ผศ.พญ. กุลภา ศรีสวัสดิ์ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
วันนี้มีรองเท้ากีฬาอีก 3 สไตล์ มาฝากคุณๆ ที่รักการออกกำลังกาย ติดตามกันนะคะ
3. รองเท้าสนาม (Field Shoes) ต้องรองรับการเคลื่อนไหวในทุกทิศทางอย่างรวดเร็ว และหยุดกะทันหัน รวมทั้งมีการกระโดด และอาจมีการใช้เท้าเตะบอล ดังนั้น รองเท้าต้องกระชับกับรูปเท้าและยืดหยุ่นดี เพื่อให้ผู้เล่นสามารถรู้สึกถึงสัมผัสในขณะสัมผัสลูกบอล ขณะเดียวกัน วัสดุที่ใช้ต้องสามารถป้องกันการบาดเจ็บที่เท้าได้ด้วย ส่วนปุ่มบริเวณพื้นรองเท้าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดเกาะกับพื้นสนามและป้องกันการลื่นล้ม (สำหรับรองเท้ากอล์ฟที่มีคุณภาพดี จะช่วยในการถ่ายน้ำหนักซ้ายขวา ตามวงสวิงของผู้เล่นด้วย)
4. รองเท้า Cross-training ลักษณะเด่นคือ เอาส่วนดีของรองเท้าแต่ละประเภทมาผสมผสานกัน เหมาะสำหรับออกกำลังกายตามสถาน Fitness ซึ่งมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวหลายรูปแบบ เช่น เต้นแอโรบิก วิ่งลู่ ปั่นจักรยาน สควอช ฯลฯ
5. รองเท้าขาเพรียว ลักษณะพื้นรองเท้าจะโค้งเหมือนท้องเรือ เหมือนนั่งให้ความรู้สึกเหมือนยืนบนเก้าอี้โยก จะทำให้กล้ามเนื้อขาต้องเกร็งตัว คล้ายกับเป็นการออกกำลังเบาๆ ตลอดเวลาในขณะเดิน ตามท้องตลาดจะบอกถึงคุณสมบัติ ช่วยให้สะโพก กล้ามเนื้อน่องกระชับ ต้นขาเรียวเล็ก แต่ยังไม่มีงานวิจัยที่ระบุแน่ชัด อย่างไรก็ดี รองเท้าขาเพรียวเหมาะสำหรับผู้ที่สุขภาพแข็งแรง ไม่มีปัญหาการทรงตัว และไม่เหมาะใช้ในการเล่นกีฬา
แต่ไม่ว่าคุณจะสวมรองเท้ากีฬาแบบใด ดีแค่ไหน ก็ไม่ควรลืมสวมถุงเท้า เพราะนอกจากจะช่วยลดการเสียดสีแล้ว ยังช่วยดูดซับและระบายความชื้น แถมช่วยในการรับและส่งผ่านแรงกระแทก ที่สำคัญ ยังช่วยควบคุมอาการบวมที่อาจเกิดขึ้นจากการเล่นกีฬาด้วย
อุปกรณ์อีกหนึ่งชิ้นที่มีความสำคัญไม่น้อย คือ แผ่นเสริมรองฝ่าเท้าชั้นใน สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับเท้า หรือใส่รองเท้าไม่พอดี อาจหาซื้อแผ่นเสริมรองฝ่าเท้าชั้นในซึ่งมีขายทั่วไป แต่หากมีปัญหามากควรพบแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูเพื่อตรวจประเมิน ซึ่งอาจต้องทำแผ่นเสริมรองฝ่าเท้าชั้นในโดยเฉพาะ
เรื่องสุดท้ายที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ คือ ไม่ควรหักโหมออกกำลังกายมากในครั้งแรกๆ ควรทำอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยครั้งละ 20 - 30 นาที สัปดาห์ละ 3 - 4 ครั้ง ที่สำคัญ ควรยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อน - หลังออกกำลังกาย และสำหรับผู้บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา เมื่ออาการดีขึ้นแล้วควรออกกำลังกายแบบค่อยๆ เพิ่มความหนักและความรุนแรง รวมถึงยืดกล้ามเนื้อให้พอเหมาะ
เท่านี้ก็เพียงพอที่จะเสริมสร้างให้สุขภาพดีแล้ว
-------------------------------------------------
พบกิจกรรมดีๆ ที่ศิริราช
ศิริราชชวนคนไทยร่วมเฉลิมพระเกียรติในหลวง 5 ธ.ค. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ขอเชิญบุคลากรศิริราชและประชาชนทั่วไปพร้อมใจกันใส่เสื้อสีเหลืองเข้าร่วมพิธีถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติฯ และถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 87 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม ศกนี้ เวลา 09.30 น. ณ ศาลาศิริราช 100 ปี รพ.ศิริราช
