สำรวจน้ำในชุมชนพบ “ฟลูออไรด์” สูงเกินมาตรฐาน 14.6% เหตุดึงน้ำบาดาลมาผลิตน้ำประปามากขึ้น ชี้ส่งผลกระทบเด็กเล็กฟันตกกระ มีผลต่อกระดูก สุดท้ายต้องทำครอบฟันราคาแพงสูงถึง 10,000 บาท แนะ อปท. ตรวจค่าฟลูออไรด์น้ำในหมู่บ้าน น้ำบริโภค ช่วยป้องกันได้ ลดค่าใช้จ่ายรักษาฟัน
ทพ.สุธา เจียรมณีโชติชัย รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า มาตรฐานปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำประปาที่มีคุณภาพดีสามารถดื่มได้ และน้ำบริโภคบรรจุขวด คือ ไม่เกิน 0.7 มิลลิกรัมต่อลิตร แต่จากการเฝ้าระวังฟลูออไรด์ในน้ำบริโภคชุมชนของกรมอนามัยตั้งแต่ปี 2550 - 2556 จาก 1,912 ตำบล ใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ รวมจำนวน 30,213 ตัวอย่าง พบว่า มีฟลูออไรด์เกินมาตรฐานร้อยละ 14.6 โดยพบว่าแหล่งน้ำของชุมชนมีปริมาณฟลูออไรด์สูงถึง 2 มิลลิกรัมต่อลิตร ถึงร้อยละ 3 ซึ่งการรับฟลูออไรด์จำนวนมากส่งผลให้เด็กมีความเสี่ยงฟันตกกระ และอาจมีผลต่อกระดูก
“ฟันตกกระเป็นความผิดปกติของฟันที่เกิดจากการได้รับฟลูออไรด์สูง ขณะที่ฟันกำลังสร้างในช่วงตั้งแต่เด็กแรกเกิดถึงอายุ 8 ปี โดยฟันตกกระจะเห็นผิวฟันมีสีขาวขุ่นเหมือนชอล์ก ในรายที่เป็นรุนแรงผิวฟันจะเห็นเป็นสีน้ำตาล เป็นหลุมหรือกะเทาะ ไม่สามารถรักษาให้หายกลับสู่ภาวะปกติได้ การแก้ปัญหาคือทำการครอบฟัน ส่วนใหญ่ต้องทำประมาณ 4 ซี่ต่อคน และมีราคาสูง 8,000 - 10,000 บาทต่อคน” รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ทพ.สุธา กล่าวว่า ที่ผ่านมา จะพบปัญหาฟันตกกระพบในเขตภาคเหนือตอนบน เช่น เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และทางตะวันตกของประเทศ เช่น กาญจนบุรี เพชรบุรี แต่ปัจจุบันมีรายงานพบฟันตกกระรุนแรงในหลายพื้นที่ในเขตภาคกลางและภาคใต้ เช่น สุพรรณบุรี นครปฐม และ สงขลา เป็นต้น ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า มีการนำน้ำบาดาลซึ่งมีฟลูออไรด์สูงกว่ามาตรฐานมาผลิตเป็นประปาชุมชน เพื่อใช้บริโภคมากขึ้น ต่างจากในอดีตที่ประชาชนบริโภคน้ำฝน น้ำบ่อตื้น หรือน้ำผิวดินจากแม่น้ำลำธาร ซึ่งมีฟลูออไรด์ต่ำ
ทพ.สุธา กล่าวว่า การป้องกันการฟันตกกระและพิษของฟลูออไรด์ กรมฯสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ส่งน้ำประปาของหมู่บ้าน หรือน้ำบริโภคในพื้นที่ตรวจหาปริมาณฟลูออไรด์ ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายไม่มากเพียงปีละครั้ง โดยค่าตรวจฟลูออไรด์ที่สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย มีราคาไม่เกิน 100 บาท หรือการตรวจคุณภาพน้ำดื่มเพื่อหาสารปนเปื้อนทุกชนิดโดยศูนย์ห้องปฏิบัติการกรมอนามัย มีค่าใช้จ่ายประมาณ 4,000 บาท เท่ากับการรักษาฟันตกกระของเด็กเพียง 1 ซี่เท่านั้น ซึ่งการตรวจเพื่อให้รู้ระดับฟลูออไรด์จะช่วยป้องกันฟันตกกระในเด็กได้ ส่วนประชาชนควรเปลี่ยนมาบริโภคน้ำที่มีฟลูออไรด์ต่ำ เช่น น้ำฝน น้ำผิวดิน หรือถ้าจำเป็นให้เลือกใช้ หรือบริโภคน้ำบรรจุขวดแทน
ทั้งนี้ กรมอนามัยจะเป็นเจ้าภาพจัดประชุมวิชาการนานาชาติ “32nd CONFERENCE OF THE INTERNATIONAL SOCIETY FOR FLUORIDE, FLUOROSIS PREVENTION: FROM RESEARCH AT THE CELLULAR LEVEL TO MITIGATION” ระหว่างวันที่ 25 - 28 พ.ย. 2557 ณ โรงแรมฮอลิเดย์อินน์ จ.เชียงใหม่ จึงขอเชิญผู้ที่ปฏิบัติงานศึกษาวิจัย เรื่องผลกระทบของฟลูออไรด์ต่อสุขภาพ ฟลูออไรด์ในสิ่งแวดล้อม และวิธีการควบคุมหรือแก้ไขปัญหาฟลูออไรด์สูงในน้ำบริโภค ผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วมประชุมได้โดยไม่มีค่าลงทะเบียน โดยติดตามรายละเอียดได้เว็บไซต์กรมอนามัย www.anamai.moph.go.th
