึ้น
วันนี้ (6 ม.ค.) นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า ที่ประชุมรายงานความคืบหน้า โครงการยกระดับคุณภาพการศึกษา เพื่อยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) โดยที่ผ่านมา สพฐ. ได้จับคู่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) 25 เขตฯ ที่มีโรงเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีผลการสอบ O-Net ในระดับดี กับ 25 เขตฯ ที่มีโรงเรียนที่มีผลการสอบ O-Net ในระดับต่ำมาจับคู่พัฒนาอย่างเข้มข้นตามแนวทางที่สถาบันทดสอบทางการศึกษา สพฐ. กำหนดโดยระหว่างดำเนินการจะมีการติดตามผลเป็นระยะ และเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2557 ได้กำหนดให้สอบ Pre O-Net นักเรียน ป.6 และ ม.3 ของโรงเรียนในสังกัดทั่วประเทศ ซึ่งผลสอบในภาพรวมพบว่านักเรียนทำคะแนนได้ต่ำใน 3 วิชาหลัก คือ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษเป็นวิชาที่นักเรียนทำคะแนนได้ต่ำที่สุด ส่วนวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อว่า การจัดสอบ Pre O-Net ครั้งนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการสอบ O-Net ที่กำลังจะมีขึ้นในเดือนมกราคม 2558 นี้ ซึ่งถือเป็นช่วงโค้งสุดท้ายที่จะต้องเตรียมพร้อมให้เด็กได้รู้และเข้าใจแนวทางการสอบ O-Net ที่จัดสอบโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) และเท่าที่ดูผลการสอบ Pre O-Net เชื่อว่าเด็กมีความพร้อมในระดับที่น่าพอใจ และจะสามารถทำคะแนนได้เพิ่มขึ้นตามเป้าที่วางไว้อย่างน้อย 3% ของคะแนนในปีที่ผ่านมา แม้อาจจะไม่เพิ่มทุกวิชา แต่ก็เชื่อว่าการดำเนินการดังกล่าวจะทำให้เกิดแรงกระเพื่อมในเชิงบวก ทำให้ครูรู้จุดอ่อนว่าเด็กนักเรียนของตนอ่อนในรายวิชาใด เพื่อจะได้เร่งปรับปรุงการเรียนการสอนให้ดีขึ้น ทั้งนี้ สำหรับนักเรียนชั้น ป.6 สอบ O-Net วันที่ 31 มกราคม ม.3 สอบวันที่ 31 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ และ ม.6 สอบวันที่ 7 - 8 กุมภาพันธ์
นายอนุสรณ์ ฟูเจริญ รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า สพฐ. ได้นำผลวิเคราะห์การสอบพรี O-Net ครั้งนี้ ไปวางแผนเพื่อหาแนวทางช่วยยกระดับและปรับปรุงการเรียนการสอนโดยเฉพาะในวิชา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ซึ่งเด็กทำคะแนนได้ค่อนข้างต่ำ โดยได้ทำการคัดเลือกครูที่มีความเชี่ยวชาญใน 5 กลุ่มสาระวิชาหลัก ได้แก่ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และสังคมศึกษา จำนวน 40 คนจาก 8 เขตพื้นที่การศึกษา มาร่วมกันกำหนดแนวทางการสอนเสริมและได้ทำการบันทึกเทปเพื่อใช้ในการถ่ายทอดไปสู่นักเรียน โดยขณะนี้ได้ประสานกับมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ขอใช้ช่วงเวลาหลังเสร็จสิ้นการถ่ายทอดสดการสอนของโรงเรียนวังไกลกังวล มาเผยแพร่เทปบันทึกภาพการสอนดังกล่าว ซึ่งเทปแรกจะเริ่มแพร่ภาพได้ในวันที่ 10 มกราคมนี้ ทั้งนี้ นักเรียนสามารถเข้าถึงช่องทางการรับชมได้ไม่ยาก และสามารถติดตามได้หลายช่องทาง ทั้งระบบดาวเทียมของโรงเรียนวังไกลกังวล ซึ่งขณะนี้มีโรงเรียนที่ ได้รับการติดตั้งระบบถ่ายทอดสัญญาณเรียบร้อยแล้ว 20,000 โรง หรือรับชมได้ทางอินเทอร์เน็ต และทางเว็บไซต์ของ สพฐ. รวมทั้งทางแอปพลิเคชันโทรศัพท์มือถือทั้งระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ และระบบไอโอเอส
