อึ้ง! หมอใช้เวลาตรวจคนไข้นอกวันละ 100-200 คน ภายใน 3 ชั่วโมง ส่งผลมีเวลาคุยผู้ป่วยบางรายแค่คนละ 1 นาที ชี้ภาระงานมาก เสี่ยงขัดแย้งผู้ป่วย แพทยสภาแนะ รพ.สังกัด สธ.ปรับบริหารจัดการเวลาทำงานเหมาะสมภาระงาน ชี้ต้องเพิ่มบุคลากร พ่วงมีตำแหน่งรองรับ
พล.อ.ต.นพ.อิทธพร คณะเจริญ รองเลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า ในการปฏิรูประบบสุขภาพนั้น ที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ การปฏิรูปกำลังคนด้านสุขภาพ โดยเฉพาะภาครัฐต้องให้มีบุคลากรทางด้านสาธารณสุขพอเพียงต่อการให้บริการประชาชน เพราะที่ผ่านมามีจำนวนจำกัด แต่ต้องให้บริการผู้ป่วยจำนวนมาก ทำให้มีภาระงานมากจนน่าเห็นใจ โดยพบว่าแพทย์ที่ตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยนอกทั่วไปทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชนรวมประมาณ 240 ล้านครั้งต่อปี แบ่งเป็นแพทย์ที่ตรวจคนไข้ใน 3 กองทุนสุขภาพภาครัฐประมาณ 200 ล้านครั้งต่อปี เป็นระบบบัตรทองถึง 160-180 ล้านครั้ง ส่วนอีก 40 ล้านครั้งเป็นแพทย์ในโรงพยาบาลเอกชน ขณะที่การออกตรวจคนไข้นอก 1 ครั้งในสถานพยาบาลรัฐคือช่วงเช้าถึงเที่ยง หรือจำนวน 180 นาที พบว่า แพทย์ 1 คนต้องตรวจวินิจฉัยคนไข้สูงถึง 100-200 คน เท่ากับว่าทำให้มีเวลาในการพูดคุยสื่อสารทำความเข้าใจกับคนไข้บางรายเพียงคนละ 1 นาทีเท่านั้น เกิดโอกาสเสี่ยงที่จะเข้าใจไม่ตรงกัน ซักถามกันได้ไม่พอ
พล.อ.ต.นพ.อิทธพรกล่าวว่า ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีการบริหารจัดการเวลาที่เรียกว่า Working Time Directive คือเวลาการทำงานของแพทย์ที่เหมาะสมกับภาระงาน เช่น ตรวจวินิจฉัยคนไข้แต่ละคนอย่างเหมาะสม อย่างแพทย์ที่โรงเรียนแพทย์ออกตรวจคนไข้วันละประมาณ 30 คนต่อการออกตรวจ 1 ครั้ง แต่แพทย์โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัด อาจให้แพทย์แต่ละคนตรวจคนไข้เท่าที่ตนเองทำได้โดยมีคุณภาพ โดยเพิ่มแพทย์และลดความเจ็บป่วย ก็จะมีเวลาในการสื่อสารกับคนไข้มากขึ้น คุณภาพการรักษาก็จะดียิ่งขึ้น ความสัมพันธ์หมอและคนไข้ก็จะดีขึ้นด้วย แต่ต้องระวังให้ไม่กระทบสิทธิผู้ป่วยเสียโอกาสในการเข้าถึงหรือรอคิวจนนานเกินไป
"การจะบริหารเวลาการดูแลรักษาผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้นนั้น สิ่งสำคัญคือจะต้องมีบุคลากรที่เพียงพอ ซึ่งปัจจุบันแพทย์ใน สธ.มีประมาณ 13,500 คน จากแพทย์ทั้งประเทศ 47,000 คน โดยในปี 2558 จะมีแพทย์จบใหม่อีก 2,600 คน โดยทั่วไปจะบรรจุในโรงพยาบาลสังกัด สธ.ประมาณ 2,000 คน ขณะที่โรงพยาบาลในสังกัดมีกว่า 840 แห่งทั่วประเทศ แม้แพทย์จบใหม่ในปีแรกจะอยู่โรงพยาบาลขนาดใหญ่ แต่จะกระจายลงในโรงพยาบาลขนาดเล็กในปีที่ 2-3 และส่วนหนึ่งกลับไปเรียนต่อ จะส่งผลให้มีแพทย์เพิ่มในรพ.