ก.สาธารณสุข จับมือสถาบันผลิตแพทย์ทั่วประเทศ ร่วมชุดคณะกรรมการในเขตสุขภาพของ สธ. ร่วมคิด ตัดสินใจ กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์เพื่อปฏิรูประบบสุขภาพของชาติ นำกลไกวิชาการ/วิชาชีพ นำการทำงานมาเสริมกลไกอื่น ทั้งการเงินการคลัง การจัดบริการร่วม การบริหารร่วม รวมทั้งการบริหารจัดการแบบใหม่ธรรมาภิบาลระบบ เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากการจัดบริการที่ดี
วันนี้ (14 ส.ค.) ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กทม.นายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังบรรยาย “แนวคิด นโยบาย และองค์ประกอบของการปฏิรูประบบบริการสุขภาพของประเทศไทยใน 1 - 3 ปีข้างหน้า” ในที่ประชุมเครือข่ายโรงพยาบาลกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (University hospital network : UHOSNET) ครั้งที่ 50 ว่า วันนี้ได้มาสื่อสารแนวคิดแนวทางในการปฏิรูประบบสุขภาพของชาติ ภายใต้การปฏิรูปประเทศไทยของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เพื่อรองรับการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุของไทย ลดความเหลื่อมล้ำในระบบบริการประชาชนในแต่ละพื้นที่ และเพื่อพัฒนากลไกสร้างเอกภาพในการกำหนดนโยบายสาธารณสุข (National Health Directing Board) ซึ่งยังขาดทิศทาง นโยบายในการพัฒนาระบบสุขภาพในทุกระดับ โดยเขตสุขภาพที่จะปฏิรูปมี 3 รูปแบบคือ 1. เขตสุขภาพเพื่อประชาชน (Regional Health Directing Board) ของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติหรือสช. 2. เขตสุขภาพของผู้จ่ายเงินแทนประชาชน หรือ สปสช. (Purchasing Board) และ 3. เขตสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข (Regional Public Health Board)
นายแพทย์ วชิระ กล่าวว่า เขตสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข เป็นการนำภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ ทั้งสถานพยาบาลในสังกัด ภาครัฐนอกสังกัด เอกชน และส่วนท้องถิ่น เข้าร่วมจัดบริการในเขตสุขภาพ เน้นการสร้างสุขภาพนำการซ่อมสุขภาพ โดยเฉพาะในส่วนโรงเรียนแพทย์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งเดิมทำหน้าที่สนับสนุนการทำงานของกระทรวงสาธารณสุขคือรับส่งต่อผู้ป่วย กรณีที่ซับซ้อนเกินขีดความสามารถ ถ่ายทอดเทคโนโลยีการรักษาพยาบาลและฝึกอบรม ผลิตบุคลากรสายสุขภาพ เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล เป็นต้น โดยจะปรับบทบาทให้เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ เพื่อกำหนดทิศทาง นโยบายการทำงานในเขตสุขภาพ เป็นการใช้กลไกวิชาการ/วิชาชีพ นำการทำงาน โดยจะนำร่องความร่วมมือใน 3 คณะ ได้แก่ คณะแพทย์ศาสตร์ พยาบาลศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์
