กสร. กำชับเจ้าหน้าที่ ดูแลแรงงานซับคอนแทรค ลูกจ้างถูกย้ายงาน แนะช่วยเหลือหลักกฎหมาย - ระเบียบที่เกี่ยวข้อง
วันนี้ (20 พ.ย.) ที่โรงแรมดิ เอมเมอรัลด์ กรุงเทพฯ นางกาญจนา เทวะศิลชัยกุล รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน กล่าวในการเป็นประธานเปิดโครงการเสริมสร้างองค์ความรู้บุคลากรด้านสวัสดิการแรงงานแบบบูรณาการโดยมีผู้บริหารและบุคลากรสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานทั่วไป ว่า ขอให้ผู้บริหารและบุคลากรสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดต่างๆ ช่วยกันดูแลในเรื่องการคุ้มครองแรงงานให้ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการต่างๆ ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เช่น มาตรา 11/1 ที่ให้การคุ้มครองสิทธิลูกจ้างรับเหมาค่าแรง (ซับคอนแทรค) โดยให้ผู้ประกอบการดำเนินการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ทำงานในลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรง ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ จะต้องพิจารณาช่วยเหลือโดยยึดตามเจตนารมณ์และหลักกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องเป็นหลัก ไม่พิจารณาโดยยึดจากความรู้สึกของตนเอง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและลูกจ้างรับเหมาค่าแรงได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการต่างๆ ที่ควรได้รับ
รองอธิบดี กสร. กล่าวอีกว่า ส่วนมาตรา 120 กรณีนายจ้างย้ายสถานประกอบการจะต้องพิจารณาว่าการย้ายสถานประกอบการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และลูกจ้างมีความเดือดร้อนหรือไม่ หากลูกจ้างเดือดร้อนมีผลกระทบต่อชีวิตตามปกติของลูกจ้าง หรือครอบครัวอย่างสำคัญ ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษก็จะต้องหาทางให้ความช่วยเหลือตามหลักกฎหมายและพิจารณาผลกระทบลูกจ้างเป็นรายๆ ไป ไม่พิจารณาจากผลกระทบของลูกจ้างโดยรวม หรือเอาเกณฑ์ข้างมากของลูกจ้าง นอกจากนี้ ขอให้ร่วมมือกันป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติดในสถานประกอบการด้วยเน้นการบำบัด รักษาและฟื้นฟู เพื่อให้กลับมาใช้ชีวิตและทำงานได้ตามปกติ ซึ่งการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดเป็นนโยบายที่รัฐบาลให้ความสำคัญอย่างมาก
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (20 พ.ย.) ที่โรงแรมดิ เอมเมอรัลด์ กรุงเทพฯ นางกาญจนา เทวะศิลชัยกุล รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน กล่าวในการเป็นประธานเปิดโครงการเสริมสร้างองค์ความรู้บุคลากรด้านสวัสดิการแรงงานแบบบูรณาการโดยมีผู้บริหารและบุคลากรสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานทั่วไป ว่า ขอให้ผู้บริหารและบุคลากรสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดต่างๆ ช่วยกันดูแลในเรื่องการคุ้มครองแรงงานให้ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการต่างๆ ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เช่น มาตรา 11/1 ที่ให้การคุ้มครองสิทธิลูกจ้างรับเหมาค่าแรง (ซับคอนแทรค) โดยให้ผู้ประกอบการดำเนินการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ทำงานในลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรง ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ จะต้องพิจารณาช่วยเหลือโดยยึดตามเจตนารมณ์และหลักกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องเป็นหลัก ไม่พิจารณาโดยยึดจากความรู้สึกของตนเอง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและลูกจ้างรับเหมาค่าแรงได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการต่างๆ ที่ควรได้รับ
รองอธิบดี กสร. กล่าวอีกว่า ส่วนมาตรา 120 กรณีนายจ้างย้ายสถานประกอบการจะต้องพิจารณาว่าการย้ายสถานประกอบการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และลูกจ้างมีความเดือดร้อนหรือไม่ หากลูกจ้างเดือดร้อนมีผลกระทบต่อชีวิตตามปกติของลูกจ้าง หรือครอบครัวอย่างสำคัญ ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษก็จะต้องหาทางให้ความช่วยเหลือตามหลักกฎหมายและพิจารณาผลกระทบลูกจ้างเป็นรายๆ ไป ไม่พิจารณาจากผลกระทบของลูกจ้างโดยรวม หรือเอาเกณฑ์ข้างมากของลูกจ้าง นอกจากนี้ ขอให้ร่วมมือกันป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติดในสถานประกอบการด้วยเน้นการบำบัด รักษาและฟื้นฟู เพื่อให้กลับมาใช้ชีวิตและทำงานได้ตามปกติ ซึ่งการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดเป็นนโยบายที่รัฐบาลให้ความสำคัญอย่างมาก
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่