หมอแนะเล่นกีฬาจริงจัง มากกว่า 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ควรซื้อรองเท้ากีฬาใส่เฉพาะ ป้องกันการบาดเจ็บ เหตุส้นเท้าต้องรับแรงกระแทกถึง 200-300% ของน้ำหนักตัว ย้ำเลือกให้เหมาะกับกีฬาที่เล่น และรูปร่างเท้า เผยรองเท้าเทรนด์ใหม่แบบขาเพรียวไม่ช่วยกระชับสัดส่วน ย้ำอายุการใช้งานรองเท้าไม่ควรเกิน 1 ปี ชี้ทิ้งไว้บนชั้นวางหรือร้านค้าเสื่อมสภาพได้
วันนี้ (11 พ.ย.) ที่โรงพยาบาลศิริราช ผศ.พญ.กุลภา ศรีสวัสดิ์ หัวหน้าคลินิกสุขภาพเท้า ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล กล่าวถึงหัวข้อ “รองเท้ากีฬาเลือกยังไงใช้ได้มันส์ๆ” ในงานสัปดาห์เวชศาสตร์ฟื้นฟู : ฟื้นฟูความสุขให้ประชาชนและคนพิการ จัดโดยภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู ระหว่างวันที่ 10-14 พ.ย. 2557 ว่า รองเท้าโดยทั่วไปมีประโยชน์ในการช่วยห้อหุ้มเท้า ป้องกันการบาดเจ็บ แต่หลายคนสงสัยว่ามีความจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องใส่รองเท้ากีฬาในการเล่นกีฬา ซึ่งความจริงแล้วถือว่ามีความสำคัญ เพราะจะช่วยป้องกันการบาดเจ็บจากการใส่รองเท้าไม่เหมาะสมได้ เช่น ปวดตามข้อต่างๆ ข้อเข่าเสื่อมเร็ว ปวดกล้ามเนื้อ เป็นต้น เนื่องจากรองเท้ากีฬาจะออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และรองรับกับการเล่นกีฬาแต่ละชนิดที่มีการเคลื่อนไหวของเท้าต่างกัน โดยคนที่เล่นกีฬาประเภทใดประเภทหนึ่งอย่างจริงจัง หรืออย่างน้อย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์จำเป็นต้องสวมรองเท้ากีฬาให้เหมาะสม แต่หากไม่ได้เล่นแบบจริงจัง หรือเล่นเพื่อความสนุกสนานก็ไม่มีความจำเป็น
“การเดินปกติจะมีแรงกระแทกลงมาที่ส้นเท้าประมาณ 100% ของน้ำหนักตัว แต่การวิ่งจะมีแรงกระแทกลงมาที่ส้นเท้ามากถึง 200-300% ของน้ำหนักตัว ทำให้ส้นเท้าได้รับแรงกระแทกแล้วสะท้อนกลับขึ้นไปยังข้อเท้า ขา จนถึงกระดูกเอว ทำให้เกิดอาการปวดตามอวัยวะต่างๆ เหล่านี้ แม้รองเท้าทั่วไปจะมีแผ่นรับแรงกระแทก แต่ไม่มากพอที่จะรองรับการวิ่ง ดังนั้น หากเราเล่นกีฬาอย่างจริงจังก็ควรที่จะซื้อรองเท้ากีฬา ซึ่งมีแผ่นรับแรงกระแทกที่หนาและเหมาะสมกว่าแทน เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ” ผศ.พญ.กุลภากล่าว
