เลขาธิการ กอศ. เผย เตรียมของบค่าเครื่องมือช่างให้นักเรียนอาชีวะ วิทยาลัยจัดซื้อ เด็กยืมเรียนจนจบปวช. มอบวิทยาลัยในสังกัดวางมาตรการดูแลอุปกรณ์ คาด 3 ปี ชำรุดสูญหาย 30% เล็งของบชดเชยเครื่องมือชำรุด 100 ล้าน ในปี 2561 - 2563
ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติการจัดสรรงบประมาณเพื่อช่วยเหลือค่าอุปกรณ์การเรียน เป็นค่าเครื่องมือประจำตัวของนักเรียนอาชีวศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในระบบทุกสังกัดนั้น ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) กำลังรอหนังสือแจ้งมติ ครม. อย่างเป็นทางการจากสำนักเลขาธิการ ครม. จากนั้นจะเร่งทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณเพื่อกำหนดอัตราค่าอุปกรณ์การเรียนที่ถูกต้องและเหมาะสมในแต่ละประเภทสาขาวิชา โดยจะพิจารณารายการที่ไม่ซ้ำซ้อนกับค่าอุปกรณ์การเรียนในโครงการเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ ที่ได้รับอยู่ปีละ 460 บาท นอกจากนี้ จะต้องไม่เป็นอุปกรณ์สิ้นเปลือง เนื่องจากเป็นเครื่องมือประจำตัวนักเรียนจนจบการศึกษาระดับปวช.จากนั้น สอศ.จะแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกสังกัดที่เปิดสอนหลักสูตร ปวช. ทั้งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (สช.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และทหารทั้ง 3 เหล่าทัพ ได้รับทราบถึงขั้นตอนการดำเนินการ และให้ต้นสังกัดเป็นผู้ดำเนินการขอเงินจากสำนักงบประมาณ
เลขาธิการ กอศ. กล่าวอีกว่า ในส่วนของ สอศ. จะจัดทำคำของบประมาณแยกเป็น 2 ส่วน คือ งบกลาง ประจำปีงบประมาณ 2558 เพื่อจัดซื้ออุปกรณ์การเรียนให้กับนักเรียน ปวช.ทุกคนในปีการศึกษา 2558 ซึ่ง สอศ. คงต้องใช้ ตัวเลขประมาณการจำนวนนักเรียน ปวช. เพื่อให้เด็กมีอุปกรณ์การเรียนพร้อมทันเปิดเทอม ส่วนในปีการศึกษา 2559 จะใช้อัตราค่าอุปกรณ์การเรียนแยกตามประเภทวิชาเป็นฐานในการจัดตั้งคำของบประจำปี 2559 และ 2560 ต่อไป สำหรับกระบวนการจัดซื้ออุปกรณ์ดังกล่าวจะให้วิทยาลัยเป็นผู้จัดซื้อเอง โดยให้เป็นอุปกรณ์ของวิทยาแต่ให้นักเรียนยืมเรียนจนจบ 3 ปี ซึ่งคาดว่าจะมีอุปกรณ์ที่ชำรุดสูญหายประมาณ 30% ดังนั้น ในปีการศึกษา 2561 - 2563 จะมีงบฯชดเชยเครื่องมือที่ชำรุดปีละกว่า 100 ล้านบาท ส่วนระหว่างเรียนหากเกิดอุปกรณ์ชำรุดหรือสูญหาย สอศ. ได้มอบให้วิทยาลัยในสังกัดวางมาตรการในการป้องกันและดูแลอุปกรณ์ไม่ให้เกิดการสูญหาย แต่หากชำรุดจากการใช้งานก็คงต้องจัดหางบให้ นอกจากนี้ สอศ. จะออกมาตรการกำชับวิทยาลัยไม่ให้มีการเรียกเก็บเงินค่าอุปกรณ์การเรียนของนักเรียน ปวช. ซึ่งจะเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองอีกทางหนึ่ง
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติการจัดสรรงบประมาณเพื่อช่วยเหลือค่าอุปกรณ์การเรียน เป็นค่าเครื่องมือประจำตัวของนักเรียนอาชีวศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในระบบทุกสังกัดนั้น ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) กำลังรอหนังสือแจ้งมติ ครม. อย่างเป็นทางการจากสำนักเลขาธิการ ครม. จากนั้นจะเร่งทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณเพื่อกำหนดอัตราค่าอุปกรณ์การเรียนที่ถูกต้องและเหมาะสมในแต่ละประเภทสาขาวิชา โดยจะพิจารณารายการที่ไม่ซ้ำซ้อนกับค่าอุปกรณ์การเรียนในโครงการเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ ที่ได้รับอยู่ปีละ 460 บาท นอกจากนี้ จะต้องไม่เป็นอุปกรณ์สิ้นเปลือง เนื่องจากเป็นเครื่องมือประจำตัวนักเรียนจนจบการศึกษาระดับปวช.จากนั้น สอศ.จะแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกสังกัดที่เปิดสอนหลักสูตร ปวช. ทั้งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (สช.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และทหารทั้ง 3 เหล่าทัพ ได้รับทราบถึงขั้นตอนการดำเนินการ และให้ต้นสังกัดเป็นผู้ดำเนินการขอเงินจากสำนักงบประมาณ
เลขาธิการ กอศ. กล่าวอีกว่า ในส่วนของ สอศ. จะจัดทำคำของบประมาณแยกเป็น 2 ส่วน คือ งบกลาง ประจำปีงบประมาณ 2558 เพื่อจัดซื้ออุปกรณ์การเรียนให้กับนักเรียน ปวช.ทุกคนในปีการศึกษา 2558 ซึ่ง สอศ. คงต้องใช้ ตัวเลขประมาณการจำนวนนักเรียน ปวช. เพื่อให้เด็กมีอุปกรณ์การเรียนพร้อมทันเปิดเทอม ส่วนในปีการศึกษา 2559 จะใช้อัตราค่าอุปกรณ์การเรียนแยกตามประเภทวิชาเป็นฐานในการจัดตั้งคำของบประจำปี 2559 และ 2560 ต่อไป สำหรับกระบวนการจัดซื้ออุปกรณ์ดังกล่าวจะให้วิทยาลัยเป็นผู้จัดซื้อเอง โดยให้เป็นอุปกรณ์ของวิทยาแต่ให้นักเรียนยืมเรียนจนจบ 3 ปี ซึ่งคาดว่าจะมีอุปกรณ์ที่ชำรุดสูญหายประมาณ 30% ดังนั้น ในปีการศึกษา 2561 - 2563 จะมีงบฯชดเชยเครื่องมือที่ชำรุดปีละกว่า 100 ล้านบาท ส่วนระหว่างเรียนหากเกิดอุปกรณ์ชำรุดหรือสูญหาย สอศ. ได้มอบให้วิทยาลัยในสังกัดวางมาตรการในการป้องกันและดูแลอุปกรณ์ไม่ให้เกิดการสูญหาย แต่หากชำรุดจากการใช้งานก็คงต้องจัดหางบให้ นอกจากนี้ สอศ. จะออกมาตรการกำชับวิทยาลัยไม่ให้มีการเรียกเก็บเงินค่าอุปกรณ์การเรียนของนักเรียน ปวช. ซึ่งจะเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองอีกทางหนึ่ง
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่