ในรอบ 6 ปี มีแรงงานไทย-พม่า ร้องเรียนให้ช่วยเหลือ 128 คน เฉพาะกรณีแรงงานประมงในอินโดนีเซีย 29 คน ส่วนหนึ่งถูกหลอกลงเรือ ผู้บริหารสมาคมประมงนอกน่านน้ำไทยยันส่วนใหญ่ใช้แรงงานถูกกฎหมาย ชี้ต้นเหตุหลอกคนงานเพราะไต๋กง-หัวหน้าลูกเรือขาดลูกน้อง
วันนี้ (30 ก.ย.) ที่คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย น.ส.ปฏิมา ตั้งปรัชญากูล เจ้าหน้าที่ทีมผู้สำรวจแรงงานลูกเรือประมง ศูนย์ปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือลูกเรือ ของมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (แอลพีเอ็น) กล่าวในการเสวนา การช่วยเหลือลูกเรือไทยและข้ามชาติ “ตกเรือ” ณ เกาะอัมบน ประเทศอินโดนีเซีย:คนตกเรือ ค้าแรงงาน ค้ามนุษย์ลูกเรือประมงหรือไม่? ว่า ตั้งแต่ช่วงปี 2549-2557 มีแรงงานเรือประมงร้องเรียนมูลนิธิแอลพีเอ็น 128 คน แยกเป็นคนพม่า 112 คน และคนไทย 16 คน ในจำนวนนี้เสียชีวิตแล้วเป็นคน พม่า 30 คน และคนไทย 9 คน โดยรายล่าสุดได้รับร้องเรียนเดือน ส.ค. 2557 ถูกทำร้ายกระทบระบบประสาทและแขนขวาพิการแต่ได้รับเงินชดเชยจากนายจ้างแค่ 5 พันบาท นอกจากนี้ ยังได้ช่วยเหลือแรงงานประมงในโซมาเลีย 38 คน แยกเป็นพม่า 22 คน ลาว 1 คน กัมพูชา 1 คน และคนไทย 14 คน
น.ส.ปฏิมา กล่าวอีกว่า จากการลงพื้นที่ที่ตรวจสอบและช่วยเหลือแรงงานประมงที่เกาะอัมบน ประเทศอินโดนีเซีย มีแรงงานมาขอความช่วยเหลือขอกลับประเทศแยกเป็นคนไทย 10 คน และพม่า 19 คน ซึ่งในส่วนคนไทยคาดว่าถูกหลอกลงเรือ 3 คน แรงงานบางส่วนสมัครใจไปแต่ทำงานบนเรือไม่ไหว อยากกลับประเทศก่อนกำหนด 3 ปีแต่กลับ จึงหลบหนีขึ้นฝั่ง และพบปัญหาหลายกรณีเช่น แรงงานถูกเอกสารและหนังสือคนประจำเรือ (ซีแมน-บุ๊ก) ถูกหัวหน้าคนงานยึดไว้ การปลอมและสวมสิทธิ์ซีแมนบุ๊กชื่อคนไทยแต่หน้าตาต่างชาติ บางส่วนถูกขังในห้องน้ำถึง 5วันต้องประสานตำรวจตรวจคนเข้าเมืองอินโดนีเซียเข้าช่วยเหลือ ทั้งนี้ มูลนิธิจึงประสาน ตม. หน่วยงานรัฐ เอกชนในอินโดนีเซีย รวมทั้งกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงานของไทยให้การช่วยเหลือพาแรงงานกลับไทย
นายสมพงษ์ สระแก้ว ผู้อำนวยการมูลนิธิแอลพีเอ็น กล่าวว่า กรมการกงสุลจะพาแรงงานประมงไทยในอินโดนีเซียกลับไทยมาก่อน 6 คน ในเร็วๆ นี้ และมูลนิธิกำลังช่วยเหลือแรงงานประมงชาวพม่าที่ทำงานบนเรือประมงไทย 18 คน ซึ่งอยากให้หน่วยงานภาครัฐทำงานเชิงรุกและบูรณาการการทำงานร่วมกับภาคเอกชน รวมทั้งเร่งแก่ปัญหาซีแมนบุ๊กปลอมและการสวมสิทธิ์ซีแมนบุ๊ก และประสานผู้ประกอบการเรือประมงนอกน่านน้ำไทยจัดอบรมแรงงานก่อนไปทำงาน