ทั้งนี้ ในรอบ 12 ปีที่ผ่านมาภายหลังการเกิดระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ได้มีสิ่งดีๆ เกิดขึ้นในระบบสุขภาพไทยเช่น การเข้าถึงบริการได้ง่าย การครอบคลุมบริการประชาชนทุกกลุ่มทุกสิทธิ์และการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนเมื่อประสบปัญหาสุขภาพ แต่การใช้กลไกด้านการเงินการคลังนำการทำงานอย่างเดียว อาจไม่เพียงพอในการจัดบริการที่ดีที่สุด เพราะข้อกำหนดในการทำงานบางส่วนกำหนดว่า เมื่อทำงานตามเงื่อนไขแล้วมีการจ่ายเงินให้หน่วยบริการ แต่เมื่อไม่ทำงานก็ไม่จ่ายเงิน ทำให้ประชาชนเสียโอกาสจากการที่หน่วยบริการไม่ทำงาน อาจเป็นเพราะไม่เห็นความสำคัญหรือไม่อยากได้เงิน เช่น การครอบคลุมการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคในบางพื้นที่ เมื่อหน่วยบริการไม่อยากทำงานเชิงรุกเนื่องจากอาจไม่อยากได้เงิน หรือการทำงานยากเกินไป โดยไม่มีกลไกอื่นมากำกับ ประชาชนมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคติดต่อจากการไม่ได้รับวัคซีน หรือ กรณีผู้ป่วยรอผ่าตัดไส้ติ่งนานเกินไปจนไส้ติ่งแตกเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา อาจเนื่องจากผลของการส่งต่อจากโรงพยาบาลเล็กไปโรงพยาบาลใหญ่ เพราะกลไกการเงินมีเพียงต้องตามจ่ายเท่านั้น ทำให้ผู้ป่วยไปแออัดรอคิวนานอาจทำให้ไส้ติ่งแตกได้
ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขจึงได้กำหนดกลไกอื่นๆ เช่น การจัดบริการร่วม การบริหารร่วม รวมทั้งการบริหารจัดการแบบใหม่ทั้ง กำลังคน ข้อมูล รวมทั้งธรรมาภิบาลระบบเข้ามาเสริมการทำงาน โดยการพูดคุยหารือในครั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้รับความกรุณาจากท่านผู้บริหารและคณะอาจารย์แพทย์ ซึ่งยินดีที่จะเข้ามาร่วมคิด ตัดสินใจ กำหนดนโยบาย และยุทธศาสตร์การทำงาน โดยการร่วมเป็นคณะกรรมการในเขตสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข อาจารย์หลายๆท่านมองเห็นว่าเป็นโอกาสอันดี และเป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายที่จะต้องช่วยกันปฏิรูประบบสุขภาพของชาติ ให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากการจัดบริการที่ดียิ่งๆ ขึ้นไป เพราะบริการด้านสุขภาพเป็นความจำเป็นพื้นฐานของประชาชนทุกคน นายแพทย์วชิระกล่าวในตอนท้าย
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (14 ส.ค.) ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กทม.นายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังบรรยาย “แนวคิด นโยบาย และองค์ประกอบของการปฏิรูประบบบริการสุขภาพของประเทศไทยใน 1 - 3 ปีข้างหน้า” ในที่ประชุมเครือข่ายโรงพยาบาลกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (University hospital network : UHOSNET) ครั้งที่ 50 ว่า วันนี้ได้มาสื่อสารแนวคิดแนวทางในการปฏิรูประบบสุขภาพของชาติ ภายใต้การปฏิรูปประเทศไทยของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เพื่อรองรับการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุของไทย ลดความเหลื่อมล้ำในระบบบริการประชาชนในแต่ละพื้นที่ และเพื่อพัฒนากลไกสร้างเอกภาพในการกำหนดนโยบายสาธารณสุข (National Health Directing Board) ซึ่งยังขาดทิศทาง นโยบายในการพัฒนาระบบสุขภาพในทุกระดับ โดยเขตสุขภาพที่จะปฏิรูปมี 3 รูปแบบคือ 1. เขตสุขภาพเพื่อประชาชน (Regional Health Directing Board) ของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติหรือสช. 2. เขตสุขภาพของผู้จ่ายเงินแทนประชาชน หรือ สปสช. (Purchasing Board) และ 3. เขตสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข (Regional Public Health Board)