ผศ.พญ.กุลภากล่าวว่า นอกจากนี้ยังต้องเลือกซื้อรองเท้าให้เหมาะสมกับกีฬาที่เล่นและรูปร่างของเท้าด้วย เพื่อป้องกันการบาดเจ็บด้วย เพราะหากเลือกเล่นกีฬาที่มีการลงน้ำหนักที่หน้าเท้า แต่เลือกรองเท้าที่มีการเสริมส้นหนา ก็อาจทำให้เจ็บหน้าเท้าได้ หรือการเล่นกีฬาที่มีการเคลื่อนไหวของเท้าในทิศทางต่างๆ มาก เช่น เทนนิส แบดมินตัน บาสเกตบอล เป็นต้น ก็ต้องเลือกรองเท้าที่มีการเสริมความแข็งแรงรอบบริเวณหน้าเท้า เพื่อป้องกันโครงสร้างรองเท้าสึกและการบาดเจ็บจากการสไลด์ตัว เป็นต้น สำหรับรูปร่างของเท้ามี 3 แบบ คือ 1. โก่งลอย ส่วนกลางของฝ่าเท้าจะได้รับแรงกระแทกมาก ต้องเลือกรองเท้าที่มีพื้นหนานุ่ม 2. อุ้งเท้าโก่ง ควรเลือกรองเท้าที่มีส้นฐานกว้าง เพื่อเสริมความมั่นคงให้กับเท้า และ 3. อุ้งเท้าแบน เท้าจะมีลักษณะเอียงเข้าด้านใน และส่วนกลางของเท้ากว้าง ควรเลือกรองเท้าที่โครงสร้างของส่วนหุ้มข้อเท้าแข็งแรง ลดการเอียงล้มเข้าด้านใน และไม่เลือกรองเท้าที่มีส่วนกลางคอด นอกจากนี้ ควรเลือกซื้อรองเท้าเวลาใกล้เคียงกับที่เล่นกีฬา เพื่อให้รองเท้ามีความพอดีกับเท้า หากหลวมเกินไป อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ
“รองเท้ากีฬามี 3 ประเภท คือ 1. รองเท้ากีฬาสำหรับวิ่ง แบ่งเป็นรองเท้าจ๊อกกิ้ง ซึ่งการวิ่งจะลงส้นแล้วส่งน้ำหนักไปที่หน้าเท้า รองเท้าจ็อกกิ้งจึงมีการเสริมส้นหนาและบานออกเพื่อรับแรงกระแทก ป้องกันการล้ม อีกแบบคือการรองเท้าสปรินเตอร์ สำหรับนักวิ่งแข่ง หรือการวิ่งบนลู่ รองเท้าแบบนี้จะมีตุ่มแหลมเพื่อช่วยจิกตะกรุยพื้นให้วิ่งถีบไปข้างหน้าได้ 2. รองเท้ากีฬาประเภทเล่นในคอร์ด อย่างเทนนิสที่มีการยืนบนหน้าตลอด ตัวเสริมก็จะต้องอยู่ที่หน้าเท้า บาสเกตบอลที่มีการกระโดดมาก รองเท้าก็จะมีลักษณะหุ้มข้อขึ้นมา เพื่อช่วยเตือนผู้เล่นให้ทราบว่าข้อเท้าอยู่ในท่าตรงหรือไม่ ป้องกันเท้าพลิก และ 3. รองเท้าประเภทสนาม จะเป็นตุ่มหนามเพื่อช่วยจิกสนามไม่ให้ลื่นไถล เช่น รองเท้าฟุตบอล แต่ตัวรองรับแรงกระแทกที่พื้นจะไม่เยอะ เพราะเล่นบนหญ้า บนพื้นดินที่มีความนุ่มช่วยรับแรงกระแทก เป็นต้น” ผศ.พญ.กุลภากล่าว
ผศ.พญ.กุลภากล่าวว่า สำหรับคนที่ไม่ได้เล่นกีฬาหลากหลาย ไม่ได้เน้นเล่นอะไรเป็นพิเศษ หรือชอบเล่นฟิตเนส ซึ่งจะมีการทั้งการเต้นแอโรบิก ขี่จักรยาน วิ่งลู่ ก็จะมีรองเท้ากีฬาประเภทครอสเทรนนิง (Cross-training) ซึ่งเป็นรองเท้าลูกผสมของรองเท้ากีฬา 3 แบบ เสริมรับแรงกระแทกทั้งด้านหน้าด้านหลัง ไม่ได้มีลักษณะโดดเด่นอะไรเป็นพิเศษก็อาจเลือกใช้รองเท้ากลุ่มนี้ได้ ส่วนเทรนด์รองเท้าใหม่ ที่รองเท้าเป็นลักษณะนิ้วเท้า เพื่อให้เหมือนกับการวิ่งเท้าเปล่ามากที่สุด จากการศึกษาพบว่าไม่ได้ดีกว่าหรือทำให้เกิดการบาดเจ็บมากกว่ารองเท้ากีฬา และรองเท้าขาเพรียว ที่พื้นรองเท้าจะโค้งเหมือนท้องเรือ ใส่แล้วจะไม่มีความมั่นคง รู้สึกโยกตลอดเวลา จึงต้องใช้กล้ามเนื้อในการทรงตัวบนรองเท้าและก้าวเดินอย่างมาก จึงโฆษณาว่าทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตลอดเวลา ช่วยให้สะโพกกระชับ กล้ามเนื้อน่องเรียวเล็ก แต่จากการศึกษาพบว่ามีการใช้กล้ามเนื้อเยอะจริง แต่ไม่ถึงกับช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรงมากถึงขั้นกระชับสัดส่วน อย่างไรก็ตาม ใครที่อยากเดินแล้วออกกำลังกายไปด้วยก็สามารถเลือกรองเท้าชนิดนี้ใส่เดินได้ แต่รองเท้าลักษณะนิ้วเท้าและรองเท้าขาเพรียว ผู้สวมจะต้องไม่มีปัญหาเท้าผิดปกติ
ผศ.พญ.กุลภากล่าวว่า รองเท้ากีฬามีอายุการใช้งานไม่ควรเกิน 1 ปี เพราะจะเสื่อมลงเรื่อยๆ จากการใช้งาน เช่น โครงสร้างรองเท้าบี้หมด ไม่แข็งแรง วางรองเท้าแล้วเบี้ยว เอียง ส้นด้านในด้านนอกสึกต่างกันมากกว่า 4 มิลลิเมตร ที่สำคัญรองเท้าที่วางไว้บนชั้นเฉยๆ โดยไม่มีการใช้งานหรือแม้แต่ในร้านค้ารองเท้าก็เสื่อมสภาพลงได้ จึงไม่ควรเลือกรองเท้าที่มีอายุเกิน 1 ปี เพราะยางสามารถเสื่อมสภาพจากความร้อนได้
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (11 พ.ย.) ที่โรงพยาบาลศิริราช ผศ.พญ.กุลภา ศรีสวัสดิ์ หัวหน้าคลินิกสุขภาพเท้า ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล กล่าวถึงหัวข้อ “รองเท้ากีฬาเลือกยังไงใช้ได้มันส์ๆ” ในงานสัปดาห์เวชศาสตร์ฟื้นฟู : ฟื้นฟูความสุขให้ประชาชนและคนพิการ จัดโดยภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู ระหว่างวันที่ 10-14 พ.ย. 2557 ว่า รองเท้าโดยทั่วไปมีประโยชน์ในการช่วยห้อหุ้มเท้า ป้องกันการบาดเจ็บ แต่หลายคนสงสัยว่ามีความจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องใส่รองเท้ากีฬาในการเล่นกีฬา ซึ่งความจริงแล้วถือว่ามีความสำคัญ เพราะจะช่วยป้องกันการบาดเจ็บจากการใส่รองเท้าไม่เหมาะสมได้ เช่น ปวดตามข้อต่างๆ ข้อเข่าเสื่อมเร็ว ปวดกล้ามเนื้อ เป็นต้น เนื่องจากรองเท้ากีฬาจะออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และรองรับกับการเล่นกีฬาแต่ละชนิดที่มีการเคลื่อนไหวของเท้าต่างกัน โดยคนที่เล่นกีฬาประเภทใดประเภทหนึ่งอย่างจริงจัง หรืออย่างน้อย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์จำเป็นต้องสวมรองเท้ากีฬาให้เหมาะสม แต่หากไม่ได้เล่นแบบจริงจัง หรือเล่นเพื่อความสนุกสนานก็ไม่มีความจำเป็น