นายอภิสิทธิ์ เตชะนิธิสวัสดิ์ กรรมการบริหารสมาคมการประมงนอกน่านน้ำไทย กล่าวว่า ปัจจุบันมีเรือประมงนอกน่านน้ำไทยของไทยซึ่งเป็นสมาชิกสมาคมทำประมงที่เกาะอัมบนกว่า 200 ลำ และภายใน 90 วัน เรือต้องเข้าท่าตามกฎหมายของอินโดนีเซีย เรือประมงนอกน่านน้ำไทยส่วนใหญ่ใช้แรงงานโดยไม่มีการค้ามนุษย์ ซึ่งนายจ้างเสียค่าใช้จ่ายทั้งค่าดำเนินการเอกสาร จ่ายเงินเดือนล่วงหน้ารวมกว่า 5 หมื่นบาทต่อคน โดยในจำนวนนี้เป็นค่านายหน้าจัดหาแรงงาน 2 หมื่นบาท มีเอกสารและหลักฐานรับรอง ทั้งนี้ ปัญหาการหลอกคนมาทำงานบนเรือประมงยังคงมีอยู่โดยเกิดจากไต๋กงหรือหัวหน้าคนงานใหม่ที่ไม่มีบารมี ไม่มีลูกน้องเก่า จึงใช้นายหน้าซึ่งหาแรงงานโดยหลอกคนมาจากสถานที่สาธารณะเช่น สถานีขนส่งหมอชิต สถานีรถไฟหัวลำโพง สนามหลวง จึงอยากให้หน่วยรัฐ เอกชนแก้ปัญหานี้ซึ่งสมาคมพร้อมร่วมมือแก้ปัญหานี้โดยเฉพาะกระทรวงแรงงานควรไปตั้งโต๊ะรับสมัครงานที่สถานีขนส่งหมอชิต สถานีรถไฟหัวลำโพง รวมทั้งให้แรงงานประมงได้เข้าสู่ระบบประกันสังคมและบริษัทขนส่งต้องดูแลอย่างเข้มงวดเพื่อป้องกันการหลอกทำงานบนเรือประมง
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (30 ก.ย.) ที่คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย น.ส.ปฏิมา ตั้งปรัชญากูล เจ้าหน้าที่ทีมผู้สำรวจแรงงานลูกเรือประมง ศูนย์ปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือลูกเรือ ของมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (แอลพีเอ็น) กล่าวในการเสวนา การช่วยเหลือลูกเรือไทยและข้ามชาติ “ตกเรือ” ณ เกาะอัมบน ประเทศอินโดนีเซีย:คนตกเรือ ค้าแรงงาน ค้ามนุษย์ลูกเรือประมงหรือไม่? ว่า ตั้งแต่ช่วงปี 2549-2557 มีแรงงานเรือประมงร้องเรียนมูลนิธิแอลพีเอ็น 128 คน แยกเป็นคนพม่า 112 คน และคนไทย 16 คน ในจำนวนนี้เสียชีวิตแล้วเป็นคน พม่า 30 คน และคนไทย 9 คน โดยรายล่าสุดได้รับร้องเรียนเดือน ส.ค. 2557 ถูกทำร้ายกระทบระบบประสาทและแขนขวาพิการแต่ได้รับเงินชดเชยจากนายจ้างแค่ 5 พันบาท นอกจากนี้ ยังได้ช่วยเหลือแรงงานประมงในโซมาเลีย 38 คน แยกเป็นพม่า 22 คน ลาว 1 คน กัมพูชา 1 คน และคนไทย 14 คน
