คาดแรงงานไทยตกค้างตามเกาะต่างๆ ในอินโดนีเซียอีกหลายร้อยชีวิต รวมชาวพม่า กัมพูชา สูงถึงกว่า 500 คน มูลนิธิแอลพีเอ็นจี้รัฐบาลหารือ 3 ประเทศ ตั้งทีมเฉพาะกิจช่วยเหลือ เพิ่มโทษนายจ้าง-ผู้เกี่ยวข้อง
วันนี้ (20 ธ.ค.) นายสมพงษ์ สระแก้ว ผอ.มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (แอลพีเอ็น) กล่าวถึงความคืบหน้าการช่วยเหลือคนไทยที่ถูกหลอกไปทำงานบนเรือประมงไทยในน่านน้ำอินโดนีเซีย ว่า มูลนิธิฯได้ร่วมกับหน่วยงานรัฐช่วยเหลือคนไทยจากเกาะอัมบนและเกาะตวนมาได้แล้ว 28 คน คาดว่ายังมีคนไทยอีกกว่า 100 คน ชาวพม่า 200 - 300 คน และชาวกัมพูชา 100 คน ที่ตกเรืออยู่ตามเกาะต่างๆ ของอินโดนีเซีย ซึ่งปัญหาคนไทยและแรงงานข้ามชาติถูกหลอกไปทำงานบนเรือประมงไทยในน่านน้ำอินโดนีเซียและตกเรือเป็นปัญหาสะสมมานานกว่า 10 ปี แต่ที่ผ่านมาการทำงานของหน่วยงานรัฐยังเป็นไปในลักษณะของการตั้งรับเป็นหลัก จึงควรปรับรูปแบบมาทำงานเชิงรุกและประสานความร่วมมือกับภาคเอกชนอย่างจริงจัง
นายสมพงษ์ กล่าวว่า รัฐบาลไทยควรเจรจากับรัฐบาลอินโดนีเซีย พม่า และกัมพูชาเพื่อทำข้อตกลงความร่วมมือในการเร่งให้ความช่วยเหลือคนไทย พม่า และกัมพูชา ที่ตกค้างอยู่ รวมทั้งตั้งทีมเฉพาะกิจซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานรัฐและเอกชน เพื่อลงพื้นที่ไปสำรวจและให้ความช่วยเหลือ รวมทั้งเพิ่มโทษทั้งทางแพ่งและอาญาแก่นายจ้างและผู้เกี่ยวข้องที่ทำผิดด้วย นอกจากนี้ จะต้องปรับระบบการคุ้มครองแรงงานในภาคประมง โดยมีการตรวจสอบสัญญาจ้าง และให้ทำสัญญาจ้างที่เป็นธรรมและเป็นไปตามความสมัครใจทำงาน ไม่ใช่การถูกข่มขู่ บังคับและแก้ปัญหาเรื่องการสวมสิทธิและหนังสือคนประจำเรือ (ซีแมน-บุ๊ก) ปลอมด้วย จะช่วยลดปัญหาการค้ามนุษย์ในภาคประมง ทำให้ไทยมีโอกาสหลุดจากประเทศที่ต้องเฝ้าระวังด้านการค้ามนุษย์ได้เร็วขึ้น
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (20 ธ.ค.) นายสมพงษ์ สระแก้ว ผอ.มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (แอลพีเอ็น) กล่าวถึงความคืบหน้าการช่วยเหลือคนไทยที่ถูกหลอกไปทำงานบนเรือประมงไทยในน่านน้ำอินโดนีเซีย ว่า มูลนิธิฯได้ร่วมกับหน่วยงานรัฐช่วยเหลือคนไทยจากเกาะอัมบนและเกาะตวนมาได้แล้ว 28 คน คาดว่ายังมีคนไทยอีกกว่า 100 คน ชาวพม่า 200 - 300 คน และชาวกัมพูชา 100 คน ที่ตกเรืออยู่ตามเกาะต่างๆ ของอินโดนีเซีย ซึ่งปัญหาคนไทยและแรงงานข้ามชาติถูกหลอกไปทำงานบนเรือประมงไทยในน่านน้ำอินโดนีเซียและตกเรือเป็นปัญหาสะสมมานานกว่า 10 ปี แต่ที่ผ่านมาการทำงานของหน่วยงานรัฐยังเป็นไปในลักษณะของการตั้งรับเป็นหลัก จึงควรปรับรูปแบบมาทำงานเชิงรุกและประสานความร่วมมือกับภาคเอกชนอย่างจริงจัง
นายสมพงษ์ กล่าวว่า รัฐบาลไทยควรเจรจากับรัฐบาลอินโดนีเซีย พม่า และกัมพูชาเพื่อทำข้อตกลงความร่วมมือในการเร่งให้ความช่วยเหลือคนไทย พม่า และกัมพูชา ที่ตกค้างอยู่ รวมทั้งตั้งทีมเฉพาะกิจซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานรัฐและเอกชน เพื่อลงพื้นที่ไปสำรวจและให้ความช่วยเหลือ รวมทั้งเพิ่มโทษทั้งทางแพ่งและอาญาแก่นายจ้างและผู้เกี่ยวข้องที่ทำผิดด้วย นอกจากนี้ จะต้องปรับระบบการคุ้มครองแรงงานในภาคประมง โดยมีการตรวจสอบสัญญาจ้าง และให้ทำสัญญาจ้างที่เป็นธรรมและเป็นไปตามความสมัครใจทำงาน ไม่ใช่การถูกข่มขู่ บังคับและแก้ปัญหาเรื่องการสวมสิทธิและหนังสือคนประจำเรือ (ซีแมน-บุ๊ก) ปลอมด้วย จะช่วยลดปัญหาการค้ามนุษย์ในภาคประมง ทำให้ไทยมีโอกาสหลุดจากประเทศที่ต้องเฝ้าระวังด้านการค้ามนุษย์ได้เร็วขึ้น
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่