ห่วงป่วยเบาหวานเจอปัญหาสุขภาพจิตเพียบ หงุดหงิดง่ายต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตการกิน เสี่ยงซึมเศร้าถึง 30% เหตุวิตกกังวลต่อโรค หวั่นเป็นภาระครอบครัว ค่าใช้จ่ายรักษา คุมเบาหวานไม่ได้ แนะคัดกรองโรคซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวาน ย้ำมีความสุขได้ทุกอย่างเริ่มที่ใจ
วันนี้ (13 พ.ย.) นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า วันที่ 14 พ.ย.ของทุกปี เป็นวันเบาหวานโลก โรคนี้เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่พบบ่อย ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเสียชีวิตมากที่สุด โดยสหพันธ์เบาหวานนานาชาติประมาณการณ์ว่า ทั่วโลกมีผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 382 ล้านคน โดยร้อยละ 46 ไม่รู้ว่าตนเองเป็นโรคเบาหวาน เนื่องจากไม่เคยได้รับการตรวจวินิจฉัยมาก่อน และคาดว่า ในอีก 20 ปีจะมีจำนวนผู้ป่วยสูงถึง 592 ล้านคน เฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ 10 ล้านคน/ปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่ร้อยละ 80 อยู่ในประเทศด้อยพัฒนาและประเทศกำลังพัฒนา อีกทั้งร้อยละ 11 ของงบประมาณด้านสาธารณสุขต้องสูญเสียไปกับการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวาน สำหรับประเทศไทยพบ ผู้ป่วยเบาหวานเข้าพักรักษาตัวใน รพ.สังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จำนวน 698,720 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 1,081.25 ต่อแสนประชากร
นพ.เจษฎากล่าวว่า ที่น่าห่วงคือผู้ป่วยเบาหวานอาจแสดงปฏิกิริยาทางใจออกได้ในหลายลักษณะ บางคนอาจเกิดการต่อต้าน ไม่ยอมรับ รู้สึกโกรธ ฉุนเฉียว หงุดหงิดง่ายที่ต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตที่คุ้นเคย หรือบางคนคิดว่าไม่เป็นไรส่งผลให้ละเลยไม่เห็นความสำคัญของการรักษาและการปฏิบัติตัวทำให้ไม่สามารถควบคุมอาการเบาหวานได้ เมื่อมีการยืนยันผลเลือดเป็นที่แน่ชัดว่าเป็นการตรวจที่ถูกต้องและผลการตรวจเป็นที่เชื่อถือได้ อาจทุเลาอาการโกรธลง แต่เปลี่ยนเป็นซึมเศร้าแทน เนื่องจากความวิตกกังวลและความกลัวเกี่ยวกับโรคที่เป็น คิดว่าตนเองเป็นภาระต่อครอบครัว กังวลเรื่องค่าใช้จ่าย กลัวควบคุมอาการเบาหวานไม่ได้ ทำให้เกิดอาการเบื่อหน่าย ท้อแท้กับโรค กินไม่ได้นอนไม่หลับ ไม่ยอมกินยา เกิดโรคแทรกซ้อนตามมามากกว่าผู้ป่วยที่มีสภาพจิตใจเป็นปกติ และพบว่าผู้ที่รู้ตัวว่าป่วยเป็นเบาหวานจะมีความเสี่ยงเกิดภาวะซึมเศร้าได้มากถึงร้อยละ 30 การคัดกรองภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานจึงมีความจำเป็น ซึ่งในโรงพยาบาลชุมชนได้จัดให้มีบริการคัดกรองโรคซึมเศร้าเช่นกัน
“การป้องกันโรคเบาหวานจึงเท่ากับป้องกันภาวะซึมเศร้า ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยเริ่มต้นที่ใจ เพราะหากท้อแท้ไม่ยอมช่วยเหลือตนเองหรือไม่ให้ความร่วมมือกับแพทย์ในการรักษาก็ยากที่จะอยู่กับเบาหวานได้อย่างมีความสุข เทคนิคง่ายๆ คือ กำหนดเป้าหมาย ลดพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ดีและเพิ่มพฤติกรรมที่ดี เช่น ตั้งเป้าหมายที่จะออกกำลังกายวันละครึ่งชั่วโมง 3 วัน/สัปดาห์ เพื่อลดน้ำหนักให้ได้ เชื่อมั่นในตนเองพยายามทำจนกลายเป็นนิสัย ใส่ใจเรื่องอารมณ์ คลายเครียดอย่างเหมาะสม ผ่อนคลายความกลัวและความวิตกกังวลลงให้ได้ เข้าใจว่าโรคไม่ได้น่ากลัวเสมอไป หากดูแลตัวเองให้ดี ที่สำคัญ ชื่นชมและให้กำลังใจตัวเอง*เพื่อให้มีพลังใจที่จะสู้กับโรค ทั้งนี้ สามารถขอรับบริการปรึกษาได้ที่สายด่วนสุขภาพจิต 1323 และศูนย์ให้คำปรึกษาคุณภาพ ซึ่งเป็นหน่วยบริการสาธารณสุขที่จัดให้บริการดูแลช่วยเหลือทางสังคมจิตใจทุกกลุ่มวัยที่ครอบคลุมถึงปัญหาโรคเรื้อรัง” อธิบดีกรมสุขภาพจิตกล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (13 พ.