โดย...สิรวุฒิ รวีไชยวัฒน์
ปัญหาหนึ่งของยาต้านจุลชีพหรือยาปฏิชีวนะคือ การใช้อย่างไม่เหมาะสม ไม่สมเหตุสมผล จนนำไปสู่ปัญหาเชื้อดื้อยาตามภายหลัง ซึ่งนับเป็นผลเสียต่อผู้ป่วย เพราะเมื่อเชื้อดื้อยาแล้วก็จำเป็นที่จะต้องเพิ่มขนาดยา หรืออาจถึงขั้นต้องเปลี่ยนยาใหม่ในการรักษา แต่ การวิจัยยาใหม่ๆ ออกมานั้นก็มีเพียงน้อยนิดเท่านั้น
สาเหตุหนึ่งของเชื้อดื้อยานั้น คงต้องยอมรับว่ามาจากประชาชนด้วยที่ “กินยาไม่เหมาะสม” เช่น กินยาไม่ครบจำนวนตามที่แพทย์สั่ง หยุดยาเองเพราะคิดว่าหายดีแล้ว ซื้อยามากินพร่ำเพรื่อโดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้ เรียกได้ว่าเป็นเรื่องที่ต้องปลูกฝังจิตสำนึกในการใช้ยา และต้องวินัยในการกินยาให้ได้ เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้
ที่น่าเป็นห่วงคือมีการเผยแพร่ข้อมูลวิธีการกินยาปฏิชีวนะในอินเทอร์เน็ตและสังคมออนไลน์ ซึ่งหากไม่พิจารณาหรือค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม ก็อาจหลงเชื่อได้ จนนำมาสู่ผลเสียได้ ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือ ข้อมูลเรื่องอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงก่อนกินยาปฏิชีวนะ ซึ่งมีทั้งแอลกอฮอล์ น้ำเชื่อม ผลิตภัณฑ์จากนมวัว อาหารที่มีไฟเบอร์สูง อาหารที่มีความเป็นกรดสูง หรือแม้กระทั่งอาหารหนัก โดยส่วนใหญ่จะให้เหตุผลว่าจะเข้าไปขัดขวางการดูดซึมยา ทำให้ประสิทธิภาพการรักษาลดลง
ทั้งที่จริงแล้ว ข้อมูลเหล่านี้ เป็นความจริงแค่ครึ่งเดียวเท่านั้น!!
ผศ.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) อธิบายว่า ข้อมูลเหล่านี้ส่วนใหญ่บอกไม่หมด ทำให้คนเข้าใจผิดได้ ซึ่งจริงๆ แล้วพื้นฐานของการกินยาเลย คือต้องกินยาตามที่แพทย์สั่ง ซึ่งจะกำหนดมาเลยว่ายาตัวไหนต้องกินก่อนหรือกินหลังอาหาร ระยะเวลาเท่าไร เพราะยาบางตัวมีคุณสมบัติ มีฤทธิ์ต่างกัน ดังนั้น การตีขลุมว่าไม่ควรกินอาหารเหล่านี้ทั้งหมดก่อนกินยาปฏิชีวนะเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง
“ อย่างกรณีห้ามกินกับนมวัว ก็มียาปฏิชีวนะที่ชื่อ เตตราไซคลีน (Tetracycline) เป็นยาปฏิชีวนะระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย รักษาโรคติดเชื้อในท่อทางเดินปัสสาวะรักษาลำไส้อักเสบ หลอดลมอักเสบ รักษาโรคบิดมีเชื้อ รักษาแผล ฝี หนอง อาการอักเสบต่าง ๆ เนื่องจากการติดเชื้อ เนื่องจากนมมีแคลเซียมสูง ทำให้ยาจับตัวเป็นก้อนและขัดขวางการดูดซึม แต่ก็ไม่ใช่ยาปฏิชีวนะทุกตัวที่ห้ามกินกับนม ”
ผศ.ภญ.นิยดา กล่าวว่า ส่วนอาหารที่มีไฟเบอร์สูง อาหารที่มีความเป็นกรดสูง หรืออาหารหนักที่บอกว่าห้ามกินก่อนกินยาปฏิชีวนะ ก็ไม่สามารถใช้หลักเกณฑ์นี้ได้กับยาปฏิชีวนะทุกตัว เพราะยาปฏิชีวนะมีทั้งที่กินก่อนอาหารและหลังอาหาร หากเป็นยาที่ต้องกินหลังอาหาร การจะกินอาหารที่มีไฟเบอร์สูง มีกรดสูงหรืออาหารหนักก็ล้วนไม่เป็นผล เพราะเป็นยาที่ต้องกินทันทีหลังอาหาร อย่างยาบางตัวกินแล้วกัดกระเพาะก็ต้องมากินหลังอาหารทันทีหรือไม่เกิน 15 นาที เพราะอาหารจะช่วยลดการกัดกระเพาะได้ หรือยาบางตัวสามารถดูดซึมได้ดีจากกรดในกระเพาะอาหาร