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้มีรองเท้ากีฬาอีก 3 สไตล์ มาฝากคุณๆ ที่รักการออกกำลังกาย ติดตามกันนะคะ
3. รองเท้าสนาม (Field Shoes) ต้องรองรับการเคลื่อนไหวในทุกทิศทางอย่างรวดเร็ว และหยุดกะทันหัน รวมทั้งมีการกระโดด และอาจมีการใช้เท้าเตะบอล ดังนั้น รองเท้าต้องกระชับกับรูปเท้าและยืดหยุ่นดี เพื่อให้ผู้เล่นสามารถรู้สึกถึงสัมผัสในขณะสัมผัสลูกบอล ขณะเดียวกัน วัสดุที่ใช้ต้องสามารถป้องกันการบาดเจ็บที่เท้าได้ด้วย ส่วนปุ่มบริเวณพื้นรองเท้าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดเกาะกับพื้นสนามและป้องกันการลื่นล้ม (สำหรับรองเท้ากอล์ฟที่มีคุณภาพดี จะช่วยในการถ่ายน้ำหนักซ้ายขวา ตามวงสวิงของผู้เล่นด้วย)
4. รองเท้า Cross-training ลักษณะเด่นคือ เอาส่วนดีของรองเท้าแต่ละประเภทมาผสมผสานกัน เหมาะสำหรับออกกำลังกายตามสถาน Fitness ซึ่งมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวหลายรูปแบบ เช่น เต้นแอโรบิก วิ่งลู่ ปั่นจักรยาน สควอช ฯลฯ
5. รองเท้าขาเพรียว ลักษณะพื้นรองเท้าจะโค้งเหมือนท้องเรือ เหมือนนั่งให้ความรู้สึกเหมือนยืนบนเก้าอี้โยก จะทำให้กล้ามเนื้อขาต้องเกร็งตัว คล้ายกับเป็นการออกกำลังเบาๆ ตลอดเวลาในขณะเดิน ตามท้องตลาดจะบอกถึงคุณสมบัติ ช่วยให้สะโพก กล้ามเนื้อน่องกระชับ ต้นขาเรียวเล็ก แต่ยังไม่มีงานวิจัยที่ระบุแน่ชัด อย่างไรก็ดี รองเท้าขาเพรียวเหมาะสำหรับผู้ที่สุขภาพแข็งแรง ไม่มีปัญหาการทรงตัว และไม่เหมาะใช้ในการเล่นกีฬา
แต่ไม่ว่าคุณจะสวมรองเท้ากีฬาแบบใด ดีแค่ไหน ก็ไม่ควรลืมสวมถุงเท้า เพราะนอกจากจะช่วยลดการเสียดสีแล้ว ยังช่วยดูดซับและระบายความชื้น แถมช่วยในการรับและส่งผ่านแรงกระแทก ที่สำคัญ ยังช่วยควบคุมอาการบวมที่อาจเกิดขึ้นจากการเล่นกีฬาด้วย
อุปกรณ์อีกหนึ่งชิ้นที่มีความสำคัญไม่น้อย คือ แผ่นเสริมรองฝ่าเท้าชั้นใน สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับเท้า หรือใส่รองเท้าไม่พอดี อาจหาซื้อแผ่นเสริมรองฝ่าเท้าชั้นในซึ่งมีขายทั่วไป แต่หากมีปัญหามากควรพบแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูเพื่อตรวจประเมิน ซึ่งอาจต้องทำแผ่นเสริมรองฝ่าเท้าชั้นในโดยเฉพาะ
เรื่องสุดท้ายที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ คือ ไม่ควรหักโหมออกกำลังกายมากในครั้งแรกๆ ควรทำอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยครั้งละ 20 - 30 นาที สัปดาห์ละ 3 - 4 ครั้ง ที่สำคัญ ควรยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อน - หลังออกกำลังกาย และสำหรับผู้บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา เมื่ออาการดีขึ้นแล้วควรออกกำลังกายแบบค่อยๆ เพิ่มความหนักและความรุนแรง รวมถึงยืดกล้ามเนื้อให้พอเหมาะ
เท่านี้ก็เพียงพอที่จะเสริมสร้างให้สุขภาพดีแล้ว
-------------------------------------------------
พบกิจกรรมดีๆ ที่ศิริราช
ศิริราชชวนคนไทยร่วมเฉลิมพระเกียรติในหลวง 5 ธ.ค. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ขอเชิญบุคลากรศิริราชและประชาชนทั่วไปพร้อมใจกันใส่เสื้อสีเหลืองเข้าร่วมพิธีถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติฯ และถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 87 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม ศกนี้ เวลา 09.30 น. ณ ศาลาศิริราช 100 ปี รพ.ศิริราช
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่