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (6 ม.ค.) นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า ที่ประชุมรายงานความคืบหน้า โครงการยกระดับคุณภาพการศึกษา เพื่อยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) โดยที่ผ่านมา สพฐ. ได้จับคู่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) 25 เขตฯ ที่มีโรงเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีผลการสอบ O-Net ในระดับดี กับ 25 เขตฯ ที่มีโรงเรียนที่มีผลการสอบ O-Net ในระดับต่ำมาจับคู่พัฒนาอย่างเข้มข้นตามแนวทางที่สถาบันทดสอบทางการศึกษา สพฐ. กำหนดโดยระหว่างดำเนินการจะมีการติดตามผลเป็นระยะ และเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2557 ได้กำหนดให้สอบ Pre O-Net นักเรียน ป.6 และ ม.3 ของโรงเรียนในสังกัดทั่วประเทศ ซึ่งผลสอบในภาพรวมพบว่านักเรียนทำคะแนนได้ต่ำใน 3 วิชาหลัก คือ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษเป็นวิชาที่นักเรียนทำคะแนนได้ต่ำที่สุด ส่วนวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อว่า การจัดสอบ Pre O-Net ครั้งนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการสอบ O-Net ที่กำลังจะมีขึ้นในเดือนมกราคม 2558 นี้ ซึ่งถือเป็นช่วงโค้งสุดท้ายที่จะต้องเตรียมพร้อมให้เด็กได้รู้และเข้าใจแนวทางการสอบ O-Net ที่จัดสอบโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) และเท่าที่ดูผลการสอบ Pre O-Net เชื่อว่าเด็กมีความพร้อมในระดับที่น่าพอใจ และจะสามารถทำคะแนนได้เพิ่มขึ้นตามเป้าที่วางไว้อย่างน้อย 3% ของคะแนนในปีที่ผ่านมา แม้อาจจะไม่เพิ่มทุกวิชา แต่ก็เชื่อว่าการดำเนินการดังกล่าวจะทำให้เกิดแรงกระเพื่อมในเชิงบวก ทำให้ครูรู้จุดอ่อนว่าเด็กนักเรียนของตนอ่อนในรายวิชาใด เพื่อจะได้เร่งปรับปรุงการเรียนการสอนให้ดีขึ้น ทั้งนี้ สำหรับนักเรียนชั้น ป.6 สอบ O-Net วันที่ 31 มกราคม ม.3 สอบวันที่ 31 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ และ ม.6 สอบวันที่ 7 - 8 กุมภาพันธ์
นายอนุสรณ์ ฟูเจริญ รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า สพฐ. ได้นำผลวิเคราะห์การสอบพรี O-Net ครั้งนี้ ไปวางแผนเพื่อหาแนวทางช่วยยกระดับและปรับปรุงการเรียนการสอนโดยเฉพาะในวิชา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ซึ่งเด็กทำคะแนนได้ค่อนข้างต่ำ โดยได้ทำการคัดเลือกครูที่มีความเชี่ยวชาญใน 5 กลุ่มสาระวิชาหลัก ได้แก่ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และสังคมศึกษา จำนวน 40 คนจาก 8 เขตพื้นที่การศึกษา มาร่วมกันกำหนดแนวทางการสอนเสริมและได้ทำการบันทึกเทปเพื่อใช้ในการถ่ายทอดไปสู่นักเรียน โดยขณะนี้ได้ประสานกับมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ขอใช้ช่วงเวลาหลังเสร็จสิ้นการถ่ายทอดสดการสอนของโรงเรียนวังไกลกังวล มาเผยแพร่เทปบันทึกภาพการสอนดังกล่าว ซึ่งเทปแรกจะเริ่มแพร่ภาพได้ในวันที่ 10 มกราคมนี้ ทั้งนี้ นักเรียนสามารถเข้าถึงช่องทางการรับชมได้ไม่ยาก และสามารถติดตามได้หลายช่องทาง ทั้งระบบดาวเทียมของโรงเรียนวังไกลกังวล ซึ่งขณะนี้มีโรงเรียนที่ ได้รับการติดตั้งระบบถ่ายทอดสัญญาณเรียบร้อยแล้ว 20,000 โรง หรือรับชมได้ทางอินเทอร์เน็ต และทางเว็บไซต์ของ สพฐ. รวมทั้งทางแอปพลิเคชันโทรศัพท์มือถือทั้งระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ และระบบไอโอเอส
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่