แต่ละแห่งที่ขาดได้อีกถึง 2-3 คน/ปี ก็จะช่วยให้ระบบการรักษาบริการดีขึ้นได้ ปัญหาคือ จะต้องมีตำแหน่งรองรับด้วย ที่ผ่านมาทุกปีมักจะเกิดปัญหาขาดตำแหน่ง ด้วยเหตุที่ สธ.ยังอยู่ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และต้องขออัตราทั้งแพทย์ พยาบาล และสาธารณสุขอื่นๆ ทุกปี ซึ่งเป็นทั้งจุดที่ต้องปรับปรุงให้คล่องตัวตามความเป็นจริง" พล.อ.ต.นพ.อิทธพร กล่าว
พล.อ.ต.นพ.อิทธพรกล่าวว่า การพิจารณาออกนอกระบบ ก.พ.จึงจำเป็นหากเกิดประโยชน์มากกว่า และเร่งสร้างขวัญกำลังใจต่อผู้ปฏิบัติงาน แต่หากการบรรจุข้าราชการทำได้ทั้งหมดที่จำเป็น ทั้งแพทย์และพยาบาล โดยเฉพาะพยาบาลไม่ต้องไปเป็นลูกจ้างชั่วคราวเช่นที่เกิดขึ้นในหลายโรงพยาบาลรัฐ ย่อมดีที่สุด ดังนั้น การปฏิรูประบบสาธารณสุขครั้งนี้จึงควรให้ความสำคัญกับบุคลากรเป็นลำดับแรกโดยขอให้สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) พิจารณานำปัญหาเรื่องบุคลากรทางการแพทย์ พยาบาล เภสัชกร ทันตแพทย์ ฯลฯ ในภาครัฐเป็นเรื่องด่วนลำดับต้นๆ เพราะหากมีจำนวนในภาครัฐเพียงพอกับภาระงาน มี working time directive ที่เหมาะสม ไม่อยู่เวรซ้อนยาวนาน ไม่มีงานเกินกำลัง มีคุณภาพชีวิตที่ดี สุดท้ายผลดีคือการดูแลคนไข้ย่อมทำได้อย่างมีทั้งคุณภาพ และประสิทธิภาพ นำไปสู่การลดปัญหาความไม่เข้าใจกันระหว่างบุคลากรทางการแพทย์และคนไข้ได้ ทั้งนี้จะนำเสนอผ่าน กรรมาธิการ สาธารณสุข ของสภาปฏิรูปแห่งชาติต่อไป
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
พล.อ.ต.นพ.อิทธพร คณะเจริญ รองเลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า ในการปฏิรูประบบสุขภาพนั้น ที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ การปฏิรูปกำลังคนด้านสุขภาพ โดยเฉพาะภาครัฐต้องให้มีบุคลากรทางด้านสาธารณสุขพอเพียงต่อการให้บริการประชาชน เพราะที่ผ่านมามีจำนวนจำกัด แต่ต้องให้บริการผู้ป่วยจำนวนมาก ทำให้มีภาระงานมากจนน่าเห็นใจ โดยพบว่าแพทย์ที่ตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยนอกทั่วไปทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชนรวมประมาณ 240 ล้านครั้งต่อปี แบ่งเป็นแพทย์ที่ตรวจคนไข้ใน 3 กองทุนสุขภาพภาครัฐประมาณ 200 ล้านครั้งต่อปี เป็นระบบบัตรทองถึง 160-180 ล้านครั้ง ส่วนอีก 40 ล้านครั้งเป็นแพทย์ในโรงพยาบาลเอกชน ขณะที่การออกตรวจคนไข้นอก 1 ครั้งในสถานพยาบาลรัฐคือช่วงเช้าถึงเที่ยง หรือจำนวน 180 นาที พบว่า แพทย์ 1 คนต้องตรวจวินิจฉัยคนไข้สูงถึง 100-200 คน เท่ากับว่าทำให้มีเวลาในการพูดคุยสื่อสารทำความเข้าใจกับคนไข้บางรายเพียงคนละ 1 นาทีเท่านั้น เกิดโอกาสเสี่ยงที่จะเข้าใจไม่ตรงกัน ซักถามกันได้ไม่พอ