ส่วนพวกยาที่ต้องกินก่อนอาหารก็จะระบุเวลาไว้ชัดเจนว่าควรกินก่อนกี่นาที อย่างเช่น กินก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง นั่นหมายถึงควรกินตอนท้องว่าง มิเช่นนั้น ยาอาจถูกทำลายเมื่อพบกับกรดปริมาณมากในกระเพาะที่หลั่งออกมามากหลังอาหาร หรืออาหารไปขวางการดูดซึม ดังนั้น หากลืมกินยาห้ามกินทันทีก่อนกินอาหาร เพราะจะไม่ต่างอะไรกับการกินยาหลังอาหารเลย ควรกินยาอีกทีหลังท้องว่างนั่นคือประมาณ 2 ชั่วโมงหลังจากกินอาหารเสร็จแล้ว
“ หลักเกณฑ์ในการกินยาปฏิชีวนะตามที่เผยแพร่ในอินเทอร์เน็ตบางครั้งจึงเชื่อไม่ได้ทั้งหมด ขอให้พิจารณาให้ดี ที่สำคัญคือผู้บริโภคสมัยอย่างเราต้องกล้าพูด กล้าถาม เพราะเป็นสิทธิของเรา หากไม่มั่นใจในการกินยาตัวไหนให้ปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรได้เลย ซึ่งจะได้รับคำแนะนำในการกินยาที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุด ที่สำคัญคือกินยาปฏิชีวนะเหล่านี้แล้วขอให้มีวินัยในการกินยา อย่ากินแล้วก็หยุดยาเองหรือกินไม่ต่อเนื่อง เพราะสุดท้ายจะทำให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยาขึ้นในที่สุดได้ แม้แต่ยาอื่นๆ ที่ไม่ใช่ยาปฏิชีวนะที่ไม่ก่อปัญหาเชื้อดื้อยา ก็ควรกินให้ครบตามแพทย์สั่งเช่นกัน เพื่อสร้างความมีวินัยในการกินยาให้ตัวเอง ” ผู้จัดการ กพย. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ปัญหาหนึ่งของยาต้านจุลชีพหรือยาปฏิชีวนะคือ การใช้อย่างไม่เหมาะสม ไม่สมเหตุสมผล จนนำไปสู่ปัญหาเชื้อดื้อยาตามภายหลัง ซึ่งนับเป็นผลเสียต่อผู้ป่วย เพราะเมื่อเชื้อดื้อยาแล้วก็จำเป็นที่จะต้องเพิ่มขนาดยา หรืออาจถึงขั้นต้องเปลี่ยนยาใหม่ในการรักษา แต่ การวิจัยยาใหม่ๆ ออกมานั้นก็มีเพียงน้อยนิดเท่านั้น
สาเหตุหนึ่งของเชื้อดื้อยานั้น คงต้องยอมรับว่ามาจากประชาชนด้วยที่ “กินยาไม่เหมาะสม” เช่น กินยาไม่ครบจำนวนตามที่แพทย์สั่ง หยุดยาเองเพราะคิดว่าหายดีแล้ว ซื้อยามากินพร่ำเพรื่อโดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้ เรียกได้ว่าเป็นเรื่องที่ต้องปลูกฝังจิตสำนึกในการใช้ยา และต้องวินัยในการกินยาให้ได้ เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้
ที่น่าเป็นห่วงคือมีการเผยแพร่ข้อมูลวิธีการกินยาปฏิชีวนะในอินเทอร์เน็ตและสังคมออนไลน์ ซึ่งหากไม่พิจารณาหรือค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม ก็อาจหลงเชื่อได้ จนนำมาสู่ผลเสียได้ ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือ ข้อมูลเรื่องอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงก่อนกินยาปฏิชีวนะ ซึ่งมีทั้งแอลกอฮอล์ น้ำเชื่อม ผลิตภัณฑ์จากนมวัว อาหารที่มีไฟเบอร์สูง อาหารที่มีความเป็นกรดสูง หรือแม้กระทั่งอาหารหนัก โดยส่วนใหญ่จะให้เหตุผลว่าจะเข้าไปขัดขวางการดูดซึมยา ทำให้ประสิทธิภาพการรักษาลดลง
ทั้งที่จริงแล้ว ข้อมูลเหล่านี้ เป็นความจริงแค่ครึ่งเดียวเท่านั้น!!
