กพย.ห่วงเชื้อดื้อยาจากการอนุญาตให้ใช้ยาปฏิชีวนะในภาคเกษตร ทั้งรักษาโรคพืช ผสมอาหารสัตว์เพื่อป้องกันโรค ไม่เกิน 15% จวกให้ปริมาณน้อยไม่ช่วยฆ่าเชื้อ แต่ทำเชื้อดื้อยา พร้อมแฉ! เมืองกรุงเก่าใช้ยาปฏิชีวนะรักษาวัณโรคในไก่ชน ห่วงดื้อยากระทบคนป่วยวัณโรคในไทยจำนวนมาก
วันนี้ (12 พ.ย.) ผศ.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) กล่าวว่า สถานการณ์เชื้อดื้อยาปฏิชีวนะนั้น นอกจากการกินยาปฏิชีวนะโดยตรงแล้ว ยังพบว่าการนำยาปฏิชีวนะมาใช้ในภาคการเกษตร อย่างการนำมารักษาโรคพืชหรือผสมลงในอาหารสัตว์ ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เชื้อดื้อยาในไทยเพิ่มมากขึ้น โดยขณะนี้พบว่ามีประกาศอย่างเป็นทางการให้สามารถใช้ยาปฏิชีวนะหลายตัวได้ในภาคการเกษตร เพื่อรักษาโรคพืชในอัตราส่วนไม่เกิน 15% และไม่ถือว่าเป็นยา ซึ่งจากการสำรวจพบว่ามีการใช้ในสวนส้มแล้ว ซึ่งถือว่าน่าเป็นห่วงเพราะตัวยาจลงสู่ธรรมชาติ ทั้งน้ำและดิน ขณะที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ก็มีประกาศให้ใช้ยาปฏิชีวนะหลายๆ ตัวเป็นส่วนผสมในอาหารสัตว์ โดยไม่ถือว่าเป็นยาเช่นเดียวกัน
ผศ.ภญ.นิยดา กล่าวว่า ผลการวิจัยของ รพ.ศิริราช เห็นชัดเจนว่า ในเนื้อไก่สำเร็จรูปตามซูเปอร์มาร์เก็ตมีเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ ส่วนการเฝ้าระวังล่าสุดของเครือข่าย กพย. ก็พบว่ามีการใช้ยาปฏิชีวนะกลุ่มที่รักษาโรควัณโรคไปใช้ในไก่ชนจำนวนมากที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ตรงนี้ถือเป็นเรื่องอันตรายเพราะก่อให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยาลามหลายพื้นที่ ซึ่งผู้ป่วยวัณโรคในไทยถือว่ามีจำนวนมาก หากเกิดภาวะวัณโรคดื้อยาปฏิชีวนะถือว่าเป็นเรื่องใหญ่มาก ขณะที่ยาสามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายของชำ ซึ่งความจริงไม่ควรหาซื้อได้ง่ายเช่นนี้ เพราะฉะนั้นจะต้องรณรงค์ต่อไปว่าห้ามจำหน่ายยาปฏิชีวนะในร้านขายของชำด้วย
“ก่อนหน้านี้เคยทักท้วงเรื่องการผสมยาปฏิชีวนะในอาหารสัตว์ไปแล้ว แต่สุดท้ายห้ามเพียงนำไปผสมเพื่อช่วยเรื่องการเจริญเติบโตของสัตว์ แต่อนุญาตให้ใช้เพื่อป้องกันโรคในสัตว์ได้ ก็เท่ากับว่าไม่มีการห้ามอะไรเลย และยังบอกว่ายาปฏิชีวนะจะไม่ตกค้าง ทั้งที่การให้ยาปฏิชีวนะกับสัตว์ปริมาณน้อยๆ ไม่ได้ช่วยฆ่าเชื้อ แต่ไปทำให้เชื้อต่อต้านและกลายพันธุ์ตั้งแต่ตอนนั้น จึงอยากให้มีการควบคุมตรงนี้ หรือห้ามใช้ได้จะดีมาก” ผู้จัดการ กพย. กล่าวและว่า ในวันที่ 18 พ.ย.นี้ จะมีการประชุมร่วมกับนักวิชาการหลายๆ ประเทศ อาทิ ลาว เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และสิงคโปร์ เพื่อสร้างเครือข่ายการเฝ้าระวังภาวะเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะร่วมกัน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (12 พ.