พล.อ.ต.นพ.อิทธพรกล่าวว่า ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีการบริหารจัดการเวลาที่เรียกว่า Working Time Directive คือเวลาการทำงานของแพทย์ที่เหมาะสมกับภาระงาน เช่น ตรวจวินิจฉัยคนไข้แต่ละคนอย่างเหมาะสม อย่างแพทย์ที่โรงเรียนแพทย์ออกตรวจคนไข้วันละประมาณ 30 คนต่อการออกตรวจ 1 ครั้ง แต่แพทย์โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัด อาจให้แพทย์แต่ละคนตรวจคนไข้เท่าที่ตนเองทำได้โดยมีคุณภาพ โดยเพิ่มแพทย์และลดความเจ็บป่วย ก็จะมีเวลาในการสื่อสารกับคนไข้มากขึ้น คุณภาพการรักษาก็จะดียิ่งขึ้น ความสัมพันธ์หมอและคนไข้ก็จะดีขึ้นด้วย แต่ต้องระวังให้ไม่กระทบสิทธิผู้ป่วยเสียโอกาสในการเข้าถึงหรือรอคิวจนนานเกินไป
"การจะบริหารเวลาการดูแลรักษาผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้นนั้น สิ่งสำคัญคือจะต้องมีบุคลากรที่เพียงพอ ซึ่งปัจจุบันแพทย์ใน สธ.มีประมาณ 13,500 คน จากแพทย์ทั้งประเทศ 47,000 คน โดยในปี 2558 จะมีแพทย์จบใหม่อีก 2,600 คน โดยทั่วไปจะบรรจุในโรงพยาบาลสังกัด สธ.ประมาณ 2,000 คน ขณะที่โรงพยาบาลในสังกัดมีกว่า 840 แห่งทั่วประเทศ แม้แพทย์จบใหม่ในปีแรกจะอยู่โรงพยาบาลขนาดใหญ่ แต่จะกระจายลงในโรงพยาบาลขนาดเล็กในปีที่ 2-3 และส่วนหนึ่งกลับไปเรียนต่อ จะส่งผลให้มีแพทย์เพิ่มในรพ.แต่ละแห่งที่ขาดได้อีกถึง 2-3 คน/ปี ก็จะช่วยให้ระบบการรักษาบริการดีขึ้นได้ ปัญหาคือ จะต้องมีตำแหน่งรองรับด้วย ที่ผ่านมาทุกปีมักจะเกิดปัญหาขาดตำแหน่ง ด้วยเหตุที่ สธ.ยังอยู่ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และต้องขออัตราทั้งแพทย์ พยาบาล และสาธารณสุขอื่นๆ ทุกปี ซึ่งเป็นทั้งจุดที่ต้องปรับปรุงให้คล่องตัวตามความเป็นจริง" พล.อ.ต.นพ.อิทธพร กล่าว
พล.อ.ต.นพ.อิทธพรกล่าวว่า การพิจารณาออกนอกระบบ ก.พ.จึงจำเป็นหากเกิดประโยชน์มากกว่า และเร่งสร้างขวัญกำลังใจต่อผู้ปฏิบัติงาน แต่หากการบรรจุข้าราชการทำได้ทั้งหมดที่จำเป็น ทั้งแพทย์และพยาบาล โดยเฉพาะพยาบาลไม่ต้องไปเป็นลูกจ้างชั่วคราวเช่นที่เกิดขึ้นในหลายโรงพยาบาลรัฐ ย่อมดีที่สุด ดังนั้น การปฏิรูประบบสาธารณสุขครั้งนี้จึงควรให้ความสำคัญกับบุคลากรเป็นลำดับแรกโดยขอให้สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) พิจารณานำปัญหาเรื่องบุคลากรทางการแพทย์ พยาบาล เภสัชกร ทันตแพทย์ ฯลฯ ในภาครัฐเป็นเรื่องด่วนลำดับต้นๆ เพราะหากมีจำนวนในภาครัฐเพียงพอกับภาระงาน มี working time directive ที่เหมาะสม ไม่อยู่เวรซ้อนยาวนาน ไม่มีงานเกินกำลัง มีคุณภาพชีวิตที่ดี สุดท้ายผลดีคือการดูแลคนไข้ย่อมทำได้อย่างมีทั้งคุณภาพ และประสิทธิภาพ นำไปสู่การลดปัญหาความไม่เข้าใจกันระหว่างบุคลากรทางการแพทย์และคนไข้ได้ ทั้งนี้จะนำเสนอผ่าน กรรมาธิการ สาธารณสุข ของสภาปฏิรูปแห่งชาติต่อไป
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่