เตรียมติดตั้งระบบติดตามเรือประมง 8,500 ลำ หวังไทยหลุดพ้นข้อกล่าวหาทำประมงผิดกฎหมาย - จัดอันดับค้ามนุษย์ดีขึ้น
วันนี้ (3 ธ.ค.) ที่กระทรวงแรงงาน นายนพดล กรรณิกา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงความคืบหน้าการแก้ปัญหาการใช้แรงงานประมงที่ผิดกฎหมาย ว่า คณะกรรมาธิการของสหภาพด้านประมง ต้องการให้ประเทศไทย ปรับปรุงเรื่องสำคัญ คือ การติดตั้งระบบติดตามเรือ (VMS) เพื่อให้รู้ตำแหน่ง พิกัดของเรือชัดเจน ง่ายต่อเข้าไปตรวจสอบสภาพชีวิตบนเรือของแรงงานประมงของเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ เรือที่อยู่ในข่ายติดตั้งระบบติดตาม เป็นเรือประมงพาณิชย์ และเรือนอกน่านน้ำ ที่ขึ้นทะเบียนไว้จำนวน 8,500 ลำ ขณะนี้ได้รับแจ้งว่ากรมประมงมีโครงการจะติดตั้งระบบดังกล่าว โดยเบื้องต้นมีการติดตั้งแล้วจำนวน 50 ลำ ซึ่งไม่รวมเรือประมงพื้นบ้าน ที่อาจะมีการยกเว้น แต่ก็ควรมีระบบควบคุมอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบติดตามเรือ อยู่ที่ประมาณ 40,000 บาท แต่จะมีการสนับสนุนจากภาครัฐและภาคเอกชนในการจัดตั้งกองทุน
นายนพดล กล่าวต่อว่า การใช้แรงงานบนเรือประมงเป็นการใช้แรงงานส่วนย่อยของการตรวจ และเป็นเรื่องการค้ามนุษย์ที่กระทรวงแรงงานเข้าไปเกี่ยวข้อง ซึ่งทุกฝ่ายจะต้องบูรณาการการทำงานร่วมกัน เนื่องจากแนวโน้มที่อียูจะตัดสินสถานะของประเทศไทยมี 3 แนวทาง คือ 1. ประเทศไทยต่อต้านการประมงที่ผิดกฎหมาย ไม่รายงาน และไร้การควบคุม (IUU) 2. ให้เวลาปรับปรุง 6 เดือน 3. ประกาศว่าประเทศไทยไม่ต่อต้านการประมงที่ผิดกฎหมาย ซึ่งหากตัดสินใจในข้อที่ 3 จะเท่ากับว่าไทยถูกคว่ำบาตร จากสินค้าการประมง
ที่ปรึกษา รมว.แรงงาน กล่าวด้วยว่า การให้ติดตั้งระบบติดตามเรือ จริงๆ แล้วไม่ใช่เรื่องใหม่ เนื่องจากคณะกรรมาธิการของสหภาพด้านประมง เคยเดินทางมาประเทศไทยเมื่อ 2 ปีที่แล้ว พร้อมทั้งให้ประเทศไทยดำเนินการปรับปรุงเรื่องหลายเรื่อง แต่เรื่องที่สามารถทำได้เลย คือ การติดตั้งระบบติดตามเรือดังกล่าว โดยต้องดำเนินการร่วมกับหลายกระทรวง เช่น กระทรวงแรงงาน กรมเจ้าท่า กรมประมง ตำรวจน้ำ กองทัพเรือ เป็นต้น ดังนั้นหากประเทศไทยสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ นอกจากจะทำให้ไทย ได้ชื่อว่า เป็นประเทศที่ต่อต้านการประมงที่ผิดกฎหมายแล้ว จะนำไปสู่การหลุดพ้นการจัดลำดับเรื่องการค้ามนุษย์ หรืออย่างน้อยก็ต้องมีสถานะที่ดีขึ้น
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (3 ธ.ค.) ที่กระทรวงแรงงาน นายนพดล กรรณิกา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงความคืบหน้าการแก้ปัญหาการใช้แรงงานประมงที่ผิดกฎหมาย ว่า คณะกรรมาธิการของสหภาพด้านประมง ต้องการให้ประเทศไทย ปรับปรุงเรื่องสำคัญ คือ การติดตั้งระบบติดตามเรือ (VMS) เพื่อให้รู้ตำแหน่ง พิกัดของเรือชัดเจน ง่ายต่อเข้าไปตรวจสอบสภาพชีวิตบนเรือของแรงงานประมงของเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ เรือที่อยู่ในข่ายติดตั้งระบบติดตาม เป็นเรือประมงพาณิชย์ และเรือนอกน่านน้ำ ที่ขึ้นทะเบียนไว้จำนวน 8,500 ลำ ขณะนี้ได้รับแจ้งว่ากรมประมงมีโครงการจะติดตั้งระบบดังกล่าว โดยเบื้องต้นมีการติดตั้งแล้วจำนวน 50 ลำ ซึ่งไม่รวมเรือประมงพื้นบ้าน ที่อาจะมีการยกเว้น แต่ก็ควรมีระบบควบคุมอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบติดตามเรือ อยู่ที่ประมาณ 40,000 บาท แต่จะมีการสนับสนุนจากภาครัฐและภาคเอกชนในการจัดตั้งกองทุน
นายนพดล กล่าวต่อว่า การใช้แรงงานบนเรือประมงเป็นการใช้แรงงานส่วนย่อยของการตรวจ และเป็นเรื่องการค้ามนุษย์ที่กระทรวงแรงงานเข้าไปเกี่ยวข้อง ซึ่งทุกฝ่ายจะต้องบูรณาการการทำงานร่วมกัน เนื่องจากแนวโน้มที่อียูจะตัดสินสถานะของประเทศไทยมี 3 แนวทาง คือ 1. ประเทศไทยต่อต้านการประมงที่ผิดกฎหมาย ไม่รายงาน และไร้การควบคุม (IUU) 2. ให้เวลาปรับปรุง 6 เดือน 3. ประกาศว่าประเทศไทยไม่ต่อต้านการประมงที่ผิดกฎหมาย ซึ่งหากตัดสินใจในข้อที่ 3 จะเท่ากับว่าไทยถูกคว่ำบาตร จากสินค้าการประมง
ที่ปรึกษา รมว.แรงงาน กล่าวด้วยว่า การให้ติดตั้งระบบติดตามเรือ จริงๆ แล้วไม่ใช่เรื่องใหม่ เนื่องจากคณะกรรมาธิการของสหภาพด้านประมง เคยเดินทางมาประเทศไทยเมื่อ 2 ปีที่แล้ว พร้อมทั้งให้ประเทศไทยดำเนินการปรับปรุงเรื่องหลายเรื่อง แต่เรื่องที่สามารถทำได้เลย คือ การติดตั้งระบบติดตามเรือดังกล่าว โดยต้องดำเนินการร่วมกับหลายกระทรวง เช่น กระทรวงแรงงาน กรมเจ้าท่า กรมประมง ตำรวจน้ำ กองทัพเรือ เป็นต้น ดังนั้นหากประเทศไทยสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ นอกจากจะทำให้ไทย ได้ชื่อว่า เป็นประเทศที่ต่อต้านการประมงที่ผิดกฎหมายแล้ว จะนำไปสู่การหลุดพ้นการจัดลำดับเรื่องการค้ามนุษย์ หรืออย่างน้อยก็ต้องมีสถานะที่ดีขึ้น
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่