“การเดินปกติจะมีแรงกระแทกลงมาที่ส้นเท้าประมาณ 100% ของน้ำหนักตัว แต่การวิ่งจะมีแรงกระแทกลงมาที่ส้นเท้ามากถึง 200-300% ของน้ำหนักตัว ทำให้ส้นเท้าได้รับแรงกระแทกแล้วสะท้อนกลับขึ้นไปยังข้อเท้า ขา จนถึงกระดูกเอว ทำให้เกิดอาการปวดตามอวัยวะต่างๆ เหล่านี้ แม้รองเท้าทั่วไปจะมีแผ่นรับแรงกระแทก แต่ไม่มากพอที่จะรองรับการวิ่ง ดังนั้น หากเราเล่นกีฬาอย่างจริงจังก็ควรที่จะซื้อรองเท้ากีฬา ซึ่งมีแผ่นรับแรงกระแทกที่หนาและเหมาะสมกว่าแทน เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ” ผศ.พญ.กุลภากล่าว
ผศ.พญ.กุลภากล่าวว่า นอกจากนี้ยังต้องเลือกซื้อรองเท้าให้เหมาะสมกับกีฬาที่เล่นและรูปร่างของเท้าด้วย เพื่อป้องกันการบาดเจ็บด้วย เพราะหากเลือกเล่นกีฬาที่มีการลงน้ำหนักที่หน้าเท้า แต่เลือกรองเท้าที่มีการเสริมส้นหนา ก็อาจทำให้เจ็บหน้าเท้าได้ หรือการเล่นกีฬาที่มีการเคลื่อนไหวของเท้าในทิศทางต่างๆ มาก เช่น เทนนิส แบดมินตัน บาสเกตบอล เป็นต้น ก็ต้องเลือกรองเท้าที่มีการเสริมความแข็งแรงรอบบริเวณหน้าเท้า เพื่อป้องกันโครงสร้างรองเท้าสึกและการบาดเจ็บจากการสไลด์ตัว เป็นต้น สำหรับรูปร่างของเท้ามี 3 แบบ คือ 1. โก่งลอย ส่วนกลางของฝ่าเท้าจะได้รับแรงกระแทกมาก ต้องเลือกรองเท้าที่มีพื้นหนานุ่ม 2. อุ้งเท้าโก่ง ควรเลือกรองเท้าที่มีส้นฐานกว้าง เพื่อเสริมความมั่นคงให้กับเท้า และ 3. อุ้งเท้าแบน เท้าจะมีลักษณะเอียงเข้าด้านใน และส่วนกลางของเท้ากว้าง ควรเลือกรองเท้าที่โครงสร้างของส่วนหุ้มข้อเท้าแข็งแรง ลดการเอียงล้มเข้าด้านใน และไม่เลือกรองเท้าที่มีส่วนกลางคอด นอกจากนี้ ควรเลือกซื้อรองเท้าเวลาใกล้เคียงกับที่เล่นกีฬา เพื่อให้รองเท้ามีความพอดีกับเท้า หากหลวมเกินไป อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ
“รองเท้ากีฬามี 3 ประเภท คือ 1. รองเท้ากีฬาสำหรับวิ่ง แบ่งเป็นรองเท้าจ๊อกกิ้ง ซึ่งการวิ่งจะลงส้นแล้วส่งน้ำหนักไปที่หน้าเท้า รองเท้าจ็อกกิ้งจึงมีการเสริมส้นหนาและบานออกเพื่อรับแรงกระแทก ป้องกันการล้ม อีกแบบคือการรองเท้าสปรินเตอร์ สำหรับนักวิ่งแข่ง หรือการวิ่งบนลู่ รองเท้าแบบนี้จะมีตุ่มแหลมเพื่อช่วยจิกตะกรุยพื้นให้วิ่งถีบไปข้างหน้าได้ 2. รองเท้ากีฬาประเภทเล่นในคอร์ด อย่างเทนนิสที่มีการยืนบนหน้าตลอด ตัวเสริมก็จะต้องอยู่ที่หน้าเท้า บาสเกตบอลที่มีการกระโดดมาก รองเท้าก็จะมีลักษณะหุ้มข้อขึ้นมา เพื่อช่วยเตือนผู้เล่นให้ทราบว่าข้อเท้าอยู่ในท่าตรงหรือไม่ ป้องกันเท้าพลิก และ 3. รองเท้าประเภทสนาม จะเป็นตุ่มหนามเพื่อช่วยจิกสนามไม่ให้ลื่นไถล เช่น รองเท้าฟุตบอล แต่ตัวรองรับแรงกระแทกที่พื้นจะไม่เยอะ เพราะเล่นบนหญ้า บนพื้นดินที่มีความนุ่มช่วยรับแรงกระแทก เป็นต้น” ผศ.พญ.กุลภากล่าว
ผศ.พญ.กุลภากล่าวว่า สำหรับคนที่ไม่ได้เล่นกีฬาหลากหลาย ไม่ได้เน้นเล่นอะไรเป็นพิเศษ หรือชอบเล่นฟิตเนส ซึ่งจะมีการทั้งการเต้นแอโรบิก ขี่จักรยาน วิ่งลู่ ก็จะมีรองเท้ากีฬาประเภทครอสเทรนนิง (Cross-training) ซึ่งเป็นรองเท้าลูกผสมของรองเท้ากีฬา 3 แบบ เสริมรับแรงกระแทกทั้งด้านหน้าด้านหลัง ไม่ได้มีลักษณะโดดเด่นอะไรเป็นพิเศษก็อาจเลือกใช้รองเท้ากลุ่มนี้ได้ ส่วนเทรนด์รองเท้าใหม่ ที่รองเท้าเป็นลักษณะนิ้วเท้า เพื่อให้เหมือนกับการวิ่งเท้าเปล่ามากที่สุด จากการศึกษาพบว่าไม่ได้ดีกว่าหรือทำให้เกิดการบาดเจ็บมากกว่ารองเท้ากีฬา และรองเท้าขาเพรียว ที่พื้นรองเท้าจะโค้งเหมือนท้องเรือ ใส่แล้วจะไม่มีความมั่นคง รู้สึกโยกตลอดเวลา จึงต้องใช้กล้ามเนื้อในการทรงตัวบนรองเท้าและก้าวเดินอย่างมาก จึงโฆษณาว่าทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตลอดเวลา ช่วยให้สะโพกกระชับ กล้ามเนื้อน่องเรียวเล็ก แต่จากการศึกษาพบว่ามีการใช้กล้ามเนื้อเยอะจริง แต่ไม่ถึงกับช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรงมากถึงขั้นกระชับสัดส่วน อย่างไรก็ตาม ใครที่อยากเดินแล้วออกกำลังกายไปด้วยก็สามารถเลือกรองเท้าชนิดนี้ใส่เดินได้ แต่รองเท้าลักษณะนิ้วเท้าและรองเท้าขาเพรียว ผู้สวมจะต้องไม่มีปัญหาเท้าผิดปกติ
ผศ.พญ.กุลภากล่าวว่า รองเท้ากีฬามีอายุการใช้งานไม่ควรเกิน 1 ปี เพราะจะเสื่อมลงเรื่อยๆ จากการใช้งาน เช่น โครงสร้างรองเท้าบี้หมด ไม่แข็งแรง วางรองเท้าแล้วเบี้ยว เอียง ส้นด้านในด้านนอกสึกต่างกันมากกว่า 4 มิลลิเมตร ที่สำคัญรองเท้าที่วางไว้บนชั้นเฉยๆ โดยไม่มีการใช้งานหรือแม้แต่ในร้านค้ารองเท้าก็เสื่อมสภาพลงได้ จึงไม่ควรเลือกรองเท้าที่มีอายุเกิน 1 ปี เพราะยางสามารถเสื่อมสภาพจากความร้อนได้
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่