อย. สำรวจพบแอบใส่สารดองศพ “ฟอร์มาลิน” ลงในอาหารเฉลี่ย 5% ระบุตรวจสอบยาก ชี้่อาจใส่ได้ตั้งแต่โรงงานผลิตแปรรูป ระหว่างขนส่ง และที่ร้านค้า ย้ำห้ามใส่ในอาหารเพื่อรักษาสภาพ อันตรายถึงตาย เตือนคนใช้สารเสี่ยงด้วย รับฟอร์มาลินผ่านการหายใจ ทำเซลล์สมองถูกทำลาย ชี้อีสานปัญหามากสุด
ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงกรณีพบสารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ (ฟอร์มาลิน) ในอาหาร ว่า ฟอร์มาลินมีการใช้ทั้งในระดับอุตสาหกรรม การแพทย์ และปศุสัตว์ แต่ไม่อนุญาตให้นำมาใส่อาหารเพื่อรักษาสภาพ โดยกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กำหนดเป็นวัตถุห้ามใช้ ตามประกาศกระทรวง ใน พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 หากมีการใช้จะจัดเป็นการผลิต จำหน่ายอาหารไม่บริสุทธิ์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อย่างไรก็ตาม จากการตรวจอย่างสม่ำเสมอยังพบการละเมิดกฎหมายเฉลี่ยร้อยละ 5 โดยพบว่า การใส่สารปนเปื้อนลงไปเกิดขึ้นได้จากหลายส่วน ทั้งการขนส่ง โรงงานผลิตแปรรูป และ ร้านค้า ทำให้การตรวจสอบยังทำได้ยาก ขณะนี้แหล่งที่พบส่วนใหญ่คือ ร้านค้า ซึ่ง อย. ได้เร่งตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง โดยพื้นที่ที่พบปัญหามาก คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงมีโครงการรณรงค์ให้ความรู้ผู้ค้าและประชาชน เพื่อไม่ให้เติมสารที่เป็นอันตรายลงไปในอาหาร
ภก.ประพนธ์ กล่าวว่า การควบคุมการใช้สารฟอร์มาลินมีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดย อย. จะควบคุมโดยห้ามเติมลงในอาหาร สำหรับการใช้ในทางการแพทย์จะมีความเข้มข้นต่ำ ซึ่งกำลังจะมีการยกระดับให้เป็นวัตถุห้ามใช้ระดับ 4 คือ ไม่ให้มีในครอบครองต่อไป ส่วนอาการหลังได้รับสารฟอร์มาลินผ่านการรับประทานนั้น หากได้รับในปริมาณมาก จะทำให้อาเจียน ท้องร่วง ปวดท้อง เป็นพิษต่ออวัยวะภายใน และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต หากได้รับเข้าไปผ่านการหายใจ จะทำให้เซลล์สมองถูกทำลาย นอกจากนี้ ฟอร์มาลินยังเป็นสารก่อมะเร็งเมื่อได้รับสารนี้เป็นเวลานานๆ ต่อเนื่องกัน
“ผู้ใช้สารนี้ในทางที่ผิดเองถือว่าความเสี่ยงเช่นกัน ส่วนผู้บริโภคหรือผู้รับอาหารมาขายต่อ สามารถทดสอบได้ด้วยการใช้ชุดทดสอบของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งมีราคาไม่แพงและสามารถใช้ได้หลายครั้งมาทดสอบก่อน หากพบการปนเปื้อนก็สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดหรือสายด่วน อย. ได้” รองเลขาธิการ อย. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงกรณีพบสารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ (ฟอร์มาลิน) ในอาหาร ว่า ฟอร์มาลินมีการใช้ทั้งในระดับอุตสาหกรรม การแพทย์ และปศุสัตว์ แต่ไม่อนุญาตให้นำมาใส่อาหารเพื่อรักษาสภาพ โดยกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กำหนดเป็นวัตถุห้ามใช้ ตามประกาศกระทรวง ใน พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 หากมีการใช้จะจัดเป็นการผลิต จำหน่ายอาหารไม่บริสุทธิ์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อย่างไรก็ตาม จากการตรวจอย่างสม่ำเสมอยังพบการละเมิดกฎหมายเฉลี่ยร้อยละ 5 โดยพบว่า การใส่สารปนเปื้อนลงไปเกิดขึ้นได้จากหลายส่วน ทั้งการขนส่ง โรงงานผลิตแปรรูป และ ร้านค้า ทำให้การตรวจสอบยังทำได้ยาก ขณะนี้แหล่งที่พบส่วนใหญ่คือ ร้านค้า ซึ่ง อย. ได้เร่งตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง โดยพื้นที่ที่พบปัญหามาก คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงมีโครงการรณรงค์ให้ความรู้ผู้ค้าและประชาชน เพื่อไม่ให้เติมสารที่เป็นอันตรายลงไปในอาหาร
ภก.ประพนธ์ กล่าวว่า การควบคุมการใช้สารฟอร์มาลินมีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดย อย. จะควบคุมโดยห้ามเติมลงในอาหาร สำหรับการใช้ในทางการแพทย์จะมีความเข้มข้นต่ำ ซึ่งกำลังจะมีการยกระดับให้เป็นวัตถุห้ามใช้ระดับ 4 คือ ไม่ให้มีในครอบครองต่อไป ส่วนอาการหลังได้รับสารฟอร์มาลินผ่านการรับประทานนั้น หากได้รับในปริมาณมาก จะทำให้อาเจียน ท้องร่วง ปวดท้อง เป็นพิษต่ออวัยวะภายใน และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต หากได้รับเข้าไปผ่านการหายใจ จะทำให้เซลล์สมองถูกทำลาย นอกจากนี้ ฟอร์มาลินยังเป็นสารก่อมะเร็งเมื่อได้รับสารนี้เป็นเวลานานๆ ต่อเนื่องกัน
“ผู้ใช้สารนี้ในทางที่ผิดเองถือว่าความเสี่ยงเช่นกัน ส่วนผู้บริโภคหรือผู้รับอาหารมาขายต่อ สามารถทดสอบได้ด้วยการใช้ชุดทดสอบของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งมีราคาไม่แพงและสามารถใช้ได้หลายครั้งมาทดสอบก่อน หากพบการปนเปื้อนก็สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดหรือสายด่วน อย. ได้” รองเลขาธิการ อย. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่