ย.) นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า วันที่ 14 พ.ย.ของทุกปี เป็นวันเบาหวานโลก โรคนี้เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่พบบ่อย ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเสียชีวิตมากที่สุด โดยสหพันธ์เบาหวานนานาชาติประมาณการณ์ว่า ทั่วโลกมีผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 382 ล้านคน โดยร้อยละ 46 ไม่รู้ว่าตนเองเป็นโรคเบาหวาน เนื่องจากไม่เคยได้รับการตรวจวินิจฉัยมาก่อน และคาดว่า ในอีก 20 ปีจะมีจำนวนผู้ป่วยสูงถึง 592 ล้านคน เฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ 10 ล้านคน/ปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่ร้อยละ 80 อยู่ในประเทศด้อยพัฒนาและประเทศกำลังพัฒนา อีกทั้งร้อยละ 11 ของงบประมาณด้านสาธารณสุขต้องสูญเสียไปกับการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวาน สำหรับประเทศไทยพบ ผู้ป่วยเบาหวานเข้าพักรักษาตัวใน รพ.สังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จำนวน 698,720 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 1,081.25 ต่อแสนประชากร
นพ.เจษฎากล่าวว่า ที่น่าห่วงคือผู้ป่วยเบาหวานอาจแสดงปฏิกิริยาทางใจออกได้ในหลายลักษณะ บางคนอาจเกิดการต่อต้าน ไม่ยอมรับ รู้สึกโกรธ ฉุนเฉียว หงุดหงิดง่ายที่ต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตที่คุ้นเคย หรือบางคนคิดว่าไม่เป็นไรส่งผลให้ละเลยไม่เห็นความสำคัญของการรักษาและการปฏิบัติตัวทำให้ไม่สามารถควบคุมอาการเบาหวานได้ เมื่อมีการยืนยันผลเลือดเป็นที่แน่ชัดว่าเป็นการตรวจที่ถูกต้องและผลการตรวจเป็นที่เชื่อถือได้ อาจทุเลาอาการโกรธลง แต่เปลี่ยนเป็นซึมเศร้าแทน เนื่องจากความวิตกกังวลและความกลัวเกี่ยวกับโรคที่เป็น คิดว่าตนเองเป็นภาระต่อครอบครัว กังวลเรื่องค่าใช้จ่าย กลัวควบคุมอาการเบาหวานไม่ได้ ทำให้เกิดอาการเบื่อหน่าย ท้อแท้กับโรค กินไม่ได้นอนไม่หลับ ไม่ยอมกินยา เกิดโรคแทรกซ้อนตามมามากกว่าผู้ป่วยที่มีสภาพจิตใจเป็นปกติ และพบว่าผู้ที่รู้ตัวว่าป่วยเป็นเบาหวานจะมีความเสี่ยงเกิดภาวะซึมเศร้าได้มากถึงร้อยละ 30 การคัดกรองภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานจึงมีความจำเป็น ซึ่งในโรงพยาบาลชุมชนได้จัดให้มีบริการคัดกรองโรคซึมเศร้าเช่นกัน
“การป้องกันโรคเบาหวานจึงเท่ากับป้องกันภาวะซึมเศร้า ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยเริ่มต้นที่ใจ เพราะหากท้อแท้ไม่ยอมช่วยเหลือตนเองหรือไม่ให้ความร่วมมือกับแพทย์ในการรักษาก็ยากที่จะอยู่กับเบาหวานได้อย่างมีความสุข เทคนิคง่ายๆ คือ กำหนดเป้าหมาย ลดพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ดีและเพิ่มพฤติกรรมที่ดี เช่น ตั้งเป้าหมายที่จะออกกำลังกายวันละครึ่งชั่วโมง 3 วัน/สัปดาห์ เพื่อลดน้ำหนักให้ได้ เชื่อมั่นในตนเองพยายามทำจนกลายเป็นนิสัย ใส่ใจเรื่องอารมณ์ คลายเครียดอย่างเหมาะสม ผ่อนคลายความกลัวและความวิตกกังวลลงให้ได้ เข้าใจว่าโรคไม่ได้น่ากลัวเสมอไป หากดูแลตัวเองให้ดี ที่สำคัญ ชื่นชมและให้กำลังใจตัวเอง*เพื่อให้มีพลังใจที่จะสู้กับโรค ทั้งนี้ สามารถขอรับบริการปรึกษาได้ที่สายด่วนสุขภาพจิต 1323 และศูนย์ให้คำปรึกษาคุณภาพ ซึ่งเป็นหน่วยบริการสาธารณสุขที่จัดให้บริการดูแลช่วยเหลือทางสังคมจิตใจทุกกลุ่มวัยที่ครอบคลุมถึงปัญหาโรคเรื้อรัง” อธิบดีกรมสุขภาพจิตกล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่