ผศ.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) อธิบายว่า ข้อมูลเหล่านี้ส่วนใหญ่บอกไม่หมด ทำให้คนเข้าใจผิดได้ ซึ่งจริงๆ แล้วพื้นฐานของการกินยาเลย คือต้องกินยาตามที่แพทย์สั่ง ซึ่งจะกำหนดมาเลยว่ายาตัวไหนต้องกินก่อนหรือกินหลังอาหาร ระยะเวลาเท่าไร เพราะยาบางตัวมีคุณสมบัติ มีฤทธิ์ต่างกัน ดังนั้น การตีขลุมว่าไม่ควรกินอาหารเหล่านี้ทั้งหมดก่อนกินยาปฏิชีวนะเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง
“ อย่างกรณีห้ามกินกับนมวัว ก็มียาปฏิชีวนะที่ชื่อ เตตราไซคลีน (Tetracycline) เป็นยาปฏิชีวนะระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย รักษาโรคติดเชื้อในท่อทางเดินปัสสาวะรักษาลำไส้อักเสบ หลอดลมอักเสบ รักษาโรคบิดมีเชื้อ รักษาแผล ฝี หนอง อาการอักเสบต่าง ๆ เนื่องจากการติดเชื้อ เนื่องจากนมมีแคลเซียมสูง ทำให้ยาจับตัวเป็นก้อนและขัดขวางการดูดซึม แต่ก็ไม่ใช่ยาปฏิชีวนะทุกตัวที่ห้ามกินกับนม ”
ผศ.ภญ.นิยดา กล่าวว่า ส่วนอาหารที่มีไฟเบอร์สูง อาหารที่มีความเป็นกรดสูง หรืออาหารหนักที่บอกว่าห้ามกินก่อนกินยาปฏิชีวนะ ก็ไม่สามารถใช้หลักเกณฑ์นี้ได้กับยาปฏิชีวนะทุกตัว เพราะยาปฏิชีวนะมีทั้งที่กินก่อนอาหารและหลังอาหาร หากเป็นยาที่ต้องกินหลังอาหาร การจะกินอาหารที่มีไฟเบอร์สูง มีกรดสูงหรืออาหารหนักก็ล้วนไม่เป็นผล เพราะเป็นยาที่ต้องกินทันทีหลังอาหาร อย่างยาบางตัวกินแล้วกัดกระเพาะก็ต้องมากินหลังอาหารทันทีหรือไม่เกิน 15 นาที เพราะอาหารจะช่วยลดการกัดกระเพาะได้ หรือยาบางตัวสามารถดูดซึมได้ดีจากกรดในกระเพาะอาหาร
ส่วนพวกยาที่ต้องกินก่อนอาหารก็จะระบุเวลาไว้ชัดเจนว่าควรกินก่อนกี่นาที อย่างเช่น กินก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง นั่นหมายถึงควรกินตอนท้องว่าง มิเช่นนั้น ยาอาจถูกทำลายเมื่อพบกับกรดปริมาณมากในกระเพาะที่หลั่งออกมามากหลังอาหาร หรืออาหารไปขวางการดูดซึม ดังนั้น หากลืมกินยาห้ามกินทันทีก่อนกินอาหาร เพราะจะไม่ต่างอะไรกับการกินยาหลังอาหารเลย ควรกินยาอีกทีหลังท้องว่างนั่นคือประมาณ 2 ชั่วโมงหลังจากกินอาหารเสร็จแล้ว
“ หลักเกณฑ์ในการกินยาปฏิชีวนะตามที่เผยแพร่ในอินเทอร์เน็ตบางครั้งจึงเชื่อไม่ได้ทั้งหมด ขอให้พิจารณาให้ดี ที่สำคัญคือผู้บริโภคสมัยอย่างเราต้องกล้าพูด กล้าถาม เพราะเป็นสิทธิของเรา หากไม่มั่นใจในการกินยาตัวไหนให้ปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรได้เลย ซึ่งจะได้รับคำแนะนำในการกินยาที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุด ที่สำคัญคือกินยาปฏิชีวนะเหล่านี้แล้วขอให้มีวินัยในการกินยา อย่ากินแล้วก็หยุดยาเองหรือกินไม่ต่อเนื่อง เพราะสุดท้ายจะทำให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยาขึ้นในที่สุดได้ แม้แต่ยาอื่นๆ ที่ไม่ใช่ยาปฏิชีวนะที่ไม่ก่อปัญหาเชื้อดื้อยา ก็ควรกินให้ครบตามแพทย์สั่งเช่นกัน เพื่อสร้างความมีวินัยในการกินยาให้ตัวเอง ” ผู้จัดการ กพย. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่