น.ส.ปฏิมา กล่าวอีกว่า จากการลงพื้นที่ที่ตรวจสอบและช่วยเหลือแรงงานประมงที่เกาะอัมบน ประเทศอินโดนีเซีย มีแรงงานมาขอความช่วยเหลือขอกลับประเทศแยกเป็นคนไทย 10 คน และพม่า 19 คน ซึ่งในส่วนคนไทยคาดว่าถูกหลอกลงเรือ 3 คน แรงงานบางส่วนสมัครใจไปแต่ทำงานบนเรือไม่ไหว อยากกลับประเทศก่อนกำหนด 3 ปีแต่กลับ จึงหลบหนีขึ้นฝั่ง และพบปัญหาหลายกรณีเช่น แรงงานถูกเอกสารและหนังสือคนประจำเรือ (ซีแมน-บุ๊ก) ถูกหัวหน้าคนงานยึดไว้ การปลอมและสวมสิทธิ์ซีแมนบุ๊กชื่อคนไทยแต่หน้าตาต่างชาติ บางส่วนถูกขังในห้องน้ำถึง 5วันต้องประสานตำรวจตรวจคนเข้าเมืองอินโดนีเซียเข้าช่วยเหลือ ทั้งนี้ มูลนิธิจึงประสาน ตม. หน่วยงานรัฐ เอกชนในอินโดนีเซีย รวมทั้งกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงานของไทยให้การช่วยเหลือพาแรงงานกลับไทย
นายสมพงษ์ สระแก้ว ผู้อำนวยการมูลนิธิแอลพีเอ็น กล่าวว่า กรมการกงสุลจะพาแรงงานประมงไทยในอินโดนีเซียกลับไทยมาก่อน 6 คน ในเร็วๆ นี้ และมูลนิธิกำลังช่วยเหลือแรงงานประมงชาวพม่าที่ทำงานบนเรือประมงไทย 18 คน ซึ่งอยากให้หน่วยงานภาครัฐทำงานเชิงรุกและบูรณาการการทำงานร่วมกับภาคเอกชน รวมทั้งเร่งแก่ปัญหาซีแมนบุ๊กปลอมและการสวมสิทธิ์ซีแมนบุ๊ก และประสานผู้ประกอบการเรือประมงนอกน่านน้ำไทยจัดอบรมแรงงานก่อนไปทำงาน
นายอภิสิทธิ์ เตชะนิธิสวัสดิ์ กรรมการบริหารสมาคมการประมงนอกน่านน้ำไทย กล่าวว่า ปัจจุบันมีเรือประมงนอกน่านน้ำไทยของไทยซึ่งเป็นสมาชิกสมาคมทำประมงที่เกาะอัมบนกว่า 200 ลำ และภายใน 90 วัน เรือต้องเข้าท่าตามกฎหมายของอินโดนีเซีย เรือประมงนอกน่านน้ำไทยส่วนใหญ่ใช้แรงงานโดยไม่มีการค้ามนุษย์ ซึ่งนายจ้างเสียค่าใช้จ่ายทั้งค่าดำเนินการเอกสาร จ่ายเงินเดือนล่วงหน้ารวมกว่า 5 หมื่นบาทต่อคน โดยในจำนวนนี้เป็นค่านายหน้าจัดหาแรงงาน 2 หมื่นบาท มีเอกสารและหลักฐานรับรอง ทั้งนี้ ปัญหาการหลอกคนมาทำงานบนเรือประมงยังคงมีอยู่โดยเกิดจากไต๋กงหรือหัวหน้าคนงานใหม่ที่ไม่มีบารมี ไม่มีลูกน้องเก่า จึงใช้นายหน้าซึ่งหาแรงงานโดยหลอกคนมาจากสถานที่สาธารณะเช่น สถานีขนส่งหมอชิต สถานีรถไฟหัวลำโพง สนามหลวง จึงอยากให้หน่วยรัฐ เอกชนแก้ปัญหานี้ซึ่งสมาคมพร้อมร่วมมือแก้ปัญหานี้โดยเฉพาะกระทรวงแรงงานควรไปตั้งโต๊ะรับสมัครงานที่สถานีขนส่งหมอชิต สถานีรถไฟหัวลำโพง รวมทั้งให้แรงงานประมงได้เข้าสู่ระบบประกันสังคมและบริษัทขนส่งต้องดูแลอย่างเข้มงวดเพื่อป้องกันการหลอกทำงานบนเรือประมง
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่