นายแพทย์ วชิระ กล่าวว่า เขตสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข เป็นการนำภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ ทั้งสถานพยาบาลในสังกัด ภาครัฐนอกสังกัด เอกชน และส่วนท้องถิ่น เข้าร่วมจัดบริการในเขตสุขภาพ เน้นการสร้างสุขภาพนำการซ่อมสุขภาพ โดยเฉพาะในส่วนโรงเรียนแพทย์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งเดิมทำหน้าที่สนับสนุนการทำงานของกระทรวงสาธารณสุขคือรับส่งต่อผู้ป่วย กรณีที่ซับซ้อนเกินขีดความสามารถ ถ่ายทอดเทคโนโลยีการรักษาพยาบาลและฝึกอบรม ผลิตบุคลากรสายสุขภาพ เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล เป็นต้น โดยจะปรับบทบาทให้เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ เพื่อกำหนดทิศทาง นโยบายการทำงานในเขตสุขภาพ เป็นการใช้กลไกวิชาการ/วิชาชีพ นำการทำงาน โดยจะนำร่องความร่วมมือใน 3 คณะ ได้แก่ คณะแพทย์ศาสตร์ พยาบาลศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์
ทั้งนี้ ในรอบ 12 ปีที่ผ่านมาภายหลังการเกิดระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ได้มีสิ่งดีๆ เกิดขึ้นในระบบสุขภาพไทยเช่น การเข้าถึงบริการได้ง่าย การครอบคลุมบริการประชาชนทุกกลุ่มทุกสิทธิ์และการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนเมื่อประสบปัญหาสุขภาพ แต่การใช้กลไกด้านการเงินการคลังนำการทำงานอย่างเดียว อาจไม่เพียงพอในการจัดบริการที่ดีที่สุด เพราะข้อกำหนดในการทำงานบางส่วนกำหนดว่า เมื่อทำงานตามเงื่อนไขแล้วมีการจ่ายเงินให้หน่วยบริการ แต่เมื่อไม่ทำงานก็ไม่จ่ายเงิน ทำให้ประชาชนเสียโอกาสจากการที่หน่วยบริการไม่ทำงาน อาจเป็นเพราะไม่เห็นความสำคัญหรือไม่อยากได้เงิน เช่น การครอบคลุมการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคในบางพื้นที่ เมื่อหน่วยบริการไม่อยากทำงานเชิงรุกเนื่องจากอาจไม่อยากได้เงิน หรือการทำงานยากเกินไป โดยไม่มีกลไกอื่นมากำกับ ประชาชนมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคติดต่อจากการไม่ได้รับวัคซีน หรือ กรณีผู้ป่วยรอผ่าตัดไส้ติ่งนานเกินไปจนไส้ติ่งแตกเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา อาจเนื่องจากผลของการส่งต่อจากโรงพยาบาลเล็กไปโรงพยาบาลใหญ่ เพราะกลไกการเงินมีเพียงต้องตามจ่ายเท่านั้น ทำให้ผู้ป่วยไปแออัดรอคิวนานอาจทำให้ไส้ติ่งแตกได้
ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขจึงได้กำหนดกลไกอื่นๆ เช่น การจัดบริการร่วม การบริหารร่วม รวมทั้งการบริหารจัดการแบบใหม่ทั้ง กำลังคน ข้อมูล รวมทั้งธรรมาภิบาลระบบเข้ามาเสริมการทำงาน โดยการพูดคุยหารือในครั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้รับความกรุณาจากท่านผู้บริหารและคณะอาจารย์แพทย์ ซึ่งยินดีที่จะเข้ามาร่วมคิด ตัดสินใจ กำหนดนโยบาย และยุทธศาสตร์การทำงาน โดยการร่วมเป็นคณะกรรมการในเขตสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข อาจารย์หลายๆท่านมองเห็นว่าเป็นโอกาสอันดี และเป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายที่จะต้องช่วยกันปฏิรูประบบสุขภาพของชาติ ให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากการจัดบริการที่ดียิ่งๆ ขึ้นไป เพราะบริการด้านสุขภาพเป็นความจำเป็นพื้นฐานของประชาชนทุกคน นายแพทย์วชิระกล่าวในตอนท้าย
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่