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ทพ.สุธา เจียรมณีโชติชัย รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า มาตรฐานปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำประปาที่มีคุณภาพดีสามารถดื่มได้ และน้ำบริโภคบรรจุขวด คือ ไม่เกิน 0.7 มิลลิกรัมต่อลิตร แต่จากการเฝ้าระวังฟลูออไรด์ในน้ำบริโภคชุมชนของกรมอนามัยตั้งแต่ปี 2550 - 2556 จาก 1,912 ตำบล ใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ รวมจำนวน 30,213 ตัวอย่าง พบว่า มีฟลูออไรด์เกินมาตรฐานร้อยละ 14.6 โดยพบว่าแหล่งน้ำของชุมชนมีปริมาณฟลูออไรด์สูงถึง 2 มิลลิกรัมต่อลิตร ถึงร้อยละ 3 ซึ่งการรับฟลูออไรด์จำนวนมากส่งผลให้เด็กมีความเสี่ยงฟันตกกระ และอาจมีผลต่อกระดูก
“ฟันตกกระเป็นความผิดปกติของฟันที่เกิดจากการได้รับฟลูออไรด์สูง ขณะที่ฟันกำลังสร้างในช่วงตั้งแต่เด็กแรกเกิดถึงอายุ 8 ปี โดยฟันตกกระจะเห็นผิวฟันมีสีขาวขุ่นเหมือนชอล์ก ในรายที่เป็นรุนแรงผิวฟันจะเห็นเป็นสีน้ำตาล เป็นหลุมหรือกะเทาะ ไม่สามารถรักษาให้หายกลับสู่ภาวะปกติได้ การแก้ปัญหาคือทำการครอบฟัน ส่วนใหญ่ต้องทำประมาณ 4 ซี่ต่อคน และมีราคาสูง 8,000 - 10,000 บาทต่อคน” รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ทพ.สุธา กล่าวว่า ที่ผ่านมา จะพบปัญหาฟันตกกระพบในเขตภาคเหนือตอนบน เช่น เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และทางตะวันตกของประเทศ เช่น กาญจนบุรี เพชรบุรี แต่ปัจจุบันมีรายงานพบฟันตกกระรุนแรงในหลายพื้นที่ในเขตภาคกลางและภาคใต้ เช่น สุพรรณบุรี นครปฐม และ สงขลา เป็นต้น ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า มีการนำน้ำบาดาลซึ่งมีฟลูออไรด์สูงกว่ามาตรฐานมาผลิตเป็นประปาชุมชน เพื่อใช้บริโภคมากขึ้น ต่างจากในอดีตที่ประชาชนบริโภคน้ำฝน น้ำบ่อตื้น หรือน้ำผิวดินจากแม่น้ำลำธาร ซึ่งมีฟลูออไรด์ต่ำ
ทพ.สุธา กล่าวว่า การป้องกันการฟันตกกระและพิษของฟลูออไรด์ กรมฯสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ส่งน้ำประปาของหมู่บ้าน หรือน้ำบริโภคในพื้นที่ตรวจหาปริมาณฟลูออไรด์ ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายไม่มากเพียงปีละครั้ง โดยค่าตรวจฟลูออไรด์ที่สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย มีราคาไม่เกิน 100 บาท หรือการตรวจคุณภาพน้ำดื่มเพื่อหาสารปนเปื้อนทุกชนิดโดยศูนย์ห้องปฏิบัติการกรมอนามัย มีค่าใช้จ่ายประมาณ 4,000 บาท เท่ากับการรักษาฟันตกกระของเด็กเพียง 1 ซี่เท่านั้น ซึ่งการตรวจเพื่อให้รู้ระดับฟลูออไรด์จะช่วยป้องกันฟันตกกระในเด็กได้ ส่วนประชาชนควรเปลี่ยนมาบริโภคน้ำที่มีฟลูออไรด์ต่ำ เช่น น้ำฝน น้ำผิวดิน หรือถ้าจำเป็นให้เลือกใช้ หรือบริโภคน้ำบรรจุขวดแทน
ทั้งนี้ กรมอนามัยจะเป็นเจ้าภาพจัดประชุมวิชาการนานาชาติ “32nd CONFERENCE OF THE INTERNATIONAL SOCIETY FOR FLUORIDE, FLUOROSIS PREVENTION: FROM RESEARCH AT THE CELLULAR LEVEL TO MITIGATION” ระหว่างวันที่ 25 - 28 พ.ย. 2557 ณ โรงแรมฮอลิเดย์อินน์ จ.เชียงใหม่ จึงขอเชิญผู้ที่ปฏิบัติงานศึกษาวิจัย เรื่องผลกระทบของฟลูออไรด์ต่อสุขภาพ ฟลูออไรด์ในสิ่งแวดล้อม และวิธีการควบคุมหรือแก้ไขปัญหาฟลูออไรด์สูงในน้ำบริโภค ผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วมประชุมได้โดยไม่มีค่าลงทะเบียน โดยติดตามรายละเอียดได้เว็บไซต์กรมอนามัย www.anamai.moph.go.th
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่