ย.) ผศ.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) กล่าวว่า สถานการณ์เชื้อดื้อยาปฏิชีวนะนั้น นอกจากการกินยาปฏิชีวนะโดยตรงแล้ว ยังพบว่าการนำยาปฏิชีวนะมาใช้ในภาคการเกษตร อย่างการนำมารักษาโรคพืชหรือผสมลงในอาหารสัตว์ ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เชื้อดื้อยาในไทยเพิ่มมากขึ้น โดยขณะนี้พบว่ามีประกาศอย่างเป็นทางการให้สามารถใช้ยาปฏิชีวนะหลายตัวได้ในภาคการเกษตร เพื่อรักษาโรคพืชในอัตราส่วนไม่เกิน 15% และไม่ถือว่าเป็นยา ซึ่งจากการสำรวจพบว่ามีการใช้ในสวนส้มแล้ว ซึ่งถือว่าน่าเป็นห่วงเพราะตัวยาจลงสู่ธรรมชาติ ทั้งน้ำและดิน ขณะที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ก็มีประกาศให้ใช้ยาปฏิชีวนะหลายๆ ตัวเป็นส่วนผสมในอาหารสัตว์ โดยไม่ถือว่าเป็นยาเช่นเดียวกัน
ผศ.ภญ.นิยดา กล่าวว่า ผลการวิจัยของ รพ.ศิริราช เห็นชัดเจนว่า ในเนื้อไก่สำเร็จรูปตามซูเปอร์มาร์เก็ตมีเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ ส่วนการเฝ้าระวังล่าสุดของเครือข่าย กพย. ก็พบว่ามีการใช้ยาปฏิชีวนะกลุ่มที่รักษาโรควัณโรคไปใช้ในไก่ชนจำนวนมากที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ตรงนี้ถือเป็นเรื่องอันตรายเพราะก่อให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยาลามหลายพื้นที่ ซึ่งผู้ป่วยวัณโรคในไทยถือว่ามีจำนวนมาก หากเกิดภาวะวัณโรคดื้อยาปฏิชีวนะถือว่าเป็นเรื่องใหญ่มาก ขณะที่ยาสามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายของชำ ซึ่งความจริงไม่ควรหาซื้อได้ง่ายเช่นนี้ เพราะฉะนั้นจะต้องรณรงค์ต่อไปว่าห้ามจำหน่ายยาปฏิชีวนะในร้านขายของชำด้วย
“ก่อนหน้านี้เคยทักท้วงเรื่องการผสมยาปฏิชีวนะในอาหารสัตว์ไปแล้ว แต่สุดท้ายห้ามเพียงนำไปผสมเพื่อช่วยเรื่องการเจริญเติบโตของสัตว์ แต่อนุญาตให้ใช้เพื่อป้องกันโรคในสัตว์ได้ ก็เท่ากับว่าไม่มีการห้ามอะไรเลย และยังบอกว่ายาปฏิชีวนะจะไม่ตกค้าง ทั้งที่การให้ยาปฏิชีวนะกับสัตว์ปริมาณน้อยๆ ไม่ได้ช่วยฆ่าเชื้อ แต่ไปทำให้เชื้อต่อต้านและกลายพันธุ์ตั้งแต่ตอนนั้น จึงอยากให้มีการควบคุมตรงนี้ หรือห้ามใช้ได้จะดีมาก” ผู้จัดการ กพย. กล่าวและว่า ในวันที่ 18 พ.ย.นี้ จะมีการประชุมร่วมกับนักวิชาการหลายๆ ประเทศ อาทิ ลาว เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และสิงคโปร์ เพื่อสร้างเครือข่ายการเฝ้าระวังภาวะเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะร่วมกัน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่